ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิศวกรรมผันกลับ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ro:Inginerie inversă
Gökhan (คุย | ส่วนร่วม)
tr
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
[[ru:Обратная разработка]]
[[ru:Обратная разработка]]
[[sv:Reverse engineering]]
[[sv:Reverse engineering]]
[[tr:Tersine mühendislik]]
[[uk:Зворотна розробка]]
[[uk:Зворотна розробка]]
[[vi:Kỹ nghệ đảo ngược]]
[[vi:Kỹ nghệ đảo ngược]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:51, 6 มีนาคม 2551

วิศวกรรมผันกลับ (reverse engineering) คือ กระบวนการค้นหาโครงสร้าง ฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบหนึ่ง ๆ มักเกี่ยวข้องกับการแยกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ออกจากกัน (ได้แก่ เครื่องกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์) แล้ววิเคราะห์การทำงานในแต่ละส่วน จากนั้นจึงนำมาสร้างอุปกรณ์ใหม่หรือโปรแกรมใหม่ ที่ทำงานได้เหมือนเดิม โดยปราศจากการคัดลอกจากต้นแบบ

วิศวกรรมผันกลับ เป็นวิทยาศาสตร์โดยพื้นฐาน ที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (ในทางกลับกัน วิศวกรรม อาจถูกมองว่าเป็น 'วิทยาศาสตร์ผันกลับ' ก็ได้) วิชาชีววิทยาถือได้ว่าเป็น วิศวกรรมผันกลับของ'เครื่องจักรชีวะ' วิชาฟิสิกส์เป็นวิศวกรรมผันกลับของโลกทางกายภาพ วิศวกรรมผันกลับถือเป็นสาขาย่อยในวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ส่วนสาขาย่อยอื่นๆในวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นจัดเป็น วิศวกรรมการสร้าง'ไปข้างหน้า'

ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ การทำวิศวกรรมผันกลับค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหรือเป็นคดีความ เนื่องจากสังคมโลกมีการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์กันอย่างกว้างขวาง ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างต้องการรักษาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นเป็นความลับ ขณะที่จุดมุ่งหมายของวิศวกรรมผันกลับคือการเปิดเผยความลับนั้น ๆ ออกมา

ประเภทและการประยุกต์ใช้วิศวกรรมผันกลับ

วิศวกรรมผันกลับถูกนำมาใช้ในการทหารเพื่อคัดลอกเทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือข้อมูลของประเทศอื่น มันถูกนำมาใช้บ่อยในยุคสงครามโลกครั้งที่สองและยุคสงครามเย็น ตัวอย่างเช่น

  • Jerry can: กองทัพสหราชอาณาจักรและกองทัพอเมริกันได้ประกาศว่า เยอรมันมีถังเก็บน้ำมันเบนซินที่มีการออกแบบอย่างยอดเยี่ยม พวกเขาได้ทำวิศวกรรมผันกลับเพื่อคัดลอกถังเหล่านี้
  • Tupolev Tu-4: เครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 ของฝ่ายอเมริกันจำนวนหนึ่งที่ไปปฏิบัติภารกิจที่ญี่ปุ่น ถูกบังคับให้ลงจอดในสหภาพโซเวียต ภายในไม่กี่ปีต่อมา โซเวียตได้สร้างเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-4 ซึ่งลอกแบบมาจากเครื่องบิน B-29 ทุกประการ

แหล่งข้อมูลศึกษาด้าน Reverse Engineering ในไืทย