ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
Biggie 943 845 ย้ายหน้า เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) ไปยัง เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น): ราชทินนามสุดท้าย
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
* หลวงมหาใจภักดิ์ (เจริญ)
* หลวงมหาใจภักดิ์ (เจริญ)
* หลวงพิพิธ (ม่วง) ถึงแก่กรรมในการรบที่บกหวาน [[กบฏเจ้าอนุวงศ์|สงครามเจ้าอนุวงศ์]] เมื่อพ.ศ. 2371
* หลวงพิพิธ (ม่วง) ถึงแก่กรรมในการรบที่บกหวาน [[กบฏเจ้าอนุวงศ์|สงครามเจ้าอนุวงศ์]] เมื่อพ.ศ. 2371
* ท่านผู้หญิงบุนนาค ภรรยาของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)
* ท่านผู้หญิงบุนนาค ภรรยาของ[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:54, 5 กันยายน 2564

เจ้าพระยามหาเสนา
(ปิ่น)
สมุหพระกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2348 - พ.ศ. 2352
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ก่อนหน้าเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
ถัดไปเจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา)
เสนาบดีกรมนา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2325– พ.ศ. 2348
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ก่อนหน้าพระยาพลเทพ (กรุงธนบุรี)
ถัดไปพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ปิ่น

อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิตพระนคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงนิ่มนวล(ฟัก)
บุตรเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ฯลฯ
บุพการี

เจ้าพระยาอภัยราชา นามว่า ปิ่น ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นบิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) เป็นบุตรของเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล)[1] บางแห่งระบุว่า มารดาของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) เป็นชาวมอญซึ่งเป็นน้องสาวของเจ้าคุณบวรโภชน์ (ฉิม)[2] พระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งเป็นธิดาของพระยายมราช (ฉ่ำ)

เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) สืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ศิริวัฒนะ พราหมณ์ปุโรหิตในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[1] พราหมณ์ศิริวัฒนะมีบุตรคือพระมหาราชครูพระราชปุโรหิตาจารย์ พระมหาราชครูฯมีบุตรสองคนได้แก่ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เมฆ) (บิดาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)) และเจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล)

เจ้าพระยามหาสมบัติ (ผล) มีบุตรธิดาได้แก่;[1]

เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ปรากฏรับราชการครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรีเป็นเสมียนในกรมมหาดไทย เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯตั้งแต่ครั้งทรงเป็นเจ้าพระยาจักรี ในเหตุการณ์กบฏพระยาสรรค์เมื่อสิ้นสุดสมัยธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพออกไปตีเมืองกัมพูชา ได้มอบหมายให้พระสุริยอภัย (ทองอิน ต่อมาคือพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) ยกทัพจากนครราชสีมาเข้ามาระงับเหตุในกรุงธนบุรี นายปิ่นเป็นผู้เกณฑ์รวบรวมไพร่พลให้แก่พระสุริยอภัยในการสู้รบกับพระยาสรรค์[2] ในพ.ศ. 2325 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งนายเสมียนปิ่นขึ้นเป็นพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนาคนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏในคำปรึกษาตั้งข้าราชการว่า;

นายปิ่นข้าหลวงเดิม ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินการสงครามมาหลายครั้ง ต้องศัสตราวุธข้าศึก แล้วครั้งนี้คิดอ่านสื่อสวนชวนนายทัพนายกองอาณาประชาราษฏร์มาตีเอาพระนครธนบุรีได้ มีความชอบมาก ขอพระราชทานตั้งให้เป็นพระยาพลเทพ

[3]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จออกจากพระนครไปในการสงครามต่างๆ พระยาพลเทพ (ปิ่น) ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนคร[4]ได้แก่ สงครามท่าดินแดงพ.ศ. 2329 และสงครามตีเมืองทวายพ.ศ. 2336 เมื่อเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อพ.ศ. 2348 พระยาพลเทพ (ปิ่น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหกลาโหม ขึ้นแทนที่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2352 เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่เจ้าพระยาอภัยราชา ดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จเจ้าพระยาวังหน้า[3]ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นอธิบดีของขุนนางวังหน้าทั้งปวง

เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) สมรสกับท่านผู้หญิงฟัก มีบุตรธิดาได้แก่;[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเจือ นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ท.ช.ต.จ. ณ วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕.
  2. 2.0 2.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ; มติชน, พ.ศ. 2550.
  3. 3.0 3.1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545.
  4. ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ๒๕๓๑.