ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่มอสโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 87: บรรทัด 87:
=== สภาพอ่อนกำลังลง ===
=== สภาพอ่อนกำลังลง ===
ในปลายเดือนตุลาคม, กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง โดยมีเพียงหนึ่งในสามยานยนต์ที่ยังคงใช้งานได้ กองพลทหารราบที่มีกำลังสามถึงครึ่ง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่ร้ายแรงทำให้ไม่สามารถส่งเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และอุปกรณ์กันความหนาวอื่น ๆ ที่แนวหน้า แม้แต่ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะยอมจำนนต่อความคิดเรื่องการสู้รบที่ยาวนาน เนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะส่งรถถังเข้าไปในเมืองใหญ่เช่นนี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารราบอย่างหนักนั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงภายหลังการเข้ายึดครองกรุงวอร์ซอที่มีราคาที่ต้องจ่ายในปี ค.ศ. 1939<ref name="GlantzTTG2">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>
ในปลายเดือนตุลาคม, กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง โดยมีเพียงหนึ่งในสามยานยนต์ที่ยังคงใช้งานได้ กองพลทหารราบที่มีกำลังสามถึงครึ่ง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่ร้ายแรงทำให้ไม่สามารถส่งเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และอุปกรณ์กันความหนาวอื่น ๆ ที่แนวหน้า แม้แต่ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะยอมจำนนต่อความคิดเรื่องการสู้รบที่ยาวนาน เนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะส่งรถถังเข้าไปในเมืองใหญ่เช่นนี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารราบอย่างหนักนั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงภายหลังการเข้ายึดครองกรุงวอร์ซอที่มีราคาที่ต้องจ่ายในปี ค.ศ. 1939<ref name="GlantzTTG2">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>

[[ไฟล์:Yuon RedSquare Parade 1941.jpg|thumb|left|[[สวนสนามครบรอบการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941|การสวนสนาม]]โดยกองทหารโซเวียตบน[[จัตุรัสแดง]], วันศุกร์ ที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941, ซึ่งปรากฎในภาพวาด ปี ค.ศ. 1949 ซึ่งถูกวาดโดย [[Konstantin Yuon]] แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญของเหตุการณ์<ref name=GeorgyZhukov/>{{rp|31}}]]


เพื่อทำให้การตัดสินใจที่เข้มแข็งของกองทัพแดงและเพิ่มขวัญกำลังใจของพลเรือน สตาลินได้ออกคำสั่งให้จัดขบวนสวนสนามทางทหารตามธรรมเนียมในวันที่ 7 พฤศจิกายน([[วันการปฏิวัติเดือนตุลาคม|วันแห่งการปฏิวัติ]]) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสแดง กองทหารโซเวียตได้เดินสวนสนามผ่านพระราชวังเคลมลิมและเคลื่อนที่โดยตรงสู่แนวหน้า ขบวนสวนสนามมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างมากโดยแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอันแน่วแน่อย่างต่อเนื่องของโซเวียต และมักจะถูกเรียกเช่นนี้ในปีต่อ ๆ ไป แม้จะมีการแสดงด้วยความกล้าหาญนี้ ตำแหน่งของกองทัพแดงยังคงดูล่อแหลม แม้ว่าทหารโซเวียตอีก 100,000 นายจะได้เข้าเสริมกำลังที่คลินและตูลา ซึ่งได้คาดการณ์ว่าการรุกของเยอรมันจะเริ่มขึ้นมาใหม่ การป้องกันของโซเวียตยังคงค่อนข้างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สตาลินได้ออกคำสั่งให้การรุกตอบโต้กลับก่อนล่วงหน้าต่อแนวรบของเยอรมันหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ได้ถูกเปิดฉากขึ้นแม้ว่าจะมีการประท้วงจากจูคอฟ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนกำลังสำรองทั้งหมด<ref>Zhukov, tome 2, p. 27.</ref> [[แวร์มัคท์]]ได้ต้านทานการรุกตอบโต้กลับเหล่านี้ส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำลายล้างกองกำลังโซเวียตซึ่งอาจจะใช้สำหรับการป้องกันมอสโก มีเพียงความสำเร็จอย่างโดดเด่นเพียงครั้งเดียวของการรุกซึ่งเกิดขึ้นจากทางตะวันตกของมอสโกใกล้กับ Aleksino เมื่อรถถังโซเวียตได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกองทัพที่ 4 เนื่องจากเยอรมันยังขาดอาวุธต่อต้านรถถังที่สามารถทำลายรถถังที-34 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และมีเกราะที่ดีเยี่ยม<ref name="GlantzTTG3">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>
เพื่อทำให้การตัดสินใจที่เข้มแข็งของกองทัพแดงและเพิ่มขวัญกำลังใจของพลเรือน สตาลินได้ออกคำสั่งให้จัดขบวนสวนสนามทางทหารตามธรรมเนียมในวันที่ 7 พฤศจิกายน([[วันการปฏิวัติเดือนตุลาคม|วันแห่งการปฏิวัติ]]) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสแดง กองทหารโซเวียตได้เดินสวนสนามผ่านพระราชวังเคลมลิมและเคลื่อนที่โดยตรงสู่แนวหน้า ขบวนสวนสนามมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างมากโดยแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอันแน่วแน่อย่างต่อเนื่องของโซเวียต และมักจะถูกเรียกเช่นนี้ในปีต่อ ๆ ไป แม้จะมีการแสดงด้วยความกล้าหาญนี้ ตำแหน่งของกองทัพแดงยังคงดูล่อแหลม แม้ว่าทหารโซเวียตอีก 100,000 นายจะได้เข้าเสริมกำลังที่คลินและตูลา ซึ่งได้คาดการณ์ว่าการรุกของเยอรมันจะเริ่มขึ้นมาใหม่ การป้องกันของโซเวียตยังคงค่อนข้างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สตาลินได้ออกคำสั่งให้การรุกตอบโต้กลับก่อนล่วงหน้าต่อแนวรบของเยอรมันหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ได้ถูกเปิดฉากขึ้นแม้ว่าจะมีการประท้วงจากจูคอฟ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนกำลังสำรองทั้งหมด<ref>Zhukov, tome 2, p. 27.</ref> [[แวร์มัคท์]]ได้ต้านทานการรุกตอบโต้กลับเหล่านี้ส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำลายล้างกองกำลังโซเวียตซึ่งอาจจะใช้สำหรับการป้องกันมอสโก มีเพียงความสำเร็จอย่างโดดเด่นเพียงครั้งเดียวของการรุกซึ่งเกิดขึ้นจากทางตะวันตกของมอสโกใกล้กับ Aleksino เมื่อรถถังโซเวียตได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกองทัพที่ 4 เนื่องจากเยอรมันยังขาดอาวุธต่อต้านรถถังที่สามารถทำลายรถถังที-34 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และมีเกราะที่ดีเยี่ยม<ref name="GlantzTTG3">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>


ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 - 15 พฤศจิกายน กองบัญชาการใหญ่แวร์มัคท์ได้หยุดลง ในขณะที่เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดฉากการรุกมอสโกครั้งที่สอง แม้ว่ากองทัพกลุ่มกลางยังคงมีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่ความสามารถในการสู้รบได้ลดทอนลงอย่างมากเพราะการสึกหรอและความเหนื่อยล้า ในขณะที่เยอรมันได้รับรู้ถึงการหลั่งไหลเข้ามาของการกำลังเสริมของโซเวียตอย่างต่อเนื่องจากตะวันออก เช่นเดียวกับการมีอยู่ของกองกำลังสำรองขนาดใหญ่ ทำให้โซเวียตสูญเสียอย่างมหาศาล พวกเขาไม่คาดคิดว่าโซเวียตสามารถป้องกันอย่างมั่นุคง<ref>Klink, pp. 574, 590–92</ref>{{โครง-ส่วน}}
ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 - 15 พฤศจิกายน กองบัญชาการใหญ่แวร์มัคท์ได้หยุดลง ในขณะที่เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดฉากการรุกมอสโกครั้งที่สอง แม้ว่ากองทัพกลุ่มกลางยังคงมีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่ความสามารถในการสู้รบได้ลดทอนลงอย่างมากเพราะการสึกหรอและความเหนื่อยล้า ในขณะที่เยอรมันได้รับรู้ถึงการหลั่งไหลเข้ามาของการกำลังเสริมของโซเวียตอย่างต่อเนื่องจากตะวันออก เช่นเดียวกับการมีอยู่ของกองกำลังสำรองขนาดใหญ่ ทำให้โซเวียตสูญเสียอย่างมหาศาล พวกเขาไม่คาดคิดว่าโซเวียตสามารถป้องกันได้อย่างมั่นคง<ref>Klink, pp. 574, 590–92</ref> แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเดือนตุลาคม กองพลปืนไรเฟิลโซเวียตได้ยึดครองตำแหน่งป้องกันที่แข็งแกร่งกว่ามาก: วงแหวนป้องกันสามชั้นรอบเมืองและส่วนที่เหลือบางส่วนของแนว Mozhaisk ใกล้กับคลิน กองทัพภาคสนามโซเวียตส่วนใหญ่ในตอนนี้ได้ป้องกันหลายชั้น โดยมีกองพลปืนไรเฟิลอย่างน้อยสองกองพลในตำแหน่งระดับที่สอง การสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และทหารช่างยังได้กระจุกรวมตัวกันตามถนนสายหลักที่กองทหารเยอรมันคาดการณ์ว่าจะใช้ในการโจมตีพวกเขา นอกจากนี้ยังมีกองทหารโซเวียตจำนวนมากที่ยังคงอยู่ในกองทัพสำรองที่อยู่เบื้องหลังแนวหนเ้า จนในที่สุด กองทหารโซเวียต-และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่นายทหาร- ตอนนี้พวกเขาได้มีประสบการณ์มากขึ้นและเตรียมความพร้อมที่ดีขึ้นสำหรับการรุก<ref name="GlantzTTG">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>

วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ในที่สุด ทางภาคพื้นดินก็ได้กลายสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องถนนโคลนเลน หัวหอกยานเกราะของแวร์มัคท์ซึ่งประกอบไปด้วย 51 กองพล ซึ่งตอนนี้สามารถรุกเข้าไปได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะโอบล้อมมอสโกและเชื่อมโยงใกล้กับเมืองโนกินสค์ ทางตะวันออกของเมืองหลวง เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ กลุ่มยานเกราะที่สามและสี่ของเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรวบรวมกองกำลังของเขาไว้ที่ระหว่างอ่างเก็บน้ำวอลกาและ Mozhaysk จากนั้นก็เคลื่อนทัพผ่านกองทัพที่ 30 ของโซเวียตไปยังคลินและ Solnechnogorsk โอบล้อมเมืองจากทางเหนือ ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้ตั้งใจว่าจะอ้อมผ่านทางตูลาซึ่งยังถูกยึดครองโดยโซเวียต และเข้ารุกไปยัง Kashira และ Kolomna โดยเชื่อมโยงกับการโอบล้อมทางเหนือที่โนกินสค์ กองทัพภาคสนามที่ 4 ของเยอรมันที่อยู่ในส่วนกลางจะต้อง"ตรึงกองกำลังทหารของแนวรบตะวันตก"<ref name="GeorgyZhukov" />{{rp|33, 42–43}}

=== การโอบล้อมที่ล้มเหลว ===
{{โครง-ส่วน}}


== การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต ==
== การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:33, 5 ตุลาคม 2564

ยุทธการที่มอสโก
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารโซเวียตกำลังใช้ปืนต่อสู้อากาศยานหาเครืองบินของลุฟท์วัฟเฟอใกล้จัตุรัสแดง
วันที่2 ตุลาคม 1941 – 7 มกราคม ค.ศ. 1942
สถานที่
เขตมอสโก สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
ผล โซเวียตได้รับชัยชนะเด็ดขาด
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นาซีเยอรมนี เฟดอร์ ฟอน บอค
นาซีเยอรมนี ไฮนซ์ กูเดเรียน
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เค็สเซิลริง

นาซีเยอรมนี เอริช โฮอปป์เนอร์
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ
สหภาพโซเวียต อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี
กำลัง
ถึง 1 ตุลาคม 1941:
ทหาร 1,000,000 นาย
รถถัง 1,700 คัน
ปืนใหญ่ 14,000 กระบอก
อากาศยานขั้นต้น: ใช้การได้ 549 ลำ[1][2][3]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 599 ลำ[4]
ถึง 1 ตุลาคม 1941:
ทหาร 1,250,000 นาย
รถถัง 1,000 คัน
ปืนใหญ่ 7,600 กระบอก
อากาศยานขั้นต้น: 936 ลำ (ใช้การได้ 545 ลำ)[1]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 1,376 ลำ[4]
ความสูญเสีย
581,900 650,000–1,280,000

ยุทธการที่มอสโก เป็นการทัพทางทหารที่ประกอบไปด้วยสองช่วงเวลาของการสู้รบที่มีนัยสำคัญทางยุทธศาสตร์จากระยะทาง 600 กิโลเมตร(370 ไมล์) เขตภาคของแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 และเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ความพยายามในการป้องกันของโซเวียตทำให้การโจมตีของฮิตเลอร์ต่อกรุงมอสโก เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของสหภาพโซเวียต ไม่ประสบความสำเร็จ มอสโกเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักทางทหารและการเมืองสำหรับกองกำลังฝ่ายอักษะในการบุกครองสหภาพโซเวียตของพวกเขา

การรุกทางยุทธศาสตร์ของเยอรมัน รหัสนามว่า ปฏิบัติการไต้ฝุ่น เรียกร้องสำหรับการรุกแบบก้ามปูสองด้าน ด้านหนึ่งไปทางเหนือของมอสโกเข้าปะทะกับแนวรบคาลีนินโดยกองทัพยานเกราะที่ 3 และที่ 4 พร้อมกับตัดเส้นทางรถไฟจากมอสโก-เลนินกราด และอีกด้านหนึ่งไปทางใต้ของแคว้นมอสโกเข้าปะทะกับแนวรบตะวันตก ทางใต้ของตูลา โดยกองทัพยานเกราะที่ 2 ในขณะที่กองทัพยานเกราะที่ 4 ได้เข้ารุกโดยตรงสู่มอสโกจากตะวันตก

ในช่วงแรก กองกำลังโซเวียตได้ดำเนินการป้องกันทางยุทธศาสตร์ของแคว้นมอสโกโดยสร้างแนวป้องกันทางลึกสามแนว จัดตั้งกองกำลังสำรองขึ้นมาใหม่ และนำกองกำลังมาจากมณฑลทหารบกของไซบีเรียและตะวันออกไกล เมื่อการรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักลง การรุกตอบโต้กลับทางยุทธศาสตร์ของโซเวียตและปฏิบัติการของการรุกขนาดเล็กได้บีบบังคับให้กองทัพเยอรมันได้กลับเข้าสู่ตำแหน่งรอบเมืองออร์ยอล เวียซมาและวีเต็บสค์ และเกือบที่จะล้อมกองทัพเยอรมันทั้งสามไว้ได้ มันเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่สำหรับเยอรมัน และจุดสิ้นสุดของความเชื่อของพวกเขาในชัยชนะของเยอรมันเหนือสหภาพโซเวียตอย่างรวดเร็ว[5] อันเป็นผลลัพธ์มาจากการรุกที่ล้มเหลว จอมพล วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน โดยฮิตเลอร์ได้เข้ามาแทนที่ในตำแหน่งของเขา

เบื้องหลัง

แนวรบด้านตะวันออกในช่วงเวลาของยุทธการที่มอสโก:
  การรุกช่วงแรกของแวร์มัคท์ – ถึง 9 กรกฏาคม ค.ศ. 1941
  การรุกภายหลัง – ถึง 1 กันยายน ค.ศ. 1941
  การโอบล้อมและยุทธการที่เคียฟ ถึง 9 กันยายน ค.ศ. 1941
  การรุกครั้งสุดท้ายของแวร์มัคท์ – ถึง 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941

ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา แผนการบุกครองของเยอรมัน เรียกร้องสำหรับการเข้ายึดครองกรุงมอสโกภายในสี่เดือน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 กองกำลังฝ่ายอักษะได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ได้ทำลายกองทัพอากาศโซเวียตส่วนใหญ่บนภาคพื้นดิน และรุกเข้าลึกสู่ดินแดนสหภาพโซเวียตโดยใช้กลยุทธ์บลิทซ์ครีคเพื่อทำลายล้างกองทัพโซเวียตทั้งหมด กองทัพกลุ่มเหนือของเยอรมันได้มุ่งหน้าสู่เลนินกราด กองทัพกลุ่มใต้เข้าควบคุมยูเครน และกองทัพกลุ่มกลางเข้ารุกสู่มอสโก เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 กองทัพกลุ่มกลางได้ข้ามแม่น้ำนีเปอร์ ระหว่างเส้นทางสู่มอสโก[6]

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองสโมเลนสค์ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญบนถนนสู่มอสโก[7] ในระยะนี้ แม้ว่ามอสโกจะดูเปราะบาง แต่การรุกเข้าสู่เมืองจะเป็นการเปิดเผยปีกกองทัพของเยอรมัน เพื่อจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ และเพื่อพยายามรักษาแหล่งทรัพยาการอย่างอาหารและแร่ธาตุของยูเครน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้การโจมตีหันไปทางเหนือและใต้ และกำจัดกองกำลังโซเวียตที่เลนินกราดและเคียฟ[8] สิ่งนี้ทำให้การรุกเข้าสู่มอสโกของเยอรมันนั้นล่าช้า เมื่อการรุกนั้นได้กลับมาดำเนินต่อในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง ในขณะที่โซเวียตได้จัดตั้งกองกำลังขึ้นมาใหม่เพื่อปกป้องเมือง[8]

แผนที่ของการโอบล้อมทั้งสองด้านที่เวียซมา-บรืย์อันสค์ (ในเยอรมัน).

การรุกของเยอรมันในช่วงแรก (30 กันยายน - 10 ตุลาคม)

แผนการ

สำหรับฮิตเลอร์ เมืองหลวของสหภาพโซเวียตเป็นเป้าหมายรอง และเขามีความเชื่อว่าวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้สหภาพโซเวียตยอมสยบแทบเท้าลงได้คือการเอาชนะทางเศรษฐกิจ เขาจึงมีความคิดที่ว่าสิ่งนี้สามารถทำได้โดยการเข้ายึดครองทรัพยากรทางเศรษฐกิจของยูเครนทางตะวันออกของเคียฟ[9] เมื่อวัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน ได้ให้การสนับสนุนในการเข้ารุกโดยตรงสู่กรุงมอสโก เขาได้บอกว่า "มีเพียงสมองที่หุ้มด้วยกะโหลกหนา ๆ ที่สามารถจะคิดไอเดียนี้ได้"[9] ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ หัวหน้าคณะเสนาธิการแห่งกองทัพบกยังมีความเชื่อมั่นว่า การผลักดันเพื่อเข้ายึดกรุงมอสโกจะได้รับชัยชนะ ภายหลังจากกองทัพบกเยอรมันได้สร้างความเสียหายมากพอให้กับกองทัพโซเวียต[10] มุมมองนี้ถูกแบ่งปันโดยส่วนใหญ่ภายในกองบัญชาการใหญ๋เยอรมัน[9] แต่ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธนายพลของเขาเพื่อสนับสนุนให้ทำการโอบล้อมกองทัพโซเวียตรอบเมืองเคียฟในทางตอนใต้ และตามมาด้วยการเข้ายึดครองยูเครน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็ว ส่งผลลัพธ์ทำให้เกิดการสูญเสียบุคลากรของกองทัพแดงจำนวนเกือบ 700,000 นาย ล้วนถูกสังหาร ถูกจับกุม หรือบาดเจ็บในวันที่ 26 กันยายน และกองกำลังฝ่ายอักษะได้เข้ารุกคืบหน้าต่อไป[11]

เมื่อสิ้นสุดฤดูร้อน ฮิตเลอร์ได้หันเหความสนใจไปยังกรุงมอสโกและมอบหมายให้แก่กองทัพกลุ่มกลางในการทำภารกิจครั้งนี้ กองกำลังที่จะดำเนินปฏิบัติการไต้ฝุ่น ได้แก่ กองทัพทหารราบทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 4 และที่ 9[12]) โดยได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มยานเกราะ(รถถัง) ทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4) และกองบินที่ 2 (Luftflotte 2) ของลุฟท์วัฟเฟอ กองทหารเยอรมันจำนวนมากถึงสองล้านนายได้เข้าร่วมปฏิบัติการ พร้อมกับรถถังและปืนใหญ่จู่โจมจำนวน 1,000–2,470 คัน และอาวุธปืนจำนวน 14,000 กระบอก กองกำลังทางอากาศที่แข็งแกร่งของเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ได้ถูกลดทอนลงอย่างมากในช่วงฤดูร้อนของการทัพ ลุฟท์วัฟเฟอสูญเสียเครื่องบินรบจำนวน 1,603 ลำ และได้รับเสียหายจำนวน 1,028 ลำ กองบินที่ 2 มีเครื่องมือที่สามารถซ่อมบำรุงเครื่องบินรบได้แค่เพียง 549 ลำ ร่วมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางและเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดจำนวน 158 ลำ และเครื่องบินขับไล่ 172 ลำ ที่สามารถใช้งานได้สำหรับปฏิบัติการไต้ฝุ่น[13] การโจมตีอาศัยกลยุทธ์บลิทซ์ครีคแบบมาตรฐาน โดยการใช้กลุ่มยานเกราะให้พุ่งเข้าลึกสู่แนวรบของโซเวียตและดำเนินการเคลื่อนทัพรูปแบบก้ามปูสองด้าน ทำการโอบล้อมกองพลของกองทัพแดงและทำลายล้างให้สิ้นซาก[14]

ทั้งสามแนวรบของโซเวียตที่เผชิญหน้ากับแวร์มัคท์ ได้สร้างแนวป้องกันตามเมืองเวียซมาและบรืย์อันสค์ ซึ่งได้ขวางเส้นทางสู่กรุงมอสโก กองทัพประกอบไปด้วยแนวรบเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในการสู้รบอย่างหนัก ยังคงเป็นการรวมพลที่ดูน่าเกรงขามซึ่งประกอบด้วยทหารจำนวน 1,250,000 นาย รถถัง 1,000 คัน และปืนจำนวน 7,600 กระบอก กองทัพอากาศโซเวียต(Voyenno-Vozdushnye Sily, VVS) ได้ประสบความสูญเสียที่น่าตกใจด้วยบางส่วนของเครื่องบินรบจำนวนประมาณ 7,500 ลำ[15] และ 21,200 ลำ[16] การสำเร็จด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ธรรมดาได้เริ่มเข้ามาแทนที่สิ่งเหล่านี้ ในช่วงเริ่มต้นของไต้ฝุ่น กองทัพอากาศโซเวียตสามารถรวบรวมเครื่องบินรบ 936 ลำ โดยมี 578 ลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด[17]

ครั้งหนึ่งที่การต่อต้านของโซเวียตตามแนวรบเวียซมา-บรืย์อันสค์ต้องถูกกำจัด กองทัพเยอรมันจะต้องผลักดันไปทางตะวันออก ทำการโอบล้อมกรุงมอสโกโดยขนาบข้างจากทางเหนือและทางใต้ การสู้รบอย่างต่อเนืองทำให้ประสิทธิภาพได้ลดลง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ก็สาหัสมากขึ้น นายพลกูเดรีอัน ผู้บัญชาการแห่งกองทัพยานเกราะที่ 2 ได้เขียนว่า บางส่วนของรถถังที่ถูกทำลายของเขาไม่อาจหามาแทนที่ได้เลย และมีการขาดแคลนเชื้อเพลิงในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการ[18]

ยุทธการที่เวียซมาและบรืย์อันสค์

เยอรมันได้เข้าโจมตีตามแผนที่ได้วางเอาไว้ โดยกลุ่มยานเกราะที่ 4 จะบุกเขาตรงกลางที่แทบจะไร้การต่อต้าน และจากนั้นก็แบ่งกองกำลังเคลื่อนที่เร็วไปทางเหนือเพื่อโอบล้อมเวียซมาด้วยกลุ่มยานเกราะที่ 3 และอีกหน่วยหนึ่งไปทางใต้เพื่อโอบล้อมรอบบรืย์อันสค์ร่วมกับกลุ่มยานเกราะที่ 2 ฝ่ายป้องกันของโซเวียต ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้ถูกรุกราน และหัวหอกของกลุ่มยานเกราะที่ 3 ที่ 4 ได้เข้าสมทบกันที่เวียซมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941[19][20] กองทัพโซเวียตทั้งสี่ (ที่ 16 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 24 และส่วนหนึ่งของที่ 32) ได้ถูกโอบล้อมอยู่ในวงล้อมขนาดใหญ่ทางตะวันตกของเมือง[21]

การรุกของเยอรมันในช่วงปฏิบัติการไต้ฝุ่น

กองกำลังโซเวียตที่ถูกโอบล้อมยังคงต่อสู้รบต่อไป และแวร์มัคท์ต้องใช้ถึง 28 กองพลในการกำจัดพวกเขา โดยใช้กองกำลังทหารที่สามารถสนับสนุนในการรุกเข้าสู่มอสโก แนวรบตะวันตกและแนวรบกำลังสำรองของโซเวียตที่เหลืออยู่ได้ล่าถ่ายและสร้างแนวป้องกันขึ้นมาใหม่รอบ Mozhaisk[21] แม้ว่าความสูญเสียจะสูงขึ้น แต่หน่วยกองกำลังทหารบางหน่วยที่ถูกโอบล้อมสามารถหลบหนีออกมาเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ตั้งแต่ขนาดหมวดไปจนถึงกองพลปืนไรเฟิลเต็มรูปแบบ[20] การต่อต้านของโซเวียตใกล้กับเวียซมายังให้เวลาแก่กองบัญชาการระดับสูงของโซเวียตในการเสริมกำลังกองทัพทั้งสี่เพื่อปกป้องมอสโก(กองทัพที่ 5 ที่ 16 ที่ 43 และที่ 49) กองพลปืนไรเฟิลทั้งสามและกองพลรถถังสองกองพลได้ถูกโยกย้ายจากไซบีเรียตะวันออกและมีอีกมากที่กำลังตามมา[21]

ด้วยสภาพอากาศที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลง ได้ขัดขวางแก่ทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม หิมะครั้งแรกได้ตกลงมาและละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ถนนและพื้นที่เปิดโล่งกลายสภาพเป็นแอ่งโคลน ซึ่งปรากฎการณ์ครั้งนี้ได้ถูกเรียกกันว่า รัสปูติซา ในรัสเซีย กลุ่มยานเกราะของเยอรมันได้เคลื่อนที่ช้าอย่างมาก ทำให้กองกำลังโซเวียตสามารถล่าถอยและจัดตั้งกองกำลังใหม่[22][23]

กองกำลังโซเวียตสามารถโจมตีตอบโต้กลับในบางกรณี ตัวอย่างเช่น กองพลยานเกราะที่ 4 ถูกซุ่มโจมตีโดย Dmitri Leliushenko ซึ่งได้ก่อตั้งกองกำลังขึ้นมาอย่างเร่งรีบอย่างกองทัพน้อยการ์ดปืนไรเฟิลพิเศษที่ 1 รวมทั้งกองพลน้อยรถถังที่ 4 ของ Mikhail Katukov ใกล้กับเมือง Mtsensk รถถังที-34 ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ๆ ได้ถูกซ่อนตัวอยู่ในป่า ในขณะที่ยานเกราะของเยอรมันได้เคลื่อนที่ผ่านพ้นไป ในขณะที่ทีมของเหล่าทหารราบของโซเวียตได้เข้าโจมตีพวกเขา ยานเกราะโซเวียตได้เข้าโจมตีจากทั้งสองข้างและดุเดือดต่อรถถังพันเซอร์ 4 ของเยอรมัน สำหรับแวร์มัคท์ ด้วยความตกใจของความพ่ายแพ้ครั้งนี้อย่างมากจนมีคำสั่งให้ทำการสืบสวนเป็นพิเศษ[20] กูเดรีอันและกองกำลังทหารของเขาได้ค้นพบอย่างน่าตกใจว่า รถถังที-34 ของโซเวียตแทบจะยิงทะลุไม่เข้าโดยปืนใหญ่รถถังเยอรมัน ตามที่นายพลได้เขียนไว้ว่า "รถถังพันเซอร์ 4 ของเราด้วยกระบอกปืนขนาดสั้น 75 มม. สามารถระเบิดทำลายที-34 ได้โดยการยิงเครื่องยนต์จากด้านหลังเท่านั้น" กูเดรีอันยังได้ตั้งข้อสังเกตในอนุทินของเขาว่า "พวกรัสเซียได้เรียนรู้บางสิ่ง"[24][25] ในปี ค.ศ. 2012 Niklas Zetterling ได้โต้แย้งความรู้สึกของความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่ Mtsensk โดยสังเกตว่ามีเพียงแค่กลุ่มรบจากกองพลยานเกราะที่ 4 ที่ได้เข้าร่วม ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกองพลกำลังต่อสู้รบที่อื่น เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ถอนตัวออกจากสนามรบภายหลังจากการสู้รบและฝ่ายเยอรมันได้สูญเสียรถถังเพียงหกคันและเสียหายสามคัน สำหรับผู้บัญชาการเยอรมันอย่างเฮิพเนอร์และบ็อค ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่สำคัญ ความกังวลหลักของพวกเขาคือการต่อต้านจากภายในวงล้อม ไม่ใช่จากภายนอก[26]

ยานเกราะเยอรมันได้เข้ารุกเป็นแถวขบวนบนแนวรบมอสโก ตุลาคม ค.ศ. 1941

การโจมตีตอบโต้กลับอื่น ๆทำให้การรุกของเยอรมันล่าช้าลง กองทัพที่ 2 ซึ่งปฏิบัติการทางภาคเหนือของกองกำลังกูเดรีอัน โดยมีเป้าหมายในการโอบล้อมแนวรบบรืย์อันสค์ ซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันของกองทัพแดงที่แข็งแกร่งด้วยความช่วยเหลือโดยการสนับสนุนทางอากาศ[27]

ตามที่การประเมินผลของเยอรมันเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ของโซเวียตในช่วงแรก จำนวนทหาร 673,000 นายถูกจับกุมโดยแวร์มัคท์ในทั้งวงล้อมเวียซมาและบรืย์อันสค์[28] แม้ว่าการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ชี้ให้เห็นว่าน้อยมาก—แต่ยังคงมีขนาดใหญ่โต—ตัวเลขของเชลย 514,000 นาย, ได้ลดทอนความแข็งแกร่งของโซเวียตลงถึง 41%.[29] การสูญเสียบุคลารกร 499,001 นาย(ถาวรและชั่วคราว) ซึ่งถูกคำนวณโดยกองบัญชาการโซเวียต.[30] เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม, Otto Dietrich จากกระทรวงประชาบาลและโฆษณาการของเยอรมนี, ซึ่งอ้างอิงจากฮิตเลอร์เอง, ได้คาดการณ์ล่วงหน้าในงานแถลงข่าวถึงการทำลายล้างกองทัพที่คอยปกป้องมอสโก.เนื่องจากฮิตเลอร์ไม่เคยโกหกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางทหารที่เจาะจงและยืนยันพิสูจน์ได้, Dietrich ได้ให้ความมั่นใจแก่นักข่าวต่างชาติว่าการล่มสลายของการต่อต้านโซเวียตทั้งหมดซึ่งอาจจะล่าช้าไปหลายชั่วโมง ขวัญกำลังใจของพลเรือนชาวเยอรมัน—ได้ตกต่ำลงนับตั้งเริ่มต้นของบาร์บาร็อสซา—ซึ่งถูกทำให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีข่าวลือว่าทหารจะได้กลับบ้านในช่วงคริสมาสต์และความมั่นคั่งอันยิ่งใหญ่ในอนาคตของเลเบินส์เราม์จากทางตะวันออก.[31]

แอ่งโคลนของรัสปูติซา ก่อนถึงมอสโก พฤศจิกายน ค.ศ. 1941

อย่างไรก็ตาม การต่อต้านของกองทัพแดงทำให้แวร์มัคท์นั้นล่าช้า เมื่อเยอรมันได้เดินทางมาถึงในระยะการมองเห็นแนว Mozhaisk ทางตะวันตกของมอสโก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พวกเขาพบแนวป้องกันอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกองกำลังใหม่ของโซเวียต วันเดียวกัน, เกออร์กี จูคอฟ, ซึ่งถูกเรียกกลับจากแนวรบคาลีนิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันกรุงมอสโกและร่วมกับแนวรบตะวันตกและกำลังสำรอง โดยมีพันเอก อีวาน โคเนฟ เป็นรองผู้บัญชาการของเขา.[32][33] เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม จูคอฟได้ออกคำสั่งให้รวบรวมกำลังทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแนว Mozhaisk ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายพลวาซีเลฟสกี[34] ลุฟท์วัฟเฟอยังคงควบคุมเหนือน่านฟ้าซึ่งไม่ว่าจะปรากฏอยู่ใด, และกลุ่มเครื่องบินชตูคาและเครื่องบินทิ้งระเบิดได้ออกบิน 537 ครั้ง, ได้ทำลายยานพาหนะบางส่วนจำนวน 440 คันและชื้นส่วนปืนใหญ่ 150 กระบอก.[35][36]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม, สตาลินได้ออกคำสั่งให้อพยพพรรคคอมมิวนิสต์, เจ้าหน้าที่คณะเสนาธิการทั่วไปและหน่วยงานพลเรือนต่าง ๆ ได้ออกจากมอสโกไปยัง Kuibyshev (ปัจจุบันคือ ซามารา), ทิ้งเหลือแค่เพียงเจ้าหน้าที่จำนวนจำกัดไว้ข้างหลัง. การอพยพทำให้เกิดความหวาดกลัวท่ามกลางชาวมอสโก. วันที่ 16–17 ตุลาคม ประชากรพลเรือนส่วนใหญ่ได้พยายามหลบหนี, มีการห้อมล้อมรถไฟที่มีใช้งานได้และถนนเกิดติดขัดจากเมือง แม้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด สตาลินยังคงอยู่ในเมืองหลวงโซเวียตอย่างเปิดเผยซึ่งทำให้ความหวาดกลัวและความโกลาหลได้สลายไป.[20]

แนวป้องกัน Mozhaisk (13–30 ตุลาคม)

ผู้หญิงชาวมอสโกได้ขุดหลุมสนามเพลาะต่อต้านรถถังบริเวณรอบเมืองของพวกเขาในปี ค.ศ. 1941

วันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1941 แวร์มัคท์ได้เดินทางมาถึงแนวป้องกัน Mozhaisk ซึ่งเป็นตำแหน่งป้องกันทั้งสี่แนวที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเร่งรีบ[12] เพื่อป้องกันทางตะวันตกของมอสโกซึ่งได้ขยายจากคาลีนินไปยัง Volokolamsk และ Kaluga แม้ว่าจะมีการเสริมกำลังเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเพียงทหารโซเวียตจำนวนประมาณ 90,000 นายที่คอยประจำการในแนวนี้ ซึ่งมีจำนวนน้อยเกินไปที่ขัดขวางการรุกของเยอรมัน[37][38] ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จูคอฟได้ตัดสินใจที่จะจัดวางกำลังไว้ที่จุดวิกฤตทั้งสี่จุด: กองทัพที่ 16 ภายใต้บัญชาการโดยพลโทโรคอสซอฟสกีซึ่งคอยป้องกันที่ Volokolamsk ส่วน Mozhaisk ได้รับการป้องกันโดยกองทัพที่ 5 ภายใต้บัญชาการโดยพลตรีโกโวรอฟ กองทัพที่ 43 ภายใต้บัญชาการโดยพลตรี โกลูเบรฟทำการป้องกันที่ Maloyaroslavets และกองทัพที่ 49 ภายใต้บัญชาการโดยพลโท Zakharkin ทำการป้องกันที่ Kaluga[39] แนวรบตะวันตกของโซเวียตทั้งหมด—เกือบที่จะถูกทำลายภายหลังจากการโอบล้อมที่เวียซมา กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดนับตั้งแต่เริ่มต้น[40]

รถถังและกองทหารของเยอรมันบนถนนของคาลีนิน, ตุลาคม ค.ศ. 1941

มอสโกเองก็ได้รับการเสริมการป้องกันอย่างเร่งรีบเช่นกัน จากข้อมูลของจูคอฟว่า มีผู้หญิงและวัยรุ่นจำนวน 250,000 คน ได้ทำงานสร้างสนามเพละและคูต่อต้านรถถังบริเวณรอบมอสโก ความเคลื่อนไหวเกือบสามล้านลูกบาศก์เมตรของโลกโดยไม่มีความช่วยเหลือทางจักรกล โรงงานในกรุงมอสโกได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นภารกิจทางทหารอย่างเร่งรีบ: โรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นคลังอาวุธปืนกลมือ โรงงานผลิตนาฬิกาได้หันมาผลิตทุ่นระเบิด โรงงานผลิตช็อตโกแลตได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นการผลิตอาหารสำหรับแนวหน้า และสถานีซ่อมแซมรถยนต์ซึ่งทำงานในการซ่อมแซมรถถังและยานพาหนะทางทหารที่เสียหาย[41] แม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมเหล่านี้ เมืองหลวงก็ยังอยู่ห่างไกลจากรถถังเยอรมันอย่างทึ่ง โดยลุฟท์วัฟเฟอได้เข้าโจมตีทางอากาศขนาดใหญ่ในเมือง การโจมตีทางอากาศทำให้เกิดความเสียหายได้เพียงแค่จำกัด เนื่องจากมีการป้องกันอากาศยานที่กว้างขวางและหน่วยงานดับเพลิงพลเรือนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ[42]

เครื่องป้องกันกีดขวางรถถังในท้องถนนมอสโก, ตุลาคม ค.ศ. 1941

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1941 (15 ตุลาคม ตามแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) แวรมัคท์ได้เริ่มต้นการรุกอีกครั้งในช่วงแรก กองกำลังเยอรมันได้พยายามหลีกเลี่ยงแนวป้องกันโซเวียตโดยเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไปยังเมืองคาลีนินซึ่งได้รับการป้องกันที่อ่อนแอ และทางใต้สู่ Kaluga และตูลา โดยเข้ายึดครองทั้งหมดยกเว้นแต่ตูลาในวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อได้รับขวัญกำลังใจโดยความสำเร็จในช่วงแรก เยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีด้านหน้ากับแนวป้องกัน, โดยเข้ายึด Mozhaisk และ Maloyaroslavets ในวันที่ 18 ตุลาคม, Naro-Fominsk ในวันที่ 21 ตุลาคม, และ Volokolamsk ในวันที่ 27 ตุลาคม ภายหลังจากการสู้รบที่ดุเดือด เนื่องจากอันตรายที่เพิ่มมากขึ้นของการโจมตีขนาบข้าง จูคอฟได้ถูกบีบบังคับให้ล่าถอย[43] ได้ถอดถอนกำลังของเขาไปยังทางตะวันออกของแม่น้ำนารา[44]

ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้เริ่มเข้ารุกสู่ตูลาโดยทางสะดวกเพราะแนวป้องกัน Mozhaisk ไม่ขยายออกไปยังทางใต้มากนัก และไม่มีการรวมตัวกันที่มีนัยสำคัญของกองทหารโซเวียตที่คอยขัดขวางการรุกของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ปัญหาด้านเชื้อเพลิง ถนนและสะพานที่เสียหายทำให้กองทัพเยอรมันเคลื่อนที่ช้าลงในที่สุด และกูเดรีอันไม่อาจไปถึงชานเมืองของตูลาจนถึงวันที่ 26 ตุลาคม[45] แผนเยอรมันในช่วงแรกได้เรียกร้องให้เข้ายึดครองตูลาอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยการเคลื่อนขบวนแบบก้ามปูเข้าโอบล้อมรอบ ๆ กรุงมอสโก อย่างไรก็ตาม การโจมตีครั้งแรกได้ถูกต้านทานโดยกองทัพที่ 50 และทหารอาสาสมัครพลเรือน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ภายหลังการสู้รบในสายตาของเมือง ตามมาด้วยการรุกตอบโต้กลับโดยกองทัพน้อยการ์ดทหารม้าที่ 1 ซึ่งปีกด้านข้างได้รับการปกป้องโดยกองทัพที่ 10 กองทัพที่ 49 และกองทัพที่ 50 ซึ่งเข้าโจมตีจากตูลา[46] เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม กองบัญชาการใหญ่เยอรมันได้ออกคำสั่งให้หยุดยั้งปฏิบัติการเชิงรุกทั้งหมด จนกว่าปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่รุนแรงมากขึ้นจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและปรากฎการณ์รัสปูติซาได้เบาบางลง

แวร์มัคท์รุกเข้าสู่มอสโก (1 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม)

สภาพอ่อนกำลังลง

ในปลายเดือนตุลาคม, กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง โดยมีเพียงหนึ่งในสามยานยนต์ที่ยังคงใช้งานได้ กองพลทหารราบที่มีกำลังสามถึงครึ่ง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่ร้ายแรงทำให้ไม่สามารถส่งเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และอุปกรณ์กันความหนาวอื่น ๆ ที่แนวหน้า แม้แต่ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะยอมจำนนต่อความคิดเรื่องการสู้รบที่ยาวนาน เนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะส่งรถถังเข้าไปในเมืองใหญ่เช่นนี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารราบอย่างหนักนั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงภายหลังการเข้ายึดครองกรุงวอร์ซอที่มีราคาที่ต้องจ่ายในปี ค.ศ. 1939[47]

ไฟล์:Yuon RedSquare Parade 1941.jpg
การสวนสนามโดยกองทหารโซเวียตบนจัตุรัสแดง, วันศุกร์ ที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941, ซึ่งปรากฎในภาพวาด ปี ค.ศ. 1949 ซึ่งถูกวาดโดย Konstantin Yuon แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญของเหตุการณ์[33]: 31 

เพื่อทำให้การตัดสินใจที่เข้มแข็งของกองทัพแดงและเพิ่มขวัญกำลังใจของพลเรือน สตาลินได้ออกคำสั่งให้จัดขบวนสวนสนามทางทหารตามธรรมเนียมในวันที่ 7 พฤศจิกายน(วันแห่งการปฏิวัติ) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสแดง กองทหารโซเวียตได้เดินสวนสนามผ่านพระราชวังเคลมลิมและเคลื่อนที่โดยตรงสู่แนวหน้า ขบวนสวนสนามมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างมากโดยแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอันแน่วแน่อย่างต่อเนื่องของโซเวียต และมักจะถูกเรียกเช่นนี้ในปีต่อ ๆ ไป แม้จะมีการแสดงด้วยความกล้าหาญนี้ ตำแหน่งของกองทัพแดงยังคงดูล่อแหลม แม้ว่าทหารโซเวียตอีก 100,000 นายจะได้เข้าเสริมกำลังที่คลินและตูลา ซึ่งได้คาดการณ์ว่าการรุกของเยอรมันจะเริ่มขึ้นมาใหม่ การป้องกันของโซเวียตยังคงค่อนข้างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สตาลินได้ออกคำสั่งให้การรุกตอบโต้กลับก่อนล่วงหน้าต่อแนวรบของเยอรมันหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ได้ถูกเปิดฉากขึ้นแม้ว่าจะมีการประท้วงจากจูคอฟ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนกำลังสำรองทั้งหมด[48] แวร์มัคท์ได้ต้านทานการรุกตอบโต้กลับเหล่านี้ส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำลายล้างกองกำลังโซเวียตซึ่งอาจจะใช้สำหรับการป้องกันมอสโก มีเพียงความสำเร็จอย่างโดดเด่นเพียงครั้งเดียวของการรุกซึ่งเกิดขึ้นจากทางตะวันตกของมอสโกใกล้กับ Aleksino เมื่อรถถังโซเวียตได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกองทัพที่ 4 เนื่องจากเยอรมันยังขาดอาวุธต่อต้านรถถังที่สามารถทำลายรถถังที-34 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และมีเกราะที่ดีเยี่ยม[49]

ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 - 15 พฤศจิกายน กองบัญชาการใหญ่แวร์มัคท์ได้หยุดลง ในขณะที่เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดฉากการรุกมอสโกครั้งที่สอง แม้ว่ากองทัพกลุ่มกลางยังคงมีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่ความสามารถในการสู้รบได้ลดทอนลงอย่างมากเพราะการสึกหรอและความเหนื่อยล้า ในขณะที่เยอรมันได้รับรู้ถึงการหลั่งไหลเข้ามาของการกำลังเสริมของโซเวียตอย่างต่อเนื่องจากตะวันออก เช่นเดียวกับการมีอยู่ของกองกำลังสำรองขนาดใหญ่ ทำให้โซเวียตสูญเสียอย่างมหาศาล พวกเขาไม่คาดคิดว่าโซเวียตสามารถป้องกันได้อย่างมั่นคง[50] แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเดือนตุลาคม กองพลปืนไรเฟิลโซเวียตได้ยึดครองตำแหน่งป้องกันที่แข็งแกร่งกว่ามาก: วงแหวนป้องกันสามชั้นรอบเมืองและส่วนที่เหลือบางส่วนของแนว Mozhaisk ใกล้กับคลิน กองทัพภาคสนามโซเวียตส่วนใหญ่ในตอนนี้ได้ป้องกันหลายชั้น โดยมีกองพลปืนไรเฟิลอย่างน้อยสองกองพลในตำแหน่งระดับที่สอง การสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และทหารช่างยังได้กระจุกรวมตัวกันตามถนนสายหลักที่กองทหารเยอรมันคาดการณ์ว่าจะใช้ในการโจมตีพวกเขา นอกจากนี้ยังมีกองทหารโซเวียตจำนวนมากที่ยังคงอยู่ในกองทัพสำรองที่อยู่เบื้องหลังแนวหนเ้า จนในที่สุด กองทหารโซเวียต-และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่นายทหาร- ตอนนี้พวกเขาได้มีประสบการณ์มากขึ้นและเตรียมความพร้อมที่ดีขึ้นสำหรับการรุก[51]

วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ในที่สุด ทางภาคพื้นดินก็ได้กลายสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องถนนโคลนเลน หัวหอกยานเกราะของแวร์มัคท์ซึ่งประกอบไปด้วย 51 กองพล ซึ่งตอนนี้สามารถรุกเข้าไปได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะโอบล้อมมอสโกและเชื่อมโยงใกล้กับเมืองโนกินสค์ ทางตะวันออกของเมืองหลวง เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ กลุ่มยานเกราะที่สามและสี่ของเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรวบรวมกองกำลังของเขาไว้ที่ระหว่างอ่างเก็บน้ำวอลกาและ Mozhaysk จากนั้นก็เคลื่อนทัพผ่านกองทัพที่ 30 ของโซเวียตไปยังคลินและ Solnechnogorsk โอบล้อมเมืองจากทางเหนือ ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้ตั้งใจว่าจะอ้อมผ่านทางตูลาซึ่งยังถูกยึดครองโดยโซเวียต และเข้ารุกไปยัง Kashira และ Kolomna โดยเชื่อมโยงกับการโอบล้อมทางเหนือที่โนกินสค์ กองทัพภาคสนามที่ 4 ของเยอรมันที่อยู่ในส่วนกลางจะต้อง"ตรึงกองกำลังทหารของแนวรบตะวันตก"[33]: 33, 42–43 

การโอบล้อมที่ล้มเหลว

การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต

ภายหลังสงคราม

มรดกตกทอด

การสูญเสีย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Bergström 2007 p.90.
  2. Williamson 1983, p.132.
  3. แหล่งข้อมูลทั้งสองใช้บันทึกลุฟท์วัฟเฟอ ตัวเลข 900-1,300 ลำที่มักอ้างไม่สอดคล้องกับรายงานผลกำลังของลุฟท์วัฟเฟอ แหล่งข้อมูล: Prien, J./Stremmer, G./Rodeike, P./ Bock, W. Die Jagdfliegerverbande der Deutschen Luftwaffe 1934 bis 1945, Teil 6/I and II; U.S National Archives, German Orders of Battle, Statistics of Quarter Years.
  4. 4.0 4.1 Bergström 2007, p. 111.
  5. Shirer, William L. "24, Swedish (Book III)". The Rise and Fall of the Third Reich. pp. 275–87.
  6. Bellamy 2007, p. 243.
  7. Bellamy 2007, p. 240.
  8. 8.0 8.1 Alan F. Wilt. "Hitler's Late Summer Pause in 1941". Military Affairs, Vol. 45, No. 4 (December 1981), pp. 187–91
  9. 9.0 9.1 9.2 Flitton 1994.
  10. Niepold, Gerd (1993). "Plan Barbarossa". ใน David M. Glantz (บ.ก.). The Initial Period of War on the Eastern Front, 22 June – August 1941: Proceedings of the Fourth Art of War Symposium, Garmisch, FRG, October 1987. Cass series on Soviet military theory and practice. Vol. 2. Psychology Press. p. 67. ISBN 978-0714633756.
  11. Glantz & House 1995, p. 293.
  12. 12.0 12.1 Stahel, David (2014). Operacja "Tajfun". Książka i Wiedza. Warsaw. p. 89. ISBN 978-83-05-136402.
  13. Bergstöm 2007, p. 90.
  14. Guderian, pp. 307–09.
  15. Hardesty, 1991, p. 61.
  16. Bergström 2007, p. 118.
  17. Bergström 2007, pp. 90–91.
  18. Guderian, p. 307
  19. Clark Chapter 8,"The Start of the Moscow Offensive", p. 156 (diagram)
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 Glantz, chapter 6, sub-ch. "Viaz'ma and Briansk", pp. 74 ff.
  21. 21.0 21.1 21.2 Vasilevsky, p. 139.
  22. Guderian, p. 316.
  23. Clark, pp. 165–66.
  24. Guderian, p. 318.
  25. David M. Glantz. When Titans Clashed. pp. 80, 81.
  26. Zetterling & Frankson 2012, p. 100.
  27. Bergström 2007, p. 91.
  28. Geoffrey Jukes, The Second World War – The Eastern Front 1941–1945, Osprey, 2002, ISBN 1-84176-391-8, p. 29.
  29. Jukes, p. 31.
  30. Glantz, When Titans Clashed p. 336 n15.
  31. Smith, Howard K. (1942). Last Train from Berlin. Knopf. pp. 83–91.
  32. The Great Soviet Encyclopedia, 3rd Edition (1970–1979). 2010 The Gale Group, Inc.
  33. 33.0 33.1 33.2 Zhukov, Georgy (1974). Marshal of Victory, Volume II. Pen and Sword Books Ltd. pp. 7, 19. ISBN 978-1781592915.
  34. Zhukov, tome 2, p. 10.
  35. Plocher 1968, p. 231.
  36. Bergström 2007, p. 93
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jukes32
  38. Zhukov, tome 2, p. 17.
  39. Marshal Zhukov's Greatest Battles p. 50.
  40. Zhukov, tome 2, p. 18.
  41. Zhukov, tome 2, p. 22.
  42. Braithwaite, pp. 184–210.
  43. Glantz, chapter 6, sub-ch. "Viaz'ma and Briansk", pp. 74 ff.
  44. Zhukov, tome 2, p. 24.
  45. Guderian, pp. 329–30.
  46. Zhukov, tome 2, pp. 23–25.
  47. Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.
  48. Zhukov, tome 2, p. 27.
  49. Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.
  50. Klink, pp. 574, 590–92
  51. Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.