ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47: บรรทัด 47:


[[หมวดหมู่:เหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:เหรียญราชอิสริยาภรณ์ไทย]]
[[หมวดหมู่:กบฏบวรเดช]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 16 สิงหาคม 2564

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

ด้านหน้าเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
อักษรย่อพ.ร.ธ.
ประเภทเหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จความกล้าหาญ
วันสถาปนาพ.ศ. 2476
ประเทศไทย ประเทศไทย
ผู้สมควรได้รับผู้ช่วยเหลือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบกบฏบวรเดช
สถานะพ้นสมัยพระราชทานแล้ว
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญงานพระราชสงครามยุโรป
รองมาเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (The Safeguarding the Constitution Medal) เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญ สำหรับพระราชทานแก่ ผู้ช่วยเหลือราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในการปราบกบฏบวรเดช เมื่อพ.ศ. 2476[1] ปัจจุบัน พ้นสมัยพระราชทานแล้ว

ประวัติ

ฝ่ายอำนาจเก่า ซึ่งนำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นนายทหารระดับผู้ใหญ่ซึ่งหมดอำนาจลงหลังจากการปฏิวัติ 2475 เกิดความไม่พอใจ จึงได้ก่อการกบฏเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2476 และลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ หลังจากนั้นรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)และสภาผู้แทนราษฏรก็ได้ประชุมเสนอพระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นบำเหน็จความชอบ แก่ผู้ช่วยเหลือราชการทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนในการปราบกบฏบวรเดช จากนั้นจึงนำขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476

ลักษณะเหรียญ

ด้านหลังเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ รูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์

เป็นเหรียญทรงสีเหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ด้านหน้ามีภาพสมุดรัฐธรรมนูญวางบนพานแว่นฟ้าสองชั้น อยู่ภายในวงพวงมาลัยชัยพฤกษ์ แผ่รัศมีกระจายทั่วมณฑล ด้านหลัง มีรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์ ยืนลอยอยู่เหนือตัวอักษรตามขอบล่างว่า "ปราบกบฏ พ.ศ. ๒๔๗๖" ภายใต้ห่วงอันมีอักษรว่า "พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" แพรแถบสีธงไตรรงค์ กว้าง 28 มิลลิเมตร ห้อยบนแพรแถบมีเข็มโลหะทองแดงรมดำ จารึกอักษรว่า "สละชีพเพื่อชาติ"

การประดับ

  1. ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
  2. ผู้ที่เป็นทหาร ตำรวจ หรือลูกเสือ ประดับเหรียญนี้ได้ทุกโอกาสตามแต่จะเห็นสมควรในเมื่อสวมเครื่องแบบ
  3. ถ้ามิได้สวมเครื่องแบบราชการหรือเป็นพลเรือน ให้ประดับเหรียญนี้ได้ในโอกาสต่อไปนี้
  • ในงานพระราชพิธีและงานต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าหน้าที่จัดการ ให้แต่งอย่างสุภาพตามธรรมเนียมและกาลนิยม
  • ในงานต่างๆ ที่เป็นงานพิธี หรือ งานเพื่อเกียรติยศแก่หมู่เหล่า หรือบุคคลใดที่สมควร ให้แต่งอย่างสุภาพตามธรรมเนียมและกาลนิยม

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๔๗๖เล่ม ๕๐ ตอน ๐ก วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖