ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พึ่ง ศรีจันทร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Security Thainam (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


=== สมาชิกวุฒิสภา ===
=== สมาชิกวุฒิสภา ===
นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย<ref>[http://www.senate.go.th/inforcenter/documents/list_senate1.pdf วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)]</ref>
นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย<ref>[http://www.senate.go.th/inforcenter/documents/list_senate1.pdf วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)]{{ลิงก์เสีย|date=สิงหาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref>


# [[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 1]]
# [[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 1]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:12, 19 สิงหาคม 2564

พึ่ง ศรีจันทร์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าเกษม บุญศรี
ถัดไปเกษม บุญศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
เสียชีวิต13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (อายุ 85 ปี)
พรรคการเมืองพรรคสหชีพ
พรรคชาตินิยม
คู่สมรสคุ้ม ศรีจันทร์

พึ่ง ศรีจันทร์ (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย 1 สมัย อดีตรัฐมนตรี 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ 4 สมัย

ประวัติ

นายพึ่ง ศรีจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 ที่เรือนแพในแม่น้ำยม ที่บ้านท่าทราย ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย[1]โดยไม่ทราบชื่อของบิดาและมารดา โดยนามสกุล "ศรีจันทร์" นั้นมาจากชื่อของปู่และย่ามาต่อกัน มารดาของนายพึ่งเสียชีวิตตั้งแต่นายพึ่งอายุได้แค่ 5 ขวบ และอีก 2 ปีต่อมาก็กำพร้าบิดา จึงมีตาและยายเป็นผู้เลี้ยงดู

จบการศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลที่บ้านท่าทราย จากนั้นจึงย้ายมาศึกษาต่อในวระดับชั้นมัธยมศึกษาที่จังหวัดพิษณุโลก สามารถสอบได้เป็นที่ 1 ของโรงเรียน จนกระทั่งจบการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม และเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของนายปรีดี พนมยงค์ จบเนติบัณฑิตไทยในปี พ.ศ. 2469 จากนั้นได้ประกอบอาชีพทนายความที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์และประกอบอาชีพเกษตรกรและค้าไม้สักไปด้วย

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นายพึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย รับผิดชอบภารกิจด้านจังหวัดพิษณุโลก, อุตรดิตถ์, สุโขทัย และตาก ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี จนได้รับฉายาว่า "นายพลผึ้ง"[2]

งานการเมือง

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2480 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 4 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย และสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 จังหวัดอุตรดิตถ์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 จังหวัดอุตรดิตถ์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดอุตรดิตถ์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดอุตรดิตถ์ พรรคชาตินิยม[3][4]

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4

โดยหลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายพึ่งในฐานะประธานสภาได้ทำการเปิดประชุมสภาขึ้น ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เนื่องจากได้นัดหมายก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การประชุมก็ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากสมาชิกมาไม่ครบ และเป็นนายทหาร คือ พันโท กาจ กาจสงคราม ต้องมาเชิญตัวออกไป[2]

สมาชิกวุฒิสภา

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย[5]

  1. วุฒิสภาไทย ชุดที่ 1

รัฐมนตรี

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 12[6]
  2. รัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 13[7]

ถึงแก่อสัญกรรม

นายพึ่ง ศรีจันทร์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 สิริอายุได้ 85 ปี

อ้างอิง

  1. พึ่ง ศรีจันทร์ จาก province.myfirstinfo.com
  2. 2.0 2.1 หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, พึ่ง ศรีจันทร์ : ประธานสภาสามัญชน. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,256: วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม
  3. [http://www.ryt9.com/s/refg/224295 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 8 พ.ศ. 2500/1 เลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 7]
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  5. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)