ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอศรีสัชนาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Toneder (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 79: บรรทัด 79:
== การขนส่ง ==
== การขนส่ง ==
อำเภอศรีสัชนาลัยมีถนนสายสำคัญดังนี้
อำเภอศรีสัชนาลัยมีถนนสายสำคัญดังนี้
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1201]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1201]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1294]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1294]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1305]]
* [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1404]]


นอกจากนี้ยังมีโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย|รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ]] ซึ่งจะผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยด้วย
นอกจากนี้ยังมีโครงการ[[รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย|รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ]] ซึ่งจะผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยด้วย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:53, 29 ธันวาคม 2564

อำเภอศรีสัชนาลัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Satchanalai
คำขวัญ: 
ประเพณีลือก้อง ทองโบราณ
ย่านผ้าซิ่น ถิ่นมรดกโลก
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีสัชนาลัย
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอศรีสัชนาลัย
พิกัด: 17°31′2″N 99°45′37″E / 17.51722°N 99.76028°E / 17.51722; 99.76028
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุโขทัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,050.511 ตร.กม. (791.707 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด91,601 คน
 • ความหนาแน่น44.67 คน/ตร.กม. (115.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 64130
รหัสภูมิศาสตร์6405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย หมู่ที่ 1 ถนนพิศาลดำริ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย 64130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอศรีสัชนาลัย เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย โดยเป็นที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์และอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

ประวัติศาสตร์

"เมืองเชลียง" เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีสัชนาลัย (ส่วนทางล้านนาเรียก "เชียงชื่น") ส่วนอำเภอศรีสัชนาลัยนั้น ชื่อเดิมคืออำเภอด้งและอำเภอหาดเสี้ยว ก่อนที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จะให้นำชื่อเมืองโบราณครั้งสมัยสุโขทัยมาตั้งเป็นชื่ออำเภอโดยตรง เมืองโบราณเป็นที่ราบริมแม่น้ำยม และที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี และเขาพนมเพลิง ก็เป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ และมีความอุดมสมบูรณ์จากแก่งหลวง แม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้เกิดเป็นชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้และเคยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในอดีต

ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตแดนระหว่างอาณาจักรล้านนา กับ อาณาจักรสุโขทัย-สยาม อำเภอแห่งแรกที่นี่ เดิมชื่อ อำเภอด้ง อยู่ในบริเวณ บ้านปลายนา ตำบลบ้านตึก ก่อนจะย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอตรงบริเวณบ้านป่างิ้ว ตั้งได้ไม่นานนักมีโจรบุกปล้นและเผา จนต้องย้ายมาตั้งตรงบริเวณริมน้ำ ตำบลหาดเสี้ยว และได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอหาดเซี่ยว ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหาดเสี้ยว ก่อนจะมีการแบ่งพื้นที่ใหม่ และตั้งชื่ออำเภอใหม่ ว่า อำเภอศรีสัชนาลัย

  • -พ.ศ. ๒๔๔๑ ตั้ง ที่ว่าการอำเภอด้ง (ปัจจุบันคือบ้านปลายนา ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย)
  • -พ.ศ. ๒๔๖๕ เปลี่ยนชื่อ จาก อำเภอด้ง เป็น อำเภอหาดเซี่ยว (ภายหลังมีการใช้ ส เสือ แทน ซ โซ่ เป็น อำเภอหาดเสี้ยว )
  • -พ.ศ. ๒๔๘๒ เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอศรีสัชนาลัย และตั้งอยู่ใน ต.หาดเสี้ยว จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แม่น้ำยมในอำเภอศรีสัชนาลัย

อำเภอศรีสัชนาลัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่

1. หาดเสี้ยว (Hat Siao) 06 หมู่บ้าน
2. ป่างิ้ว (Pa Ngio) 12 หมู่บ้าน
3. แม่สำ (Mae Sam) 14 หมู่บ้าน
4. แม่สิน (Mae Sin) 25 หมู่บ้าน
5. บ้านตึก (Ban Tuek) 14 หมู่บ้าน
6. หนองอ้อ (Nong O) 11 หมู่บ้าน
7. ท่าชัย (Tha Chai) 12 หมู่บ้าน
8. ศรีสัชนาลัย (Si Satchanalai) 6 หมู่บ้าน
9. ดงคู่ (Dong Khu) 09 หมู่บ้าน
10. บ้านแก่ง (Ban Kaeng) 13 หมู่บ้าน
11. สารจิตร (Sarachit) 14 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

การขนส่ง

อำเภอศรีสัชนาลัยมีถนนสายสำคัญดังนี้

นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ซึ่งจะผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยด้วย

สถานที่สำคัญ

วัดช้างล้อมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

แหล่งข้อมูลอื่น