ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคเพื่อไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.6
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
|anthem = พรรคเพื่อไทย หัวใจเพื่อเธอ
|anthem = พรรคเพื่อไทย หัวใจเพื่อเธอ
|seats1_title = [[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25|สภาผู้แทนราษฎร]]
|seats1_title = [[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25|สภาผู้แทนราษฎร]]
|seats1 = {{Composition bar|134|500|hex=#e30613}}
|seats1 = {{Composition bar|132|500|hex=#e30613}}
|website = http://www.ptp.or.th
|website = http://www.ptp.or.th
|country = ไทย
|country = ไทย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:23, 20 มกราคม 2565

พรรคเพื่อไทย
หัวหน้านายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว
รองหัวหน้ายุทธพงศ์ จรัสเสถียร
สุทิน คลังแสง
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
สรวงศ์ เทียนทอง
เลขาธิการประเสริฐ จันทรรวงทอง
คำขวัญพรรคเพื่อไทย หัวใจ คือประชาชน
คติพจน์พรุ่งนี้เพื่อไทย เพื่อชีวิตใหม่ของประชาชน
ก่อตั้ง20 กันยายน พ.ศ. 2550 (16 ปี)
ก่อนหน้าพรรคพลังประชาชน
ที่ทำการ1770 อาคารโอเอไอ ทาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
ฝ่ายเยาวชนคณะทำงานเยาวชนและคนรุ่นใหม่[1]
จำนวนสมาชิก  (ปี 2564)61,614 คน[2]
อุดมการณ์ประชานิยม
สี  แดง
เพลงพรรคเพื่อไทย หัวใจเพื่อเธอ
สภาผู้แทนราษฎร
132 / 500
เว็บไซต์
http://www.ptp.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

พรรคเพื่อไทย (ย่อ: พท.) เป็นพรรคที่จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550[3] โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก

ตราสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทย (พ.ศ. 2551-10 ตุลาคม พ.ศ. 2563)

สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารโอเอไอ ทาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม[4]

บทบาททางการเมือง

การสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่าผู้ที่ ส.ส. หารือกันว่าผู้ที่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกอบด้วย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ส.ส.สัดส่วน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการ รมว.สาธารณสุข และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการ รมว.คมนาคม โดยผู้มาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและสร้างความสามัคคีให้คืนมา[5] แต่ต่อมาที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ได้มีมติสนับสนุนแนวคิดของนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราชที่เสนอให้ทุกพรรคการเมืองร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลเพื่อชาติ มีนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่ไม่ได้มาจากพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ [6] โดยพรรคเพื่อไทยจะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่ง พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ตอบรับที่จะให้เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี[7]

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอรายชื่อบุคคลที่เหมาะสม เพื่อให้สมาชิกลงมติเลือก จำนวน 2 คน โดย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 6 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 5 และหัวหน้าพรรคประชาราช เสนอชื่อ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ว่าที่หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 235 เสียง ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา ได้รับคะแนน 198 เสียง และ งดออกเสียง 3 เสียง โดย พล.ต.อ.ประชา ลงมติสนับสนุนตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกับ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ลงมติสวนมติพรรคสนับสนุน พล.ต.อ.ประชา ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ งดออกเสียง ภายหลังการลงมติ พล.ต.อ.ประชา เดินเข้ามาจับมือนายอภิสิทธิ์แสดงความยินดีด้วย[8]

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครม.อภิสิทธิ์

พรรคเพื่อไทยมีมติยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ยังมีมติเสนอชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน[9] โดยรัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีและถอดถอน 5 คนคือ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพราะพบประเด็นการบริหารที่ผิดพลาดและทุจริตประพฤติมิชอบ [10]

หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562

วันที่ 26 กันยายน 2563 มีรายงานว่า มีสมาชิกคนสำคัญของพรรคประกาศลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคหลายคน เช่น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 มีนักวิชาการวิเคราะห์ว่าสะท้อนภาพลักษณ์ไม่มีเอกภาพในพรรคเพื่อไทย อาจเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมรับการเลือกตั้งท้องถิ่นในช่วงต้นปี 2564[11]

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2564 ระหว่างการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคที่ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดขอนแก่น ซึ่งในงานมีการแสดงวิสัยทัศน์ของแกนนำพรรค ตลอดจนมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการเดินแฟชั่นผ้าไหมพื้นบ้านโดยตัวแทนสมาชิกพรรค และงานในวันนั้นมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ นายสมพงษ์ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกลางที่ประชุมทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ พร้อมกับได้มีการเปิดตัวแพทองธาร ชินวัตร (อุ๊งอิ๊ง) บุตรสาวคนเล็กของ นายทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค และเปิดตัวนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นผู้อำนวยการพรรค ก่อนจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังเป็นนาย ประเสริฐ จันทรรวงทอง

บุคลากร

รายชื่อหัวหน้าพรรค

ลำดับ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2 ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช 21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
3 ยงยุทธ วิชัยดิษฐ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
- พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)
8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
4 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557[12]
- พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
(รักษาการ)
16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
5 พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 [13] 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 [14]
- ปลอดประสพ สุรัสวดี
(รักษาการ)
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[15] 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
6 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 [16] 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564
7 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน

รายชื่อเลขาธิการพรรค

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 โอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 20 กันยายน พ.ศ. 2551
2 สุณีย์ เหลืองวิจิตร 21 กันยายน พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 14 กันยายน พ.ศ. 2553
3 สุพล ฟองงาม 15 กันยายน พ.ศ. 2553 20 เมษายน พ.ศ. 2554
4 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
5 ภูมิธรรม เวชยชัย 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [17] 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
6 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 [18] 26 กันยายน พ.ศ. 2563 [19]
7 ประเสริฐ จันทรรวงทอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยทั่วไป

พรรคเพื่อไทยที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้ง สามารถกวาดที่นั่ง ส.ส. 265 คน ทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปกว่า 100 คน พร้อมกับคว้าคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งและสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งจำนวน 136 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เมื่อปี พ.ศ. 2552 พรรคเพื่อไทยมีมติส่งยุรนันท์ ภมรมนตรี ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยในการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับหมายเลข 10[20][21] สำหรับผลการเลือกตั้ง ยุรนันท์ได้รับ 611,669 คะแนน เป็นอันดับที่ 2[22]

และในปี พ.ศ. 2556 พรรคเพื่อไทยมีมติส่ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศ พงษ์เจริญ ลงสมัครชิงตำแหน่ง โดยในการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับหมายเลข 9 สำหรับผลการเลือกตั้ง พลตำรวจเอก ดร.พงศพัศได้รับ 1,077,899 คะแนน เป็นอันดับที่ 2

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครในนามของพรรคอย่างเป็นทางการหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ (พิชัย เลิศพงศ์อดิศร) จังหวัดลำพูน (อนุสรณ์ วงศ์วรรณ) จังหวัดลำปาง (ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิชิต ปลั่งศรีสกุล) จังหวัดอุดรธานี (วิเชียร ขาวขำ) เป็นต้น

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2554
265 / 500
15,752,470 48.41% แกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
2562
136 / 500
7,881,006 22.16% ฝ่ายค้าน คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

ฝ่ายเยาวชน

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 พรรคได้เปิด สถาบันเยาวชนเพื่อไทย โดย แต่งตั้งให้ ณหทัย ทิวไผ่งาม เป็นผู้อำนวยการสถาบัน[23] ต่อมาได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อไทยพลัส โดยถูกวางกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างพื้นที่การเมืองของคนรุ่นใหม่ สู้กับอดีตพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นพรรคก้าวไกลในภายหลัง โดยจัดกิจกรรมทางการเมืองเป็นระยะ อาทิ จัดเสวนาเพื่อไทยพลัสยุคใหม่ แข็งแกร่งกว่าเดิม โครงการเพื่อไทยยุคใหม่แข็งแกร่งเข้าถึงประชาชน โครงการอีสปอร์ตที่จะนำเสนอทิศทางในประเทศไทย และรายการเพื่อไทยพลัสออนไลน์ เสนอบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

กระทั่งในปี 2563 มีการยุติกลุ่มเพื่อไทยพลัส และมีกลุ่มใหม่เข้ามาแทนที่ คือ “คณะทำงานเยาวชนและคนรุ่นใหม่” เพื่อเป็นที่รวมตัวของคนรุ่นใหม่ในพรรค และอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน โครงสร้างการทำงานจะขึ้นตรง และรับคำสั่งจากคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. เพื่อไทย–กลุ่มแคร์ สั่ง ยุติบทบาท “เพื่อไทยพลัส” ยุค “เจ๊หน่อย”
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564
  3. พรรคที่จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550
  4. พปช.สาขาพิจิตร เปลี่ยนเป็น พรรคเพื่อไทย แล้ว เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากหน้าข่าวเอ็มไทยดอตคอม
  5. เฉลิม-มิ่งขวัญ ชิงนายกฯใหม่ เพื่อนเนวิน ถกหานายกฯวันนี้
  6. เพื่อไทยพลิกเกมสู้ตั้ง"เสนาะ" ดึง 5 พรรคชู"รบ.เพื่อชาติ" เสนอภารกิจ1ปียุบสภา คุยมี ส.ส.244เสียง
  7. พ.อ.อภิวันท์ เผย พล.ต.อ.ประชา ตอบรับเป็นนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  8. "ด่วน !! "อภิสิทธิ์" ได้รับโหวตนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  9. พรรคเพื่อไทยมีมติส่งเฉลิมชิงเก้าอี้นายกฯ เดินยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ
  10. "เพื่อไทยมีมติยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ5รมต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  11. "รอยปริร้าวลึก ท่อน้ำเลี้ยงชะงัก สัญญาณ "เพื่อไทย" วงแตก ปรับทัพอาณาจักรทักษิณ". ไทยรัฐ. 26 September 2020. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  12. ‘จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นัดถกเลือกกก. 30 ต.ค.
  13. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  14. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  16. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  17. 332 เสียงเพื่อไทยเคาะ "จารุพงศ์" นั่งหัวหน้าพรรค
  18. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  19. ‘สมพงษ์’ ลาออก หัวหน้าพรรคพท. นัดถกเลือกกก.บห.ชุดใหม่ 1 ต.ค.
  20. "ยุรนันท์ สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคเพื่อไทย ได้เบอร์ 10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  21. เพื่อไทยส่ง ยุรนันท์ ลุยศึกชิงผู้ว่าฯ กทม.
  22. "ซิวเก้าอี้-ผู้ว่าฯกทม. "สุขุมพันธุ์" ชนะขาด"แซม-ปลื้ม"!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  23. “อ้อเล็ก” โผล่คุมงานเยาวชนเพื่อไทย “ปู-โอ๊ค-อ้วน” รับบทกุนซือ

แหล่งข้อมูลอื่น