ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรณ์ จาติกวณิช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Iamike (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]] (2548 - 2563) <br> [[พรรคกล้า|กล้า]] (2563 - ปัจจุบัน)
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]] (2548 - 2563) <br> [[พรรคกล้า|กล้า]] (2563 - ปัจจุบัน)
| spouse = [[วรกร จาติกวณิช]]
| spouse = [[วรกร จาติกวณิช]]
| signature = ลายเซ็น กรณ์ จาติกวณิช ภาษาอังกฤษ.png
| signature =
| footnotes =
| footnotes =
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:59, 9 มกราคม 2565

กรณ์ จาติกวณิช
กรณ์ จาติกวณิช ในปี พ.ศ. 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสุชาติ ธาดาธำรงเวช
ถัดไปธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 (60 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2548 - 2563)
กล้า (2563 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสวรกร จาติกวณิช
ลายมือชื่อ

กรณ์ จาติกวณิช (เกิด: 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) เป็นหัวหน้า พรรคกล้า อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากรูปร่างที่สูงถึง 193 เซนติเมตร ทำให้ได้สมญานามจากสื่อมวลชนว่า "หล่อโย่ง" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีสมญานาม "หล่อใหญ่" และสมาชิกพรรครุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อจิ๋ว"

ต้นปี พ.ศ. 2549 กรณ์ จาติกวณิช มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ตระกูลชินวัตร และดามาพงษ์ โดยได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นหัวหน้าคณะ​ทำงานตรวจสอบ​การขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีความเกี่ยวพันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในประเด็นการซุกหุ้น และหลีกเลี่ยงภาษี จนนำไปสู่คำพิพากษาตัดสินยึดทรัพย์อดีนายกฯ ในที่สุด

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กรณ์ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร (เขตบางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย และวัฒนา) และภายหลังการจัดตั้ง รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้ พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์จึงประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น เพื่อติดตามตรวจสอบ และเสนอแนะการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบที่มีในต่างประเทศ กรณ์ในฐานะแกนนำทีมเศรษฐกิจ ได้รับเลือกจากทางพรรคให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ กรณ์ จาติกวณิช ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กรณ์ จาติกวณิช ได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [1] ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ครม.คณะที่ 59)

ช่วงปี 2551-2553 ประเทศไทยประสบวิกฤตการเงินโลกแฮมเบอร์เกอร์ที่ลุกลามมาจากสหรัฐอเมริกา กรณ์ จาติกวณิช ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลแก้ไขวิกฤตด้วยมาตรการไทยเข้มแข็ง จนกระทั่งประเทศไทยฟื้นจากวิกฤตเร็วเป็นอันดับ 2 ของโลก พลิกตัวเลข GDP จากติดลบสองหลักเป็นบวก 7.8% ภาคการส่งออกเติบโตก้าวกระโดด 28.5% จนนายกรณ์ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังโลก โดยนิตยสารเครือ The Banker : Financial Times คนแรกของประเทศไทย

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายกรณ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แต่ในการประชุมใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 นายกรณ์กลับไม่ได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ต่อมาในวันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 นายกรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มีผลในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 [2]

ประวัติ

กรณ์ จาติกวณิชเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ที่โรงพยาบาลปริ๊นเซสเบียทริซ ถนนถนนบรอมพ์ตัน ประเทศอังกฤษ มีชื่อเล่นว่า "ดอน" เป็นบุตรคนกลางของ นายไกรศรี จาติกวณิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กับ นางรัมภา จาติกวณิช (นามสกุลเดิม พรหโมบล บุตรี พระยาบุเรศผดุงกิจ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ)

วรกร จาติกวณิช ภรรยาของกรณ์

กรณ์ จาติกวณิช สมรสกับวรกร จาติกวณิช (สกุลเดิม: สูตะบุตร) มีบุตรธิดาด้วยกัน คือ กานต์ จาติกวณิช (แจม) และไกรสิริ จาติกวณิช (จอม) นอกจากนี้วรกรยังมีลูกจากการสมรสครั้งก่อนอีก 2 คน คือ พงศกร มหาเปารยะ (แต๊งค์) และพันธมิตร มหาเปารยะ (ติ๊งค์)

ประวัติการศึกษา

ครอบครัว

  • ต้นตระกูลทางฝ่ายบิดาของ กรณ์ จาติกวณิช เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาตั้งรกรากในประเทศสยาม
  • นามสกุล "จาติกวณิช" หรือ "Chatikavanij" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 1211 ที่พระราชทานแก่ พระอธิกรณประกาศ (หลุย) เจ้ากรมกองตระเวนในขณะนั้น โดยระบุว่าพระอธิกรณประกาศมีปู่คือ พระอภัยวานิช (จาด) และเนื่องจากเป็นสกุลพ่อค้า จีงมีคำว่า "วณิช" ในนามสกุล[3]
  • คุณปู่คือ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช หรือ ซอเทียนหลุย) ได้เข้ารับราชการและดำรงตำแหน่งเป็น อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 2 ของไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น องคมนตรี ในสภากรรมการองคมนตรี สมัยรัชกาลที่ 7
  • คุณตาคือ พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก พระยาอธิกรณ์ประกาศ ซึ่งเป็นคุณปู่ของกรณ์
  • พระยาอธิกรณ์ประกาศ มีภรรยา 2 คน ภรรยาคนแรก มีบุตรชาย คือ นายแพทย์กษาน จาติกวณิช คุณหญิงเสงี่ยมภรรยาคนที่สอง มีบุตรชาย 2 คน คือ เกษม จาติกวณิช และ ไกรศรี จาติกวณิช อดีตอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากร อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็นบิดาของกรณ์
  • คุณลุง คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวณิช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (สมรสกับ ท่านผู้หญิงสุมาลี (ยุกตะเสวี) จาติกวณิช มีบุตรสาวคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
  • คุณลุงอีกคนคือ นายเกษม จาติกวณิช หรือ "ซูเปอร์เค" เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเป็นประธานรถไฟฟ้า BTS สมรสกับ คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (ล่ำซำ) ผู้บริหารกลุ่ม “ล็อกซเล่ย์”
  • คุณย่าเป็นคนเหนือจากจังหวัดลำปาง
  • คุณตา (พระยาบุเรศผดุงกิจ) สืบเชื้อสายโดยตรงจาก เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
  • คุณยาย เป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย
  • กรณ์ มีเชื้อสายดัตช์ แต่เกิดที่กรุงลอนดอน และเดินทางกลับมาประเทศไทยตั้งแต่อายุ 3 ปี และปักหลักเป็นชาวกรุงเทพมหานครมาจนถึงปัจจุบัน
  • กรณ์ มีพี่น้องเป็นชายล้วน 3 คน คือ อธิไกร กรณ์ และอนุตร ซึ่งอนุตรมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับกรณ์มาก ขนาดที่มีคนจำผิดมาแล้วมากมาย

ผลงานการทำงาน

กรณ์ จาติกวณิช เคยดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท เจพี มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2547 ประธานบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคม จำกัด พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2543 เอส จี วอร์เบิร์ก ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2530

  • พ.ศ. 2528 : เริ่มงานด้วยตำแหน่งผู้จัดการกองทุน บริษัท เอส จี วอร์เบิร์ก (S.G. Warburg & Co.) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2528-2530)
  • พ.ศ. 2531 : กลับประเทศไทย ร่วมก่อตั้งและเป็นประธาน บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด ด้วยวัยเพียง 24 ปี (พ.ศ. 2531-2535)
  • พ.ศ. 2535 : กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด ด้วยวัย 28 ปี (พ.ศ. 2535-2543)
  • พ.ศ. 2544 :
    • ขายหุ้น เจเอฟ ธนาคม ในมือทั้งหมดให้กับ JP Morgan Chase และตั้งใจจะวางมือ เพราะแผนธุรกิจบรรลุผล ได้ผ่านงานในวงการการเงินครบแล้ว
    • ตัดสินใจรับข้อเสนอเป็นประธาน บริษัทเจพี มอร์แกน ประเทศไทย โดยทำงานในฐานะผู้บริหารมืออาชีพแบบเต็มตัว (พ.ศ. 2544-2548)
  • พ.ศ. 2548 : ลาออกจาก JP Morgan เพื่อเข้าสู่วงการเมืองในวัย 40 ปึ

ผลงานทางการเมือง

กรณ์ จาติกวณิช เข้าสู่วงการการเมืองจากการชักชวนของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อนนักเรียนเมื่อครั้งเรียนอยู่ที่อังกฤษ โดยชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เขต 7 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตยานนาวาของพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียง 36,010 คะแนน เป็น 1 ใน 4 ของ ส.ส.กรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นนายกรณ์ ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อเนื่องอีก 4 สมัย (2548, 2550, 2554, 2562)

กรณ์ จาติกวณิช เคยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย

กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[4]

กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปลายปี 2551 ในช่วงที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกแฮมเบอร์เกอร์ จนเมื่อปลายปี 2553 มาตรการ "ไทยเข้มแข็ง" ที่นายกรณ์ ริเริ่มไว้ส่งผลจนประสบความสำเร็จจนนายกรณ์ ได้รับตำแหน่ง "รัฐมนตรีคลังโลก" คนแรกของประเทศไทย

ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบได้ตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรี โดยกรณ์ ได้รับฉายาว่า "โย่งคาเฟ่" จากผลงานการแสดงบทบาทพันตรีประจักษ์ คู่กับทักษอร ภักดิ์สุขเจริญในภาพยนตร์โฆษณา และการเปิดผับเชียร์ฟุตบอล[5]

2556-2562 กรณ์ จาติกวณิช

- ทดลองนโยบายหลายโครงการได้แก่ โครงการ "ข้าวอิ่ม" เกษตรเข้มแข็ง ช่วยชาวนาพลิกวิถีทำกินสู่การเป็นเกษตรพรีเมียม

- ทดลองนโยบายแก้หนี้ให้ผู้มีสินเชื่อบ้านด้วยโครงการ Refinn ลดหนี้บ้าน ช่วยคนไทยผ่อนภาระ

- ทดลองโครงการ English For All ช่วยให้เด็กไทยในถิ่นทุรกันดารมีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนภาษาอังกฤษอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

2556-2562 กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่ง "ประธานกรรมการนโยบาย" เป็นตำแหน่งสุดท้ายในพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยชุดนโยบาย "แก้จน-สร้างคน-สร้างชาติ"

2563 กรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ที่ก่อตั้งเป็นการเมืองแบบสตาร์ทอัพ ชื่อ "พรรคกล้า" เป็นพรรคการเมืองเน้นรวมพลคนมีของ คนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจเข้ามาพัฒนาประเทศร่วมกัน โดยใช้เทคโนโลยี และหลักปฏิบัตินิยมเป็นหลักการสู่เศรษฐกิจใหม่แก่ประเทศไทย

ผลงานที่สำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจกลางปีจำนวน 116,700 ล้านบาท อันไปใช้ในโครงการดังกล่าว[6]

  1. มาตรการเพิ่มรายได้เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐรวมทั้ง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่มีรายได้น้อย วงเงินประมาณ 19,000 ล้านบาท
  2. การให้เบี้ยยังชีพกับผู้สูงอายุ วงเงิน 9,000 ล้านบาท
  3. การลดค่าใช้จ่ายของประชาชน เช่นการต่ออายุ 6 เดือน 6 มาตรการ ยกเว้นการเก็บภาษีสรรสามิตน้ำมัน จำนวน 11,000 กว่าล้านบาท
  4. กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปช่วยเหลือลดค่าครองชีพอีก 1,000 ล้านบาท
  5. มาตรการการเรียนฟรี วงเงิน 19,000 ล้านบาท
  6. การดูแลประชาชนที่ประสบปัญหาการว่างงาน ผู้เสี่ยงถูกเลิกจ้าง ผู้ถูกเลิกจ้างและบัณฑิตจบใหม่ วงเงิน 6,900 ล้านบาท
  7. การสนับสนุนภาคการผลิตในบางโครงการ แต่เป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก ยกเว้นกรณีกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงที่ช่วยเสริมในส่วนของภาคชนบทและภาคการ เกษตรที่จะใช้วงเงิน 15,200 ล้านบาท
  8. มาตรการภาษีและมาตรการอื่นๆ

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552 จำนวน 1.43 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเน้นลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1,431,330 ล้านบาท เป็นการลงทุนระหว่างปี 2552-2555 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยสร้างงานได้ประมาณ 1.6-2 ล้านคน และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนในระยะยาว ได้แก่[7]

  1. โครงการขนส่ง/Logistic จำนวน 571,523 ล้านบาท
  2. โครงการด้านทรัพยากรน้ำและการเกษตร จำนวน 238,515 ล้านบาท
  3. โครงการด้านการศึกษา จำนวน 137,975 ล้านบาท
  4. โครงการสาธารณสุข จำนวน 99,399 ล้านบาท
  5. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยว จำนวน 18,537 ล้านบาท

การดำรงตำแหน่งอื่น

  • กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการบริษัท จาร์ดีน เฟลมมิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด
  • กรรมการสมาคมบริษัทตลาดหลักทรัพย์
  • กรรมการบริษัท อยุธยา ซีเอ็มจี แอสชัวรันส์ จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัท ไทยยิบซั่ม จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

รางวัลเกียรติยศทางสังคม

เปรียว อวอร์ด

กรณ์ จาติกวณิช ได้รับรางวัล "เปรียว อวอร์ด 2005" [8] ที่นิตยสารเปรียวมอบให้ 10 บุคคลคุณภาพแห่งปี ซึ่งประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และเป็นที่รู้จักในแวดวงสังคมไทย โดยมีการเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ จากหลากหลายวิชาชีพมาทำหน้าที่เป็น คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสิน ภายใต้หลักเกณฑ์สำคัญคือ จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อม ทั้งเรื่องบุคลิกภาพ, สัมพันธภาพ, ความฉลาด, ความสง่างาม และมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับในสังคม

รัฐมนตรีคลังโลก

เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553 นิตยสาร The Banker นิตยสารชั้นนำของประเทศอังกฤษ คัดเลือกให้กรณ์ จาติกวณิช เป็น "รัฐมนตรีคลังโลก ปี 2010" และ "รัฐมนตรีคลังเอเชียแห่งปี 2010" โดยคัดเลือกจากรัฐมนตรีคลังในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 5 ภูมิภาค ได้แก่ อเมริกา ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  2. เปิดหนังสือ 'กรณ์' ลาออกพ้นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
  3. "นามสกุลพระราชทานหมวด จ." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  5. ฉายานักการเมืองปี 53
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-03.
  7. http://www.prachatai.com/journal/2009/05/21164
  8. 10 หนุ่มสาววัยทำงาน คว้ารางวัลเปรียวอวอร์ด
  9. Finance Minister of the Year 2010 - Global and Asia-Pacific
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า กรณ์ จาติกวณิช ถัดไป
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล