ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suphakorn343 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
* {{ป.ม.|2459}}
* {{ป.ม.|2459}}
* {{ท.จ.ว.ฝ่ายหน้า|2456}}
* {{ท.จ.ว.ฝ่ายหน้า|2456}}
* {{ต.ช.}}
* {{ต.ช.|ปี=2451}}
* {{ร.ด.ม.(ศ)|2459}}<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/3267.PDF พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา] </ref>
* {{ร.ด.ม.(ศ)|2459}}<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/3267.PDF พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา] </ref>
* {{ว.ป.ร.3|2456}}
* {{ว.ป.ร.3|2456}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:01, 24 กันยายน 2564

พระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ไฟล์:กรมหมื่นกวีสุพจน์ปรีชา.jpg
เลขานุการหอพระสมุดวชิรญาณ
ประสูติ25 กันยายน พ.ศ. 2414
สิ้นพระชนม์18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (55 ปี)
พระบุตร7 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาเลี่ยมใหญ่

มหาอำมาตย์ตรี พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (25 กันยายน พ.ศ. 2414 - 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470)[1] เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญกับจอมมารดาเลี่ยมใหญ่

พระกรณียกิจ

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา มีพระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ ทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 ทรงเข้ารับราชการในกรมยุทธนาธิการ ตำแหน่งเสมียนฝึกหัด จนได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ย้ายมารับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นพนักงานหนังสือลับ[2] จากนั้นในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้เป็น ปลัดบัญชี กระทรวงมหาดไทย[3] และได้เป็น ข้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้ากรมมหาดไทย ในรัชกาลที่ 6 เป็นเลขานุการหอพระสมุดวชิรญาณ ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โปรดให้สถาปนาเป็น พระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงศักดินา 11000[4] ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี[5] และทรงพระราชทานยศนายกองตรีเสือป่า

สิ้นพระชนม์

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ประชวรพระวาโย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เวลา 23:30 น. พระชันษา 56 ปี วันต่อมาเวลา 16:30 น. เจ้าพนักงานสรงพระศพ แล้วเชิญพระศพลงพระหีบลอง ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดส้มเกลี้ยง[6]

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เวลา 17:30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงพระศพพร้อมกับพระศพพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เช้าวันต่อมาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เสด็จมาบำเพ็ญกุศลสามหาบ แล้วเจ้าพนักงานเชิญพระอัฐิไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร[1] เป็นต้นราชสกุลกัลยาณะวงศ์

พระโอรสธิดา

กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงเป็นต้นราชสกุลกัลยาณวงศ์ ทรงมีหม่อมหลายคน เช่น หม่อมผิน กัลยาณวงศ์ ณ อยุธยา,หม่อมช้อย กัลยาณวงศ์ ณ อยุธยา ทรงมีพระโอรสและพระธิดา 7 พระองค์[7]ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าวรพุฒิพิไลย กัลยาณวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2461) มีหม่อมผินเป็นหม่อมมารดา
  2. หม่อมเจ้าหญิงอำไพพิลาส กัลยาณวงศ์ ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อทำการสมรสกับสามัญชน
  3. หม่อมเจ้าหญิงพิศวาสกวี กัลยาณวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2464)
  4. หม่อมเจ้าปรีชา กัลยาณวงศ์ มีโอรส คือ หม่อมราชวงศ์จุลปรีชา กัลยาณวงศ์
  5. หม่อมเจ้ากัลยาณบุตร กัลยาณวงศ์
  6. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2456 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2457)
  7. หม่มเจ้าหญิงพงศ์กวี กัลยาณวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อทำการสมรสกับสามัญชน

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ (25 กันยายน พ.ศ. 2414 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
  • พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ตำแหน่ง

  • 13 เมษายน พ.ศ. 2444 ปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย
  • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ข้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก[9]

พระยศ

นายกองตรี นายร้อยเอก
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
รับใช้กระทรวงกลาโหม
กองเสือป่า
ชั้นยศ ร้อยเอก
ไฟล์:นายกองตรี.jpg นายกองตรี

พระยศพลเรือน

  • มหาอำมาตย์ตรี

พระยศทหาร

  • นายร้อยตรี[10]
  • นายร้อยเอก[11]

พระยศเสือป่า

  • นายกองตรี

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 "หมายกำหนดการ ที่ 3/2473 พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ที่เมรุวัดเบญจมบพิตดุสิตวนาราม พุทธศักราช 2473" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 553–554. 18 พฤษภาคม 2473. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ตำแหน่งข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย
  3. พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า และตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ก): 337–339. 11 พฤศจิกายน 2456. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
  6. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (ง): 625–627. 29 พฤษภาคม 2470. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 271
  8. พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
  9. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  10. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
บรรณานุกรม
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 271. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 139-140. ISBN 978-974-417-594-6