ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตองอู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
|population_blank1 = [[ชาวพม่า|พม่า]], [[กะเหรี่ยง]]
|population_blank1 = [[ชาวพม่า|พม่า]], [[กะเหรี่ยง]]
|population_blank1_title = ชาติพันธุ์
|population_blank1_title = ชาติพันธุ์
|population_blank2 = [[พุทธนิกายเถรวาท]], [[ศาสนาคริสต์|คริสต์]]
|population_blank2 = [[เถรวาท|พุทธนิกายเถรวาท]], [[ศาสนาคริสต์|คริสต์]]
|population_blank2_title = ศาสนา
|population_blank2_title = ศาสนา
|population_density_km2 =
|population_density_km2 =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:56, 12 มกราคม 2565

ตองอู

တောင်ငူ
ตองอูตั้งอยู่ในประเทศพม่า
ตองอู
ตองอู
ที่ตั้งเมืองตองอูในประเทศพม่า
พิกัด: 18°56′N 96°26′E / 18.933°N 96.433°E / 18.933; 96.433
ประเทศ พม่า
เขต ภาคพะโค
จังหวัดตองอู
อำเภอตองอู
ประชากร
 (ค.ศ. 2014)[1]
 • เขตเมือง108,569 คน คน
 • ชาติพันธุ์พม่า, กะเหรี่ยง
 • ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท, คริสต์
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)

ตองอู (พม่า: တောင်ငူ, ออกเสียง: [tàʊɴŋù] เต่างฺหงู่; คำแปล: เมืองในขุนเขา) หรือ เกตุมะดี[2] (พม่า: ကေတုမဒီ; บาลี: Ketumadi เกตุมดี) เป็นเมืองในเขตพะโค (หงสาวดี) ประเทศพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือ 220 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิสระตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14–16 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างปี ค.ศ. 1942–1945

ในประวัติศาสตร์ ตองอูถือเป็นเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์พม่าในอาณาจักรที่ 2 คือ อาณาจักรตองอู ด้วยเป็นเมืองแรกที่พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอูได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ตรงกับคืนเดือนเพ็ญ ค.ศ. 1510 (ข้อมูลอย่างเป็นทางการบันทึกไว้ว่าตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน) ก่อนที่ในรัชกาลถัดมาคือพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ซึ่งเป็นราชบุตร และพระเจ้าบุเรงนอง จะได้ขยายอาณาจักรลงใต้สู่หงสาวดี อันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของชาวมอญมาก่อน

ในปี ค.ศ. 2010 ทางรัฐบาลทหารพม่าได้เฉลิมฉลองการครบรอบ 500 ปี การสถาปนาเมืองตองอูอย่างเป็นทางการ[3]

อ้างอิง

  1. "Myanmar". City Population. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
  2. นายต่อ (แปล). มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์, 2562, หน้า 409
  3. "พม่าจัดรำลึก 500 ปี "ทองอู" อาณาจักรพระเจ้าบุเรงนอง". ผู้จัดการออนไลน์.