ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
# '''หม่อมเจ้าหญิงพื้นพงศ์''' (ประสูติ พ.ศ. 2378 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส พร้อมกับพระองค์เจ้าหญิงชมชื่น) ประสูติแต่หม่อมจาด ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2413) และในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท]]
# '''หม่อมเจ้าหญิงพื้นพงศ์''' (ประสูติ พ.ศ. 2378 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส พร้อมกับพระองค์เจ้าหญิงชมชื่น) ประสูติแต่หม่อมจาด ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2413) และในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท]]
# '''หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สรร''' (ประสูติ พ.ศ. 2380 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2457) ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์แสง ศิริวงศ์
# '''หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สรร''' (ประสูติ พ.ศ. 2380 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2457) ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์แสง ศิริวงศ์
# '''หม่อมเจ้าหญิงสารพัดเพ็ชร์''' (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2443) ประสูติแต่หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (คนละคนกับหม่อมน้อยผู้เป็นหม่อมมารดาของ[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]]) ซึ่งหม่อมน้อยผู้นี้มีสกุลเดิมว่าภมรมนตรี ธิดา[[พระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)]] โดยในภายหลังเมื่อกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมน้อยได้ไปเป็นหม่อมห้ามใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม]] จึงกายเป็น[[หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา]]
# '''หม่อมเจ้าหญิงสารพัดเพ็ชร์''' (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2443) ประสูติแต่หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (คนละคนกับหม่อมน้อยผู้เป็นหม่อมมารดาของ[[สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี]]) ซึ่งหม่อมน้อยผู้นี้มีสกุลเดิมว่าภมรมนตรี ธิดา[[พระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)]] โดยในภายหลังเมื่อกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมน้อยได้ไปเป็นหม่อมห้ามใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม]] จึงกลายเป็น[[หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา]]
# '''หม่อมเจ้าหญิงแฉ่''' หรือ '''หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย''' (ประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 พระราชทานเพลิง ณ วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2459) ประสูติแต่หม่อมกิม โดยหม่อมเจ้าหญิงพรรณรายทรงรับราชกาลฝ่ายในเป็นพระมเหสีใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา]]และ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย]] ซึ่งพระองค์เจ้าพรรณรายถือเป็นพระประยูรญาติที่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 5 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเรียกพระองค์เจ้าพรรณรายแบบลำลองว่า “น้าแฉ่”
# '''หม่อมเจ้าหญิงแฉ่''' หรือ '''หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย''' (ประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 พระราชทานเพลิง ณ วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2459) ประสูติแต่หม่อมกิม โดยหม่อมเจ้าหญิงพรรณรายทรงรับราชกาลฝ่ายในเป็นพระมเหสีใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา]]และ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย]] ซึ่งพระองค์เจ้าพรรณรายถือเป็นพระประยูรญาติที่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 5 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเรียกพระองค์เจ้าพรรณรายแบบลำลองว่า “น้าแฉ่”
# '''หม่อมเจ้าฉายเฉิด''' มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าขาว โดยพระนามฉายเฉิดนั้นได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 4 (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2441) ประสูติแต่หม่อมเชย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2418) และทรงเลื่อนเป็นกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ โดยในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์]]
# '''หม่อมเจ้าฉายเฉิด''' มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าขาว โดยพระนามฉายเฉิดนั้นได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 4 (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2441) ประสูติแต่หม่อมเชย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2418) และทรงเลื่อนเป็นกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ โดยในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น [[พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:04, 30 ตุลาคม 2564

สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355[1]
สิ้นพระชนม์18 พฤษภาคม พ.ศ. 2382 (26 ปี)
หม่อม7 ท่าน
พระบุตร8 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3

สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์[2] (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2382) ต้นราชสกุลศิริวงศ์ เป็นสมเด็จพระชนกในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เดิมมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 6 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ พระสนมเอก ธิดาพระอักษรสมบัติ (ทับ) กับผ่อง ณ พัทลุง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 มีพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาหนึ่งพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร

พระโอรสและพระธิดา

กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์มีพระโอรสพระธิดารวม 9 พระองค์ คือ[3][4][5][6]

  1. หม่อมเจ้ามงคลเลิศ (ประสูติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2377 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2404) ประสูติแต่หม่อมแพ ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้ามงคลเลิศ ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2396) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็นพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
  2. หม่อมเจ้าหญิงรำเพย (ประสูติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 สวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2404 ถวายเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2405) ประสูติแต่หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา โดยหม่อมเจ้าหญิงรำเพยทรงรับราชกาลฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ปัจจุบันออกพระนามว่าสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 4 พระองค์ หนึ่งในนั้นคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  3. หม่อมเจ้าหญิงชมชื่น (ประสูติ พ.ศ. 2377 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2436 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทรสวาส เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2437) ประสูติแต่หม่อมงิ้ว ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงชมชื่น ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2418) และในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงชมชื่น
  4. หม่อมเจ้าหญิงพื้นพงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2378 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส พร้อมกับพระองค์เจ้าหญิงชมชื่น) ประสูติแต่หม่อมจาด ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็นพระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท ในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2413) และในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพื้นพงศ์ประยุรวงศ์สนิท
  5. หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สรร (ประสูติ พ.ศ. 2380 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2457) ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์แสง ศิริวงศ์
  6. หม่อมเจ้าหญิงสารพัดเพ็ชร์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2443) ประสูติแต่หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (คนละคนกับหม่อมน้อยผู้เป็นหม่อมมารดาของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ซึ่งหม่อมน้อยผู้นี้มีสกุลเดิมว่าภมรมนตรี ธิดาพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) โดยในภายหลังเมื่อกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมน้อยได้ไปเป็นหม่อมห้ามในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม จึงกลายเป็นหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา
  7. หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ หรือ หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย (ประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 พระราชทานเพลิง ณ วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2459) ประสูติแต่หม่อมกิม โดยหม่อมเจ้าหญิงพรรณรายทรงรับราชกาลฝ่ายในเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยาและ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 หม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ซึ่งพระองค์เจ้าพรรณรายถือเป็นพระประยูรญาติที่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 5 โดยรัชกาลที่ 5 โปรดเรียกพระองค์เจ้าพรรณรายแบบลำลองว่า “น้าแฉ่”
  8. หม่อมเจ้าฉายเฉิด มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าขาว โดยพระนามฉายเฉิดนั้นได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 4 (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2441) ประสูติแต่หม่อมเชย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายเฉิด ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2418) และทรงเลื่อนเป็นกรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์ โดยในภายหลังรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์
  9. หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าชายดำ (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424) ประสูติแต่หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา (คนละคนกับหม่อมน้อยผู้เป็นหม่อมมารดาของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) โดยหม่อมน้อยผู้นี้มีสกุลเดิมว่าภมรมนตรี ซึ่งในภายหลังเมื่อกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมน้อยได้ไปเป็นหม่อมห้ามในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม จึงกายเป็นหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระประพันธวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2412) และในภายหลังรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนคำนำหน้าเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์

สิ้นพระชนม์

กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันเสาร์เดือน 7 ขึ้น 5 ค่ำ ปีกุน [7]ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2382 พระชันษา 26 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ[8] (สมเด็จตา) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระชนกในสมเด็จพระบรมราชชนนี

โดยเมื่อสิ้นพระชนม์นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอาลัยเป็นอันมาก ด้วยเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในขณะนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการปลูกพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวงเป็นการใหญ่ แล้วให้อัญเชิญพระอัฐิบรรจุในพระโกศทองคำ มาประดิษฐานไว้ ณ ตำหนักกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำพระโกศทองคำจำหลักลายลงยาราชาวดีเปลี่ยนถวายใหม่[9]

อ้างอิง

  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  2. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 21, รัตนชัยการพิมพ์, 2552. 296 หน้า. หน้า 26. ISBN 978-974-417-594-6
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 'พระสัมพันธวงศ์เธอ' เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2421, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 13 มีนาคม 2544
  5. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สถาปนาคำนำพระนาม เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2448, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 18 กันยายน 2544
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2486, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
  7. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  8. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 38. ISBN 978-974-417-594-6
  9. เทศนากัณฑ์ที่ 1 เรื่องพระราชสันตติวงศ์