ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 322: บรรทัด 322:


==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
* {{Facebook|ubonumtutd}}
* {{Facebook|ubonunited}}


{{สโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด}}
{{ทีมสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด}}
{{ทีมสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด}}
{{สโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด}}
{{ไทยลีก}}
{{จังหวัด/อุบลราชธานี}}
{{จังหวัด/อุบลราชธานี}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:40, 26 ตุลาคม 2564

สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด
ฉายาเทพอินทรี
ก่อตั้ง30 มกราคม 2015; 9 ปีก่อน (2015-01-30)
สนามยูเอ็มที สเตเดียม
(ความจุ:6,000)
เจ้าของบริษัท อุบล ยูไนเต็ด จำกัด
ประธานธนเดช ศรีโภคิน
ผู้จัดการกวินทร์วัฒน์ เรือนบุรี
ผู้ฝึกสอนมาฆะ หอประสาทสุข
ลีกไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
2562ไทยลีก 2, อันดับที่ 17 (ตกชั้น) ลดลง
เว็บไซต์http://www.ubonumtunited.com/home
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่ 3

สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Ubon United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลในระดับไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น จังหวัดอุบลราชธานี หรือ UMT

สโมสรประสบความสำเร็จตั้งแต่ฤดูกาลแรกที่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในลีกอาชีพ เมื่อสามารถคว้าแชมป์ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 ทำให้ได้เลื่อนขึ้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 2559 ก่อนจะได้ตำแหน่งรองแชมป์และได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ ไทยลีก 2560 ซึ่งนับเป็นการเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดโดยใช้เวลาเพียงแค่ 2 ฤดูกาล

ในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 สโมสรต้องตกชั้นจากไทยลีก 2 แต่ต่อมาถูกปรับให้ไปเล่นในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก แทนเนื่องจากไม่ผ่าน "คลับ ไลเซนซิ่ง"[1]

ปัจจุบันสโมสรใช้สนามยูเอ็มที สเตเดียม ภายในมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นสนามเหย้า

ประวัติสโมสร

ก่อตั้ง

ปี พ.ศ. 2558 ผศ.ดร.วีระศักดิ์ จินารัตน์ อดีตประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี และเป็นอธิการบดีกิตติคุณของมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น หรือ ยูเอ็มที ได้ยื่นเรื่องขอก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ดไปยังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและได้รับการอนุมัติ จึงได้ก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ โดยแยกตัวออกมาจากสโมสรฟุตบอลอุบล ยูเอ็มที เอฟซี อย่างเป็นทางการ และเริ่มส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2558 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [2]

ดิวิชัน 2

ในฤดูกาลแรก สโมสรได้แต่งตั้งให้ ดร.นพพร เอกศาสตรา และ จักราช โทนหงษา ร่วมกันเป็นผู้ฝึกสอน จึงถือได้ว่าทั้งคู่นับเป็นผู้ฝึกสอนคนแรกของสโมสร โดยลงแข่งขันอย่างเป็นทางการนัดแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 ในการแข่งขันโตโยต้า ลีกคัพ รอบเพลย์ออฟ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่พบกับสโมสรหนองบัว พิชญ เอฟซี ที่สนามกีฬากลางจังหวัดหนองบัวลำภู[3]

ต่อมาสโมสรลงแข่งขันในลีกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ในการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 นัดที่บุกไปชนะสโมสรสุรินทร์ ซิตี 1–0 ที่สนามกีฬาศรีณรงค์ และลงแข่งขันฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2558 โดยพบกับสโมสร สิงห์อุบล เอฟซี ที่สนามทุ่งบูรพา แต่หลังจากนั้นผลการแข่งขันโดยรวมในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง 10 นัดแรก ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ทำให้สโมสรต้องเปลี่ยนแปลงผู้ฝึกสอนในเวลาต่อมา

โดยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 สโมสรได้แต่งตั้งให้ สก็อต คูเปอร์ อดีตผู้ฝึกสอนชาวอังกฤษของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนแทน[4] และเพียงแค่ฤดูกาลแรกที่เข้ามาคุมทีม คูเปอร์ ก็สร้างผลงานพาสโมสรคว้าตำแหน่งรองแชมป์ ในโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย แดริล โรเบิร์ต กองหน้าทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกของทีมสามารถคว้ารางวัลรองดาวซัลโวในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จำนวน 23 ประตู และได้ไปแข่งขันในรอบแชมเปียนส์ลีกเพื่อลุ้นเลื่อนชั้นไปเล่นในไทยลีกดิวิชัน 1 ต่อไป โดยในรอบแชมเปียนส์ลีก สโมสรสามารถคว้าแชมป์ของกลุ่มบี ได้สำเร็จ โดยต้องไปชิงชนะเลิศกับสโมสรฟุตบอลสตูล ยูไนเต็ดที่คว้าแชมป์ของกลุ่มเอ โดยในรอบชิงชนะเลิศนัดแรก ที่สนามกีฬาทุ่งบูรพา สโมสรเปิดบ้านถล่มสตูล ยูไนเต็ด ไปถึง 7–0 และการแข่งขันนัดที่สองที่สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง สโมสรบุกไปชนะด้วยผล 2–0 ทำให้รวมผลสองนัดชนะไปด้วยผลรวม 9–0 สร้างสถิติชนะขาดลอยมากที่สุดในรอบชิงชนะเลิศของลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2[5] และทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 เป็นครั้งแรก โดยถือได้ว่าเป็นสโมสรก่อตั้งใหม่ที่ประสบความสำเร็จเมื่อได้เลื่อนชั้นตั้งแต่ฤดูกาลแรกที่ส่งทีมเข้าแข่งขัน

ดิวิชัน 1

สโมสรฟุตบอลอุบล ยูไนเต็ด ลงแข่งขันในดิวิชัน 1 เป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในนัดที่บุกไปชนะสโมสรพีทีที ระยอง 0–2 ที่สนามพีทีที สเตเดียม โดยดารีล โรเบิร์ต ดาวซัลโวฤดูกาลก่อนของทีม เหมายิงคนเดียว 2 ประตู

ผู้เล่น

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 MF ไทย ทวีทรัพย์ ศรีเหลา
10 FW อียิปต์ Sayed Mohamed
19 GK ไทย อนุรักษ์ ชมภูพฤกษ์
22 MF ไทย ณัฐวุฒิ เจริญบุตร
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
25 MF บราซิล Deigo Lima
30 GK ไทย ประพัฒน์ ยศไกร
40 MF ไทย ธัญพิสิษฐ์ คุขะละโม
55 DF ไทย นิรันดร์ฤทธิ์ เจริญศุข

ทำเนียบผู้ฝึกสอน

ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง
ดร.นพพร เอกศาสตรา
จักราช โทนหงษา
ไทย ไทย
ไทย ไทย
มกราคม 2558 เมษายน 2558
สก็อตต์ คูเปอร์ อังกฤษ อังกฤษ เมษายน 2558 ธันวาคม 2560
มิซู พาเทไลเนน ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ มกราคม 2561 เมษายน 2561
ซุงะโอะ คัมเบะ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น เมษายน 2561 ธันวาคม 2561
เอดัวร์ดู อัลไมดา โปรตุเกสโปรตุเกส ธันวาคม 2561 มีนาคม 2562
ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ ไทยไทย มีนาคม 2562 ตุลาคม 2562

บันทึกคะแนนตามฤดูกาล

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ดิวิชั่น P W D L F A Pts Pos ชื่อ ประตู
2558 ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34 26 3 5 87 30 81 รองแชมป์ รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบ 64 ทีมสุดท้าย ดาร์ริล โรเบิร์ต 29
(ลีก 28 ประตู, ลีกคัพ 1 ประตู)
ดิวิชัน 2 รอบแชมเปียนส์ลีก 10 6 3 1 21 12 21 แชมป์
2559 ไทยลีกดิวิชัน 1 26 14 7 5 38 23 49 รองแชมป์ รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย ดาร์ริล โรเบิร์ต 11
(ลีก 9 ประตู, ลีกคัพ 2 ประตู)
2560 ไทยลีก 34 12 11 11 55 54 47 อันดับ 10 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ เนบีฮี บายรัม 13 (ลีก 12 ประตู ,ลีกคัพ 1 ประตู)
2561 ไทยลีก 31 5 7 19 34 53 22 อันดับ17 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบก่อนรองชนะเลิศ สมศักดิ์​ มุสิกะพันธ์ 7​ (ลีก​ 4​ ประตู​ ,ลีกคัพ​ 3​ ประตู)​
2562 ไทยลีก 2 34 8 6 20 31 56 30 อันดับ17 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบเพลย์ออฟ
แชมป์เปียนส์ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น กำลังแข่งขัน

ผู้ทำประตูสูงสุดในลีกประจำฤดูกาล

  • ถึงวันที่ 24 เม.ย. 2562
ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด จำนวนประตู สัญชาติ ลีก
2558 ดาร์ริล โรเบิร์ต 28[6] ตรินิแดดและโตเบโก ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(23 ประตู)​
ดิวิชัน 2 รอบแชมเปียนส์ลีก
(2 ประตู)​
ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 รอบชิงชนะเลิศ​
(3 ประตู)​
2559 ดาร์ริล โรเบิร์ต 9 ตรินิแดดและโตเบโก ไทยลีก ดิวิชัน 1
วิกโตร์ มัตโตส การ์โดซู 9 บราซิล
2560 เนบีฮี บายรัม 12 เยอรมนี/คอซอวอ ไทยลีก
2561 อภิวัฒน์ เพ็งประโคน 5 ไทย ไทยลีก
มาร์ค ฮาร์ตแมนน์ 5 ฟิลิปปินส์
2562 ก้องภพ​ ลวดทรง​ 3 ไทย ไทยลีก 2

ความสำเร็จ

สถิติสโมสร

  • ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

สถิติการแข่งขัน

สถิติผู้เล่น

  • ผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากที่สุดเมื่อรวมทุกรายการ
    • ดาร์รีล โรเบิร์ต ตรินิแดดและโตเบโก : 40 ประตู (ฤดูกาล 2558–2559 : ลีก 37 ประตู, ไทยลีกคัพ 3 ประตู)
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากที่สุดเมื่อนับเฉพาะในลีก
    • ดาร์รีล โรเบิร์ต ตรินิแดดและโตเบโก : 37 ประตู (ฤดูกาล 2558–2559)
  • ผู้เล่นที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุด
    • อเล็กซ์ ราฟาเอล ดาซิลวา : 4 ครั้ง (พ.ศ. 2558–2559)
  • ผู้เล่นที่ยิงประตูได้มากที่สุดในหนึ่งนัด

ชุดแข่งที่ใช้และผู้สนับสนุน

ปี ผู้ผลิต ผู้สนับสนุนบนเสื้อ
2558 Warrix ยูเอ็มที
เบียร์ช้าง
2559 Ubon UMT United ยูเอ็มที
2560-2561 Eureka ยูเอ็มที
2562 ไอแอม -

อ้างอิง

  1. ปรับ "อุบล ยูไนเต็ด" ตกชั้นเล่นลีกสมัครเล่น เหตุไม่ผ่าน "คลับ ไลเซนซิ่ง"
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-22. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 2016-03-26.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-12-13.
  5. http://www.dailynews.co.th/sports/368262
  6. http://www.kondivision2.com/content-1980-แจกแฟนๆ_ฅนดี_2_ครั้งที่_2/content-8787.html[ลิงก์เสีย]
  7. http://www.smmsport.com/m/news.php?n=154002
  8. http://www.smmsport.com/m/news.php?n=154002

แหล่งข้อมูลอื่น