ผลต่างระหว่างรุ่นของ "CPO-STV"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''การเปรียบเทียบผลลัพธ์คู่ด้วยการถ่ายโอนคะแนนเสียง''' ({{lang-en|Comparison of Pairs of Outcomes by the Single Transferable Vote}}, ย่อ: '''CPO-STV''') คือ ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับซึ่...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:08, 17 กันยายน 2564

การเปรียบเทียบผลลัพธ์คู่ด้วยการถ่ายโอนคะแนนเสียง (อังกฤษ: Comparison of Pairs of Outcomes by the Single Transferable Vote, ย่อ: CPO-STV) คือ ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของผู้แทนอย่างเป็นสัดส่วน โดยถือเป็นระบบการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ที่ละเอียดและซับซ้อนขึ้น โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแก้ข้อบกพร่องต่างๆ ในระบบเดิม โดยการเพิ่มองค์ประกอบของวิธีกงดอร์แซซึ่งใช้ในการลงคะแนนเพื่อเลือกตั้งหาผู้แทนแบบเขตละหนึ่งคนเข้าไปในระบบการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ในระบบการเลือกตั้งนี้ใช้สำหรับการหาผู้ชนะการเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งคน และผู้ลงคะแนนจะต้องให้คะแนนตามลำดับความชอบ ในปัจจุบัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ระบบนี้ยังไม่ได้รับมาใช้ในการเลือกตั้งจริง

CPO-STV มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ (tactical voting) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง ซึ่งผู้สมัครสามารถทำให้ตกรอบแรกได้ถึงแม้ว่าหากผู้สมัครรายนั้นหากได้อยู่แข่งขันต่อจะเป็นผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง SPO-STV ใช้การเปรียบเทียบผลลัพธ์การเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ซึ่งตามขั้นตอนแล้วใช้เพื่อที่จะกำหนดว่าผลลัพธ์ใดจะเหมาะสมที่สุดตามลำดับความชอบของผู้ลงคะแนน หากเมื่อใช้ในการเลือกตั้งผู้สมัครคนเดียวนั้น CPO-STV จะเทียบเท่ากับวิธีกงดอร์แซ คล้ายคลึงกับการที่ระบบถ่ายโอนคะแนนเสียงนั้นเมื่อใช้หาผู้ชนะการเลือกตั้งรายเดียวจะเทียบเท่ากับการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที ระบบการลงคะแนนนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยนิโกเลาส์ ไทด์แมน

การลงคะแนน

ผู้ลงคะแนนแต่ละรายจะต้องลงคะแนนให้ผู้สมัครตามลำดับความชอบ ตัวอย่างเช่น

  1. แอนเดรีย
  2. คาร์เตอร์
  3. แบรด
  4. ดีไลลา
  5. สกอตต์

ในการเลือกตั้งจะต้องมีกฎของระบบ CPO-STV ว่าผู้ลงคะแนนจะต้องจัดลำดับผู้สมัครทุกรายจนครบหรือไม่ และผู้ลงคะแนนสามารถให้จัดลำดับเดียวกันซ้ำให้กับผู้สมัครมากกว่าหนึ่งรายได้หรือไม่

ขั้นตอน

กำหนดโควตา

ทั้งโควตาแฮร์และดรูปอาจนำมาใช้ในการเลือกตั้งในระบบนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ไทด์แมนได้แนะนำให้ใช้โควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ ซึ่งโควตานี้เป็นจำนวนตรรกยะซึ่งเท่ากับจำนวนคะแนนดีทั้งหมดหารด้วยจำนวนที่นั่งที่เลือกตั้งทั้งหมดบวกหนึ่ง ซึ่งสูตรคำนวนเป็นดังนี้

การหาผู้ชนะ

CPO-STV ใช้การเปรียบเทียบทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเลือกตั้งกับอีกผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการหาชุดของผู้ชนะการเลือกตั้งที่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนสูงที่สุด กล่าวคือเป็นแบบหนึ่งของวิธีกงดอร์แซ โดยปกติแล้วจะมีผลลัพธ์หนึ่งที่จะสามารถเอาชนะในทุกการแข่งขันได้ และจะได้รับเลือกเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งโดยปริยาย

เมื่อใช้การเปรียบเทียบสองผลลัพธ์เข้าด้วยกันจะต้องใช้วิธีพิเศษในการให้คะแนนแต่ละผลลัพธ์ และเพื่อจะกำหนดว่าผลลัพธ์ไหนเป็นผู้ชนะ ในการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทั้งสองแบบนั้นใช้วิธีการดังนี้

  1. กำจัดผู้สมัครทุกรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์ในชุดใดเลย ผู้สมัครทั้งหมดที่ไม่ปรากฎอยู่ในผลลัพธ์ชุดใดเลยจะตกรอบและคะแนนเสียงจะถูกถ่ายโอนไป ผู้ลงคะแนนรายใดที่สนับสนุนผู้สมัครที่ตกรอบนั้นคะแนนจะถูกโอนให้แก่ผู้สมัครในลำดับถัดไปที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์
  2. ถ่ายโอนคะแนนเกินของผู้สมัครในทั้งสองผลลัพธ์ เมื่อจำนวนคะแนนเสียงของผู้สมัครนั้นมากกว่าจำนวนโควตา คะแนนส่วนเกินจะถูกโอนออก อย่างไรก็ตามจะนับเฉพาะคะแนนเกินของผู้สมัครที่ปรากฎในผลลัพธ์ทั้งสองนี้เท่านั้น คะแนนส่วนเกินของผู้สมัครรายที่ไม่อยู่ในผลลัพธ์คู่นี้จะไม่ถูกนับ โดยคะแนนเกินจะสามารถถ่ายโอนไปยังผู้สมัครรายที่ปรากฎอยู่ในอย่างน้อยหนึ่งในสองผลลัพธ์เท่านั้น
  3. คำนวนผลรวมคะแนน ภายหลังจากการถ่ายโอนคะแนนสิ้นสุดลง จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดที่จะผู้สมัครแต่ละรายพึงได้รับตามผลลัพธ์ทั้งสองชุดนั้นจะถูกสรุป และผลรวมคะแนนนั้นจะถือเป็นคะแนนของผลลัพธ์ชุดนั้น
  4. ประกาศผู้ชนะ ผลลัพธ์ชุดใดที่มีคะแนนสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะในเปรียบเทียบในคู่นั้นๆ

ในบางโอกาส เมื่อใดที่ทุกๆ ผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้นั้นได้รับการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันแล้ว จะไม่มีผลลัพธ์ชุดใดเลยที่สามารถชนะผลลัพธ์ได้ครบทุกชุด ซึ่งหมายความว่า ไม่มี "ผู้ชนะแบบกงดอร์แซ" ในกรณีนี้จะต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่า วิธีการทำให้กงดอร์แซสมบูรณ์ โดยนำมาใช้เพื่อการหาชุดของผู้ชนะที่จะได้รับเลือกตั้ง โดยวิธีสมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับแบบย่อยของวิธีกงดอร์แซที่นำมาใช้ ซึ่งแบบต่างๆ ที่ซับซ้อนและแตกต่างกันนั้นรวมถึง ระบบจัดลำดับคู่ (พัฒนาโดยไทด์แมน) และวิธีชุลท์เซอ

วิธีการโอนคะแนนเกิน

การเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงแบบดั้งเดิมนั้นแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ใช้ในการถ่ายโอนคะแนนเสียงส่วนเกิน ในระบบเก่านั้นใช้ระบบการโอนสุ่ม (วิธีของแฮร์) หรือระบบการโอนเศษ (วิธีเกรกอรี) แต่วิธีเหล่านี้นั้นค่อนข้างหยาบ และอาจทำให้เกิดการลงคะแนนเชิงกลยุทธ์ได้

วิธีของวอร์เรน และวิธีของมีกนั้นเป็ระบบการโอนคะแนนที่ซับซ้อนกว่า CPO-STV นั้นสามารถใช้กับวิธีเหล่านี้ได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงย่อมขึ้นอยู่กับผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเลือกระบบการลงคะแนนว่าจะใช้วิธีการคำนวนแบบใด

ตัวอย่าง

อ้างอิง