ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Chiang999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย|ชื่อ=สำนักวิชาแพทยศาสตร์</br>มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง|ชื่ออังกฤษ=School of Medicine<br>Mae Fah Luang University|ภาพ=[[ไฟล์:MED_MFU.png|200px|ตราสัญลักษณ์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]]|คณบดี=ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์<ref>[https://medicine.mfu.ac.th/medicine-about/medicine-staff/medicine-staff-executive.html/ รายนามผู้บริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]</ref>|สีประจำคณะ={{color box|#006400}} สีเขียวใบไม้|สัญลักษณ์คณะ=งูพันคบเพลิง|ที่อยู่=333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด</br>[[อำเภอเมืองเชียงราย]] [[จังหวัดเชียงราย]] [[รหัสไปรษณีย์ทั่วประเทศไทยเรียงตามจังหวัด|57100]]|เว็บ=[https://medicine.mfu.ac.th/medicine-home.html สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]|วารสารคณะ=[https://he02.tci-thaijo.org/index.php/gmsmj?fbclid=IwAR1teeeh1WWgvND_13RNYUu5MCyzWd8YhzoDJQ0Iwe8jqTpK_ajnITOO2rs วารสารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]|สถานปฏิบัติการ=[[โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] </br> [[โรงพยาบาลกลาง]] </br> [[โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์]]</br> [[โรงพยาบาลลำพูน]]|วันที่ก่อตั้ง=18 มกราคม พ.ศ. 2555<br>({{อายุปีและวัน|2012|1|18}})|คำขวัญ="สถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"}}
{{กล่องข้อมูล คณะในมหาวิทยาลัย|ชื่อ=สำนักวิชาแพทยศาสตร์</br>มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง|ชื่ออังกฤษ=School of Medicine,<br>Mae Fah Luang University|ภาพ=[[ไฟล์:MED_MFU.png|200px|ตราสัญลักษณ์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]]|คณบดี=ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์<ref>[https://medicine.mfu.ac.th/medicine-about/medicine-staff/medicine-staff-executive.html/ รายนามผู้บริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]</ref>|สีประจำคณะ={{color box|#006400}} สีเขียวใบไม้|สัญลักษณ์คณะ=งูพันคบเพลิง|ที่อยู่=333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด</br>[[อำเภอเมืองเชียงราย]] [[จังหวัดเชียงราย]] [[รหัสไปรษณีย์ทั่วประเทศไทยเรียงตามจังหวัด|57100]]|เว็บ=[https://medicine.mfu.ac.th/medicine-home.html สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]|วารสารคณะ=[https://he02.tci-thaijo.org/index.php/gmsmj?fbclid=IwAR1teeeh1WWgvND_13RNYUu5MCyzWd8YhzoDJQ0Iwe8jqTpK_ajnITOO2rs วารสารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]|สถานปฏิบัติการ=[[โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] </br> [[โรงพยาบาลกลาง]] </br> [[โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์]]</br> [[โรงพยาบาลลำพูน]]|วันที่ก่อตั้ง=18 มกราคม พ.ศ. 2555<br>({{อายุปีและวัน|2012|1|18}})|คำขวัญ="สถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"}}
'''สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง''' จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 นับเป็นสำนักวิชาลำดับที่ 11 ของ[[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] และเป็น[[แพทยศาสตร์|โรงเรียนแพทย์]]ใน[[จังหวัดเชียงราย]]ของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 19 ของ[[กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย|ประเทศไทย]] โดยในช่วงแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในสังกัดของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร]] และ[[กระทรวงสาธารณสุข]]ในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และหลังจากนั้นสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มพัฒนา[[โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน
'''สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง''' จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 นับเป็นสำนักวิชาลำดับที่ 11 ของ[[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] และเป็น[[แพทยศาสตร์|โรงเรียนแพทย์]]ใน[[จังหวัดเชียงราย]]ของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 19 ของ[[กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย|ประเทศไทย]] โดยในช่วงแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในสังกัดของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร]] และ[[กระทรวงสาธารณสุข]]ในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และหลังจากนั้นสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มพัฒนา[[โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน


บรรทัด 39: บรรทัด 39:
* '''โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (Quota)'''
* '''โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (Quota)'''


เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลลำพูน|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน]] [[จังหวัดลำพูน]] เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องจับสลากเพื่อทำงานใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลลำพูน|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน]] [[จังหวัดลำพูน]]


* '''โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (Quota)'''
* '''โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (Quota)'''


เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลกลาง|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง]] [[กรุงเทพมหานคร]] เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องจับสลากเพื่อทำงานใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลกลาง|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง]] [[กรุงเทพมหานคร]]


* '''โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)'''
* '''โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)'''


เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยรับสมัครร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องจับสลากเพื่อทำงานใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยรับสมัครร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่[[โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์|ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]


=== หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ===
=== หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ===
บรรทัด 90: บรรทัด 90:


== กิจกรรมและประเพณีของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ==
== กิจกรรมและประเพณีของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ==
สโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของสำนักวิชา โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและประเพณีอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เอง หรือเป็นกิจกรรมที่เข้าร่วมกับสถาบันแพทยศาสตร์อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
สโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง]] เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักวิชา โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและประเพณีอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เอง หรือเป็นกิจกรรมที่เข้าร่วมกับสถาบันแพทยศาสตร์อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้


=== ค่าย และการรับน้องใหม่ ===
=== ค่าย และการรับน้องใหม่ ===
'''กิจกรรม How to live and learn'''
'''กิจกรรม How to live and learn'''


* จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ของทุกปี เป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และบางส่วนต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเร่งรัด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษต่อไป และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่นักศึกษารุ่นพี่ได้เตรียมไว้ เพื่อต้อนรับน้องใหม่ อย่างเช่น กิจกรรมน้องใหม่ปลูกป่า น้องใหม่ใส่บาตร กิจกรรมจุดเทียนส่องใจ เป็นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และเริ่มต้นเข้าเรียนชั้นปี 1 พร้อมกันในวันเปิดภาคการศึกษา
* จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และบางส่วนต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเร่งรัด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษต่อไป และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่นักศึกษารุ่นพี่ได้เตรียมไว้ เพื่อต้อนรับน้องใหม่ อย่างเช่น กิจกรรมน้องใหม่ปลูกป่า น้องใหม่ใส่บาตร กิจกรรมจุดเทียนส่องใจ เป็นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และเริ่มต้นเข้าเรียนชั้นปี 1 พร้อมกันในวันเปิดภาคการศึกษา


'''งานแรกพบ สพท. (สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย)'''
'''งานแรกพบ สพท. (สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย)'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:04, 7 กันยายน 2564

สำนักวิชาแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
School of Medicine,
Mae Fah Luang University
ตราสัญลักษณ์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คติพจน์"สถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2555
(12 ปี 98 วัน)
คณบดีศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์[1]
ที่อยู่
วารสารวารสารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สี  สีเขียวใบไม้
มาสคอต
งูพันคบเพลิง
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
โรงพยาบาลกลาง
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
โรงพยาบาลลำพูน
เว็บไซต์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 นับเป็นสำนักวิชาลำดับที่ 11 ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเป็นโรงเรียนแพทย์ในจังหวัดเชียงรายของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 19 ของประเทศไทย โดยในช่วงแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในสังกัดของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุขในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย และหลังจากนั้นสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน

ประวัติ

ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายแพทย์สู่ชนบทยังเป็นปัญหาสำคัญมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามแก้ไขด้วยมาตรการต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แพทย์ที่จบใหม่ยังคงต้องการมาศึกษาต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ ๆ และไม่ต้องการกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบท การจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์แนวใหม่ที่มุ่งผลิตแพทย์ที่มีแนวคิดใหม่ตรงความต้องการของชุมชน มีจิตใจรักผูกพันและต้องการปฏิบัติงานอยู่ในชุมชน จึงเป็นทางออกสำคัญทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของหลักสูตร จึงจำเป็นต้องพัฒนาอาจารย์และคัดเลือกนักศึกษาให้เหมาะสมกับหลักสูตร โดยหลักการสำคัญของแพทยศาสตร์แนวใหม่คือ หลักสูตรเน้นการผลิตแพทย์ด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Physicians) ซึ่งเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางการแพทย์ที่เน้นดูแลผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวม ผสมผสานเชื่อมโยงวิชาวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์กับพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย มุ่งเน้นผลการรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยอาศัยชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างแนวคิด การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนในท้องถิ่น เพื่อผลิตแพทย์แนวคิดใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน มีจิตใจรักชุมชน และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิดของตนเองได้อย่างยั่งยืน

จากปัญหาขาดแคลนแพทย์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยและรัฐบาล ที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและเพื่อเป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีความพร้อมและศักยภาพในการรองรับการผลิตแพทย์โดยเน้นเวชศาสตร์ครอบครัว โดยมีสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์และสาธารณสุข คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ และศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอาคารและครุภัณฑ์ประกอบด้วยอาคารเรียนปรีคลินิก ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมแพทย์และชั้นปรีคลินิก มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง การแพทย์บูรณาการ ที่เน้นการแพทย์ทางเลือก ตลอดจนมีโครงการที่จะจัดตั้งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก จึงเห็นสมควรจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ทำหน้าที่ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวขึ้น ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อผลิตแพทย์แนวคิดใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน มีจิตใจรักชุมชน และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเกิดของตนเองได้อย่างยั่งยืน

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555  เพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐในด้านการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนอย่างครบวงจร และมีคุณภาพมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปฏิรูประบบบริหารจัดการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาและเพิ่มจำนวนแพทย์เพื่อสนองตอบตามความต้องการของท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการรับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จากแพทยสภา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 และทำการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2556 จำนวน 32 คน โดยมี พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[2]

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอนนักศึกษาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และเพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักของ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ต่อไป ซึ่งการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วเสร็จ และจะเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป[3]

ทำเนียบคณบดี

ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ นพดล วรอุไร พ.ศ. 2555 - 2563
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ศุภกร โรจนนินทร์ พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบันสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เปิดทำการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) ซึ่งมีระยะเวลาของหลักสูตร 6 ปี

ปริญญาตรี
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีโครงการรับนักศึกษาแพทย์เข้าทำการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยจัดให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ ทั้ง 3 แห่ง ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก และมีโครงการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (Quota)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

  • โครงการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ระบบ โควตา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (Quota)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากโรงเรียนในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร

  • โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ซึ่งรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยรับสมัครร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นักศึกษาแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

  • ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี และเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี

  • ระบบการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี และตามแผนการการจัดการศึกษาของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) ณ โรงพยาบาลที่เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์อีก 3 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นหน่วยงานในการจัดการเรียนการสอน และเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและการบริการร่วมกับทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นมาตรฐานคุณภาพของบัณฑิตแพทย์จากทุกสถาบันชั้นคลินิกภายใต้การประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้มีคุณภาพเดียวกัน โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำพูน (ร่วมผลิตแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567) จังหวัดลำพูน กระทรวงสาธารณสุข

กิจกรรมและประเพณีของสำนักวิชาแพทยศาสตร์

สโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักวิชา โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็นกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและประเพณีอื่น ๆ ที่จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เอง หรือเป็นกิจกรรมที่เข้าร่วมกับสถาบันแพทยศาสตร์อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ค่าย และการรับน้องใหม่

กิจกรรม How to live and learn

  • จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย และบางส่วนต้องเข้าเรียนภาษาอังกฤษในหลักสูตรเร่งรัด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษต่อไป และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่นักศึกษารุ่นพี่ได้เตรียมไว้ เพื่อต้อนรับน้องใหม่ อย่างเช่น กิจกรรมน้องใหม่ปลูกป่า น้องใหม่ใส่บาตร กิจกรรมจุดเทียนส่องใจ เป็นต้น ก่อนที่จะเข้าสู่การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และเริ่มต้นเข้าเรียนชั้นปี 1 พร้อมกันในวันเปิดภาคการศึกษา

งานแรกพบ สพท. (สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย)

  • จัดในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ภายหลังจากการประกาศผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว โดยงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการรับน้องให้แก่นิสิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ทั่วประเทศ ซึ่งงานนี้เต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ ๆ ได้ไปสนุกกัน มีทั้งกิจกรรมเวียนฐาน กิจกรรมสันทนาการ รวมไปถึงแนะนำองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาแพทย์ไทย โดยจุดประสงค์หลักของงานนี้คือการให้นิสิตนักศึกษาแพทย์ใหม่ต่างสถาบันได้มารู้จักกัน

กิจกรรมงานสานสัมพันธ์แรกพบแพทยศาสตร์

  • กิจกรรมรับน้องใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาใหม่รู้จักมหาวิทยาลัยรวมถึงสำนักวิชาแพทยศาสตร์ให้มากขึ้น และเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนใหม่ ๆ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างน้อง-พี่

ค่ายหมอน้องใหม่ร่วมใจพัฒนาสังคม

  • สโมสรสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดกิจกรรมดี ๆ ขึ้นในชื่อว่า "หมอน้องใหม่ร่วมใจพัฒนาสังคม" เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปี โดยจะให้น้อง ๆ ปี 1 ได้ไปแบ่งปันรอยยิ้มและความสุขให้กับน้อง ๆ ตามโรงเรียนหรือมูลนิธิต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตชนบทใน จ.เชียงราย

พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานเลี้ยงขันโตก

  • ประเภณีนี้จัดตามความเชื่อของคนภาคเหนือที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยเฉพาะในช่วงยามที่เริ่มต้นในสิ่งใหม่ ๆ เช่นเดียวกับนักศึกษาใหม่ที่เพิ่งก้าวมาสู่รั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนี้อธิการบดี ผู้บริหาร และคณาจารย์จะได้ผูกข้อไม้ข้อมืออวยชัยให้พรแก่ดาวเดือนจากสำนักวิชาต่าง ๆ ที่เป็นตัวแทนนักศึกษาให้โชคดีมีชัยในการเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในรั้วแดงทองแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงต่าง ๆ แบบล้านนาเชียงรายให้นักศึกษาที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคได้รับชม เพื่อที่จะได้เข้ากันบรรยากาศงานเลี้ยงขันโตกที่ได้ชิมอาหารเหนือขึ้นชื่อ ล้วนทำให้นักศึกษาใหม่ได้สัมผัสมนต์เสน่ห์เมืองเหนือและร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของท้องถิ่นล้านนา อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย กิจกรรมนี้ถูกจัดในช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปี

พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณ

  • พิธีติดเข็มตราสัญลักษณ์และถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจัดในช่วงต้นเดือนกันยายน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนเพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยปฏิบัติเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

กิจกรรมพี่น้องร่วมใจชิงธงสำนักวิชา

  • กิจกรรมนี้มุ่งเน้นให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างนักศึกษาใหม่กับนักศึกษารุ่นพี่ และเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมหาวิทยาลัยในพระสมัญญานาม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีรูปแบบของกิจกรรมคือ เหล่านักศึกษาใหม่ของแต่ละสำนักวิชาจะต้องร่วมร้องเพลงมาร์ช มฟล. ให้พร้อมเพรียงไพเราะจนสามารถพิชิตใจกรรมการให้ยกธงเขียวให้ผ่านได้สำเร็จ กิจกรรมนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประเพณีเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้สอดแทรกเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งยังมุ่งเน้นให้เกิดความเคารพระหว่างนักศึกษารุ่นพี่และนักศึกษารุ่นน้อง เกิดความรักความสามัคคี ความมีระเบียบวินัย ตลอดจนเป็นกิจกรรมที่สืบสานประเพณีอันดีงามของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ส่งต่อความภาคภูมิใจจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย กิจกรรมนี้ถูกจัดในช่วงเดือนตุลาคม ของทุกปี

กิจกรรมกีฬา

การแข่งขันกีฬาลำดวนเกมส์

  • กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาสำนักวิชาต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์และผู้นำเชียร์ของสำนักวิชาต่าง ๆ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

กีฬาเข็มสัมพันธ์ (Syringes Games)

  • หรือที่ในอดีตเรียกว่า "กีฬา 13 เข็มสัมพันธ์" เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันผลิตแพทย์ต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยจัดขึ้นทุกปีในช่วงปลายเดือนธันวาคม สถาบันที่เป็นเจ้าภาพนั้นจะจัดหมุนเวียนสลับกันไป

กิจกรรมวิชาการ

สัปดาห์วิทยาศาสตร์

  • จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ของทุกปี โดยในส่วนของสำนักวิชาแพทยศาสตร์นั้นมีการจัดงานเพื่อให้ความรู้ต่อผู้ที่สนใจได้สัมผัสและเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ และภายในงานยังมีนิทรรศการและการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่าง ๆ อีกมากมาย

กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

พิธีไหว้ครูสำนักวิชาแพทยศาสตร์

  • เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาแพทย์ทุกชั้นปีได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของอาจารย์แพทย์ ซึ่งนอกจากพิธีไหว้ครูแล้ว ยังมีพิธีการมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาแพทย์ที่ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในแต่ละชั้นปี การมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาแพทย์ที่ดำรงตำแหน่งในสโมสรนักศึกษาแพทย์ในปีที่ผ่านมา รวมถึงการมอบประกาศนียบัตรแก่อาจารย์ในดวงใจที่นักศึกษาโหวตให้คะแนนสูงสุด และมอบโล่เกียรติคุณจากแพทยสภาให้แก่อาจารย์แพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม

วันมหิดล

  • ตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันทิวงคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ได้จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมีกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศล เช่น การตรวจสุขภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นต้น และในส่วนของสโมสรนักศึกษาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้จัดให้นักศึกษาแพทย์ได้รับบริจาคเงินจากบุคคลทั่วไปโดยสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่อาจารย์ใหญ่

  • จัดขึ้นโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นปี 2 ที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์เป็นเจ้าภาพงานร่วมด้วย งานทำบุญอาจารย์ใหญ่จะจัดขึ้นก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม

อ้างอิง

  1. รายนามผู้บริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  2. ประวัติความเป็นมาสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555
  3. ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงhttp://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/4housing/57/F57_4915.pdf

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น