ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏมัคคาบี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military conflict |conflict = กบฏมัคคาบี |image = Maccabean revolt.jpg |image_size = 300px |caption = ยูเดียภายใต้ยูดาส มัคคาเบอุส ระหว่างการกบฏ |date = 167–160 ปีก่อนคริสตกาล |place = ยูเดีย ส่วนหนึ่งของซีลี-ซีเรีย จักรวรรด...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 28 พฤศจิกายน 2564

กบฏมัคคาบี

ยูเดียภายใต้ยูดาส มัคคาเบอุส ระหว่างการกบฏ
วันที่167–160 ปีก่อนคริสตกาล
สถานที่
ผล

การกบฏสำเร็จ

คู่สงคราม
ไฟล์:Ancient Menorah Coin.gif มัคคาบี จักรวรรดิซิลูซิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มัททาทิอัส
ยูดาส มัคคาเบอุส (KIA)
โยนาทัน อัปฟัส
เอลิเอซาร์ อะวารัน (KIA)
ซีโมน ทัสซี
ยอห์น กัดดี (KIA)
พระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 4 เอพิฟาเนส
พระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 5 ยูเพเตอร์
พระเจ้าเดเมตริอุสที่ 1 โซเตอร์
ลีซิอัส
กอร์จิอัส
ไนเคเนอร์ (KIA)
แบกคิดีส
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กบฏยูเดีย/มัคคาบี กองทัพซิลูซิด

กบฏมัคคาบี (ฮีบรู: מרד החשמונאים) เป็นการกบฏชาวยิวนำโดยกลุ่มมัคคาบีเพื่อต่อต้านจักรวรรดิซิลูซิดและอิทธิพลกรีก การกบฏช่วงหลักเกิดขึ้นระหว่าง 167–160 ปีก่อนคริสตกาล และจบลงเมื่อซิลูซิดเข้าควบคุมยูเดีย แต่ความขัดแย้งระหว่างมัคคาบี ชาวยิวเฮลเลนิสต์และซิลูซิดยังดำเนินต่อไปจนถึง 134 ปีก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์เกิดจากพระเจ้าแอนทิโอคัสที่ 4 เอพิฟาเนสปราบปรามผู้นับถือศาสนายูดาห์ใน 168 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุที่พระองค์ทำเช่นนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความเชื่อเป็นองค์ประกอบ[1] แอนทิโอคัสให้เยรูซาเลมอยู่ใต้อำนาจซิลูซิดโดยตรง สั่งห้ามประกอบพิธีกรรมของศาสนายูดาห์[2] และดัดแปลงพระวิหารที่สองในเยรูซาเลมเป็นศาสนสถานของลัทธิผสานกรีก-ยูดาห์[3] การปราบปรามนี้นำไปสู่การกบฏนำโดยยูดาส มัคคาเบอุส นักบวชยูดาห์ใน 167 ปีก่อนคริสตกาล การต่อสู้ดังกล่าวถูกบันทึกในหนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2[4]

มัคคาบีตั้งเป็นกองโจรที่เคลื่อนไหวในชนบท เข้าปล้นเมืองที่อยู่ห่างไกลอำนาจซิลูซิดและข่มเหงข้ารับใช้กรีก ก่อนจะพัฒนาเป็นกองทัพที่มีศักยภาพในการโจมตีเมืองปราการของซิลูซิด การยึดเยรูซาเลมใน 164 ปีก่อนคริสตกาลถือเป็นชัยชนะช่วงแรกที่สำคัญ มัคคาบีทำการชำระพระวิหารและอุทิศแท่นบูชาใหม่เป็นเวลา 8 วัน ซึ่งฉลองสืบต่อมาเป็นเทศกาลฮานุกกาห์[5][6] ที่สุดแล้วซิลูซิดยอมผ่อนปรนและยกเลิกการสั่งห้ามศาสนายูดาห์ แต่มัคคาบีหัวรุนแรงบางกลุ่มยังคงสู้ต่อเพื่อต้องการหลุดพ้นจากอำนาจซิลูซิด ต่อมาใน 160 ปีก่อนคริสตกาล ยูดาส มัคคาเบอุสถูกสังหารในยุทธการที่เอลาซา[7] โยนาทัน อัปฟัส น้องชายของยูดาสขึ้นเป็นผู้นำแทน ความขัดแย้งภายในจักรวรรดิซิลูซิดและการเป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐโรมันเอื้อให้มัคคาบีมีโอกาสเป็นอิสระมากขึ้น จากนั้น 141 ปีก่อนคริสตกาล ซีโมน ทัสซี ผู้นำต่อจากโยนาทันขับไล่ชาวกรีกออกจากป้อมอะคราในเยรูซาเลมได้สำเร็จ และก่อตั้งราชวงศ์แฮสโมเนียที่ปกครองยูเดียจนถึง 37 ปีก่อนคริสตกาล[8]

กบฏมัคคาบีเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของชาวยิว และเป็นแรงบันดาลใจให้กับการก่อการกำเริบของชาวยิวในเวลาต่อมาอย่างสงครามยิว–โรมันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 66–73) และกบฏบาร์ คอคบา (ค.ศ. 132–136)[9][10]

อ้างอิง

  1. Oates, Harry (October 29, 2015). "The Maccabean Revolt". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
  2. "Maccabean Revolt – Biblical Studies – Oxford Bibliographies – obo".
  3. I Maccabees, 1, 41–50
  4. "The Books of the Maccabees". Britannica. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
  5. "What Is Hanukkah?". Chabad-Lubavitch Media Center. In the second century BCE, the Holy Land was ruled by the Seleucids (Syrian-Greeks), who tried to force the people of Israel to accept Greek culture and beliefs rather than mitzvah observance and belief in G‑d. Against all odds, a small band of faithful but poorly armed Jews, led by Judah the Maccabee, defeated one of the mightiest armies on earth, drove the Greeks from the land, reclaimed the Holy Temple in Jerusalem and rededicated it to the service of G‑d. ... To commemorate and publicize these miracles, the sages instituted the festival of Chanukah.
  6. "Bible (King James)/2 Maccabees - Chapter 10". Wikisource. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
  7. Bar-Kochva 1989, p. 376–402
  8. "Antigonus Matthathias", Jewish Encyclopedia
  9. Hengel 1973, p. 306
  10. Mendels 1997, p. 371–376