ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phudis Sornsetthee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
=== เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/095/2234.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่ม 79 ตอนที่ 95 ราชกิจจานุเบกษา 23 ตุลาคม 2505]</ref> ===
=== เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/095/2234.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่ม 79 ตอนที่ 95 ราชกิจจานุเบกษา 23 ตุลาคม 2505]</ref> ===


* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รอยัล วิคตอเรียน ชั้นที่ 3 [[ประเทศอังกฤษ]]
* [[ไฟล์:UK_Royal_Victorian_Order_honorary_member_ribbon.svg|80x80px]] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รอยัล วิคตอเรียน ชั้นที่ 3 [[ประเทศอังกฤษ]]
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บุนเดส เรพับลิก ดอชลันด์ ชั้นที่ 2 ประเทศ[[สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน]]
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บุนเดส เรพับลิก ดอชลันด์ ชั้นที่ 2 ประเทศ[[สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน]]
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เฮนริกินา ชั้นที่ 2 ประเทศ[[โปรตุเกส]]
* เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เฮนริกินา ชั้นที่ 2 ประเทศ[[โปรตุเกส]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:25, 15 สิงหาคม 2564

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463
จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (56 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
พระราชทานเพลิง7 เมษายน พ.ศ. 2520 เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
พระสวามีหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต
พระบุตรหม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต
หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
พระมารดาหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี

นายกองเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) พระนามเดิม หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี) นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา ว.ณ ประมวญมารค มีผลงานประพันธ์ที่สร้างชื่อเสียงจากเรื่อง ปริศนา[1]

หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต ได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 หลังสิ้นชีพตักษัยขณะประกอบกรณียกิจแทนพระองค์[2] และได้มีการจัดงาน "วันวิภาวดี" เพื่อถวายสดุดี[3]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
รับใช้กองอาสารักษาดินแดน
ชั้นยศ นายกองเอก

พระประวัติ

ไฟล์:หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต, รัชกาลที่ 8, พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต.jpg
ฉายในวันที่ทรงรับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ จากพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต มีพระนามเมื่อแรกประสูติคือ “หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี” เป็นพระธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กับหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (ราชสกุลเดิม วรวรรณ) มีพระอนุชาร่วมพระบิดามารดาเดียวกันองค์เดียว คือ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต พระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 โดยได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีธิดาสองคน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต สมรสกับสวนิต คงสิริ และสมรสอีกครั้งกับวิลเลียม บี. บูธ มีบุตรจากการสมรสครั้งแรกสองคน และครั้งที่สองหนึ่งคน
  2. หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต สมรสและหย่ากับ มหาราช จกัต สิงห์ พระอนุชาของมหาราชองค์ปัจจุบันแห่งเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ปัจจุบันสมรสกับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล มีบุตรจากการสมรสครั้งแรกสองคน

พระนามแฝง

พระองค์ทรงมีผลงานนวนิยาย โดยเฉพาะนวนิยายในแนวรักสุข ด้วยพระนามแฝง ว.ณ ประมวญมารค ซึ่งเป็นพระนามแฝงเดียวที่ใช้ ถ้าไม่ใช้พระนามแฝงก็จะทรงใช้ชื่อพระนามเลย ซึ่งท่านได้ทรงอธิบายพระนามแฝงว่า ตัว ว. คืออักษรย่อตัวแรกของชื่อคือวิภาวดี, ตัว ณ (ณะ) แปลว่า แห่ง, คำว่า ประมวญ คือ ชื่อถนนที่บ้านของท่าน (วังประมวญ) ตั้งอยู่, คำว่า มารค หรือ มรคา คือ ถนนในภาษาแขก ดังนั้น ว.ณ ประมวญมารค ก็คือ ว.แห่งถนนประมวญ นั่นเอง

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระอนุชาของพระองค์ ทรงใช้นามปากกาว่า ภ.ณ ประมวญมารค ด้วยเหตุผลเดียวกัน

การศึกษา

พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงศึกษาเริ่มต้นที่โรงเรียนผดุงดรุณี อยู่หนึ่งปี ต่อมาได้ทรงย้ายมาศึกษาที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ไม่ถึงปีก็เสด็จไปศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมปีที่ 8 มหาวิทยาลัยน.ม.ส. การเรียนในสมัยนั้น ผู้สอนเป็นแม่ชีชาวอเมริกันและยุโรป กวดขันเรื่องภาษาแก่เด็กนักเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ตำราต่างล้วนเป็นภาษาอังกฤษ แม้แต่ตำราคณิตศาสตร์ก็เรียนเป็นภาษาอังกฤษล้วน เด็กนักเรียนจึงอ่านเขียนและพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง พระองค์เจ้าวิภาวดี ทรงเล่าว่า "พูดอังกฤษได้คล่องตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนอยู่ เพราะได้ศึกษาจากมาแมร์เจ็มมะ ซึ่งจ้ำจี้จ้ำไชขนาดหนักมาตั้งแต่เด็ก"

สิ้นพระชนม์

พระองค์เจ้าเจ้าวิภาวดี ได้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณโดยเสด็จเยื่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และกรณียกิจที่เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยม ทหาร ตำรวจ พลเรือน ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ขณะเสด็จไปรับตำรวจตระเวนชายแดนที่บาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิด ที่ ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงมาที่เฮลิคอปเตอร์ที่ประทับ หม่อมเจ้าวิภาวดี ทรงถูกยิง ซึ่งก่อนการสิ้นชีพตักษัย หม่อมเจ้าวิภาวดียังมีพระสติสัมปชัญญะดี ทรงเป็นห่วงตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ตลอด มีรับสั่งว่า “ตชด.เป็นอย่างไรบ้าง เอาออกมาได้หรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาล อย่าให้พวกมันรู้ว่าฉันถูกยิง มันจะเหิมเกริม” และ “ฉันไม่เป็นไรแล้ว ตชด.มาหรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาลด่วน” [4] ผู้เห็นเหตุการณ์ยังเล่าอีกว่า หม่อมเจ้าวิภาวดีตรัสขอให้พระมหาวีระและครูบาธรรมชัยกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แทน ทรง "ขอนิพพาน" และตรัสเป็นประโยคสุดท้ายว่า ทรงเห็นนิพพานแล้ว พระนิพพานที่พระองค์เห็นนั้น สวยงดงาม และ "แจ่มใสเหลือเกิน"

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระศพ หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และต่อมาได้นำพระนาม "วิภาวดีรังสิต" มาใช้เป็นชื่อถนนตามพระนามดังกล่าว (เดิมชื่อ ถนนซูเปอร์ไฮเวย์)

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพนักงานตั้งแต่งที่ประดิษฐานพระโกศทรงพระศพ จากนั้นมีพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกเมรุ ในวันต่อมาเวลาเช้า เจ้าพนักงานเชิญพระโกศทรงพระศพลงจากพระแท่นแว่นฟ้า เชิญเข้ากระบวนพระอิสริยยศแห่จากท้องพระโรงวังสวนกุหลาบ ไปยังเมรุ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน จากนั้นเชิญพระโกศทรงพระศพตั้งบนพระจิตกาธาน เวลา 22.00น. เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังเมรุ ในการนี้ทรงพระราชทานเพลิงพระศพ จากนั้นเจ้าพนักงานปิดฉากบังพระเพลิง จากนั้นเจ้าพนักงานถวายพระเพลิง ณ พระจิตกาธาน เจ้าพนักงานได้สุมเพลิงใต้พระจิตกาธาน เสร็จแล้ว สุมพระอัฐิไว้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้น เสด็จมาในพิธีเก็บพระอัฐิ จากนั้นเชิญพระอัฐิแห่กลับเข้าพระบรมหาราชวัง ประดิษฐาน ณ หอพระนาก ในพระบรมมหาราชวัง เป็นกรณีพิเศษ และมีการบรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นกรณีพิเศษ

นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นที่รักยิ่งของชาวอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้นำความเจริญต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่จนได้รับฉายาว่า “เจ้าแม่พระแสง” และพระองค์ยังได้ประทานชื่อตำบลบางสวรรค์ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพระแสง

ด้านพระนิพนธ์

ไฟล์:ม.จ.หญิงวิภาวดี.jpg
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาดีรังสิต และพระธิดา

พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงเล่าว่า “ได้เคยเป็นเลขานุการของพ่อตอนพระเนตรเป็นต้อ ก็ทรงบอกให้ฉันเขียนหน้าห้าไปลงหนังสือประมวญวัน ทุกวันและยังรับคำบอกของท่าน เรื่อง "สามกรุง" และอื่น ๆ เป็นเล่ม ๆ ทีเดียว” การที่ได้ทรงคลุกคลีอยู่กับหนังสือ และยังทรงได้ใกล้ชิดกับพระบิดา ผู้ทรงเป็นกวีเอก ทำให้พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ทรงสนพระทัยที่จะนิพนธ์ขึ้นเองบ้าง เมื่อพระชันษาเพียง 14 ปี

พระนิพนธ์เรื่องแรก ไม่ใช่ "ปริศนา" แต่เป็นเรื่องแปล ชื่อ "เด็กจอมแก่น" ทรงแปลจากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด William ของ Richmal Crompton ซึ่งเป็นนักเขียนวรรณกรรมเยาวชนชื่อดังของอังกฤษ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

วิลเลียม เป็นเด็กชายอายุ 11 ปี อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในชนบทของอังกฤษ มีเพื่อนร่วมกลุ่มอีกสามคน ชื่อจินเจอร์ ดักลาส เฮนรี่ เรียกตัวเองว่า คณะนอกกฎหมาย หรือ The Outlaws เจตนาดีของวิลเลียม ด้วยความไร้เดียงสาประสาเด็ก ก่อเรื่องให้ผู้ใหญ่เวียนหัวไปตาม ๆ กัน แต่ก็ขบขันครื้นเครงสำหรับผู้อ่าน

เรื่องนี้เมื่อลงพิมพ์ ใน "ประมวญสาร" เป็นเรื่องที่ขายดีมาก นักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่อยู่ใกล้โรงพิมพ์ ได้เข้ามาซื้อจนเกลี้ยงโรงพิมพ์กลายเป็นเรื่องขายดี เพราะเด็กนักเรียนชอบอ่าน ทรงรำลึกว่า "การที่ข้าพเจ้ากลายเป็นนักเขียนขึ้นมาตั้งแต่อายุ 14 ปีนั้น ก็เพราะข้าพเจ้ามีพ่อแม่ที่เข้มงวด อยากให้ข้าพเจ้ารู้ค่าของเงิน จึงไม่ได้ตามใจข้าพเจ้าให้เงินทองใช้จนเหลือเฟือ แต่สนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ควร คือสอนให้มีมานะ ให้รู้จักใช้หัวคิดที่จะทำโน่นทำนี่เพื่อถึงจุดหมายในความต้องการของตน... ถ้าพ่อแม่ของข้าพเจ้าไม่ฉลาด เห็นการณ์ไกลและสนับสนุนข้าพเจ้าในทางที่ถูกที่ควรแล้ว ว.ณ ประมวญมารค ก็คงจะไม่มีกำเนิดขึ้นมาในโลก คงจะดำดินอยู่ตลอดชีวิต ไม่มีผลงานออกมาให้ใครได้อ่านสักชิ้นเดียวเป็นแน่"

ผลงานที่มีชื่อเสียง

ไฟล์:หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี-สีหมอก.jpg
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต กับสุนัขพันธุ์เกรตเดนที่ทรงเลี้ยงไว้ ชื่อ สีหมอก
  • ปริศนา
  • เจ้าสาวของอานนท์
  • รัตนาวดี
  • นิกกับพิม
  • คลั่งเพราะรัก
  • ฤทธิ์ราชินีสาว
  • พระราชินีนาถวิกตอเรีย
  • เรื่องลึกลับ
  • เด็กจอมแก่น
  • ตามเสด็จปากีสถาน
  • เรื่องหลายรส
  • นี่หรือชีวิต

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 — 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489)
  • หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 — 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต (หลังสิ้นพระชนม์)[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[10]

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รอยัล วิคตอเรียน ชั้นที่ 3 ประเทศอังกฤษ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บุนเดส เรพับลิก ดอชลันด์ ชั้นที่ 2 ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เฮนริกินา ชั้นที่ 2 ประเทศโปรตุเกส
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดาเนบรอก ชั้นที่ 3 ประเทศเดนมาร์ก
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ นอร์ท สตาร์ ชั้นที่ 3 ประเทศสวีเดน
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมริโต เดลลา เรพุบลิกา ชั้นที่ 2 ประเทศอิตาลี
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เลโอโปลด์ ที่ 2 ชั้นที่ 1 ประเทศเบลเยียม
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อดอล์ฟ เดอ นัสโซ สำหรับสตรี ประเทศลักเซมเบิร์ก
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ โอเรนจ์ นัสเซา ชั้นที่ 1 ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อิซาเบล ลา คอตอลิกา ชั้นที่ 2 ประเทศสเปน

พระยศกองอาสารักษาดินแดน

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ThaiPR.net (9 กุมภาพันธ์ 2555). มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์ฯ ร่วมกับผลิตภัณฑ์อาหาร ซีพี และทรูวิชั่นส์ ภูมิใจเสนอละครเพลง “ปริศนา เดอะ มิวสิคัล”. เรียกดูเมื่อ 20 กรกฎาคม 2556
  2. "เคาะข่าวริมโขง : "โสภณ" เผยความลับ ไอ้โม่งยิงคอปเตอร์พระที่นั่ง "ม.จ.วิภาวดี รังสิต"" (Press release). ASTVผู้จัดการออนไลน์. 11 มกราคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. แนวหน้า (13 กุมภาพันธ์ 2555). คุณแหน ประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555. เรียกดูเมื่อ 20 กรกฎาคม 2556
  4. "รำลึก 35 ปี วันสิ้นพระชนม์ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต" (Press release). เดลินิวส์. 16 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต, เล่ม ๙๔, ตอน ๓๐ ง, ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๒๙๘
  6. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (30): 1537. 5 เมษายน 2520.
  7. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2511" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (44): 30. 15 พฤษภาคม 2511.
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 74 ตอนที่ 47 ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤษภาคม 2500
  9. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (17): 447. 21 กุมภาพันธ์ 2504.
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่ม 79 ตอนที่ 95 ราชกิจจานุเบกษา 23 ตุลาคม 2505

แหล่งข้อมูลอื่น