ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปมานิทัศน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ภาพ:Filippino Lippi 001.jpg|thumb|260px|right|“สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” (Allegory of Music) โดย [[ฟิลิปินโน ลิบปี]] (Filippino Lippi -- 1457-1504) “สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันใน[[จิตรกรรม]]ใน[[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]] เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์]]
[[ภาพ:Filippino Lippi 001.jpg|thumb|260px|right|“สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” (Allegory of Music) โดย [[ฟิลิปปินโน ลิบปี]] “สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันใน[[จิตรกรรม]]ใน[[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา]] เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์]]
'''สัญลักษณ์แฝงคติ''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Allegory) มาจาก[[ภาษากรีก]] “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึง[[ศิลปะ]]ที่ใช้[[สัญลักษณ์]]แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน
'''สัญลักษณ์แฝงคติ''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Allegory) มาจาก[[ภาษากรีก]] “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึง[[ศิลปะ]]ที่ใช้[[สัญลักษณ์]]แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:48, 20 กุมภาพันธ์ 2551

“สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” (Allegory of Music) โดย ฟิลิปปินโน ลิบปี “สัญลักษณ์แฝงคติของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์

สัญลักษณ์แฝงคติ (ภาษาอังกฤษ: Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน

สัญลักษณ์แฝงคติมิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ

ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “สัญลักษณ์แฝงคติ” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “วจนะเปรียบเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “ตำนานแฝงคำสอน” (parable) จะเป็น “วจนะเปรียบเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว

ความหมายของ “สัญลักษณ์แฝงคติ” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “วจนะเปรียบเทียบ” ฉนั้นในงาน “สัญลักษณ์แฝงคติ” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “วจนะเปรียบเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “สัญลักษณ์แฝงคติ” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้)ไม่ใช่สัญลักษณ์แฝงคติหรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบสัญลักษณ์แฝงคติไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน ...”[1]

ตัวอย่างงานที่ถือกันว่าเป็นงานสัญลักษณ์แฝงคติ

อ้างอิง

  1. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1991), The Lord of the Rings, สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์, ISBN 0-261-10238-9

ดูเพิ่ม