ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mongkhongrit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
| spouse = นุชวดี บำรุงตระกูล <small>(หย่า)</small><br>คุณหญิงสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา
| spouse = นุชวดี บำรุงตระกูล <small>(หย่า)</small><br>คุณหญิงสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]
| signature = สุขุมพันธ์ บริพัตร ภาษาอังกฤษ.png
| signature =
| footnotes =
| footnotes =
| residence =
| residence =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:54, 9 มกราคม 2565

สุขุมพันธุ์ บริพัตร
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ในปี 2552
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม 2552 – 18 ตุลาคม 2559
ก่อนหน้าอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ถัดไปอัศวิน ขวัญเมือง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน 2540 – 9 พฤศจิกายน 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่
ถัดไปปรีชา เลาหพงศ์ชนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กันยายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองนำไทย (พ.ศ. 2537-2539)
ประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน)
คู่สมรสนุชวดี บำรุงตระกูล (หย่า)
คุณหญิงสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา
บุพการี
ลายมือชื่อไฟล์:สุขุมพันธ์ บริพัตร ภาษาอังกฤษ.png

รองศาสตราจารย์[1] หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร (เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2496) เป็นนักการเมืองชาวไทย กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[2] เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 15 อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ กับหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา มีชื่อเล่นว่า คุณชายหมู นอกจากนี้เขายังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับสินนภา สารสาส เมื่อนับจากฝ่ายบิดา เขาสมรสครั้งที่ 1 กับนุชวดี บำรุงตระกูล มีบุตรคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร (อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และสมรสครั้งที่สองกับ สาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (สาวิตรี ภมรบุตร) มีบุตรคือ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร

การศึกษา

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam และโรงเรียน Rugby ประเทศอังกฤษ ระหว่าง พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513 ต่อมาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 2) และระดับปริญญาโทจากวิทยาลัยเพมโบร์ก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และสาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ (PPE) ในปี พ.ศ. 2520 และจบการศึกษาในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2521

งานการเมือง

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับอำนวย วีรวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2537 และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย จนต่อมา เขาเข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สาทร ปทุมวัน) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544

ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540[3] ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เนื่องจากการยุบสภา[4] และปฏิบัติหน้าที่รักษาการไปจนกระทั่งได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544[5]

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 24 ของพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค และดูแลงานทางด้านต่างประเทศและความมั่นคง ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนโซน 6 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี ลำดับที่ 3 และชนะการเลือกตั้ง

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศตั้งคณะรัฐมนตรีเงาขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา

การตกลงเป็นตัวประกันในเหตุการณ์ยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย เกิดเหตุการณ์ก๊อด อาร์มี่ กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่า บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทรเหนือ และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน

หลังการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้ก่อการร้ายยินยอมปล่อยตัวประกัน แลกกับให้ทางการไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชายแดนไทย-พม่า โดย หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต[ต้องการอ้างอิง]

การลงนามในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2543 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543

บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังเกิดกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในเอกสารแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศไทยโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เกิดการโจมตีหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์และพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้การจัดทำหลักเขตแดนยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (ค.ศ. 1904) เป็นแนวทาง โดยไม่ระบุแผนที่แอล 7017 ของสหรัฐอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ก่อนการลงนามของนายนพดล ปัทมะ เรื่องดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้ชี้แจงว่าการระบุถึงแผนที่ ค.ศ. 1904 เป็นการระบุประกอบเอกสารหลักคือ อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ซึ่งแผนที่จะขัดหรือแย้งไม่ได้ การลงนามในปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศแต่อย่างใด [6]

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยแรก

ภายหลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีชี้มูลความผิด นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในคดีทุจริตโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร มูลค่า 6,800 ล้านบาท และนายอภิรักษ์ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบนั้น คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ส่งชื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตรได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การบริหารงานของสุขุมพันธ์ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของชาวกรุงเทพมากนัก และมักจะได้รับเสียงก่นด่าอยู่เสมอจากการบริการงานที่ล่าช้าและไม่โปร่งใส อาทิ การสร้างสนามบางกอกอารีนาไม่ทันการแข่งขันฟุตซอลโลก, กล้องซีซีทีวีปลอม, การต่อสัญญาสัมปทานบีทีเอส 30 ปี, ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก[7] ซึ่งหลายครั้งที่เขาตกเป็นประเด็นก็จะเก็บตัวเงียบไม่พบสื่อ จนถูกตั้งฉายาว่า "หม่อมเอ๋อ"

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยสอง

แม้ว่าจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนมากนัก แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ตัดสินใจส่งสุขุมพันธ์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครสมัยที่สอง[8] ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งสุขุมพันธ์ต้องแข่งขันกับ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ คู่แข่งจากพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรครัฐบาล การสำรวจโดยสำนักโพลต่าง ๆ ก่อนการเลือกตั้ง พบว่าพงศพัศ มีคะแนนนำสุขุมพันธ์ในการสำรวจทุกครั้ง[9] และมวลชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ก็หันไปสนับสนุนผู้สมัครคนอื่น ๆ จนพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งดิ้นรนที่จะรักษาฐานอำนาจทางการเมืองจำเป็นต้องหาเสียงโดยใช้วาทกรรม "ไม่เลือกเรา เขามาแน่" และกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นพวก "เผาบ้านเผาเมือง"[10] เพื่อจูงใจคนที่ไม่ชอบพรรคเพื่อไทยหันมาเทคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์แทนที่จะไปเลือกผู้สมัครคนอื่นซึ่งจะเป็นคะแนนที่เสียเปล่า การหาเสียงด้วยวาทกรรมนี้ ช่วยให้สุขุมพันธ์พลิกกลับมาชนะการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนเสียง 1,256,349 เสียง ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร [11]

ความล้มเหลวด้านบริหาร

ในช่วงของวาระที่สอง สุขุมพันธ์ได้ให้ความช่วยเหลือในการชุมนุมของกปปส.ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมีการอำนวยความสะดวกทั้งในเรื่องของระบบไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย แม้ว่าเขาจะออกมาแก้ต่างว่าเป็นหน้าที่ของกทม.ที่ควรจะทำโดยไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย[12] สุขุมพันธ์ใช้งบประมาณไปอย่างสิ้นเปลืองในโครงการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร มีการใช้งบกว่า 1.28 พันล้านบาท จัดซื้อเครื่องดนตรีให้แก่โรงเรียนในสังกัดทั้ง ๆ ที่ไม่มีบุคลากรครูผู้สอน[13] และยังมีการใช้งบ 39 ล้านบาทในการประดับตกแต่งไฟบริเวณลานคนเมืองและขั้นตอนไม่โปร่งใส[14] การบริหารงานของสุขุมพันธ์นั้นดื้อดึงและย่ำแย่ถึงขนาดที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามพูดคุยกับสุขุมพันธ์แต่ก็ถูกเพิกเฉย จนพรรคต้องออกมาประกาศตัดสัมพันธ์กับสุขุมพันธ์ในวันที่ 21 มกราคม 2559 [15]

ทั้งที่สุขุมพันธ์ผู้ว่ามาหลายปีและไปดูงานการจัดการน้ำในยุโรปหลายครั้ง แต่สุขุมพันธ์ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครได้ จนประชาชนต้องออกมาโจมตีเขา เขาได้ออกมากล่าวว่า "...ถ้าไม่อยากมีจุดเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม ต้องไปอยู่บนดอยครับ"[16] ซึ่งทวีความไม่พอใจในหมู่ประชาชน และกรณีอื่น ๆ อาทิ การปฏิเสธโครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าด้านโรงไฟฟ้าขยะจากรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากมีโครงการอยู่กับบริษัทจากจีน[17] นอกจากนี้ยังมีการใช้งบประมาณกว่า 16.5 ล้านบาทในการตกแต่งห้องทำงานส่วนตัว[18] และยังมีการจัดซื้อรถดับเพลิงขนาดเล็กพวงมาลัยซ้ายสมรรถนะต่ำในราคาคันละ 8 ล้าน และเรือดับเพลิงขนาดเล็กคันละ 10 ล้าน แม้จะถูกสตง.ท้วงติงในโครงการต่าง ๆ ว่าไม่ควรตรวจรับ แต่กทม.ภายใต้การบริหารของสุขุมพันธ์ก็ดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ[19]

แม้ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย จะออกมาเรียกร้องให้สุขุมพันธ์แสดงความรับผิดชอบต่อข้อครหาต่าง ๆ โดยการลาออกจากตำแหน่ง แต่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ก็ยืนยันที่จะไม่ลาออก [20] ในขณะที่มีกระแสบางส่วน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดสุขุมพันธ์ออกจากตำแหน่งผู้ว่า[21]จนในที่สุดในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 การเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของเขาก็จบลงทางพฤตินัย โดยอำนาจตามมาตรา 44

ระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแถลงว่าได้ยื่นเรื่องการตรวจสอบโครงการติดไฟประดับอุโมงค์ไฟแอลอีดี จำนวน 5 ล้านดวง งบประมาณ 39.5 ล้านบาทแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย[22]เพื่อให้แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กับ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.และนายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าฯ กทม. ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 123 และพิจารณากำหนดแนวทางการปฏิบัติในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ใช้จ่าย แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในฐานะพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ให้ดำเนินคดีแก่ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ต่อมาโครงการติดไฟประดับอุโมงค์ไฟแอลอีดี มีปปช.มีมติตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่ากทม. และบุคคลอื่นอีก 14 รายแต่ไม่สอบสวน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร[23]

พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แถลงอีกว่ากำลังตรวจสอบ โครงการจัดซื้อจ้ดจ้างของกทม. อีก 2-3 อาทิโครงการจัดซื้อเครื่องดนตรี โครงการตกแต่งห้องทำงานส่วนตัว 16.5 ล้านบาท โครงการจัดซื้อรถกู้ภัยขนาดเล็กในราคาแพงเกินจริง[24]

จนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 50/2559 ให้สุขุมพันธุ์ระงับการปฏิบัติราชการ หรือหน้าที่ในกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวโดยยังไม่พ้นจากตำแหน่ง จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557[25]ซึ่งมีการแต่งตั้ง ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันเดียวกัน[26]โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เหตุผลว่าเพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบเป็นไปอย่างโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อกล่าวหาใดที่ ฟ้องร้อง สุขุมพันธุ์ บริพัตร โดยตรง

ต่อมาในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอ้างอิงจากคำสั่งที่ 50/2559 ที่ผ่านมานั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง จึงอาศัยความตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มีคำสั่งดังให้ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และพลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าฯ กทม เป็นผู้ว่าฯ กทม [27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. เปิดประวัติ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ว่าที่ ผู้ว่าฯ กทม. 2556
  2. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 53". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2013-03-16.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)
  6. ตามไม่ทันเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  7. “คุณชาย” ยันต่อสัญญา BTS 30 ปี ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่เอี่ยวการเมือง
  8. ประชาธิปัตย์ เคาะชื่อ สุขุมพันธุ์ ชิงผู้ว่า กทม.[ลิงก์เสีย] 27 ธันวาคม 2555
  9. สวนดุสิตโพลสำรวจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ 3 “พงศพัศ” ยังนำ “สุขุมพันธุ์”[ลิงก์เสีย] 15 ก.พ. 2556
  10. มหานครแห่งความเกลียด คมชัดลึก. 4 ก.พ. 2556
  11. สุขุมพันธุ์ ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯทุบสถิติคะแนนสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์
  12. จุดแข็งของสุขุมพันธุ์ โพสต์ทูเดย์. 14 กรกฎาคม 2559
  13. ราคาซื้อโหดไป! สตง.ตั้ง 3 ประเด็น ลุยสอบเครื่องดนตรี 'สุขุมพันธุ์' 1.2 พันล. อิศรา. 15 ธันวาคม 2558
  14. สุขุมพันธุ์ ชี้งบแต่งไฟลานคนเมือง 39 ล้าน แค่ได้เห็นก็คุ้มค่าแล้ว
  15. Nation TV "เบื้องหลัง ปชป.กดดัน“สุขุมพันธุ์” พ้นพรรค-ทิ้งผู้ว่าฯกทม." 21 มกราคม 2559. เนชั่นทีวี
  16. เราเป็นเมืองน้ำ เราเป็นเมืองฝน ถ้าไม่อยากมีจุดเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม ต้องไปอยู่บนดอย สปริงนิวส์. 26 มี.ค. 58
  17. ญี่ปุ่นมึนแจกเตาเผาขยะฟรีแต่ กทม.ไม่รับ "กรอ." ถกมหาดไทยหาพื้นที่ใหม่ติดตั้งแทน ไทยรัฐ 15 กรกฎาคม 2558
  18. ส่องเลย รายการปรับปรุงห้องทำงาน “สุขุมพันธ์”16.5ล้าน บ้าระห่ำ-ฟุ่มเฟือย[ลิงก์เสีย] ทีนิวส์. 14 มิถุนายน 2559
  19. "ผู้ว่าสตง."สอน"ชายหมู" ใช้จ่ายเงินประชาชน ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า เนชั่น. 16 กรกฎาคม 2559
  20. “บุญยอด” แนะ “สุขุมพันธุ์” ควรลาออกพ้นผู้ว่าฯ หากป.ป.ช. สอบไฟ 39 ล้าน เก็บถาวร 2016-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 5 พ.ค. 59
  21. ม.44ปลด'สุขุมพันธุ์'ขึ้นกับนายกฯ คมชัดลึก. 22 ม.ค. 2559
  22. ชื่อ'สุขุมพันธ์' เบอร์หนึ่ง! สตง.ส่งผลสอบชี้มูลไฟกทม.39 ล.ให้ ป.ป.ช.แล้ว
  23. มาตรา 123 และพิจารณากำหนดแนวทางการปฏิบัติในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
  24. ข้อกล่าวหา “ความไม่โปร่งใส” ของ กทม. ยุค “สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ก่อนพ้นตำแหน่งผู้ว่าฯ ต้นปี 2560
  25. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๐/๒๕๕๙ เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ ๖ เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๘๘ ง วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
  26. ""ผุสดี ตามไท"นั่งรักษาการผู้ว่าฯกทม". มคมชัดลึกออนไลน์. 2559, 25 สิงหาคม. สืบค้นเมื่อ 25-08-2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  27. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑, ๑ มีนาคม ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ถัดไป
อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(สมัยที่ 1 11 มกราคม พ.ศ. 2552 - 9 มกราคม พ.ศ. 2556

สมัยที่ 2 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559)

พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง