ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9724479 สร้างโดย Minnieleex (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ ถูกย้อนกลับแล้ว
Minnieleex (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 48: บรรทัด 48:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}<ref>{{Cite web|title=แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ (Mandarin Oriental Bangkok), จังหวัดกรุงเทพมหานคร|url=https://www.centerwedding.com/bangkok/venues/458681/|website=centerwedding.com}}</ref>
{{รายการอ้างอิง}}


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:35, 29 ตุลาคม 2564

โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพมหานคร
Mandarin Oriental, Bangkok
แผนที่
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทโรงแรม
สถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก
โมเดิร์น
เมือง48 ซอยโอเรียนเต็ลอเวนิว แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2413 (แรกเริ่ม)
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 (เปิดอย่างเป็นทางการ)
ผู้สร้างซี. ซาลเจ (แรกเริ่ม)
ฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน (เปิดอย่างเป็นทางการ)
เจ้าของกลุ่มโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล
การออกแบบและการก่อสร้าง
รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ปี พ.ศ. 2545
เว็บไซต์

โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ (อังกฤษ: Mandarin Oriental, Bangkok ชื่อภาษาไทย(ถอดเสียงภาษาอังกฤษ) : แมนดาริน โอเรียนทอล คำอ่าน : แมน-ดา-ริน- โอ-เรียน-ทอน) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก โดยในอดีตมีชื่อว่า "โรงแรมโอเรียนเต็ล" โดยปัจจุบันบริหารงานโดย บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) (เดิมมีชื่อว่า บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) เป็นโรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย และเคยเป็นหนึ่งในโรงแรมที่ถือว่าดีที่สุดของโลกจากนิตยสารอินสติติวชั่นแนล อินเวสเตอร์ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐ เป็นเวลา 10 ปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2524-2533[1]

ประวัติ

จากหลักฐานพบว่าโรงแรมตั้งขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2413 โดยนาย ซี. ซาลเจ กะลาสีเรือชาวเดนมาร์ก[2] เป็นผู้ซื้อกิจการมาดำเนินการ ต่อมานายฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน เข้ามาบริหารงาน และในปี 2428 ได้ปรับปรุงโรงแรมให้ทันสมัย มีการออกแบบอาคารขึ้นใหม่ เรียกว่า “ออเธอร์ส วิง” และได้เปิดโรงแรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ได้มีไฟฟ้าใช้ครั้งแรกในโรงแรม

โรงแรมโอเรียนเต็ลเปลี่ยนเจ้าของและปรับปรุงมาหลายครั้ง หลายยุคสมัย ได้แก่

  • พ.ศ. 2436 หลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ เป็นเจ้าของ
  • พ.ศ. 2500 แหม่ม ครูลล์ เป็นเจ้าของ
  • พ.ศ. 2510 บริษัท สยาม ซินดิเคท ในเครือบริษัทอิตัลไทยจำกัด เป็นเจ้าของ

โรงแรม โอเรียนเต็ล เคยต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ อาทิ โจเซฟ คอนราด นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2431, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จเยี่ยมโรงแรมในปี พ.ศ. 2433, มกุฎราชกุมารนิโคลัสแห่งรัสเซียในปี พ.ศ. 2434, เจ้าชายลุยจี อาเมดิโอ เชื้อพระวงศ์อิตาลี ในปี พ.ศ. 2438, ซอมเมอร์เซท มอมห นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2466 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเคยเป็นกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น และมีพระบรมวงศานุวงศ์เคยเสด็จมาด้วย การต้อนรับพระประมุขครั้งสำคัญครั้งหนึ่งคือในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 พระประมุขและผู้แทนพระองค์ส่วนใหญ่ประทับ ณ โรงแรมแห่งนี้

1 กันยายน พ.ศ. 2551 กลุ่มกิจการแมนดาริน โอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งของเอเชีย ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของโรงแรม หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลื่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มาเป็น บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) และโรงแรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ " ทำให้มีการปรับภาพลักษณ์และกระบวนทัศน์ของการบริหารงานโรงแรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในรอบ 132 ปี

เกียรติประวัติ

อ้างอิง

[1]

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′25″N 100°30′52″E / 13.72361°N 100.51444°E / 13.72361; 100.51444

  1. "แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ (Mandarin Oriental Bangkok), จังหวัดกรุงเทพมหานคร". centerwedding.com.