ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าคุณพระประยุรวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8
Phudis Sornsetthee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น [[ตราด]] [[จันทบุรี]] [[เชียงใหม่]] [[เชียงราย]] และไปไกลถึง[[บันดุง]] [[ชวา]] และ [[ปีนัง]] ใน[[ประเทศอินโดนีเซีย]] และที่ต้องไปประจำภายหลังรับรดน้ำสงกรานต์แล้ว คือที่[[อ่าวเกาะหลัก]] [[ประจวบคีรีขันธ์]] เพราะท่านได้ไปปลูกบ้านตากอากาศไว้ที่นั่น
ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น [[ตราด]] [[จันทบุรี]] [[เชียงใหม่]] [[เชียงราย]] และไปไกลถึง[[บันดุง]] [[ชวา]] และ [[ปีนัง]] ใน[[ประเทศอินโดนีเซีย]] และที่ต้องไปประจำภายหลังรับรดน้ำสงกรานต์แล้ว คือที่[[อ่าวเกาะหลัก]] [[ประจวบคีรีขันธ์]] เพราะท่านได้ไปปลูกบ้านตากอากาศไว้ที่นั่น


เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี พ.ศ. 2486 เวลา 20 นาฬิกา ณ [[บ้านพิษณุโลก|บ้านบรรทมสินธุ์]] สิริอายุ 88 ปี มีพิธีหลวงอาบน้ำศพและเชิญศพเข้าโกศในวันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระราชทานโกศพระกอบทองกุดั่นน้อย และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุในสุสานหลวง [[วัดเทพศิรินทราวาส]]<ref name = DrWibul>{{cite book |last1=วิจิตรวาทการ |first1=น.พ.วิบูล |authorlink1= |title=พระปิยมหาราช รัฐกิจและชีวิตส่วนพระองค์ |trans_title= |access-date= 15 เมษายน 2562 |type= |edition= 2 |series= |volume= |date=สิงหาคม 2544 |origyear= |publisher=บริษัท สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด |location=217 ซอยสุขุมวิท 20 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |language= ไทย |isbn= 974-7481-07-3}}</ref>
เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี พ.ศ. 2486 เวลา 20 นาฬิกา ณ [[บ้านพิษณุโลก|บ้านบรรทมสินธุ์]] สิริอายุ 88 ปี มีพิธีหลวงอาบน้ำศพและเชิญศพลงโกศในวันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระราชทานโกศประกอบลองกุดั่นน้อย และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุในสุสานหลวง [[วัดเทพศิรินทราวาส]]<ref name = DrWibul>{{cite book |last1=วิจิตรวาทการ |first1=น.พ.วิบูล |authorlink1= |title=พระปิยมหาราช รัฐกิจและชีวิตส่วนพระองค์ |trans_title= |access-date= 15 เมษายน 2562 |type= |edition= 2 |series= |volume= |date=สิงหาคม 2544 |origyear= |publisher=บริษัท สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด |location=217 ซอยสุขุมวิท 20 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |language= ไทย |isbn= 974-7481-07-3}}</ref>
[[ไฟล์:เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค).jpg|thumb|left|200px|เจ้าคุณพระประยุรวงศ์]]
[[ไฟล์:เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค).jpg|thumb|left|200px|เจ้าคุณพระประยุรวงศ์]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:27, 24 ตุลาคม 2564

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์

เกิดแพ บุนนาค
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397
เสียชีวิต22 มีนาคม พ.ศ. 2486 (88 ปี)
บ้านบรรทมสินธุ์ จังหวัดพระนคร
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาษ
บิดามารดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงษ์ไวยวัฒน์

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ นามเดิม แพ (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำหน้าที่เป็นผู้เบิกพระโอษฐ์พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าคุณจอมมารดาแพ" และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเกียรติยศขึ้นเป็นเจ้าคุณชั้นพิเศษให้ออกนามว่า "เจ้าคุณพระประยุรวงศ์" และได้รับเกียรติให้ใช้คำว่า "ถึงแก่พิราลัย" เทียบเจ้าประเทศราชและสมเด็จเจ้าพระยา[1] กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยกล่าวยกย่องท่านว่า "ท่านสมบูรณ์ด้วยเกียรติยศ และเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลายมิรู้เสื่อมทรามจนตลอดอายุ"[2]

ประวัติ

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงษ์ไวยวัฒน์ (โดยเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์นั้นมีภรรยาเอกสองคนในเวลาเดียวกัน คือท่านผู้หญิงอ่วม พี่สาว และท่านผู้หญิงอิ่ม น้องสาว ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน) พี่น้องร่วมมารดาของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีดังนี้

เป็นเจ้าคุณจอมมารดาพระสนมเอกผู้ใหญ่ หัวหน้าพระสนมทั้งปวงในรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้รับการสถาปนาเกียรติยศขึ้นเป็นเจ้าคุณชั้นพิเศษ โปรดเกล้า ฯ ให้ออกนามว่า "เจ้าคุณพระประยุรวงศ์"[3]

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์เกิดในราชินิกุลสายสกุลบุนนาค ซึ่งเจ้าคุณนวล พระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี กับเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค ต้นสกุลบุนนาค) เป็นบุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นตระกูล สืบสายลงมาทางสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) เจ้าคุณพระประยุรวงศ์เป็นพระสนมเอกเพียงผู้เดียวที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศพระสนมเอกตามแบบรัชกาลที่ 4 และมีพระราชประสงค์จะทรงยกย่องเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ให้ยิ่งกว่าคนอื่น จึงโปรดให้เปลี่ยนเครื่องในพานทองเครื่องยศ เป็นลงยาราชาวดี (เดิมเครื่องยศพระสนมเอกเป็นพานทองมีเครื่องในทั้งหมดล้วนเป็นทองคำเกลี้ยง ต้องเป็นพระมเหสีเท่านั้นจึงจะเปลี่ยนเป็นทองคำลงยาราชาวดี แสดงว่าทรงยกย่องเจ้าคุณพระประยุรวงศ์เหนือกว่าพระสนมอื่นใด) และพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้มีพระราชดำรัสให้เรียกคืนตามประเพณีเก่า ด้วยทรงเคารพนับถือเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ท่านจึงได้ครอบครองเครื่องยศทุกอย่างที่ได้รับพระราชทานจนตลอดอายุ ในการตรัสเรียกเจ้าคุณพระประยุรวงศ์นั้น รัชกาลที่ 5 จะมิโปรดเรียกว่า นาง ตามอย่าง รัชกาลที่ 4 พระราชบิดาแต่จะตรัสเรียกเมื่ออยู่ตามลำพังว่า แม่แพ แต่ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้อื่นจะตรัสเรียกว่า คุณแพ

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ในวัยชรา

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีพระเจ้าลูกเธอสามพระองค์ คือ

ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกมาพำนัก ณ บ้านซึ่งได้รับพระราชทาน ณ ตำบลสามเสน จังหวัดพระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 บ้านนั้นได้รับขนานนามว่า "สวนสุพรรณ" และท่านได้พำนักอยู่จนถึงแก่พิราลัย

ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ตราด จันทบุรี เชียงใหม่ เชียงราย และไปไกลถึงบันดุง ชวา และ ปีนัง ในประเทศอินโดนีเซีย และที่ต้องไปประจำภายหลังรับรดน้ำสงกรานต์แล้ว คือที่อ่าวเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ เพราะท่านได้ไปปลูกบ้านตากอากาศไว้ที่นั่น

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ปี พ.ศ. 2486 เวลา 20 นาฬิกา ณ บ้านบรรทมสินธุ์ สิริอายุ 88 ปี มีพิธีหลวงอาบน้ำศพและเชิญศพลงโกศในวันที่ 24 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระราชทานโกศประกอบลองกุดั่นน้อย และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุในสุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส[2]

เจ้าคุณพระประยุรวงศ์

กรณียกิจ

กรณียกิจที่สำคัญของท่านเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ นอกจากในรัชกาลที่ 5 จะได้เป็นผู้นำในด้านการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวภายในราชสำนักแล้ว ยังได้รับหน้าที่เป็นผู้เบิกพระโอษฐ์พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ 5 (หมายความว่า ท่านเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ได้เป็นผู้ที่ถวายน้ำนมจากหน้าอกของท่านเองแก่บรรดาพระราชโอรส-ธิดา เพื่อเป็นปฐมมงคล แต่เมื่อปลายรัชกาลเมื่อท่านมีอายุสูงขึ้นนั้นจนตลอดในรัชกาลที่ 6 น่าจะเป็นการถวายน้ำนมจากพระนมที่มีการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันมากกว่าจะเป็นน้ำนมที่มาจากท่านเอง) หน้าที่นี้ท่านยังได้รับปฏิบัติสืบมาถึงรัชกาลที่ 6 คือได้เป็นผู้รับเบิกพระโอษฐ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นครั้งที่สุด

ในปี พ.ศ. 2484 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์เมื่อวัยแก่ชราใกล้จะถึง 90 ปี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ประกาศชักชวนสตรีไทยให้เปลี่ยนเครื่องแต่งตัว เช่นเปลี่ยนตัดผมสั้นเป็นไว้ยาว เปลี่ยนนุ่งผ้าโจงกระเบนเป็นนุ่งถุง และให้ใส่เกือกใส่หมวกเป็นต้น รัฐบาลไทยได้ชวนเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ให้เป็นผู้นำสตรีที่มีบรรดาศักดิ์ให้เปลี่ยนแปลง ท่านก็ยินดีรับช่วยและเอาตัวของท่านเองออกหน้าเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวตามอย่างที่ต้องการ ก็มีผลให้ผู้อื่นปฏิบัติตามท่านอย่างคึกคัก ท่านจึงได้รับความเคารพนับถือจากรัฐบาลในสมัยนั้นและได้รับเชิญไปเข้าสมาคมและไปเป็นประธานในการให้รางวัลต่าง ๆ ต่อมาเนือง ๆ นอกจากนี้ยังได้บำเพ็ญกุศลอื่นๆ อีกในคราวฉลองอายุครบรอบ เช่น สร้างสุขศาลาเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ , บูรณะศาสนสถานต่าง ๆ ในวัดของบุรพชนทั้งในและนอกจังหวัดพระนคร เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 350.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 วิจิตรวาทการ, น.พ.วิบูล (สิงหาคม 2544). พระปิยมหาราช รัฐกิจและชีวิตส่วนพระองค์ (2 ed.). 217 ซอยสุขุมวิท 20 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร: บริษัท สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด. ISBN 974-7481-07-3. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: location (ลิงก์)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนเจ้าคุณจอมมารดาแพขึ้นเป็นเจ้าคุณพระประยุรวงศ์, เล่ม 38, ตอน ง, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2464, หน้า 1834
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๖, ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๐๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๓๗, ตอน ๐, ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๓๗๓๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ ง, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๑๑๔