ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำตัด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คีโต (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คีโต (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:ลำตัด.jpg|การแสดงลำตัด ณ สังคีตศาลา
ไฟล์:ลำตัด.jpg|การแสดงลำตัด ณ สังคีตศาลา
ไฟล์:ลำตัดฝ่ายหญิง.jpg|การร้องของฝ่ายหญิง
ไฟล์:ร้องโต้ลำตัด.jpg|การร้องโต้ของฝ่ายชาย
</gallery>
</gallery>
{{ศิลปะการแสดงไทย}}
{{ศิลปะการแสดงไทย}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 19:37, 28 ตุลาคม 2564

การแสดงลำตัด

ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ความบันเทิงกัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่ ซึ่งเครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลูกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความว่า เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย สามรถพบเห็นได้ในแถบภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี

เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านภาคกลางชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งนิยมร้องกันในเขตภาคกลาง(สุพรรณบุรี) ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ

ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า “ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลง และทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับโดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้น ลำตัดเป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียบง่าย มีความหมายรู้ ได้ดีมาก กล่าวคือ ตามความหมายเดิม “ลำ” แปลว่า เพลง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ตัด” หมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิดมา ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่น ตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัย และ เพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่าลำตัด