ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีกรุงเทพ"

พิกัด: 13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขส่วนผิด
บรรทัด 71: บรรทัด 71:
* ขบวนรถ/วัน:จอด 100+ ขบวน รถนำเที่ยว รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม รถชานเมือง
* ขบวนรถ/วัน:จอด 100+ ขบวน รถนำเที่ยว รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม รถชานเมือง
* ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 60,000+ คน
* ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 60,000+ คน
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้ : [[สถานีรถไฟจิตรลดา]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้ : [[ป้ายหยุดรถยมราช]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : [[ป้ายหยุดรถยมราช]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : [[สถานีรถไฟจิตรลดา]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก : [[ป้ายหยุดรถอรุพงษ์]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก : [[ป้ายหยุดรถอรุพงษ์]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : [[สถานีรถไฟมักกะสัน]] / [[สถานีรถไฟแม่น้ำ]]
* สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : [[สถานีรถไฟมักกะสัน]] / [[สถานีรถไฟแม่น้ำ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:52, 27 พฤศจิกายน 2564

สถานีรถไฟกรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
พิกัด13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
เจ้าของไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย
สายแม่แบบ:SRT Lines
แม่แบบ:SRT Lines
แม่แบบ:SRT Lines
แม่แบบ:SRT Lines
ชานชาลา12 ชานชาลาราง (ตัวสถานี)
8 ชานชาลาราง (โรงรถดีเซลราง)
การเชื่อมต่อแม่แบบ:BTS Lines
แม่แบบ:BTS Lines
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลาชั้นพิเศษ
ที่จอดรถด้านข้างสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1001
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 (107 ปี)
ผู้โดยสาร
พ.ศ. 254460,000+ คนต่อวัน
กรุงเทพ
Bangkok
กิโลเมตรที่ 0

แม่แบบ:รถไฟทางตรงแม่แบบ:ต้นทางรถไฟแม่แบบ:จบป้ายสถานีรถไฟ

ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณจุดจำหน่ายตั๋ว
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณชานชาลา
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ บริเวณที่นั่งพักคอยและร้านค้าเช่า

สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร

สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง

สถานีกรุงเทพมีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลจำเพาะ

  • ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ และสายตะวันออก
  • รหัส  : 1001
  • ชื่อภาษาไทย  : กรุงเทพ
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Bangkok
  • ชื่อย่อภาษาไทย : กท.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BKK.
  • ชั้นสถานี  : สถานีรถไฟชั้นพิเศษ
  • ระบบอาณัติสัญญาณ : ไฟฟ้า-รีเลย์ ไฟสีสองท่า
  • พิกัดที่ตั้ง  : บริเวณแยกหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4
  • ที่อยู่  : 1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • ขบวนรถ/วัน:จอด 100+ ขบวน รถนำเที่ยว รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถรวม รถชานเมือง
  • ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 60,000+ คน
  • สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้ : ป้ายหยุดรถยมราช
  • สถานีถัดไปในเส้นทางสายเหนือ/ตะวันออกเฉียงเหนือ/ใต้(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟจิตรลดา
  • สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก : ป้ายหยุดรถอรุพงษ์
  • สถานีถัดไปในเส้นทางสายตะวันออก(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟมักกะสัน / สถานีรถไฟแม่น้ำ
  • ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 0.00 กิโลเมตร

ประวัติ

สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป

บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิตอล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอย มีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ

ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีกรุงเทพ จำนวน 4 สาย ได้แก่

สถานีรถไฟกรุงเทพในปัจจุบัน มีสถานีหัวลำโพง ในเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ให้บริการอยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ

แผนผังสถานี

G
ชานชาลารถไฟทางไกล
ชานชาลา

15

ชานชาลา 14
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 13
ชานชาลา 12
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 11
ชานชาลา 10
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 9
ชานชาลา 8
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 7
ชานชาลา 6
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 5
ชานชาลา 4
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 3
ชานชาลา 2
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 1
G
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางออก
B1-B2
ส่วนของสถานีรถไฟฟ้ามหานคร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางเดินเชื่อมไปยัง สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร), ชั้นขายบัตรโดยสาร (รถไฟฟ้ามหานคร), ชานชาลาสถานี

ตารางเดินรถ

...

อุบัติเหตุ

โครงการในอนาคต

เมื่อสถานีกลางบางซื่อเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งมีกลุ่มคนบางส่วนคัดค้านอย่างเช่นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากการยกเลิกสถานีรถไฟหัวลำโพงนั้นจะทำให้คนที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองโดยใช้รถไฟทุกวันจะได้รับความเดือดร้อน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ได้ร่วมแถลงการณคัดค้านนโยบายการปิดบริการสถานีรถไฟหัวลำโพง ขอให้มีการจัดมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีรถไฟหัวลำโพงให้ชัดเจน เป็นต้น

โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางบางซื่อเปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR) ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car), ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car) อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่นๆจะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางบางซื่อต่อไป

สมุดภาพ

อ้างอิง

  • กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
  • ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:SRT Lines style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์
มุ่งหน้า สถานีด่านพรมแดนบ้านคลองลึก
มุ่งหน้า สถานีบ้านพลูตาหลวง
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:SRT Lines style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   ป้ายหยุดรถไฟยมราช
มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี
มุ่งหน้า สถานีหาดใหญ่
มุ่งหน้า สถานีปาดังเบซาร์
มุ่งหน้า สถานีสุไหงโก-ลก
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:SRT Lines style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   ป้ายหยุดรถไฟยมราช
มุ่งหน้า สถานีหนองคาย
มุ่งหน้า สถานีอุบลราชธานี
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:SRT Lines style="background:#แม่แบบ:SRT color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   ป้ายหยุดรถไฟยมราช
มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่
สถานียศเส
มุ่งหน้า สถานีบ้านภาชี
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีคลองสาน
มุ่งหน้า สถานีปากท่อ
สถานีวัดมังกร
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines
เชื่อมต่อที่ สถานีหัวลำโพง
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีสามย่าน
มุ่งหน้า สถานีเตาปูน