ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ajkangxi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sutoppakaw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
| post = หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
| post = หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
| insignia = Emblem of the Royal Thai Army.svg
| insignia = [[ไฟล์:Logo4.gif|150px]]
| insigniasize = 100px
| insigniasize =
| insigniacaption = ตราประจำเหล่าทัพ
| insigniacaption = ตราประจำเหล่าทัพ
| image =
| image =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:26, 15 กันยายน 2564

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ตราประจำเหล่าทัพ
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พลโท ภูมิพัฒน์​ จันทร์​สว่าง

ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
ผู้ประเดิมตำแหน่งพลโท เอนก บุนยถี
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2526

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นหน่วยทหารของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 โดยมีกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

เครื่องหมายและสัญลักษณ์

  • ตัวอักษร U สงครามนอกแบบ [ Unconventional Warfare ] ซึ่งเป็นภารกิจของหน่วย
  • ปีกและร่ม ความสามารถในการส่งทางอากาศ อันเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วย
  • ดาวสามดวง อัตรากำลังของหน่วยระดับกองทัพภาคมีผู้บัญชาการยศ พลโท
  • สีดำที่ตัวยู ภารกิจภายใต้การปิดลับที่ไม่เปิดเผย
  • สีฟ้าที่พื้น ขอบเขตอันกว้างไกลตามภารกิจของหน่วย

ประวัติ

กองทัพบกเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของปฏิบัติการสงครามพิเศษที่สามารถเผชิญและลดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศได้ จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นเป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หน่วยรบพิเศษของกองทัพไทย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ในนามของกองพันทหารพลร่ม ที่ตั้ง ณ บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งมี พ.ต.เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นผู้บังคับกองพัน กองพันทหารพลร่มในยุคแรกได้ปฏิบัติภารกิจ ตามแผนงานโครงการของกองทัพบก และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนประชาชนต่างก็ประจักษ์ถึงขีดความสามารถของกองพันทหารพลร่มในเรื่อง การรบ การกระโดดร่ม การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่างๆ และป้องกันประเทศจากภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันความต้องการที่จะใช้หน่วยทหารพลร่มปฏิบัติภารกิจมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยรบพิเศษได้รับการปรับปรุงพัฒนามาโดยลำดับ จากกองพันทหารพลร่มได้รับพิจารณาให้ขยายกำลังเป็น กองรบพิเศษ(พลร่ม) และต่อมาได้มีการขยายกำลังเป็นระดับกองพล คือ ศูนย์สงครามพิเศษ เพื่อเป็นศูนย์ทางวิทยาการและศูนย์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ฝึกอบรม และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ

ประตูค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

กองทัพบกได้จัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยบังคับบัญชากำลังรบพิเศษทั้งปวงแทนศูนย์สงครามพิเศษ โดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึก ศึกษา เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่า จากสถานการณ์สู้รบในอดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษ เข้าแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ของบ้านเมืองในขณะเดียวกันได้เร่งรัดพัฒนาการจัดหน่วยให้มีขีดความสามารถจนเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในปัจจุบัน เทียบเท่ากองทัพภาคมีภารกิจเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษทั้งปวง ตั้งแต่การวางแผน อำนวยการ กำกับการทั้งด้านการฝึกศึกษา และการปฏิบัติงาน เป็นหน่วยหวังผลทางยุทธศาสตร์มีบทบาทในการออมกำลังและชดเชยอำนาจกำลังรบ ที่เสียเปรียบ การปฏิบัติงานของหน่วยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยามปกติในพื้นที่ รับผิดชอบ

หน่วยขึ้นตรง

  • กองพลรบพิเศษที่ 1 (พล.รพศ. 1)
    • กรมรบพิเศษที่ 1 (รพศ. 1)
      • กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 1
      • กองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1
    • กรมรบพิเศษที่ 2 (รพศ. 2)
      • กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 2
      • กองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 2
    • กรมรบพิเศษที่ 3 รักษาพระองค์ (รพศ. 3 รอ.)
    • กรมรบพิเศษที่ 4 (รพศ. 4)
      • กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 4
      • กองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 4
    • กรมรบพิเศษที่ 5 (รพศ. 5)
      • กองพันรบพิเศษที่ 1 กรมรบพิเศษที่ 5
      • กองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 5
  • ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.)
  • กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (พัน.ปจว.)
  • กองพลาธิการส่งทางอากาศ (กอง พธ.สกอ.)
  • กองพันทหารสื่อสารที่ 35 (ส.พัน.35 นสศ.)

ค่ายหน่วยรบพิเศษ

  • ค่ายวชิราลงกรณ์ (ป่าหวาย)
  • ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • ค่ายเอราวัณ
  • ค่ายสฤษดิ์เสนา
  • ค่ายขุนเณร

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น