ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซอฟต์พาวเวอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''อำนาจอ่อน''' ({{lang-en|soft power}}) คือ แนวคิดที่พัฒนาโดยโจเซฟ เนย์ (Joseph Nye)<ref>[http://www.thaipost.net/node/11376 คอลัมภ์พลังอำนาจแบบฉลาด โดยชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552 จากเว็บไซต์ไทยโพสต์]{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> จาก[[มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด]] ซึ่งมีความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วมมากกว่าการบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น<ref name="thairath">[http://www.thairath.co.th/content/401926 คอลัมภ์อำนาจอ่อน-อำนาจแข็ง โดยบวร โทศรีแก้ว ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการได้แก่ วัฒนธรรม (culture) ค่านิยมทางการเมือง (political values)<ref name="kositthiphon">[http://kositthiphon.blogspot.com/2008/12/soft-power-public-diplomacy.html ที่มาของ soft power โดยสิทธิพล เครือรัฐติกาล, Ph.D.] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> และนโยบายต่างประเทศ (foreign policies)<ref name="sisat">[http://www.sisat.ac.th/main/images/document/p08-09-54-001.doc พลังอำนาจแบบแข็ง ( Hard Power ) และพลังอำนาจแบบอ่อน ( Soft Power ) โดย ดร.อนันท์ งามสะอาด] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref>
'''อำนาจอ่อน''' ({{lang-en|soft power}}) หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม โดยไม่ต้องบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในกรณีของการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น<ref name="thairath">[http://www.thairath.co.th/content/401926 คอลัมภ์อำนาจอ่อน-อำนาจแข็ง โดยบวร โทศรีแก้ว ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง<ref name="kositthiphon">[http://kositthiphon.blogspot.com/2008/12/soft-power-public-diplomacy.html ที่มาของ soft power โดยสิทธิพล เครือรัฐติกาล, Ph.D.] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> และนโยบายต่างประเทศ<ref name="sisat">[http://www.sisat.ac.th/main/images/document/p08-09-54-001.doc พลังอำนาจแบบแข็ง ( Hard Power ) และพลังอำนาจแบบอ่อน ( Soft Power ) โดย ดร.อนันท์ งามสะอาด] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref> ได้รับการอธิบายไว้เป็นครั้งแรกโดยโจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด<ref>[http://www.thaipost.net/node/11376 คอลัมภ์พลังอำนาจแบบฉลาด โดยชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552 จากเว็บไซต์ไทยโพสต์]{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }} สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557</ref>


== แหล่งทรัพยากรของ Soft power ==
== แหล่งทรัพยากรของ Soft power ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:37, 15 ธันวาคม 2564

อำนาจอ่อน (อังกฤษ: soft power) หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม โดยไม่ต้องบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในกรณีของการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น[1] โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง[2] และนโยบายต่างประเทศ[3] ได้รับการอธิบายไว้เป็นครั้งแรกโดยโจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[4]

แหล่งทรัพยากรของ Soft power

โจเซฟ เนย์ ได้กล่าวว่าแหล่งทรัพยากรสำคัญของ soft power ประกอบไปด้วย 3 ประการดังนี้

  1. วัฒนธรรม (culture) ถ้าวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์และค่านิยมของประเทศอื่นๆ โอกาสที่วัฒนธรรมดังกล่าวจะกลายเป็น soft power ของประเทศนั้นก็จะมีมากขึ้น ช่องทางที่ทำให้วัฒนธรรมของประเทศหนึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศอื่นๆ นั้นมีมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการค้า การเยี่ยมเยือน การติดต่อสื่อสาร และการแลกเปลี่ยน[1]
  2. ค่านิยมทางการเมือง (political values) ถ้าประเทศดังกล่าวมีค่านิยมทางการเมืองที่สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ soft power ของประเทศนั้นจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันถ้าค่านิยมของประเทศดังกล่าวขัดกับค่านิยมของประเทศอื่นๆอย่างชัดเจน soft power ของประเทศนั้นก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1950 ยังคงมีการแบ่งแยกสีผิว (racial segregation) ทำให้ soft power ของสหรัฐอเมริกาในทวีปแอฟริกานั้นมีน้อย เป็นต้น[2]
  3. นโยบายต่างประเทศ (foreign policies) ถ้าประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายที่หน้าไหว้หลังหลอก (hypocritical) ก้าวร้าว และไม่แยแสต่อท่าทีของประเทศอื่นๆ โอกาสที่จะสร้าง soft power จะมีน้อย ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาที่บุกยึดอิรักใน ค.ศ. 2003 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประเทศอื่นๆ เป็นต้น แต่ถ้าประเทศดังกล่าวมีแนวนโยบายต่างประเทศที่รักสันติภาพและเคารพในสิทธิมนุษยชน โอกาสที่จะสร้าง soft power ให้เกิดขึ้นจะมีมาก[3]

อ้างอิง

  • Nye, Jr., Joseph S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: PublicAffairs.

แหล่งข้อมูลอื่น