ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลิโอเนล เมสซิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CeakaMode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Swiss Toblerone (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
เมสซิเป็นเจ้าของสถิติโลกในวงการมากมาย<ref>https://www.90min.com/in/posts/list-of-all-of-lionel-messi-s-world-records-till-date</ref> เช่น สถิติคว้ารางวัลบาลงดอร์ 6 สมัย (รวมทั้งชนะเลิศติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ ค.ศ. 2009-2012), สถิติชนะเลิศรางวัลรองเท้าทองคำยุโรป 6 สมัย<ref>https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records</ref>, เป็นผู้เล่นที่ประตูในการแข่งขันลาลิกาสูงที่สุดตลอดกาลจำนวน 473 ประตู และ ยิงแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในลาลิกาจำนวน 36 ครั้ง, เป็นผู้เล่นมีมีสถิติการแอสซิสต์ให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูทุกรายการมากที่สุดในประวัติศาสตร์จำนวน 310 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่ทำประตูรวมทุกรายการให้กับสโมสรเดียวมากที่สุดตลอดกาล (671 ประตูให้กับบาร์เซโลนา), เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ติดต่อกันมากที่สุดจำนวน 21 นัดในลาลิกา, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูรวมทุกรายการได้เกิน 40 ประตูติดต่อกันอย่างน้อย 10 ฤดูกาล, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลโลกใน 3 ช่วงอายุ (15-20 ปี, 20-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป), ทำสถิติทำประตูได้ 300 และ 400 ประตู เร็วที่สุดในการแข่งขัน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป, เป็นผู้เล่นที่ทำได้ถึง 100 ประตูได้เร็วที่สุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก<ref>https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records</ref> , เป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำได้ 300 ประตูในลาลิกา, เป็นผู้เล่นที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จำนวน 8 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่ของทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (18 ปี และ 357 วัน ในฟุตบอลโลก ค.ศ. 2006) ฯลฯ
เมสซิเป็นเจ้าของสถิติโลกในวงการมากมาย<ref>https://www.90min.com/in/posts/list-of-all-of-lionel-messi-s-world-records-till-date</ref> เช่น สถิติคว้ารางวัลบาลงดอร์ 6 สมัย (รวมทั้งชนะเลิศติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ ค.ศ. 2009-2012), สถิติชนะเลิศรางวัลรองเท้าทองคำยุโรป 6 สมัย<ref>https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records</ref>, เป็นผู้เล่นที่ประตูในการแข่งขันลาลิกาสูงที่สุดตลอดกาลจำนวน 473 ประตู และ ยิงแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในลาลิกาจำนวน 36 ครั้ง, เป็นผู้เล่นมีมีสถิติการแอสซิสต์ให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูทุกรายการมากที่สุดในประวัติศาสตร์จำนวน 310 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่ทำประตูรวมทุกรายการให้กับสโมสรเดียวมากที่สุดตลอดกาล (671 ประตูให้กับบาร์เซโลนา), เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ติดต่อกันมากที่สุดจำนวน 21 นัดในลาลิกา, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูรวมทุกรายการได้เกิน 40 ประตูติดต่อกันอย่างน้อย 10 ฤดูกาล, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลโลกใน 3 ช่วงอายุ (15-20 ปี, 20-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป), ทำสถิติทำประตูได้ 300 และ 400 ประตู เร็วที่สุดในการแข่งขัน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป, เป็นผู้เล่นที่ทำได้ถึง 100 ประตูได้เร็วที่สุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก<ref>https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records</ref> , เป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำได้ 300 ประตูในลาลิกา, เป็นผู้เล่นที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จำนวน 8 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่ของทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (18 ปี และ 357 วัน ในฟุตบอลโลก ค.ศ. 2006) ฯลฯ


ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 ทาง[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา]]ประกาศไม่ต่อสัญญากับเมสซิ เนื่องด้วยปัญหาทางการเงิน จึงทำให้เมสซิไม่ใช่ผู้เล่นของบาร์เซโลนาอีกต่อไปนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 และทางสโมสรบาร์เซโลนาจึงได้ทำคลิปขอบคุณเมสซิเพื่อเป็นการตอบแทน<ref>{{Cite web|title=Leo Messi not staying at FC Barcelona|url=https://www.fcbarcelona.com/en/football/first-team/news/2207655/leo-messi-not-staying-at-fc-barcelona|website=www.fcbarcelona.com|language=en}}</ref>
ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 ทาง[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา]]ประกาศว่าพวกเขาไม่สามารถต่อสัญญากับเมสซิได้ เนื่องด้วยปัญหาทางการเงิน จึงทำให้เมสซิไม่ใช่ผู้เล่นของบาร์เซโลนาอีกต่อไปนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 และทางสโมสรบาร์เซโลนาจึงได้ทำคลิปขอบคุณเมสซิเพื่อเป็นการตอบแทน<ref>{{Cite web|title=Leo Messi not staying at FC Barcelona|url=https://www.fcbarcelona.com/en/football/first-team/news/2207655/leo-messi-not-staying-at-fc-barcelona|website=www.fcbarcelona.com|language=en}}</ref>


== ชีวิตช่วงแรก ==
== ชีวิตช่วงแรก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:06, 8 สิงหาคม 2564

ลิโอเนล เมสซิ
เมสซิขณะเล่นให้กับอาร์เจนตินาในฟุตบอลโลก 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ลิโอเนล อันเดรส เมสซิ กูซิตินิ[1]
วันเกิด (1987-06-24) 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 (36 ปี)[2]
สถานที่เกิด โรซาริโอ อาร์เจนตินา
ส่วนสูง 1.70 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1994–2000 นิวเวลส์โอลด์บอยส์
2001–2004 บาร์เซโลนา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2003–2004 บาร์เซโลนา เซ 10 (5)
2004–2005 บาร์เซโลนา เบ 22 (6)
2005–2021 บาร์เซโลนา 520 (474)
ทีมชาติ
2004–2005 อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 20 ปี 18 (14)
2008 อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 23 ปี 5[α] (2)
2005– อาร์เจนตินา 151 (76)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2021
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2021

ลิโอเนล อันเดรส เมสซิ[note 1] (สเปน: Lionel Andrés Messi;[8] เกิด 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987) เป็นนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองหน้าให้กับทีมชาติอาร์เจนตินา โดยไม่มีสังกัดสโมสร หลังหมดสัญญากับบาร์เซโลนา เขาเป็นผู้เล่นที่ลงเล่นและทำประตูมากที่สุดให้กับสโมสรแห่งนี้ เขามักถูกมองว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลก[9] และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[10] เมสซิชนะรางวัลบาลงดอร์มากที่สุดที่ 6 สมัย[note 2] และชนะรางวัลรองเท้าทองคำมากที่สุดที่ 6 สมัยเช่นกัน เขาลงเล่นตลอดอาชีพให้กับบาร์เซโลนาเพียงสโมสรเดียว โดยเป็นผู้เล่นที่พาทีมชนะเลิศถ้วยรางวัลมากที่สุดถึง 35 รายการ ซึ่งรวมถึงลาลิกา 10 สมัย, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 สมัย และ โกปาเดลเรย์ 6 สมัย เมสซิยังครองสถิติเป็นผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุดและแอสซิสต์ให้เพื่อนร่วมทีมมากที่สุดตลอดกาลในลาลิกา (473 ประตู และ 192 ครั้งตามลำดับ), สถิติทำประตูมากที่สุดในลีกยุโรปต่อหนึ่งฤดูกาลจำนวน 50 ประตู (ฤดูกาล 2011-12), สถิติการทำแฮตทริกมากที่สุดตลอดกาลในลาลิกา และ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (36 ครั้ง และ 8 ครั้ง ตามลำดับ) ตลอดการเล่นอาชีพ เมสซิทำประตูในนามทีมชุดใหญ่และสโมสรรวมกว่า 750 ประตู

เมสซิเกิดและเติบโตใน โรซาริโอ เมืองในแถบภาคกลางของอาร์เจนตินา ก่อนที่จะย้ายไปสเปนเพื่อร่วมทีมบาร์เซโลนาในวัยเพียง 13 ปี เขาได้ลงเล่นในเกมระดับการแข่งขันครั้งแรกในวัย 17 ปี ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 เขาสถาปนาตนเองเป็นผู้เล่นศูนย์กลางของสโมสรภายในอีกสามปีถัดมา และในฤดูกาล 2008–09 เขาพาบาร์เซโลนาคว้าเทรเบิลแชมป์ (คว้าแชมป์ใหญ่ 3 รายการในปีเดียวกัน) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลสเปน โดยในปีนั้น เมสซิในวัย 22 ปีก็สามารถคว้ารางวัลบาลงดอร์ได้ด้วยเช่นกัน สามฤดูกาลถัดมา เมสซิทำสถิติเป็นผู้เล่นคนแรกกที่ชนะเลิศรางวัลบาลงดอร์สี่สมัยติดต่อกัน[13] ในฤดูกาล 2011–12 เขาทำสถิติยิงประตูในลาลิกาและเกมยุโรปมากที่สุดต่อหนึ่งฤดูกาล และได้กลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสรบาร์เซโลนา สองฤดูกาลถัดมา (2012-13, 2013-14) เขาได้อันดับที่สองในรางวัลบาลงดอร์สองสมัยติดต่อกันโดยเป็นรองคริสเตียโน โรนัลโด คู่แข่งคนสำคัญในอาชีพของเขา ก่อนที่ในฤดูกาล 2014–15 เขาจะกลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในลาลิกา และพาบาร์เซโลนาคว้าถ้วยชนะเลิศ 3 รายการใหญ่ได้เป็นครั้งที่สอง ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลบาลงดอร์เป็นสมัยที่ห้าในปี 2015 เมสซิรับหน้าที่เป็นกัปตันของบาร์เซโลนาตั้งแต่ ค.ศ. 2018 เป็นต้นมา และ คว้ารางวัลบาลงดอร์ได้อีกสองสมัยในปี 2018 และ 2019

ในการแข่งขันระดับทีมชาติ เมสซิเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของอร์เจนตินาจำนวน 71 ประตู ในระดับเยาวชน เขาพาอาร์เจนตินาชนะเลิศฟุตบอลโลกเยาวชน 2005 โดยเมื่อจบรายการแข่งขันเขาได้รับรางวัลลูกบอลทองคำและรองเท้าทองคำ ต่อมา เขาคว้าเหรียญทองในนามทีมชาติหลังจากพาทีมชนะเลิศโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เขาเป็นผู้เล่นที่มีรูปร่างเล็กและถนัดเท้าซ้าย และมักถูกเปรียบเทียบกับจำนานรุ่นพี่ร่วมทีมชาติอย่างดิเอโก มาราโดนา ผู้ยกย่องให้เมสซิเป็นทายาทตำนานคนถัดไป หลังจากที่เมสซิลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติชุดใหญ่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 เขากลายเป็นผู้เล่นชาวอาร์เจนตินาที่อายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นและทำประตูในฟุตบอลโลก โดยสถิติดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2006 เขาพาทีมเข้าชิงชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2007 ซึ่งเขาได้รับรางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมประจำรายการ เขารับหน้าที่เป็นกัปตันทีมชาติตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 โดยเขาพาอาร์เจนตินาเข้าชิงชนะเลิศถึงสามรายการ ได้แก่ ฟุตบอลโลก 2014 ซึ่งเขาได้รับรางวัลลูกบอลทองคำ และโกปาอาเมริกาในปี 2015 และ 2016 โดยทำได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ทั้งสามรายการ และ หลังจากที่ประกาศเลิกเล่นทีมชาติใน ค.ศ. 2016 เขาเปลี่ยนใจกลับมาช่วยให้ทีมชาติผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2018 และพาทีมจบอันดับที่สามในศึกโกปาอาเมริกา 2019.

เมสซิเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เขาได้รับการสนับสนุนจากอาดิดาส บริษัทจำหน่ายชุดกีฬา ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 และได้กลายเป็นตัวแทนหลักของเครื่องหมายการค้านี้ ฟรองซ์ฟุตบอล เปิดเผยว่า เขาเป็นผู้เล่นที่มีค่าเหนื่อยแพงที่สุดในช่วง ค.ศ. 2009–2014 และ ฟอบส์ จัดอันดับที่ให้เขาเป็นนักกีฬาที่มีค่าเหนื่อยแพงที่สุดใน ค.ศ. 2019 ไทม์ จัดอันดับให้เขาเป็นหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลที่สุดของโลกใน ค.ศ. 2011 และ 2012 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 เขาได้รับรางวัลนักกีฬาโลกแห่งปีของลอเรียส ทำให้เขากลายเป็นนักฟุตบอลและนักกีฬาประเภททีมคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

เมสซิเป็นเจ้าของสถิติโลกในวงการมากมาย[14] เช่น สถิติคว้ารางวัลบาลงดอร์ 6 สมัย (รวมทั้งชนะเลิศติดต่อกัน 4 สมัย ตั้งแต่ ค.ศ. 2009-2012), สถิติชนะเลิศรางวัลรองเท้าทองคำยุโรป 6 สมัย[15], เป็นผู้เล่นที่ประตูในการแข่งขันลาลิกาสูงที่สุดตลอดกาลจำนวน 473 ประตู และ ยิงแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในลาลิกาจำนวน 36 ครั้ง, เป็นผู้เล่นมีมีสถิติการแอสซิสต์ให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูทุกรายการมากที่สุดในประวัติศาสตร์จำนวน 310 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่ทำประตูรวมทุกรายการให้กับสโมสรเดียวมากที่สุดตลอดกาล (671 ประตูให้กับบาร์เซโลนา), เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ติดต่อกันมากที่สุดจำนวน 21 นัดในลาลิกา, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูรวมทุกรายการได้เกิน 40 ประตูติดต่อกันอย่างน้อย 10 ฤดูกาล, เป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลโลกใน 3 ช่วงอายุ (15-20 ปี, 20-30 ปี และ 30 ปีขึ้นไป), ทำสถิติทำประตูได้ 300 และ 400 ประตู เร็วที่สุดในการแข่งขัน 5 ลีกใหญ่ของยุโรป, เป็นผู้เล่นที่ทำได้ถึง 100 ประตูได้เร็วที่สุดในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[16] , เป็นผู้เล่นคนแรกที่ทำได้ 300 ประตูในลาลิกา, เป็นผู้เล่นที่ทำแฮตทริกได้มากที่สุดตลอดกาลในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จำนวน 8 ครั้ง, เป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นให้ทีมชุดใหญ่ของทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (18 ปี และ 357 วัน ในฟุตบอลโลก ค.ศ. 2006) ฯลฯ

ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 ทางสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประกาศว่าพวกเขาไม่สามารถต่อสัญญากับเมสซิได้ เนื่องด้วยปัญหาทางการเงิน จึงทำให้เมสซิไม่ใช่ผู้เล่นของบาร์เซโลนาอีกต่อไปนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ.2021 และทางสโมสรบาร์เซโลนาจึงได้ทำคลิปขอบคุณเมสซิเพื่อเป็นการตอบแทน[17]

ชีวิตช่วงแรก

เมสซิเกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1987 ที่โรงพยาบาลอิตาเลียโนการิบัลดิ ในเมืองโรซาริโอ รัฐซานตาเฟ เป็นบุตรของฆอร์เฆ เมสซิ (เกิดปี ค.ศ. 1958) เป็นคนงานโรงงาน และเซเลีย มาริอา กูซิตินิ คนทำความสะอาดนอกเวลา[18][19][20][21] ครอบครัวทางฝั่งพ่อมาจากเมืองในประเทศอิตาลี คือเมืองอังโกนา โดยบรรพบุรุษของเขา อันเจโล เมสซิ อพยพมาอยู่อาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 1883[22][23] เขามีพี่ชาย 2 คนชื่อโรดรีโกและมาเตียส และมีน้องสาวชื่อ มารีอา ซอล[24]

เมื่อเขาอายุ 5 ปี ได้เริ่มเล่นฟุตบอลให้กับกรันโดลี สโมสรท้องถิ่น ที่พ่อเขาคอร์เค เป็นผู้ฝึก[25] ในปี ค.ศ. 1998 เมสซิย้ายไปอยู่สโมสรนิวเวลส์โอลด์บอยส์ ซึ่งอยู่ในเมืองบ้านเกิดเขาโรซาริโอ[25] ตลอด 6 ปีที่เขาอยู่กับนีเวลส์ เขาทำประตูได้มากมาย เป็นสมาชิกของ "เครื่องจักร 87" (The Machine of 87) ทีมเยาวชนที่สมาชิกของทีมเกือบทั้งหมดเกิดในปี 1987 และเป็นทีมที่เกือบจะไม่เคยแพ้เลย และสร้างความสนุกสนานให้ผู้ชมเสมอด้วยการโชว์เทคนิคการเล่นฟุตบอลช่วงพักครึ่งเกมเหย้าของทีมชุดใหญ่ [26]ตอนอายุ 10 ปี เขามีอาการขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ประกันสุขภาพของพ่อเขาครอบคลุมการรักษาเขาได้เพียงแค่ 2 ปี ซึ่งค่ารักษาหลังจากนั้นเกินกำลังฐานะครอบครัวเขา ประกอบกับอาร์เจนตินากำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในขณะนั้น (1999-2001) [27][28] ทำให้สโมสรนิวเวลส์โอลด์บอยส์ต้นสังกัดของเขาที่ตอนแรกตกลงจะช่วยเหลือเรื่องค่ารักษา ไม่สามารถทำได้ตามทีตกลงกันไว้ และถึงแม้ว่า สโมสรอัตเลติโกรีเบอร์ปลาเต (River Plate) สโมสรใหญ่ในลีกสูงสุดของอาร์เจนตินา จะแสดงความสนใจในตัวเมสซิ ก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เขา เป็นเงินถึง 900 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน[21]

แต่นับว่าเมสซิยังมีความหวังอยู่บ้าง เพราะครอบครัวของเขามีญาติอาศัยอยู่ในเมืองเยย์ดา แคว้นกาตาลุญญา ซึ่งช่วยเหลือนำเทปบันทึกการเล่นฟุตบอลของเมสซิส่งให้สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาพิจารณา หลังผ่านการพิจารณา เมสซิและพ่อของเขาก็เดินทางมาทดสอบฝีเท้าที่บาร์เซโลนา การ์เลส ราซัก ผู้บริหารด้านกีฬาของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาในขณะนั้น ได้เห็นความสามารถของเมสซิ ก็ตัดสินใจเซ็นสัญญากับเขาทันที โดยสัญญาฉบับแรกเขียนขึ้นอย่างคร่าว ๆ ในกระดาษเช็ดปากของร้านอาหารที่การ์เลส ราซัก นัดพูดคุยกับพ่อเขานั่นเอง[29] กลายเป็นตำนานสัญญาผ้าเช็ดปากที่กล่าวกันในปัจจุบัน โดยบาร์เซโลนาเสนอจ่ายค่าพยาบาลให้ทั้งหมด ถ้าเขายินยอมที่จะย้ายมาอยู่สเปน[25] เมสซิและครอบครัวย้ายมายังยุโรป ในเดือนกุมภาพันธ์ 2001 ขณะที่เขาอายุ 13 ปี และเริ่มเล่นให้สโมสรเยาวชนของทีมตั้งแต่นั้นมา [30]

แต่ในช่วงขวบปีแรกที่บาร์เซโลนาของเขาก็ไม่ง่ายนัก เขายังไม่สามารถลงเล่นในเกมเป็นทางการได้ เนื่องจากเป็นนักเตะเยาวชนต่างชาติ ยังไม่ได้รับสัญชาติยุโรป เขาจึงได้ลงสนามแค่ในเกมกระชับมิตร และเกมในการแข่งขันกาตาลาลีกเท่านั้น อีกทั้งแม่ พี่ชาย 2 คนและน้องสาวของเขาก็ย้ายกลับไปอาร์เจนตินา เหลือเพียงตัวเขากับพ่อเท่านั้นที่ยังอยู่บาร์เซโลนา การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ของเขาไม่ง่าย เนื่องจากเป็นเด็กที่ค่อนข้างเงียบ เก็บตัว และมีความต่างด้านภาษา สำเนียง และวัฒนธรรมค่อนข้างมาก (บาร์เซโลนาใช้ภาษากาตาลาอย่างแพร่หลาย) และในปี 2002 เขาก็ได้รับการลงทะเบียนเป็นนักเตะสามารถลงแข่งขันได้ทุกรายการ และเริ่มมีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น นักฟุตบอลซึ่งเติบโตมาด้วยกันที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ฌาราร์ต ปิเก และ เซสก์ ฟาเบรกัส[31]

พออายุ 14 ปี การรักษาภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตของเขาก็สำเร็จเสร็จสิ้น เมสซิก็กลายเป็นส่วนสำคัญของ เบบี้ ดรีมทีม (Baby dream Team) ทีมเยาวชนที่ดีที่สุดที่เคยมีมาของสโมสร ในฤดูกาลแรก 2002-03 ที่เขาสามารถเล่นได้เต็มฤดูกาล เขาเป็นดาวซัลโวสูงสุดด้วยจำนวนประตู 36 ประตูจาก 30 เกม ของทีมเยาวชนอายุ 14-15 ปี (Cadetes A) ซึ่งได้ทริปเปิลแชมป์ แชมป์ลีก ถ้วยเยาวชนสเปน และถ้วยกาตาลาคัพ ในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศถ้วยกาตาลาคัพซึ่งเอาชนะทีมเยาวชนเอสปัญญอลไปได้ 4-1 ประตู เป็นที่รู้จักในสโมสรว่าเป็น "นัดหน้ากาก" เนื่องจาก 1 สัปดาห์ก่อนการแข่งขันเมสซิได้รับบาดเจ็บกระดูกโหนกแก้มแตกในการแข่งขันเกมลีก เมสซิได้รับอนุญาตให้เป็นตัวจริงลงแข่งได้ แต่ต้องสวมหน้ากากป้องกันการกระแทก หลังจากเริ่มแข่งไปได้ไม่นานเมสซิก็ถอดหน้ากากออกและยิง 2 ประตูก่อนจะถูกเปลี่ยนตัวออกใน 10 นาทีต่อมา ตอนจบฤดูกาลเขาได้รับข้อเสนอให้ไปร่วมทีมจากสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรดังจากพรีเมียร์ลีกอังกฤษ แต่ในขณะที่ฌาราร์ต ปิเก และเซสก์ ฟาเบรกัส เลือกรับข้อเสนอจากสโมสรอังกฤษ เมสซิเลือกที่จะอยู่บาร์เซโลนาต่อ[32][33]

ระดับอาชีพ

บาร์เซโลนา

ฤดูกาล 2003–05: ก้าวสู่ทีมชุดใหญ่

ระหว่างฤดูกาล 2003–4 ซึ่งเป็นปีที่สี่ของเขากับบาร์เซโลนา เมสซิสามารถเลื่อนระดับอายุทีมเยาวชนไปตามลำดับของสโมสรอย่างรวดเร็ว และสร้างสถิติเล่นให้ทีมในระดับต่าง ๆ ของบาร์เซโลนาถึง 5 ทีมด้วยกัน ในฤดูกาลเดียว หลังจากได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรใน 4 ประเทศกับทีมเยาวชนรุ่นอายุ 16–18 ปี ทีม B (Juveniles B) เขาลงเล่นในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ 1 นัด ก่อนจะได้รับการเลื่อนชั้นไปเล่นในทีมเยาวชนรุ่นอายุ 16–18 ปี ทีม A (Juveniles A) ซึ่งเขาสามารถทำประตูได้ 18 ประตูจาก 11 เกมลีก[34][35] เมสซิเป็นหนึ่งในนักเตะเยาวชนหลาย ๆ คนที่ถูกเรียกไปเสริมทีมชุดใหญ่เมื่อมีการแข่งขันระดับทีมชาติ ลูโดวิก ชูลี ผู้เล่นตำแหน่งปีกชาวฝรั่งเศส ได้เคยบอกถึงการที่เมสซิเป็นที่จับตามองอย่างมากในระหว่างซ้อมกับทีมชุดใหญ่ ความว่า "เขาเล่นงานพวกเราทั้งหมด หลายคนต้องตามเตะเขาเพื่อไม่ให้ได้รับความอับอายจากเด็กคนนี้ แต่เขาก็แค่ลุกขึ้นและเล่นต่อไป เขาลากเลื้อยผ่านนักเตะ 4 คนและยิงประตู แม้แต่เซ็นเตอร์แบคตัวจริงของทีมตอนนั้นยังกลัวเขา เขาเป็นมนุษย์ต่างดาวชัด ๆ"[36]

เมสซิในเกมกับมาลากา ค.ศ. 2005

เมสซิ ลงแข่งอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับทีมชุดใหญ่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ขณะที่อายุได้ 16 ปี 145 วัน ในนาทีที่ 75 ของนัดกระชับมิตรกับสโมสรฟุตบอลปอร์ตูภายใต้การคุมทีมของโชเซ มูรีนโย[37][38] เขาสามารถสร้างโอกาสได้ 2 ครั้งและยิงประตูเข้ากรอบ 1 ครั้ง ซึ่งนั่นสร้างความประทับใจให้ทีมงานเทคนิคเป็นอย่างมาก และต่อมาเขาเริ่มฝึกซ้อมประจำวันกับทีมสำรองของบาร์เซโลนา (บาร์เซโลนา เบ) นอกจากนี้ยังได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมชุดใหญ่รายสัปดาห์อีกด้วย[39] หลังจากที่เขาได้เข้าร่วมฝึกซ้อมกับทีมชุดใหญ่ร่วมกับนักเตะระดับดาราชุดใหญ่อย่างรอนัลดีนโย รอนัลดีนโยได้บอกกับเพื่อนร่วมทีมว่าเขาเชื่อว่าเด็กอายุ 16 ปีคนนี้จะกลายเป็นนักเตะที่ดีกว่าเขาแน่นอน[40] ต่อมารอนัลดีนโยกลายเป็นผู้เล่นที่มความสัมพันธ์ฉันมิตรกับเมสซิ โดยเรียกเขาว่า "น้องชาย" ซึ่งช่วยให้เขาผ่อนคลายขึ้นมากในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ทีมชุดใหญ่[41][42]

เมสซิเข้าร่วมทีมสำรองทีม C (บาร์เซโลนา เซ) เพิ่มเติมจากการลงเล่นให้กับทีมเยาวชนทีม A เพื่อให้มีประสบการณ์แข่งขันที่มากขึ้น เขาลงเล่นให้กับทีมสำรองทีม C ครั้งแรกในวันที่ 29 พฤศจิกายน เขามีส่วนช่วยให้ทีมรอดจากการตกชั้นสู่ลีกระดับ 3 ของสเปน (Tercera División) โดยทำประตูได้ 5 ประตูจากการลงเล่น 10 นัด ซึ่งรวมถึงการทำแฮตทริกภายในระยะเวลา 8 นาทีในการแข่งขันโกปาเดลเรย์ ทั้งที่ถูกประกบโดยเซร์ฆิโอ ราโมส จากเซบิยา[34][43] พัฒนาการของเขาสะท้อนให้เห็นจากสัญญาอาชีพฉบับแรกของเขา ซึ่งลงนามในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 และมีกำหนดสิ้นสุดถึง ค.ศ. 2012 สัญญาฉบับนี้ระบุมูลค่าการยกเลิกสัญญา (buyout clause) สูงถึง 30 ล้านยูโร หนึ่งเดือนถัดมา ในวันที่ 6 มีนาคม เขาได้ลงเล่นให้กับบาร์เซโลนา เบ ในการแข่งขันเซกุนดาดิบิซิออน เบ และทำให้มูลค่าการยกเลิกสัญญาเพิ่มขึ้นอัตโนมัติเป็น 80 ล้านยูโร[34][44] เขาลงเล่นกับบาร์เซโลนา เบ จำนวน 5 นัดแต่ไม่สามารถทำประตูได้[45] เนื่องจากเมื่อพิจารณาในเชิงกายภาพแล้ว ร่างกายของเขาอ่อนแอเมื่อเทียบกับนักเตะทีมคู่แข่ง ซึ่งมักมีอายุและความสูงมากกว่าเขา ทำให้เขาต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแกร่งของร่างกายโดยรวม เพื่อให้เพียงพอต่อการหลบหลีกกองหลังทีมตรงข้าม เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล เขากลับไปลงเล่นให้กับทีมเยาวชนทั้งสองทีม ซึ่งเขามีส่วนช่วยให้ทีมเยาวชนทีม B ชนะเลิศการแข่งขันขันลีกด้วย เขาจบฤดูกาลการแข่งขันในปีนี้ด้วยผลงานทำประตูให้กับ 4 จาก 5 ทีมที่เข้าลงเล่น พร้อมทั้งยิงประตูรวมได้ 36 ประตูในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ[34][43]

ระหว่างฤดูกาล 2004–5 เมสซิได้รับตำแหน่งผู้เล่นตัวจริงของบาร์เซโลนา เบ ลงเล่นทั้งหมด 17 นัด และทำได้ 6 ประตู[40][46] หลังจากที่เขาได้ลงเล่นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เขาไม่ได้รับการเรียกตัวเข้าร่วมกับทีมชุดใหญ่อีก ทว่าในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 ผู้เล่นชุดใหญ่ได้เรียกร้องให้ฟรังก์ ไรการ์ด ผู้จัดการทีมในขณะนั้นเลื่อนเขามาเล่นให้กับทีมชุดใหญ่[40] ขณะนั้นรอนัลดีนโยลงเล่นในตำแหน่งปีกซ้าย ไรการ์ดจึงย้ายให้เมสซิไปเล่นฝั่งซ้าย (แม้ว่าระยะแรกจะตรงกันข้ามกับความปรารถนาของเมสซิ) เพื่อให้เขาสามารถตัดเขาากลางและยิงประตูด้วยเท้าซ้ายข้างถนัดของเขา[47][48] เมสซิได้ลงเล่นเกมลีกเป็นนัดแรกในนาทีที่ 82 นัดที่พบกับอัสปัญญ็อลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม[37] ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี 3 เดือน 22 วัน ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้นที่ลงเล่นให้กับบาร์เซโลนาในการแข่งขันอย่างเป็นทางการ[42] เขามีบทบาทเป็นตัวสำรองในทีมชุดใหญ่ ได้ลงเล่น 9 นัด คิดเป็นเวลารวม 77 นาที ในฤดูกาลแรกของเขากับทีมชุดใหญ่ ซึ่งรวมถึงการได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดที่พบกับชัคตาร์ดอแนตสก์[46][49] เขาทำประตูให้กับทีมชุดใหญ่เป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 นัดที่พบกับอัลบาเซเตบาลอมเปียจากการจ่ายบอลให้ของรอนัลดีนโย ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้นที่ทำประตูให้กับสโมสรได้[47][50] ในฤดูกาลที่ 2 ภายใต้การคุมทีมของไรการ์ด บาร์เซโลนาชนะเลิศการแข่งขันลาลีกาเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี[51]

ฤดูกาล 2005–06

วันที่ 24 มิถุนายน 2005 วันเกิดครบรอบ 18 ปีของเมสซิ เขาได้เซ็นสัญญาเป็นนักเตะทีมชุดใหญ่เต็มตัวเป็นครั้งแรก โดยสัญญายาวถึงปี 2012 น้อยกว่าสัญญาเดิมของเขา 2 ปี แต่ค่าฉีกสัญญาของเขากลับพุ่งสูงลิ่วถึง 150 ล้านยูโรเลยทีเดียว

และทุกคนได้ประจักษ์ในความสามารถของเขา 2 เดือนถัดมา ในวันที่ 24 สิงหาคม 2005 เกมกระชับมิตรถ้วยประเพณี ฌูอัน กัมเป แข่งกับสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสเมสซิได้เป็นตัวจริงครั้งแรก และโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม ได้เสียงการปรบมือชื่นชมกึกก้องสนามคัมป์นูว์ และยังสร้างความประทับใจให้ ฟาบีโอ กาเปลโล กุนซือของยูเวนตุสในขณะนั้นเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดยื่นขอยืมตัวเขาหลังเกมเลยทีเดียว และยังมีการยื่นขอซื้อตัวเมสซิจากทีมอิตาลี สโมสรฟุตบอลอินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน (Inter Milan) ซึ่งยอมจ่ายค่าฉีกสัญญาของเขา และเสนอค่าจ้างให้เขาถึง 3 เท่าจากที่ได้รับอยู่เดิม แต่เมสซิก็เลือกอยู่ต่อกับบาร์เซโลนา

และวันที่ 16 กันยายน 2005 เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนที่บาร์เซโลนาประกาศปรับสัญญาใหม่ของเมสซิ ครั้งนี้ปรับการจ่ายให้เขาในฐานะผู้เล่นทีมชุดใหญ่และขยายสัญญาไปจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014[25]

แต่ปัญหาจากสมาคมฟุตบอลสเปน เรื่องสัญชาติของเมสซิ ทำให้เขาไม่สามารถลงเล่นเกมลีกได้ในช่วงแรก แต่วันที่ 26 กันยายน 2005 เมสซิก็ได้รับสัญชาติสเปนในที่สุด[52] และได้สวมเสื้อเบอร์ 19 หลังจากนั้นเขาก็ได้เล่นเปิดตัวในลาลิกาครั้งแรกของฤดูกาล และในนัดนอกบ้านนัดแรกในแชมเปียนส์ลีก เมื่อวันที่ 27 กันยายน โดยเจอกับสโมสรฟุตบอลอิตาลี สโมสรอูดีเนเซกัลโช[53] แฟนฟุตบอลที่สนามกัมนอว์ ของทีมบาร์เซโลนา ได้ยืนปรบมือเป็นเกียรติเมื่อเขาเปลี่ยนตัว กับความนิ่งและการส่งผ่านบอลให้กับรอนัลดีนโยทำให้แฟนบาร์เซโลนาประทับใจ[54][55]

เมสซิสามารถยึดตำแหน่งปีกขวาตัวจริงได้แล้ว โดยเล่นประสานกับรอนัลดีนโย และซามุแอล เอโต

เมสซิยิงประตู 6 ประตู ในการลงแข่ง 17 นัดในลีก และยิง 1 ใน 6 ประตูในแชมเปียนส์ลีก แต่ฤดูกาลของเขาจบก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2006 เขาได้รับบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อฉีกที่ต้นขา ในนัดที่ 2 ที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเชลซีในแชมเปียนส์ลีก[56] บาร์เซโลนาโดยการนำทีมของ ฟรังก์ ไรการ์ด จบฤดูกาลด้วยการเป็นทีมชนะเลิศในลาลิกาและแชมเปียนส์ลีก[57][58]

เมสซิลงแข่งกับ เรนเจอร์ส ใน ค.ศ. 2007

ฤดูกาล 2006–07

ในฤดูกาล 2006–07 เมสซิลงเล่นในฐานะทีมชุดใหญ่ ทำประตู 14 ประตูใน 26 นัด[59] ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ในเกมที่เจอกับเรอัลซาราโกซา เมสซิบาดเจ็บจากกระดูกฝ่าเท้าแตก ทำให้เขาไม่ได้ลงแข่งเป็นเวลา 3 เดือน[60][61] เขาพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บที่อาร์เจนตินา และกลับมาลงแข่งอีกครั้งกับราซินเดซันตันเดร์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์[62] โดยลงในครึ่งหลัง ในฐานะตัวสำรอง

เมสซิได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบัลลงดอร์ ปี 2006 เป็นครั้งแรก และได้รับเสียงโหวตเป็นลำดับที่ 20 ในปีนั้น โดยเมสซิเป็นนักเตะอายุน้อยที่สุดในเหล่านักเตะ 50 คนที่ได้รับการเสนอชื่อ

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม เมสซิแสดงฝีมือเต็มตัวอีกครั้ง โดยการโชว์ฟอร์มมหัศจรรย์ ยิงแฮตทริกได้ในการแข่งขันเอลกลาซิโก ทั้งที่ผู้เล่นของบาร์เซโลนาเหลือ 10 คนในสนามตั้งแต่ยังไม่จบครึ่งแรก ช่วยให้บาร์เซโลนายันเสมอกับเรอัลมาดริดไป 3–3 ประตู และเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดนั้น ประตูสุดท้ายที่ตีเสมอนั้น เขาวิ่งไปรับบอลจากรอนัลดีนโย 5 หลาจากกรอบเขตโทษ และเลี้ยงลากหลบผู้เล่นเรอัลมาดริดเข้าไปในกรอบเขตโทษ ก่อนซัดบอลผ่านมืออิเคร์ กาซียาสผู้รักษาประตูเข้าไปอย่างสวยงาม [63][64]

เมสซิทำประตูในนัดแข่งกับเฆตาเฟ

การทำแฮตทริกในครั้งนี้ ทำให้เขาเป็นนักเตะคนแรกนับตั้งแต่ อีบัน ซาโมราโน (เรอัลมาดริด ในฤดูกาล 1994–95) ที่ทำแฮตทริกได้ในเกมเอลกลาซิโก หลังจากจบเกมนี้เมสซิก็เป็นที่กล่าวขวัญ และชื่นชมเป็นอย่างมาก ในฐานะนักเตะดาวรุ่งอายุเพียง 19 ปี แต่สามารถทำแฮตทริกได้ในเกมใหญ่อย่างเอลกลาซิโก [65]

จากนั้นไล่ไปจนจบฤดูกาลเขาทำประตูได้มากขึ้นเรื่อย ๆ 11 ประตูในจาก 14 นัด มาจาก 13 นัดสุดท้ายของฤดูกาล[66]

เมสซิยังพิสูจน์ถึงความเป็น "มาราโดนาคนใหม่" ที่ไม่ใช่คำพูดเกินจริง โดยเกือบจะโด่งดังเท่ามาราโดนา ในการทำประตูในฤดูกาลเดียวกัน[67] เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2007 เขายิง 2 ประตูในโกปาเดลเรย์ ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับสโมสรฟุตบอลเฆตาเฟ ที่มีความคล้ายคลึงกับประตูที่มีชื่อเสียงของมาราโดนา ในครั้งแข่งกับทีมชาติอังกฤษ ในฟุตบอลโลก 1986 ที่เม็กซิโก ที่เรียกว่า "ประตูแห่งศตวรรษ"[68] สื่อต่าง ๆ ของโลกต่างเปรียบเทียบเขากับมาราโดนา และสื่อสเปนเรียกเมสซิว่า "เมสซิโดนา"[69] เขายิงในระยะเดียวกับมาราโดนา ที่ 62 เมตร (203 ฟุต) หลบคู่ต่อสู้ในจำนวนเดียวกัน (6 คน รวมถึงผู้รักษาประตู) และทำประตูได้ในตำแหน่งที่คล้ายกันมาก และวิ่งไปยังธงมุมสนาม เหมือนอย่างที่มาราโดนาทำไว้ในเม็กซิโกเมื่อ 21 ปีก่อน[67] ในงานแถลงข่าวหลังการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีม เดโก พูดว่า "เป็นการทำประตูที่ดีที่สุด ที่ผมเคยเห็นในชีวิตของผม"[70] ในการแข่งกับแอร์ราเซเด อัสปัญญ็อล เมสซิทำประตูที่คล้ายกับ "หัตถ์พระเจ้า" ของมาราโดนา ในฟุตบอลโลกนัดแข่งกับทีมชาติอังกฤษรอบก่อนชิงชนะเลิศ เมสซิดีดตัวไปที่ลูกบอลและใช้มือของเขายิงประตูผ่านผู้รักษาประตูคาร์ลอส คาเมนี (Carlos Kameni)[71] และถึงแม้ว่าผู้เล่นของอัสปัญญ็อลจะประท้วงและภาพช้าจากโทรทัศน์แสดงให้เห็นว่าเป็นแฮนด์บอล แต่ผู้ตัดสินก็ยังถือว่าเป็นประตู[71]

ฤดูกาล 2007–08

ในฤดูกาล 2007–08 เมสซิ ยิง 5 ประตูในสัปดาห์เดียว ทำให้บาร์เซโลนาติดใน 4 อันดับแรกในลาลิกา เมื่อวันที่ 19 กันยายน เขายิง 1 ประตูในนัดชนะลียง 3–0 ที่บ้านตัวเองในการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก[72] เขายิง 2 ประตูในการแข่งกับสโมสรฟุตบอลเซบิยา เมื่อวันที่ 22 กันยายน[73] จากนั้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน เมสซิยิงอีก 2 ประตูในชัยชนะเหนือเรอัลซาราโกซา 4–1[74] ประตูถัดไป ในนัดเยือนเลบันเตอูเด 4-1 เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2007 และประตูที่ 2 ในแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลนั้น เขายิงในนัดพบกับสโมสรฟุตบอลชตุทการ์ท เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เมสซิลงเล่นอย่างเป็นทางการกับบาร์เซโลนาเป็นนัดที่ 100 โดยแข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย[75]

เมสซิได้รับเสียงโหวตเป็นอันดับ 2 ในการประกาศรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่า ปี 2007 (FIFA World Player of the year) และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบัลลงดอร์ ปี 2007 โดยได้รับคะแนนโหวตเป็นอันดับ 3 เป็นปีแรกที่เขาติดเป็น 1 ในผู้เข้าชิง 3 คนสุดท้าย

เมสซิได้รับการเสนอชื่อรางวัลฟิฟโปรครั้งที่ 10 ในสาขากองหน้า[76] แบบสำรวจออนไลน์ของหนังสือพิมพ์สเปนที่ชื่อ มาร์กา ได้ให้เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลก ด้วยคะแนนร้อยละ 77[77] นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ในบาร์เซโลนา อย่าง เอลมุนโดเดปอร์ติโบ และ สปอร์ต ได้เขียนว่ารางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปสมควรเป็นของเมสซิ และได้รับการสนับสนุนจากฟรันซ์ เบคเคนเบาเออร์[78] ผู้มีชื่อเสียงด้านฟุตบอลอย่าง ฟรันเชสโก ตอตตี กล่าวว่า เมสซิเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก ในปัจจุบัน[79]

เมสซิไม่ได้ลงแข่งเป็นเวลา 6 อาทิตย์หลังจากบาดเจ็บเมื่อวันที่ 4 มีนาคม เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาซ้ายฉีก ในระหว่างการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก ที่พบกับสโมสรฟุตบอลเซลติก เป็นครั้งที่ 4 ใน 3 ฤดูกาลที่เมสซิบาดเจ็บ[80] หลังจากการมาจากอาการบาดเจ็บ เมสซิยิงประตูสุดท้ายในฤดูกาล 2007–08 แข่งกับบาเลนเซีย เมื่อ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยชนะ 6–0 เมื่อจบฤดูกาลเมสซิยิงประตู 16 ประตู และช่วยส่งยิงประตู 13 ครั้งในทุกการแข่งขัน

ฤดูกาล 2008–09

เมสซิ ในนัดชิงชนะเลิศการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก 2009

หลังจากที่รอนัลดีนโยออกจากสโมสรไป เมสซิก็สวมเสื้อเบอร์ 10 แทน[81] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ในนัดการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก แข่งกับสโมสรฟุตบอลชาคห์ตาร์โดเนตสค์ เมสซิยิงได้ 2 ประตูใน 7 นาทีสุดท้าย โดยเปลี่ยนตัวแทนเธียร์รี อองรี พลิกสถานการณ์จากแพ้ 1–0 ไปเป็นชนะ 2–1 ให้กับบาร์เซโลนา[82] และเกมในลีกนัดถัดมา แข่งกับสโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด ที่ถือเป็นการปะทะกับมิตรสหายที่ดีของเมสซิ คือ เซร์ฆิโอ อาเกวโร[83] เมสซิยิงประตูจากการเตะฟรีคิก และยังช่วยส่งบอลยิงประตูให้กับบาร์เซโลนา ชนะ 6–1[84] เมสซิยิงตุงตาข่ายอีกครั้งในนัดแข่งกับเซบิยา โดยยิงลูกวอลเลย์ในระยะ 23 เมตร (25 หลา) และจากนั้นก็เลี้ยงลูกผ่านผู้รักษาประตูและยิงประตูจากมุมแคบได้[85] เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ในการแข่งเอลกลาซิโกนัดแรกของฤดูกาล เมสซิยิงประตูที่ 2 ในนัดที่บาร์เซโลนาชนะเรอัลมาดริด 2–0[86]

เมสซิได้รับคะแนนโหวตเป็นลำดับที่ 2 ในรางวัลผู้เล่นแห่งปีของฟีฟ่า (FIFA World Player of the year) ปี 2008 ด้วยคะแนน 678 คะแนน[87] และได้รับเสียงโหวตเป็นลำดับ 2 ในการประกาศรางวัลบัลลงดอร์ ปี 2008 เช่นเดียวกัน เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เขาติดอันดับผู้เข้าชิง 3 คนสุดท้าย

เมสซิยิงแฮตทริกแรกในปี ค.ศ. 2009 ในโกปาเดลเรย์ ในนัดแข่งกับอัตเลติโกเดมาดริด โดยบาร์เซโลนาชนะไป 3-1[88] เมสซิยิงอีกประตูสำคัญ 2 ประตู เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยลงมาในฐานะตัวสำรองในครึ่งหลัง ช่วยให้บาร์เซโลนาชนะราซินเดซันตันเดร์ 1–2 หลังจากที่ตามอยู่ 1–0 และประตูการยิงที่ 2 ของเขาถือเป็นประตูที่ 5000 ในลีกของสโมสรบาร์เซโลนา[89] ในการแข่งครั้งที่ 29 ในลาลิกา เมสซิยิงประตูที่ 30 ของฤดูกาล นับในทุกการแข่งขัน ทำให้ทีมชนะ 6–0 ต่อสโมสรฟุตบอลมาลากา[90] เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2009 เขายิง 2 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ในแชมเปียส์ลีก เขายิงเป็นประตูที่ 8 ในการแข่งถ้วยนี้[91] เมื่อวันที่ 18 เมษายน เมสซิยิงประตูที่ 20 ของฤดูกาลในนัดชนะเฆตาเฟ 1–0 ทำให้บาร์เซโลนายังคงมีคะแนนอันดับสูงสุดในลีกและนำเรอัลมาดริด 6 คะแนน[92]

เมื่อใกล้จบฤดูกาล เมสซิยิง 2 ประตู (ประตูที่ 35 และ 36 ในทุกการแข่งขัน) นำ 6–2 ชนะเหนือเรอัลมาดริด ที่สนามซานเตียโก เบร์นาเบว[93] ที่ถือเป็นการแพ้มากที่สุดของเรอัลมาดริดตั้งแต่ ค.ศ. 1930[94] หลังยิงประตู เขาวิ่งไปหาเหล่าคนดูและกล้อง และแสดงเสื้อบาร์เซโลนาและแสดงเสื้อทีเชิร์ตอีกตัวที่เขียนว่า Síndrome X Fràgil เป็นภาษากาตาลาหมายถึง กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะบาง (Fragile X syndrome) เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อเด็กที่ป่วยจากอาการดังกล่าว[95]

เมสซิมีส่วนต่อการเสริมกำลังในระหว่างที่อันเดรส อินิเอสตา บาดเจ็บ และในการแข่งขันกับสโมสรฟุตบอลเชลซี ในแชมเปียนส์ลีกในรอบรองชนะเลิศ เขาเลี้ยงบอลและแอสซิสต์ให้อันเดรส อินิเอสตา ยิงประตูชัยให้บาร์เซโลนา ทำให้บาร์เซโลนาผ่านเข้ารอบไปเจอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในรอบชิงชนะเลิศ เขายังได้รับถ้วยรางวัลโกปาเดลเรย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ยิง 1 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 2 ลูก ในชัยชนะ 4–1 เหนืออัตเลติกเดบิลบาโอ[96] เขาช่วยทีมเป็นผู้ชนะในครั้งที่ 2 ในลาลิกา

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ในการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่กรุงโรม อิตาลี บาร์เซโลนาสามารถเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้ 2-0 ประตู โดยเมสซิโชว์ฟอร์มได้อย่างร้อนแรง ทำประตูที่ 2 ของการแข่งขันได้ จากการกระโดดโหม่งย้อนเปลี่ยนทางลูกบอล เข้าประตูอย่างสวยงาม ในนาทีที่ 70 เขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในแชมเปียนส์ลีก และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่ทำประตูได้ 9 ประตู[97]

เมสซิได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลส่วนตัวมากมายในฤดูกาลนี้ เพราะบาร์เซโลนาจบฤดูกาลได้อย่างสวยงาม[98] เป็นครั้งแรกที่สโมสรฟุตบอลสเปนได้ทริปเปิ้ลแชมป์ คือ ชนะทั้ง 3 การแข่งขันใหญ่ในฤดูกาลเดียว คือ ชนะเลิศในลีกสเปน ลาลิกา ฟุตบอลถ้วยในประเทศโกปาเดลเรย์ และฟุตบอลถ้วยยุโรป แชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลเดียว[99]

ฤดูกาล 2009–10

"เมื่อเห็นเขาวิ่ง ก็ไม่มีอะไรมาหยุดเมสซิได้ เขาเป็นนักฟุตบอลคนเดียวที่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้ด้วยฝีเท้า" "เขาเป็นนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลกที่มีมา เขา (เหมือนกับ) เป็นเพลย์สเตชัน เขาสามารถหาประโยชน์ได้จากทุกความผิดพลาดที่พวกเราทำ"

อาร์แซน แวงแกร์ กล่าวหลังการแข่งขันที่อาร์เซนอลแพ้ต่อบาร์เซโลนา 4-1[100][101]

เมสซิในนัดแข่งชิงถ้วยโชอันกัมเปร์ โดยบาร์เซโลนาแข่งกับแมนเชสเตอร์ซิตี ที่สนามกัมนอว์

หลังจากทีมชนะในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2009 ผู้จัดการทีม ชูเซบ กวาร์ดีโอลา แสดงความมั่นใจว่าเมสซิอาจเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่เขาเคยเห็น[102] เมื่อวันที่ 18 กันยายน เมสซิเซ็นสัญญาใหม่กับบาร์เซโลนา ที่จะสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2016 ด้วยสัญญา 250 ล้านยูโร ทำให้เมสซิ รวมถึงซลาตัน อิบราฮิโมวิช เป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดในลาลิกา โดยเมสซิได้เงินราว 9.5 ล้านยูโรต่อปี[103][104] หลังจากนั้น 4 วัน ในวันที่ 22 กันยายน เมสซิยิง 2 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 1 ลูกในชัยชนะที่บาร์ซาชนะราซินเดซันตันเดร์ 4–1 ในลาลิกา[105] เขายิงประตูแรกในถ้วยยุโรปของฤดูกาลนี้ เมื่อวันที่ 29 กันยายน นำบาร์เซโลนาชนะดีนาโมเคียฟ 2–0[106] จากนั้นยิง 1 ประตูในลาลิกาที่ชนะ 6–1 ต่อเรอัลซาราโกซาที่สนามกัมนอว์[107]

เมสซิได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป (บัลลงดอร์) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ด้วยคะแนน 473 คะแนน นำรองผู้ชนะ คริสเตียโน โรนัลโด ซึ่งได้คะแนน 233 ขาดลอย[108][109][110] สร้างสถิติได้รับคะแนนโหวตทิ้งห่างอันดับ 2 มากที่สุดตั้งแต่มีรางวัลมา คือ 240 คะแนน หลังจากนั้นนิตยสาร ฟรองซ์ฟุตบอล นำคำพูดที่เมสซิลงไว้ว่า "ผมอุทิศให้กับครอบครัวของผม พวกเขาอยู่ตรงนั้นเสมอเมื่อผมต้องการกำลังใจ และในบางครั้งพวกเขามีความรู้สึกในเรื่องเกี่ยวกับผม มากกว่าตัวผมเสียอีก"[111]

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม เมสซิยิงประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษ หลังจากเสมอกันในเวลา 1-1 ประตู ในนัดชิงชนะเลิศของการแข่งขัน ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 2009 ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลเอสตูเดียนเตส ลา พลาต้า ของอาร์เจนตินา แชมป์จากโซนอเมริกาใต้ ที่อาบูดาบี ทำให้สโมสรชนะการแข่งครั้งถ้วยที่ 6 ในปีนี้[112] สร้างประวัติศาสตร์เป็นสโมสรแรกที่ชนะในทุกการแข่งขันที่เข้าร่วม

หลังจากนั้น 2 วันเขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของฟีฟ่า (FIFA World Player of the Year) ปี 2009 โดยได้รับคะแนนโหวตสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือ 1,073 คะแนน เอาชนะอันดับ 2 คริสเตียโน โรนัลโด (352 คะแนน) และลำดับถัด ๆ มาอย่าง , ชาบี (196 คะแนน), กาก้า (190 คะแนน) และอันเดรส อินิเอสตา(134 คะแนน) ไปได้อย่างมโหฬาร โดยเป็นครั้งแรกที่เขาได้รับรางวัลนี้ และเป็นชาวอาร์เจนตินาคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้[113]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2010 เมสซิยิงแฮตทริกแรกในปี ค.ศ. 2010 และเป็นแฮตทริกแรกของฤดูกาล ในนัดแข่งกับเซเดเตเนรีเฟ ด้วยประตูชนะ 0–5[114] และเมื่อวันที่ 17 มกราคม เขายิงประตูที่ 100 ให้กับสโมสรในเกมที่ชนะเซบิยา 4–0[115]

เมสซิสร้างความประทับใจโดยยิงประตู 11 ประตูใน 5 เกม เกมแรกยิงประตูในนาทีที่ 84 ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลมาลากา ด้วยประตูชนะ 2–1[116] จากนั้นเขายิง 2 ประตูในนัดแข่งกับอูเดอัลเมริอา เสมอ 2–2[117] เขายังยิงอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์แห่งความประทับใจ ที่เขายิงไป 8 ประตู โดยเริ่มยิงแฮตทริกในนัดชนะบาเลนเซียในบ้าน 3–0[118] จากนั้นยิง 2 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลชตุทการ์ท ในชัยชนะ 4–0 ทำให้บาร์เซโลนาผ่านสู่รอบก่อนรอบสุดท้ายในแชมเปียนส์ลีก[119] และท้ายสุดกับการยิงแฮตทริกอีกครั้งในนัดไปเยือนซาราโกซาชนะ 4–2[120] ทำให้เป็นผู้เล่นบาร์เซโลนาคนแรกที่ทำแฮตทริกได้ติดต่อกันในลาลิกา[121] เขาลงแข่งอย่างเป็นทางการเป็นนัดที่ 200 กับบาร์เซโลนาในนัดแข่งกับโอซาซูนา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2010[122]

เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2010 เป็นครั้งแรกในอาชีพของเขาที่ยิง 4 ประตูในนัดเดียว ในนัดเป็นทีมเหย้าแข่งกับอาร์เซนอล ในชัยชนะ 4–1 ในแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรอบสุดท้าย นัดที่ 2[123][124][125] ทำให้เขาเป็นผู้เล่นบาร์เซโลนาที่ยิงประตูได้มากที่สุดตลอดกาลในแชมเปียนส์ลีก แซงหน้ารีวัลดูไป[126]

เมื่อวันที่ 10 เมษายน เมสซิยิงประตูที่ 40 ของฤดูกาลในประตูแรกในชัยชนะเยือนเรอัลมาดริด 2–0[127]

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม เมสซิยิงประตูที่ 50 ของฤดูกาลและยิง 2 ประตูในการเยือนบิยาร์เรอัล ด้วยชัยชนะ 4–1[128] 3 วันต่อมา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม เมสซิยิง 2 ประตูในนัดเป็นทีมเหย้าแข่งกับเตเรรีเฟ ด้วยชัยชนะ 4–1[129] เมสซิยิงประตูที่ 32 ในฤดูกาลนี้ของลาลิกาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ในการเยือนเซบิยา[130] และนัดสุดท้ายของฤดูกาลแข่งกับบายาโดลิด เขายิง 2 ประตูในครึ่งหลัง ทำให้สถิติยิงจำนวนประตูของสโมสรใน 1 ฤดูกาลของลาลิกาแซงหน้าโรนัลโด บราซิล (32 ประตู) ที่เกิดขึ้นเมื่อฤดูกาล 1996–97[131][132] แต่ตามหลังสถิติตลอดกาล ของเตลโม ซาร์รา ที่ทำไว้ 38 ประตูในฤดูกาลเดียวของลาลิกา 4 ประตู[133]

เมสซิได้รับรางวัลผู้เล่นลาลิกาแห่งปี เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010[134]

ในฤดูกาล 2009-10 นี้ เมสซิทำประตูในลีกได้ถึง 34 ประตู ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ ประจำฤดูกาลนี้ไปครอง[135]

เมสซิในเกมพบกับเลบันเต้ 2011

ฤดูกาล 2010–11

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เมสซิยิงแฮตทริก ในนัดเปิดฤดูกาลของเขาในชัยชนะ 4–0 เหนือเซบิยา ในการชิงถ้วยซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ทำให้บาร์เซโลนาได้ถ้วยแรกของฤดูกาล หลังจากแพ้ 1–3 ในการแข่งนัดแรก[136] เขาเริ่มต้นฤดูกาลในลาลิกา ด้วยการยิงประตูในนาทีที่ 3 ในนัดแข่งกับราซินเดซันตันเดร์ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เขายังคงแสดงฝีมือยอดเยี่ยมในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในนัดแบ่งกลุ่ม แข่งกับพานาทีไนกอส (Panathinaikos) โดยเขายิงได้ 2 ประตู และยังช่วยส่งลูกยิงประตูอีก 2 ลูก และยังยิงเข้ากรอบประตูใน 2 ครั้ง

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2010 เมสซิได้รับอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าเนื่องจากการเข้าแย่งลูกจากกองหลังสโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด โตมัส อุยฟาลูซี (Tomáš Ujfaluši) ในนาทีที่ 92 ในนัดที่ 3 ที่สนามกีฬาบิเซนเต กัลเดรอน โดยเริ่มแรกนั้นเกรงว่าเมสซิจะบาดเจ็บจากข้อเท้าแตกและทำให้เขาไม่สามารถลงแข่งได้อย่างน้อย 6 เดือน แต่จากผลเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นในวันถัดไปในบาร์เซโลนาว่า เกิดการเคล็ดที่เอ็นภายในและภายนอกที่ข้อเท้าขวา[137] เพื่อนร่วมทีม ดาบิด บิยา ออกมากล่าวว่า "การเข้าแย่งลูกปะทะเมสซิเป็นสิ่งที่หยาบคาย" หลังจากดูวิดีโอที่เล่นแล้ว เขายังเชื่อว่า "ไม่ได้กระแทกให้เจ็บ"[138] จากเหตุนี้ทำให้สื่อวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วและนำไปสู่การถกเถียงเรื่องความเท่าเทียมกันในการปกป้องผู้เล่นในเกม

เมื่อเมสซิหายดีแล้ว เขายิงประตูในนัดเสมอกับเอร์เรเซเดมายอร์กา 1–1 จากนั้นยิงอีก 1 ประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดเจอกับสโมสรฟุตบอลโคเปนเฮเกน ช่วยให้ทีมชนะในบ้าน 2–0[139] เขายังคงยิงประตูอย่างต่อเนื่อง ในนัดเจอกับซาราโกซาและเซบิยา เมื่อเริ่มเดือนพฤศจิกายนเขายิงประตูโดยไปเยือนโคเปนเฮเกน เสมอ 1–1 และไปเยือนสโมสรฟุตบอลเฆตาเฟชนะ 3–1 ที่เขาช่วยจ่ายบอลให้ดาบิด บิยาและเปโดร โรดรีเกซ ยิง[140] ในนัดต่อไปเจอกับบิยาร์เรอัล เขายิงประตูที่น่าแปลกใจจากการร่วมมือกับเปโดร ทำให้นำ 2–1 จากนั้นก็ยิงอีกประตู ทำให้บาร์เซโลนาชนะ 3–1 และเป็นนัดที่ 7 ติดต่อกันที่เมสซิยิงประตู ทำลายสถิติตัวเขาเองที่เคยยิงได้ 6 นัดติดต่อกัน ในนัดพบกับอูเดอัลเมริอา เขาทำแฮตทริกครั้งที่ 2 ของฤดูกาลในนัดเยือนที่ชนะไป 8–0 ประตูที่ 2 ในนัดนี้เป็นประตูที่ 100 ในลาลิกาของเขา[141] เขายิงประตูได้ 9 นัดติดต่อกัน (รวมถึง 10 นัดติดต่อกันในนัดกระชับมิตรแข่งกับทีมชาติบราซิล) โดยไปเยือนพานาทีไนกอส ชนะ 3–0[142]

ในนัดเอลกลาซิโกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน เมสซิยิงประตูช่วยให้บาร์เซโลนาชนะ 5–0 และเมสซิยังช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับบิยา 2 ครั้ง[143] ในนัดถัดมาเขาทั้งยิงและช่วยจ่ายลูกยิงให้นัดเจอกับโอซาซูนา[144] เขาตอกย้ำรอยเดิมโดยการยิงประตูในนัดแข่งกับเรอัลโซเซียดัด[145]ในนัดดาร์บีที่แข่งกับแอร์ราเซเด อัสปัญญ็อล บาร์เซโลนาชนะ 1-5 เขาช่วยส่งจ่ายลูกยิงให้กับเปโดรและบิยา คนละหนึ่งประตู[146] ประตูแรกในปี ค.ศ. 2011 ของเขา แข่งกับเดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา ยิงจากลูกฟรีคิก ในนัดที่ชนะ 4–0 โดยการไปเยือน ซึ่งเขาก็ยังช่วยยิงลูกจ่ายประตูให้กับทั้งเปโดรและบิยาอีกครั้ง[147]

เมสซิได้รับรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ 2010 ชนะเพื่อนร่วมทีมของเขาอย่าง ชาบีและอินิเอสตา[148] โดยเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน[149] 2 วันถัดหลังได้รับรางวัล เขายิงแฮตทริกแรกของปี และเป็นแฮตทริกที่ 3 ในฤดูกาล ในนัดแข่งกับเรอัลเบติส[150] กลับมาสู่ในลีก เขายิงประตูในครึ่งหลัง โดยยิงประตูที่ 2 ของทีม จากจุดโทษในนัดแข่งกับราซินเดซันตันเดร์[151] หลังจากยิงประตูเขาแสดงข้อความบนเสื้อในเขียนว่า "สุขสันต์วันเกิด คุณแม่"[152] เขายิงประตูด้วยความมั่นใจในนัดแข่งกับอัลเมริอา ในโกปาเดลเรย์รอบรองชนะเลิศ[153] จากนั้นไม่ถึงอาทิตย์ก็ยิงอีกครั้งในนัดแข่งกับเอร์กูเลส[154] ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ บาร์เซโลนาสร้างสถิติใหม่ โดยการชนะติดต่อกันมากที่สุดในลีก โดยชนะติดต่อกัน 16 ครั้ง หลังจากที่ทีมชนะอัตเลติโกเดมาดริด 3–0 ที่สนามกัมนอว์[155] เมสซิยิงแฮตทริกเพื่อแสดงความมั่นใจว่าชัยชนะจะอยู่ที่ทีมเขา หลังจบการแข่งขันเขาพูดว่า "เป็นเกียรติที่สามารถทำลายสถิติที่ยิ่งใหญ่ที่ทำขึ้นเหมือนอย่างอัลเฟรโด ดี สเตฟาโน" และ "ถ้าสถิตินี้ยังคงมีไปอีกนานเพราะว่ามันซับซ้อนที่จะชนะและเราก็สามารถทำถึงมันโดยชนะในทีมที่ยาก กับสถานการณ์อันเลวร้าย ซึ่งก็ทำให้มันยิ่งยากขึ้น"[156]

หลังจากไม่ได้ทำประตูใน 2 นัด เขายิงประตูในชัยชนะเหนืออัตเลติกเดบิลบาโอที่บาร์เซโลนาชนะ 2–1[157] ในสัปดาห์ต่อมาเขายิงประตู เป็นผู้นำในลีกฤดูกาลนี้ ในนัดแข่งกับมายอร์กา 3–0 ในการไปเยือน.[158] สร้างสถิติเทียบเท่าทีมจากแคว้นบาสก์ เรอัลโซเซียดัด ในฤดูกาล 1979–80 ที่ชนะ 19 ครั้งติดต่อกันในฐานะทีมเยือน แต่สถิตินี้ก็ถูกทำลายไปในอีก 3 วันต่อมาเมื่อเมสซิยิงประตูเดียวในชัยชนะการไปเยือนบาเลนเซีย[159] เมื่อวันที่ 8 มีนาคม เมสซิยิง 2 ประตูในนัดเจอกับอาร์เซนอล ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่สนามกัมนอว์ โดยประตูแรกเมสซิใช้เท้ากระดกบอลข้ามศีรษะผู้รักษาประตูในระยะกระชั้น ก่อนจะตวัดบอลเข้าประตูไปอย่างสวยงาม 2 ประตูของเมสซิช่วยให้บาร์เซโลนาชนะด้วยประตูรวม 3–1 และเข้าสู่รอบก่อนชิงชนะเลิศ[160] หลังจากไม่สามารถยิงประตูได้ร่วมเดือน เขายิงประตูในนัดแข่งกับอัลเมริอา ประตูที่ 2 เป็นประตูที่ 47 ในฤดูกาลนี้ของเขา เทียบเท่าสถิติการทำประตูในฤดูกาลก่อนของเขา[161] เขาทำลายสถิติเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2011 โดยยิงประตูในชัยชนะเหนือชาคห์ตาร์โดเนตสค์ ในการแข่งยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทำให้เขาถือสถิติผู้ทำประตูสูงสุดในฤดูกาลเดียวของบาร์เซโลนา[162] เขายิงประตูที่ 8 ในเอลกลาซิโก เสมอ 1–1 ที่สนามซานเตียโก เบร์นาเบว เมื่อวันที่ 23 เมษายน เมสซิยิงประตูที่ 50 ของฤดูกาลในนัดแข่งกับโอซาซูนา 2–0 ในบ้าน เมื่อเขาออกมาเปลี่ยนตัวในนาทีที่ 60[163]

ในนัดแรกของแชมเปียนส์ลีกรอบรองชนะเลิศ เขาสร้างความประทับใจ โดยยิง 2 ประตูในนัดที่พบกับเรอัลมาดริด ชนะด้วยจำนวนประตู 2–0 ประตูที่ 2 เป็นการเลี้ยงลูกหลบผู้เล่นหลายคน และยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในการแข่งขันนี้[164][165] ในการแข่งขันยูฟาแชมเปียนส์ลีกที่เว็มบลี เมสซิทำประตูตอกย้ำให้บาร์เซโลนาคว้าแชมป์เป็นสมัยที่สามในรอบหกปี และเป็นสมัยที่สี่ในประวัติศาสตร์สโมสร[166]

ฤดูกาล 2011–12

เมสซิขณะยิงประตูในนัดชิงถ้วยฟิฟ่าคลับเวิร์ลคัพกับซานโตส 2011

ในการแข่งขันชิงถ้วยซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา 2011 เมสซิยิงประตู 3 ประตู และช่วยจ่ายลูกยิงประตูอีก 2 ประตู ทำให้มีผลประตูรวม 5–4 ชนะทีมเรอัลมาดริดไปได้[167] ในนัดถัดมาอย่างเป็นทางการเขายิงประตูอีกครั้งหลังจากการส่งหลังผิดพลาดของเฟรดี กัวริน และได้ช่วยส่งประตูให้เซสก์ ฟาเบรกัสยิงประตู ทำให้ชนะโปร์ตู 2-0 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ[168] เมื่อเริ่มฤดูกาลในลาลิกา เมสซิยิง 2 ประตูในนัดแข่งกับบิยาร์เรอัล[169] และเขายังสามารถยิงแฮตทริกได้ต่อเนื่องในฐานะทีมเหย้ากับโอซาซูนา[170]และอัตเลติโกเดมาดริด[171]

ในวันที่ 28 กันยายน เมสซิยิง 2 ประตูในแชมเปียนส์ลีกใน 2 นัดแรกของฤดูกาล แข่งกับสโมสรฟุตบอลบาเตโบรีซอฟ[172] ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ของบาร์เซโลนา เทียบเท่ากับลัสโซล คูบาลา กับ 194 ประตู ในทุกการแข่งขันที่เป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ[173] แต่ต่อมาเขาก็ทำลายสถิตินี้โดยยิงอีก 2 ประตูเมื่อแข่งกับราซินเดซันตันเดร์[174] และเหลืออีกประตูเดียวก็ถึง 200 ประตู เมื่อเขายิงแฮตทริกในนัดแข่งที่บ้าน แข่งกับมายอร์กา และยิงได้แซงหน้าคูบาลา ที่จำนวน 132 ประตู[175] เขายิงประตูที่ 200 ให้กับบาร์เซโลนา และอีก 2 ลูก เป็นแฮตทริกในนัดแข่งกับวิกตอเรียเปิลเซน (Viktoria Plzeň) ในแชมเปียนส์ลีก[176] เมสซิยิงประตูแรกของเขาได้ในซานมาเมส ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ทำให้เสมอกับอัตเลติกเดบิลบาโอ 2–2[177] นัดต่อมาเขายิงประตูในนัดแข่งกับเรอัลซาราโกซา[178] เขายิงจุดโทษให้ทีมชนะในการเยือน 3–2 แข่งกับเอซี มิลาน ในรอบแบ่งกลุ่มแชมเปียนส์ลีก[179] เขายิงประตูได้ครั้งแรกกับราโยบาเยกาโน ในนัดชนะที่บ้าน 4–0[180] จากนั้นยิง 1 ประตู นัดแข่งกับเลบันเตอูเด ทำให้ทีมชนะในบ้าน 5-0[181]

เมสซิได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมยุโรปของฟีฟ่าปี ค.ศ. 2011 โดยชนะเพื่อนร่วมทีม ชาบี และผู้เล่นจากเรอัลมาดริด คริสเตียโน โรนัลโด เมสซิยังได้รับรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ 2011 อีกครั้ง โดยชนะชาบีและคริสเตียโน โรนัลโดเช่นกัน การได้รับรางวัลบาลงดอร์ครั้งนี้ ทำให้เมสซิเป็นผู้เล่นคนที่ 4 ที่ได้รับรางวัลบาลงดอร์ 3 ครั้ง ก่อนหน้านี้คือ โยฮัน ไกรฟฟ์, มีแชล ปลาตีนี และมาร์โก ฟัน บัสเติน ต่อมาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เมสซิลงเล่นในลาลิกาเป็นนัดที่ 200 โดยเขายิงได้ 4 ประตู ในนัดแข่งกับบาเลนเซีย โดยผลคือทีมชนะ 5–1[182] ในวันที่ 7 มีนาคม เมสซิเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตู 5 ประตูในแชมเปียนส์ลีก โดยได้ช่วยทีมป้องกันแชมป์ในนัดที่บาร์เซโลนาชนะไบเออร์เลเวอร์คูเซิน 7–1[183]

ต่อมาในวันที่ 20 มีนาคม เมสซิยิงได้ 3 ประตูในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลกรานาดา ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของบาร์เซโลนา แซงหน้านักฟุตบอลตำนาน เซซาร์ โรดริเกซ อัลบาเรซ ที่เคยถือสถิติ ยิง 232 ประตู[184] ในวันที่ 2 พฤษภาคม เมสซิยิงแฮตทริกในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลมาลากา ทำให้เขาทำลายสถิติของแกร์ท มึลเลอร์ (ที่ยิง 67 ประตูในฤดูกาล 1972-73) โดยเมสซิยิงได้ 68 ประตู และเขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของยุโรปใน 1 ฤดูกาล[185]

ฤดูกาล 2012–13

วันที่ 27 ตุลาคม 2012 เมสซิทำประตูทะลุหลัก 300 ประตูในการแข่งขันอาชีพของตนได้ จากการทำ 2 ประตูในเกมลีก นัดที่บุกไปเยือนราโยบาเยกาโน จำนวนรวม 301 ประตูนี้ แบ่งเป็น 270 ประตูจากการเล่นในบาร์เซโลนา และ 31 ประตูจากการเล่นให้ทีมชาติอาร์เจนติน่า ทั้งหมดจากการลงเล่นรวม 419 นัดเท่านั้น[186] หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2012 เมสซิยิง 2 ประตูในการแข่งขันเกมลีกนัดเยือนกับมายอร์ก้า ทำให้เขามีสถิติยิงประตูใน 1 ปีปฏิทิน 76 ประตู แซงหน้าเปเล่ (75 ประตู) ขึ้นครองสถิติ ดาวยิงประตูสูงสุดตลอดกาล ใน 1 ปีปฏิทินอันดับ 2 ตามหลัง เกิร์ด มึลเลอร์ (85 ประตู) เพียง 9 ประตู[187]

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2012 เมสซิก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในทำเนียบดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เทียบเท่ากับ รืด ฟัน นิสเติลโรย โดยทำเพิ่ม 2 ประตูจากการออกไปเยือน สปาร์ตัก มอสโก [188] ทำให้มีจำนวนรวมประตูในการแข่งขันแชมเปียนส์ลีกเพิ่มขึ้นเป็น 56 ประตู การทำประตูได้ในมอสโคว์นี้ ทำให้เกิดสถิติอีก 1 อย่างคือการทำประตูได้ใน 19 เมืองแตกต่างกันในการแข่งขันเกมส์สโมสรยุโรป (เทียบเท่า ราอุล กอนซาเลซ)

วันที่ 9 ธันวาคม 2012 แม้มีอาการบาดเจ็บอยู่ก่อนหน้า แต่เมสซิก็ลงเล่นในเกมลีกนัดเยือนกับ เรอัลเบติส และทำได้ 2 ประตู ทำให้เขาก้าวขึ้นไปถือครองสถิติดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลใน 1 ปีปฏิทิน ที่ 86 ประตู แทนที่ เกิร์ด มึลเลอร์ (85 ประตู) อย่างสวยงาม โดย 86 ประตู แบ่งเป็นประตูที่ยิงให้บาร์เซโลนา 74 ประตู และ 12 ประตูที่ยิงให้ทีมชาติอาร์เจนตินา ขณะนั้นบาร์เซโลนายังเหลือการแข่งขันให้เล่นในปี 2012 อีก 3 นัด [189] และเมสซิ ก็จบปี 2012 ด้วยการทำสถิติดาวซัลโวสูงสุดใน 1 ปีปฏิทิน ขึ้นใหม่ที่ 91 ประตู

วันที่ 7 มกราคม 2013 เมสซิได้รับรางวัล ฟีฟ่าบาลงดอร์ เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยได้รับเสียงโหวตสูงถึง 41.6 เปอร์เซ็น เมื่อนับรวมกับรางวัลบัลลงดอร์ที่เมสซิได้รับก่อนที่ฟีฟ่าจะควบรวมรางวัลแล้ว เมสซิเป็นนักฟุตบอลคนแรกที่ได้รับรางวัลบาลงดอร์ถึง 4 ครั้ง และเป็น 4 ปีติดต่อกันด้วย เมสซิได้รับเลือกเป็น 1 ใน FIFA FIFPro World XI คือ ทีมแห่งปี เป็นปีที่ 6 ติดต่อกันอีกด้วย

วันที่ 27 มกราคม 2013 เมสซิทำโปกเกอร์ คือยิง 4 ประตูในนัดเดียว ในเกมลีกพบกับโอซาซูนา และนั่นทำให้เขาทำประตูใน ลาลิกา สเปน ได้ทะลุ 200 ประตู ขณะที่อายุน้อยที่สุด

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2013 เมสซิตกลงทำสัญญาใหม่กับบาร์เซโลนา นั่นทำให้สัญญาของเขามีอายุยืดออกไปถึง 30 มิถุนายน ปี 2018 และสัญญาฉบับนี้ยังระบุค่าฉีกสัญญาของเมสซิสูงถึง 250 ล้านยูโร เลยทีเดียว

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2013 เมสซิยิง 2 ประตูได้ในนัดพบกับกรานาดาในเกมลีก ถือเป็นประตูที่ 301 จาก 365 เกมอย่างเป็นทางการที่เมสซิยิงให้บาร์เซโลนา นอกจากนั้นยังเป็นเกมส์ที่ 14 ที่เมสซิทำประตูได้ทุกเกมส์ต่อเนื่องกัน

หลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 9 มีนาคม 2013 เกมลีกที่บาร์เซโลนา เปิดบ้านรับ เดปอร์ติโบลาโกรุญญา ที่เมสซิยิง 1 ประตูย้ำชัยให้บาร์เซโลนา เมสซิก็เป็นเจ้าของสถิติใหม่ เป็นผู้ทำประตูทุกนัดต่อเนื่องยาวนานที่สุดในลีกสูงสุดของยุโรป 17 นัดติดต่อกัน ทำลายสถิติเดิมของ ทีโอดอร์ เปเตเร็ค ที่ทำไว้ 16 นัดติดต่อกันในลีกสูงสุดของโปแลนด์ ฤดูกาล 1937-38[190]

ในวันที่ 30 มีนาคม 2013 เกมลีกนัดไปเยือนเซลตาบิโก ซึ่งเมสซิทำได้ 1 ประตู นับเป็นนัดที่ 19 ติดต่อกัน แต่นั่นทำให้เกิดสถิติใหม่สำหรับตัวเขาอีกเช่นกัน คือ เขายิงประตูทีมในลีกได้ครบทุกทีม เพราะ ลาลิกามี 20 ทีม เมื่อยิงประตูได้ 19 นัดติดต่อกัน นั่นหมายถึงการยิงประตูคู่ต่อสู้ทุกทีมในลีกได้ [191] โดยในเกมนี้ เมสซิ สวมปลอกแขนเป็นกัปตันทีมบาร์เซโลนาครั้งแรก ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการอีกด้วย

ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2013 บาร์เซโลนาได้แชมป์ลาลิกาโดยปริยาย จากการเสมอของเรอัลมาดริดกับอัสปัญญ็อล ทั้งที่ยังเหลือเกมให้เล่นอีกถึง 4 เกม ในวันต่อมา เมสซิลงเล่นเกมเยือนกับอัตเลติโกเดมาดริดแต่ต้องออกจากสนามไปในครึ่งหลังจากอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อขาขวาและจะไม่ลงเล่นเกมที่ยังเหลืออยู่อีก ทำให้เมสซิต้องหยุดสถิติยิงติดต่อกันมากที่สุดในลีกไว้ที่ 21 นัด

แต่อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ได้เล่นเกมส์ที่เหลือ แต่เมสซิก็ยังคงเป็นดาวซัลโวสูงสุดของลาลิกาในฤดูกาลนี้ที่ 46 ประตู ได้รับรางวัลปิชิชิ และรองเท้าทองคำเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน

เมสซิ 2014

ฤดูกาล 2013-14

วันที่ 18 สิงหาคม 2013 เมสซิเริ่มต้นการแข่งขันเกมลีกด้วย 2 ประตู และ 1 แอสซิสต์ ในเกมที่พบกับเลบันเต้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของบาร์เซโลนาที่เอาชนะคู่แข่งด้วยสกอร์สูงถึง 7-0

วันที่ 28 สิงหาคม 2013 บาร์เซโลนาได้แชมป์ ซูเปร์โกปาเอสปัญญา ทำให้เมสซิเป็นนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินาที่ได้ถ้วยแชมป์มากที่สุด ร่วมกับ เอสเตบัน กัมเบียสโซ

วันที่ 1 กันยายน 2013 เมสซิทำแฮตทริกแรกของฤดูกาลได้ จากการไปเยือนสนามเม็สตัลยา ของบาเลนเซีย ทำให้เมสซิเป็นนักเตะที่มีสถิติยิงประตูนอกบ้านมากที่สุดในประวัติศาสตร์ลาลิกา 100 ประตู โดยเจ้าของสถิติเดิมคือ อูโก ซานเชซ (99 ประตู)

วันที่ 18 กันยายน 2013 ในเกมส์ยูฟ่า แชมเปี้นส์ลีก บาร์เซโลนาเปิดบ้านพบกับ อาเอฟเซ อายักซ์ เมสซิทำแฮตทริกอีกครั้ง นั่นทำให้เขาเป็นนักเตะคนแรกที่ทำแฮตทริกได้ถึง 4 ครั้งในประวัติศาสตร์แชมเปียนส์ลีก

ตั้งแต่ต้นฤดูกาลมา เมสซิมีอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อแฮมสตริงรบกวนมาโดยตลอด ร่วมกับอาการป่วยอาเจียนในสนาม แต่สามารถประคองตัวเล่นไว้ได้ แต่ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2013 นัดที่เจอกับเรอัลเบติส เขาได้รับบาดเจ็บเพิ่มที่บริเวณกล้ามเนื้อขาซ้าย ต้องเปลี่ยนตัวออกตั้งแต่นาทีที่ 20 และต้องหยุดพักยาวถึง 8 สัปดาห์

วันที่ 8 มกราคม 2014 เมสซิกลับมาลงสนามในนัดที่พบกับ เฆตาเฟ รอบ 16 ทีมสุดท้ายการแข่งขัน โกปาเดลเรย์ โดยเมสซิเปลี่ยนตัวลงมาในนาทีที่ 63 ท่ามกลางเสียงปรบมือต้อนรับกึกก้องจากแฟนบอลทั้งสนามคัมป์นูว์ และในนาทีที่ 89 เขาก็ทำประตูแรกได้ และบวกเพิ่มได้อีก 1 ประตูในเวลาไม่ถึง 2 นาทีถัดมา รวมยิงได้ 2 ประตูในนัดนี้

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2014 เกมลีกนัดเปิดบ้านรับราโยบาเยกาโน เมสซิยิง 2 ประตู และทำให้เขาทุบสถิติยิงประตูสูงสุดให้สโมสรเดียวในลาลิกาของ เตลโม ซาร์รา นักเตะตำนานทีม อัตเลติกเดบิลบาโอ ที่ทำไว้ที่ 335 ประตู โดยเมสซิสร้างสถิติใหม่ที่ 337 ประตูให้แก่บาร์เซโลนาในนัดนั้น และ 2 ประตูนี้ยังทำให้เขา ก้าวข้าม อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน (227 ประตู) ซึ่งอยู่อันดับ 4 ในทำเนียบดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของลาลิกา ขึ้นไปเทียบเคียง ราอุล กอนซาเลซ อันดับ 3 ที่ 228 ประตู อีกด้วย[192]

วันที่ 12 มีนาคม 2014 เกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เปิดบ้านรับ แมนเชสเตอร์ซิตี รอบ 16 ทีมสุดท้าย เลกแรก เมสซิยิง 1 ประตู ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูในการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มากที่สุดกับทีมเดียว คือ 67 ประตู ทุบสถิติเดิมของ ราอุล กอนซาเลซ ที่ทำให้เรอัลมาดริด 66 ประตูลงได้[193]

วันที่ 16 มีนาคม 2014 เมสซิทำแฮตทริกอีกครั้ง ในเกมลีกนัดเหย้า พบกับโอซาซูนา และกลายเป็นนักเตะดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของสโมสรบาร์เซโลนา ในการแข่งขันเป็นทางการและกระชับมิตร ด้วยจำนวนรวม 371 ลูก เป็นที่เรียบร้อย โดยสถิตินี้เดิมเป็นของ เปาลินโญ่ อัลคันทารา ดาวยิงลูกครึ่งฟิลิปปินส์ทำเอาไว้ที่ 369 ประตูจากการลงเล่นทั้งหมด 357 นัด ในช่วงปี 1912-1927[194]

อาทิตย์ถัดมา ในวันที่ 23 มีนาคม 2014 ในศึก เอลกลาซิโก เกมลีก นัดเยือนกับ เรอัลมาดริด เมสซิทำแฮตทริกได้อีกครั้ง ทำให้เขาซึ่งครองตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดในเกม เอลกลาซิโก ร่วมกับ อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน ของเรอัลมาดริด ที่ 18 ประตูอยู่ก่อนหน้า ขึ้นไปนำเป็นดาวซัลโวสูงสุดในเกม เอลกลาซิโก เดี่ยว ๆ ด้วยจำนวนประตู 21 ประตู

ในฤดูกาลนี้แม้จะเป็นฤดูกาลที่ไม่ดีนักสำหรับเมสซิ เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บรบกวนถึง 4 หนใน 8 เดือน[195] ต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นเวลาถึง 8 สัปดาห์ ร่วมกับมีอาการอาเจียนในสนามบ่อยครั้ง แต่เขาก็ยังสามารถทำประตูให้สโมสรในทุกการแข่งขันได้ถึง 41 ประตู และ 28 ประตูในลีก ก็เพียงพอให้เขาอยู่อันดับ 2 ในทำเนียบดาวซัลโวสูงสุดของลาลิกาในฤดูกาลนี้ ทำลายสถิติต่าง ๆ ได้มากมาย และยังคงเป็น 1 ใน 3 ผู้เข้าชิงรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ และ 1 ใน FIFA FIFPro World XI of the year

เมสซิฉลองประตู ในเกมกับกรานาดา ฤดูกาล 2014-15

ฤดูกาล 2014-15

เมสซิเริ่มต้นเกมลีกฤดูกาลนี้ด้วย การยิง 2 ประตู ในการเปิดบ้านรับเอลเช เป็นครั้งแรกที่เขาเป็นคนยิงเปิดประตูแรกของฤดูกาลให้บาร์เซโลนา

ในนัดถัดมา เกมลีก นัดเหย้ากับ บิยาร์เรอัล เมสซิทำแอสซิสต์ให้ ซานโดร รามิเรส ดาวรุ่งที่เพิ่งขึ้นจากทีมสำรอง แม้ว่าจะมีอาการกล้ามเนื้อตึงบริเวณสะโพกด้านขวาแต่ก็เล่นจนจบเกม

ในวันที่ 12 กันยายน 2014 เมสซิทำแอสซิสต์ 2 แอสซิสต์อย่างสวยงามให้เนย์มาร์ ยิงประตูในเกมลีกนัดเหย้ากับ อัตเลติกเดบิลบาโอ หลังเกม หลุยส์ เอ็นริเก้ ผู้ฝึกคนใหม่ของบาร์เซโลนา ได้พูดชมเมสซิว่า "เมสซิเป็นนักเตะที่ดีที่สุดในโลก ไม่ใช่เพียงเพราะเขาทำประตูได้มากมายแต่ยังเป็นเพราะแอสซิสต์ของเขาด้วย เขาทำบางอย่างในการฝึกซ้อมที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่เคยเห็นแม้แต่กับกัปตันซึบาสะหรือในเพลย์สเตชัน"

วันที่ 27 กันยายน 2014 เมสซิทำ 2 ประตูได้ในเกมลีก นัดเปิดบ้านรับ กรานาดา ทำให้เขาทำประตูในระดับอาชีพทะลุ 400 ประตู ด้วยวัยเพียง 27 ปี โดย 401 ประตูนี้ มาจากการลงสนาม 524 นัด แบ่งเป็นยิงให้ บาร์เซโลนา 359 ประตู และทีมชาติอาร์เจนตินา 42 ประตู ในเกมนี้เมสซิทำแอสซิสต์เพิ่มได้อีก 2 แอสซิสต์ ทำให้จำนวนแอสซิสต์ในระดับอาชีพของเขาอยู่ที่จำนวน 201 แอสซิสต์

วันที่ 18 ตุลาคม 2014 เมสซิทำประตูที่ 250 ในลาลิกาของตัวเองได้สำเร็จ ในนัดพบกับเอย์บาร์ เป็นการฉลองครบ 10 ปี ในการลงเล่นนัดแรกให้กับบาร์เซโลนาชุดใหญ่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2004 โดยเป็นเกมดาร์บีที่แข่งขันกับอัสปัญญ็อล และเมสซิได้ลงข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กของเขาว่า "ผมอยากจะขอกล่าวคำขอบคุณไปยังครอบครัว เพื่อน ๆ เพื่อนร่วมทีม ทีมงานของสโมสรบาร์เซโลนาสำหรับการสนับสนุนอันน่าเหลือเชื่อตลอดช่วงเวลา 10 ปี ผมมีความสุขทุก ๆ เวลาที่ได้ก้าวลงเล่นในสนาม สวมเสื้อสีนี้ ได้ใช้เวลาในช่วงเวลาอันน่าทึ่ง และผมก็จะพยายามพัฒนาฝีเท้า และคว้าแชมป์รางวัลให้กับทีมเพิ่มมากขึ้นอีก ขอกอดทุก ๆ คน เลโอ"

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2014 เมสซิยิง 2 ประตูในนัดออกไปเยือนอาเอฟเซ อายักซ์ เกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทำให้เขาทาบสถิติ ดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกของราอุล กอนซาเลซ เป็นดาวซัลโวร่วมที่ 71 ประตู ทั้งที่ลงเล่นในจำนวนนัดน้อยกว่าโดยเมสซิลงเล่นเพียง 91 นัดในการคว้าสถิตินี้ ขณะที่ราอุล กอนซาเลซ ลงเล่นถึง 142 นัดในการสร้างสถิติดาวซัลโวสูงสุดนี้

เมสซิ ก้าวขึ้นมาเป็นดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของลาลิกา สเปน คนใหม่ ด้วยจำนวนประตู 253 ประตู ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2014 เกมเหย้า บาร์เซโลนาพบกับสโมสรฟุตบอลเซบิยา เมสซิทำแฮตทริกได้ในนัดนี้ เป็นการทำลายสถิติของเตลโม ซาร์รา นักเตะตำนานทีม อัตเลติกเดบิลบาโอ ที่ทำไว้ 251 ประตูตั้งแต่ปี 1955 และ 3 วันหลังจากนั้น เมสซิก็ทำแฮตทริกอีกครั้ง ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดเหย้า พบกับอาโปเอล ทำให้เขาขึ้นไปเป็นดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเดี่ยว ๆ ทันที โดยสถิตินัดนั้นที่ 74 ประตู

เมสซิสร้างสถิติกลายเป็นนักเตะเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลสเปนที่ทำประตูให้กับสโมสรเดียวได้ 400 ลูกขึ้นไป หลังทำแฮตทริกได้ในเกมลีก นัดดาร์บีแห่งแคว้นกาตาลุญญา ในวันที่ 7 ธันวาคม 2014 ทำให้ยอดรวมประตูของเขาอยู่ที่ 402 ประตู และเขายังทำลายสถิติของเซซาร์ โรดริเกซ (11 ประตู) ขึ้นเป็นดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในเกมดาร์บีของแคว้นกาตาลุญญา ด้วยประตูรวม 12 ประตู ในนัดนี้อีกด้วย

หลังจากพ่ายแพ้ เกมลีกนัดเยือนกับ เรอัลโซเซียดัด ในวันที่ 4 มกราคม 2015 ที่อาโนเอต้า ทำให้บาร์เซโลนาพลาดโอกาสขึ้นเป็นจ่าฝูงลาลิกา โดย ลุยส์ เอนรีเก ผู้ฝึกของบาร์เซโลนาตัดสินใจไม่ส่งผู้เล่นตัวจริงหลายคนลงเล่นในเกมสำคัญนี้ เช่น เมสซิ เนย์มาร์ ปิเก ทำให้มีข่าวลือเกี่ยวกับความไม่ลงรอยกันของนักเตะตัวหลักของทีมหลายคน

แต่ในระหว่างมรสุมข่าวลือเหล่านั้น ในวันที่ 11 มกราคม 2015 เกมลีก นัดเปิดบ้านรับ อัตเลติโกเดมาดริด เมสซิก็ทำให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลาย ด้วยฟอร์มการเล่นอันยอดเยี่ยมของเมสซิ ช่วยบาร์เซโลนาเอาชนะอัตเลติโกเดมาดริดไปอย่างสวยงาม กลับมาลุ้นแชมป์เต็มตัว โดยกองหน้าของทีมทั้ง 3 คน เมสซิ เนย์มาร์ และ หลุยซ์ ซัวเรซ ทำประตูได้ทั้ง 3 คน โดยเมสซิเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดของนัดนี้ โดยก่อนเริ่มเกมนี้มีการมอบรางวัลดาวยิงสูงสุดตลอดกาลของลาลิกาให้แก่เมสซิด้วย หลังจากนั้นเมสซิออกมาให้สัมภาษณ์ครั้งแรกเกี่ยวกับข่าวลือที่ออกมา โดยเขาปฏิเสธความคิดเรื่องจะย้ายทีม และปฏิเสธเกี่ยวกับความไม่ลงรอยกันของนักเตะและผู้ฝึก

วันที่ 12 มกราคม 2015 เมสซิได้เสียงโหวตเป็นที่ 2 ในการประกาศรางวัล ฟีฟ่าบาลงดอร์ 2014

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2015 เมสซิลงเล่นเกมลีก นัดเยือน อัตเลติกเดบิลบาโอ ทำ 1 ประตู และ 2 แอสซิสต์ นั่นทำให้เมสซิขึ้นแท่นครองสถิติทำแอสซิสต์สูงสุดในลาลิกา เท่ากับ ลูอิช ฟีกู คือ 107 ครั้ง

เกมลีกนัดที่ 300 ของเมสซิ เป็นเกมเหย้า กับ เลบันเต ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2015 เมสซิทำแฮตทริกฉลองนัดที่ 300 และยังสามารถทำเพิ่มอีก 1 แอสซิสต์ ทำสถิติแอสซิสต์สูงสุดในลาลิกาใหม่ที่ 108 ครั้ง[196]

วันที่ 8 มีนาคม 2015 นัดเหย้ากับ ราโยบาเยกาโน เมสซิทำแฮตทริกได้ภายในเวลา 12 นาที เร็วที่สุดในการค้าแข้งอาชีพของเขา และจากแฮททริกนี้ทำให้เมสซิขึ้นไปนำเดี่ยว ในสถิติการทำแฮตทริกสูงสุดตลอดกาลให้กับทีมในสเปนจากการลงเล่นในทุกรายการ 32 ครั้ง และทำสถิติใหม่ทำประตูในระดับสโมสร 6 ซีซั่นติดต่อกัน ได้รวมแล้วสูงที่สุดตลอดกาล ด้วยจำนวน 315 ลูก ทำลายสถิติเดิมของ เปเล่ (313 ประตู)

วันที่ 18 เมษายน 2015 เมสซิทำเพิ่ม 1 ประตูจากเกมลีก นัดเหย้าพบกับ บาเลนเซีย เป็นประตูที่ 400 ที่เขาทำให้บาร์เซโลนาจาก 471 นัด

เมสซิในนัดชิงชนะเลิศ UCL กับยูเวนตุส

วันที่ 6 พฤษภาคม 2015 เมสซิโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นที่กล่าวขานและชื่นชมไปทั่วโลก ในเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 4 ทีมสุดท้าย เลกแรก ที่คัมป๋นูว์ กับ บาเยิร์นมิวนิก โดนเมสซิยิงคนเดียว 2 ประตู และทำแอสซิสต์ในเนย์มาร์อีก 1 ประตู โดยประตูที่ 2 ที่เขายิงนั้นได้รับคำเลือกให้เป็น Goal of the season ของยูฟ่าอีกด้วย 2 ประตูนี้ทำให้เมสซิแซงหน้า คริสเตียโน โรนัลโด กลับขึ้นไปเป็นดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาล และในฤดูกาลนี้ของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอีกด้วย

วันที่ 17 พฤษภาคม 2015 เมสซิยิงประตูชัย ให้บาร์เซโลนาเอาชนะ อัตเลติโกเดมาดริด ทำให้บาร์เซโลนาเป็นแชมป์ลาลิกาในฤดูกาลนี้ทันที โดยไม่ต้องรอลุ้นนัดสุดท้ายกับ เดปอร์ติโบลาโกรุญญา

วันที่ 30 พฤษภาคม 2015 เมสซิทำ 2 ประตู ช่วยให้บาร์เซโลนา เอาชนะ อัตเลติกเดบิลบาโอ ในนัดชิงชนะเลิศ เป็นแชมป์โกปาเดลเรย์ ในฤดูกาลนี้ โดยประตูแรกของเขานั้น เป็นประตูสุดสวยได้รับการกล่าวขานว่าเป็นประตูที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน โกปาเดลเรย์ ทั้งยังได้เข้าชิง เป็น 3 ประตูสุดท้าย รางวัลปุชกาชอีกด้วย

วันที่ 6 มิถุนายน 2015 เมสซิลงเล่นเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศกับ ยูเวนตุส ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และมีส่วนสำคัญในการทำประตูทุกประตูของบาร์เซโลนาในเกมนั้น ซึ่งบาร์เซโลนาสามารถเอาชนะยูเวนตุส เป็นแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลนี้ได้

ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่ยอดเยียมของเมสซิ พาทีมคว้าทริปเปิลแชมป์ เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยทำได้ในปี 2009 มีคะแนนความสามารถเฉลี่ยทั้งฤดูกาลสูงที่สุดในยุโรป เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในการแข่งขันลาลิกาถึง 25 จาก 37 เกมที่ลงเล่น และเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดถึง 9 จาก 13 เกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่ลงเล่นในฤดูกาลนี้ เลยทีเดียว[197] และนั่นทำให้เขาเป็นตัวเต็งของทุกงานประกาศรางวัลของนักฟุตบอล และได้รับรางวัลเป็นเกียรติยศส่วนตัวมากมาย

ฤดูกาล 2015-16

เมสซิ ในการแข่งขันยูฟ่าซุปเปอร์คัพ 2015

เมสซิ เริ่มต้นฤดูกาลด้วยประตูฟรีคิก 2 ประตูในการแข่งขันชิงถ้วย ยูฟ่าซุปเปอร์คัพ ที่บาร์เซโลนาเอาชนะเซบิยาไป 5-4 ประตู วันที่ 11 สิงหาคม 2015 เป็นครั้งแรกที่เขาทำประตูได้จากการเตะลูกฟรีคิก 2 ประตูในเกมเดียว และจาก 2 ประตูนี้ ทำให้เมสซิทำสถิติดาวซัลโวสูงสุดตลอดการในการแข่งขันทุกรายการของยูฟ่า เท่ากับคริสเตียโน โรนัลโด ที่ 80 ประตู

วันที่ 27 สิงหาคม 2015 เมสซิได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งทวีปยุโรป ปี 2015 (Uefa Best Player 2015) โดยเมสซิเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ถึง 2 ครั้ง โดยได้รับคะแนนโหวตไปถึง 90.74% คือ 49 คะแนนจาก 54 คะแนน เป็นสถิติตะแนนสูงที่สุดเท่าที่เคยมีรางวัลนี้มา โดยมี หลุยส์ ซัวเรซ (3 คะแนน) และคริสเตียโน โรนัลโด (2 คะแนน) ตามมาเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ และประตูที่ 2 ที่เมสซิยิงบาเยิร์นมิวนิก ในนัดบาร์เซโลนาเปิดบ้านรับบาเยิร์นมิวนิก ในรอบ 4 ทีมสุดท้ายการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้รับรางวัล ประตูยอดเยี่ยมของฤดูกาล 2015 (Uefa Goal of the season 2015) อีกด้วย [198]

วันที่ 16 กันยายน 2015 เมสซิทำสถิติเป็นนักฟุตบอลที่ลงเล่นเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกครบ 100 นัด ในขณะที่อายุน้อยที่สุด ในนัดเกมเยือนกับโรมา รอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก วันที่ 20 กันยายน 2015 เมสซิทำหน้าที่กัปตันทีมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสนามกัมนอว์

วันที่ 26 กันยายน 2015 เมสซิได้รับบาดเจ็บเอ็นหัวเข่าซ้ายฉีก ในเกมลีก นัดเหย้ากับลัสปัลมัส ทำให้เขาต้องพักรักษาตัวนานถึง 8 สัปดาห์

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2015 เมสซิกลับมาลงสนามซ้อมได้ 5 วันก่อนการแข่งขัน เอลกลาซิโก วันที่ 21 พฤศจิกายน 2015 ในศึก เอลกลาซิโก เกมลีกนัดเยือน เมสซิกลับมาลงสนามได้ โดยเป็นตัวสำรองลงสนามในนาทีที่ 59 และมีส่วนช่วยให้เกิดประตูสุดท้าย โดยเมสซิส่งบอลให้ ฆอร์ดี้ อัลบา แตะส่งให้หลุยซ์ ซัวเรซทำประตูที่ 4 ของการแข่งขันที่บาร์เซโลนาเอาชนะ เรอัลมาดริดไปได้ถึง 0-4 ประตู

วันที่ 8 มกราคม 2016 เมสซิได้รับเลือกให้อยู่ในทีมแห่งปี 2015 ของยูฟ่า โดยได้รับเสียงโหวตมากที่สุดในบรรดาผู้เล่นทั้งหมด คือ 70% (448,445 คะแนนโหวต)

วันที่ 11 มกราคม 2016 เมสซิได้รับรางวัล ฟีฟ่าบาลงดอร์ เป็นรางวัล บัลลงดอร์ สมัยที่ 5 ของเขา ด้วยเสียงโหวต 41.33% โดนมีคริสเตียโน โรนัลโด (27.76%) และ เนย์มาร์ (7.86%) ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ และเขายังได้รับเลือกให้เป็น 1 ในทีมยอดเยี่ยมของฟีฟ่า FIFA FIFPro World XI 2015 อีกด้วย ในงานรับรางวัล เขาให้สัมภาษณ์ว่า "เขารู้สึกดีมากกับทุกอย่างที่เขาทำมากับทีมบาร์เซโลนา มันยากเสมอที่จะกลับมาชนะทุกอย่าง นี่เป็นครั้งที่ 9 แล้วที่เขามายืนอยู่ตรงนี้ มันเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ เขาดีใจมาก" และเมื่อนักข่าวถามเขาว่า เขายินดีจะแลกรางวัล บัลลงดอร์ 5 ครั้งนี้ กับถ้วยฟุตบอลโลกไหม เขาตอบในทันทีว่า แน่นอน ถ้วยแชมป์ของทีมมันยิ่งใหญ่กว่ารางวัลส่วนตัวเสมอ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2016 เกมลีกนัดเหย้ากับ เซลต้า บีโก้ บาร์เซโลนาเอาชนะไปได้ 6-1 ประตู โดยเมสซิยิงประตูแรกของเกมจากลูกฟรีคิก แต่สิ่งที่สร้างความฮือฮาในเกมนี้ คือ ลูกจุดโทษ โดยเมสซิเรียกจุดโทษให้ทีมได้ในนาทีที่ 81 จากการลากหลบกองหลังไปจนสุดเส้นหลัง แต่ยังแตะอ้อมกองหลังแล้ววิ่งไปเอาบอลได้จนกองหลังต้องทำฟาวล์ เมสซิรับหน้าที่ยิงสังหาร ซึ่งหากยิงเข้า จะเป็นประตูที่ 300 ในลาลิกาของเขา แต่เมสซิกลับหลอกแตะบอลออกด้านขวาของตัวเองเบา ๆ ให้หลุยส์ ซัวเรซวิ่งจากนอกกรอบเข้ามาแปเข้าไป โดยจุดโทษลูกนี้เป็นที่ฮือฮาอย่างมาก มีเสียงชื่นชมและวิจารณ์มากมาย แต่ตามกติกาแล้ว การยิงจุดโทษแบบนี้ (Indirect Penalty) สามารถทำได้ โดยไม่ผิดกฎแต่อย่างใด ซึ่งหลังเกมเนย์มาร์ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า จริง ๆ แล้วเป็นเมสซิกับตัวเขาซ้อมกันไว้ก่อน เมสซิตั้งใจส่งให้เขา แต่ซัวเรสวิ่งไปถึงบอลเร็วกว่าจึงยิงเข้าไป

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2016 ในเกมลีก นัดเยือนกับเอสปอร์ตินเดฆิฆอน เมสซิก็ทำประตูที่ 300 ในลาลิกาของเขาได้สำเร็จ โดยยิงประตูสุดสวยทะลุแผงกองหลังเข้าไปจากนอกกรอบ เป็นประตูแรกของเกม ซึ่งบาร์เซโลนาเอาชนะไปได้ 1-3

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2016 เกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย นัดเยือนกับทีมอาร์เซนอล เมสซิสามารถทำประตูผ่านนายทวารมือเก๋า ปีเตอร์ เช็ก ได้เป็นครั้งแรก หลังจากเคยพบกันมา 6 ครั้งก่อนหน้านี้ โดยนัดนี้เมสซิเหมายิงคนเดียว 2 ประตู เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดของเกมนี้

วันที่ 13 มีนาคม 2016 เมสซิทำสถิติทาบ ฆวน โรมัน ริกวัลเม ในสถิติทำแอสซิสต์สูงสุด 247 แอสซิสต์ (รวมสโมสรและทีมชาติ) ในเกมเจอกับเฆตาเฟ ซึ่งบาร์เซโลนาเอาชนะไปได้ 6-0 โดยเมสซิทำแอสซิสต์ 3 ครั้ง เป็นแฮตทริกแอสซิสต์ในเกมนี้

วันที่ 17 เมษายน 2016 เมสซิทำประตูที่ 500 ในการแข่งขันเป็นทางการได้ นับรวมทั้งสโมสรและทีมชาติ ในเกมลีก นัดเปิดบ้านรับบาเลนเซีย

ฤดูกาลนี้ เมสซิเริ่มเปลี่ยนสไตล์การเล่นชัดเจนมากขึ้น เน้นทำเกม ส่งให้เพื่อนยิง ไม่วิ่งขึ้นไปยิงเองแบบฤดูกาลก่อน ๆ สื่อยกให้เขาเป็นนักกลยุทธ์คนใหม่ของคัมป์นูว์ เขาตัดสินใจได้ดีว่าเวลาไหนควรยิง และเวลาไหนควรจ่าย และเขาจบฤดูกาลด้วยการเป็นผู้ทำแอสซิสต์สูงสุดของลาลิกา [199] และมีคะแนนความสามารถเฉลี่ยทั้งฤดูกาลสูงที่สุด [200] เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในเกมลีกถึง 13 ใน 31 เกมที่ลงเล่น[201]

เมสซิ กับเจ้าหนูถุงพลาสติก 2016

ฤดูกาล 2016-17

เมสซิเริ่มต้นฤดูกาลด้วยการเปลี่ยนลุคครั้งใหญ่ เซอร์ไพรส์แฟนบอลทุกคน คือการเปลี่ยนสีผมเป็นสีแพลทตินั่มบลอนด์ และเริ่มไว้หนวดเครา โดยให้เหตุผลในการเปลี่ยนลุคครั้งนี้ว่า ต้องการรู้สึกถึงการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ

วันที่ 17 สิงหาคม 2016 เมสซิพาบาร์เซโลนา คว้าแชมป์แรกของฤดูกาล คือ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา โดยเอาชนะเซบิยาไปได้ทั้ง 2 เลกเหย้าเยือน ซึ่งรวม 2 เลก เมสซิทำได้ 1 ประตู 2 แอสซิสต์ เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดของทั้ง 2 นัด แชมป์นี้เป็นแชมป์ที่ 29 ของเมสซิกับบาร์เซโลนา แต่เป็นแชมป์ถ้วยแรกที่เมสซิได้รับในฐานะกัปตันทีมของบาร์เซโลนา เนื่องจากอันเดรส อินิเอสตา กัปตันทีมที่ 1 นั้นไม่ได้ลงเล่นในนัดนี้

วันที่ 20 สิงหาคม 2016 เมสซิทำได้ 2 ประตูกับ 1 แอสซิสต์ ในเกมลีค นัดเปิดฤดูกาล โดยบาร์เซโลนาเปิดบ้านเอาชนะ เรอัล เบติส ไปได้ 6-2 ประตู โดยเมสซิได้คะแนนความสามารถเต็ม 10 และเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดนี้

วันที่ 13 กันยายน 2016 เมสซิทำแฮตทริกที่ 40 ในชีวิตการค้าแข้งได้ โดยเมสซิทำแฮตทริก และ 1 แอสซิสต์ ในเกมบาร์เซโลนา เปิดบ้านรับกลาสโกลว์ เซลติก ศึกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดแรก รอบแบ่งกลุ่ม แฮตทริกครั้งนี้ถือเป็นแฮตทริกที่ 6 ของเมสซิในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

วันที่ 17 กันยายน 2016 เมสซิเป็นนักฟุตบอลคนแรกของลาลิกา สเปน ที่สามารถทำประตูได้ใน 34 สนามแตกต่างกัน จากการเบิ้ลทำ 2 ประตู กับอีก 1 แอสซิสต์ ในเกมลีก ที่บาร์เซโลนาออกไปเยือนสนาม เอสตาดิโอ มูนิซิปาล บูร์ตาเก้ ของเลกาเนส ทำลายสถิติเดิมของ ราอูล กอนซาเลซ ที่เคยทำไว้ 33 สนาม[202]

วันที่ 21 กันยายน 2016 ในเกมลีก นัดบาร์เซโลนา เปิดบ้านรับ อัตเลติโกเดมาดริด เมสซิได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาหนีบด้านขวา จากจังหวะปะทะกับ ดิเอโก้ โกดิน จนเล่นต่อไม่ไหว ต้องเปลี่ยนตัวออก ซึ่งหลังจากเมสซิถูกเปลี่ยนตัวออก บาร์เซโลนาก็ถูกตีเสมอ จบเกมที่ 1-1 ประตู โดยผลการตรวจออกมาว่าเมสซิต้องพักรักษาตัว 3 สัปดาห์

วันที่ 15 ตุลาคม 2016 เมสซิกลับมาลงสนามได้ในเกมลีก นัดเหย้า ระหว่างบาร์เซโลนากับเดปอร์ติโบลาโกรุญญา โดยเป็นตัวสำรองถูกส่งลงสนามในนาทีที่ 54 และแผลงฤทธิ์ทันที โดยสัมผัสแรกของเขา ในนาทีที่ 57 คือการยิงประตูที่ 4 ให้บาร์เซโลนาเอาชนะคู่แข่งไปได้อย่างสวยงาม

วันที่ 19 ตุลาคม 2016 เกมแชมเปียนส์ลีก นัดเปิดบ้านรับ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เมสซิทำแฮตทริกที่ 2 ของฤดูกาลได้สำเร็จ และในวันที่ 22 ตุลาคม 2016 เมสซิยิง 2 ประตูในเกมลีก ช่วยให้บาร์เซโลนาเอาชนะบาเลนเซียไปได้อย่างฉิวเฉียดที่สนามเมสตาย่าของบาเลนเซีย 2-3 ประตู

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2016 เมสซิทำประตูที่ 500 ในสีเสื้อของบาร์เซโลนาได้สำเร็จ (469 ประตู จากการแข่งขันอย่างเป็นทางการ และ 31 ประตูจากเกมกระชับมิตร) จากการยิงประตูตีเสมอ สโมสรฟุตบอลเซบิยา ได้ก่อนหมดเวลาครึ่งแรก ก่อนจะแอสซิสต์ให้ หลุยส์ ซัวเรซ ยิงประตูชัยในครึ่งหลัง วันที่ 23 พฤศจิกายน 2016 ในเกมแชมเปียนส์ลีก บาร์เซโลนาออกไปเยือน สโมสรฟุตบอลเซลติก เมสซิทำคนเดียว 2 ประตูในนัดนี้ ทำให้เขาเป็นนักฟุตบอลคนแรก ที่ทำประตูให้สโมสรในการแข่งขันระดับนานาชาติได้ถึง 100 ประตู (ยูฟ่า แชมเปี้นส์ลีก 92 ประตู , ยูฟ่า ซุปเปอร์คัพ 3 ประตู และ ฟีฟ่าคลับ เวิร์ลคัพ 5 ประตู)

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2016 ในเกมลีกนัดเยือน เรอัล โซเซียดัด เมสซิยิงได้ 1 ประตู ทำให้เขาเป็นนักฟุตบอลคนแรกในลาลิกาสเปนที่ทำประตูได้ครบ 200 นัดในลีก วันที่ 6 ธันวาคม 2016 เมสซิลงแข่งขันเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กับ โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ซึ่งเป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการนัดที่ 549 ของเขาในสีเสื้ออาซุลกรานา ทำให้เขาขึ้นมาครองอันดับ 4 นักเตะที่ลงสนามในเกมเป็นทางการให้บาร์เซโลนามากที่สุด ร่วมกับ มิเกลลี โดยใน 10 อันดับแรก มีเพียงเขา และอันเดรส อินิเอสตา (603 นัด อยู่ในอันดับ 2)เท่านั้น ที่ยังคงค้าแข้งให้บาร์เซโลนาอยู่[203]

วันที่ 13 ธันวาคม 2016 ทีมบาร์เซโลนาเดินทางไปเตะฟุตบอลกระชับมิตรที่ประเทศกาตาร์ โดยพบกับแชมป์ลีกของประเทศซาอุดิอาระเบีย อัล อาห์ลี โดยบาร์เซโลนาสามารถเอาชนะไปได้ 3-5 ประตู แต่สิ่งที่เรียกความสนใจได้มากกว่าคือ เมสซิได้มีโอกาสพบกับเจ้าหนูมูร์ตาซา อาห์มาดี (Murtaza Ahmadi) เด็กน้อยชาวอัฟกานิสถานที่นำถุงพลาสติกลายทางสีฟ้า-ขาวมาเขียนชื่อเมสซิและหมายเลข 10 และสวมเป็นเสื้อฟุตบอล ซึ่งภาพถ่ายของหนูน้อยนี้ได้ถูกส่งต่อเป็นไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์ เจ้าหนูเกาะติดไอดอลอย่างเมสซิตลอดเวลา แม้ถึงเวลาเริ่มแข่ง ก็ยังอยากอยู่กับเมสซิ ไม่ยอมออกจากสนาม สร้างความเอ็นดูให้แก่ทุกคนเป็นอย่างมาก[204]

วันที่ 18 ธันวาคม 2016 เมสซิยิง 1 จ่าย 1 ในเกมลีก ดาร์บี้กาตาลา โดยเกมนี้ถือเป็นนัดที่ 600 รวมนัดเป็นทางการและกระชับมิตร ที่เมสซิลงแข่งให้ทีมใหญ่ของบาร์เซโลนา[205]

วันที่ 29 ธันวาคม 2016 เมสซิได้รับเลือกให้เป็นเพลย์เมคเกอร์ยอดเยี่ยมแห่งปี เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จาก IFFHS[206] และจบปี 2016 ด้วยการเป็นดาวซัลโวสูงสุดด้วยจำนวนประตู 59 ประตู และยังเป็นดาวซัลโวสูงสุดของลาลิกาด้วย 12 ประตูในลีก และดาวซัลโวยูฟ่าแชมเปี้ยส์ลีกที่ 10 ประตู

เมสซิ เริ่มต้นปี 2017 ด้วยประตูฟรีคิก ในการแข่งขันรอบ 16 ทีมสุดท้าย โกปาเดลเรย์ เลกแรก ช่วยให้ทีมยังมีความหวังในการผ่านเข้ารอบ แม้จะพ่ายแพ้ต่ออัตเลติกเดบิลบาโอไป 2-1 ที่สนามซานมาเมส วันที่ 8 มกราคม 2017 เมสซิช่วยทีมอีกครั้งด้วยการยิงประตูฟรีคิกให้ทีมตีเสมอบิยาร์เรอัลไปได้ในเกมลีก และนั่นทำให้เขามีสถิติใหม่ เป็นดาวซัลโวประตูจากฟรีคิกให้บาร์เซโลนา ร่วมกับโรนัลด์ กุมัน ที่ 26 ประตู [207]

วันที่ 11 มกราคม 2017 ในการแข่งขันโกปาเดลเรย์ รอบ 16 ทีมสุดท้าย เลก 2 เมสซิ ยิงประตูจากฟรีคิกอีก ช่วยให้ทีมผ่านเข้ารอบไปได้อย่างฉิวเฉียด แม้จะแพ้มาในเลกแรก และทำให้เขาก้าวข้าม โรนัลด์ คูมัน ขึ้นไปนำดาวซัลโวจากฟรีคิกสูงสุดของบาร์เซโลนาที่ 27 ประตูทันที[208] หลังจากนั้น 3 วัน ในวันที่ 14 มกราคม 2017 เมสซิก็สร้างสถิติใหม่อีก โดยยิงประตูที่ 2 ในเกมลีก เปิดบ้านรับ ลาส พัลมาส ทำให้เขาทำสถิติเทียบเท่า ราอุล กอนซาเลซ ในการยิงประตูคู่แข่งได้ถึง 35 ทีมในลีกสูงสุดของสเปน[209]

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2017 อัตเลติโกเดมาดริดเปิดบ้านรับบาร์เซโลนา ในเลกแรก เกมโกปาเดลเรย์ รอบ 8 ทีมสุดท้าย เมสซิ ปั่นไกลเป็นประตูสุดสวย ช่วยให้บาร์เซโลนาเก็บชัยชนะได้ 1-2 ประตู และทำให้เขาเลื่อนตำแหน่งในทำเนียบดาวซัลโวสูงสุดในการแข่งขันถ้วยโกปาเดลเรย์ ขึ้นไปเทียบเท่ากับ อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน ที่ 43 ประตู 3 วันถัดมา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2017 เมสซิยิงฟรีคิกได้ ในเกมลีกเปิดบ้านรับอัตเลติกเดบิลบาโอ เป็นประตูจากฟรีคิกประตูที่ 4 ของฤดูกาล ฉลองการแข่งขันนัดที่ 700 (รวมสโมสรและทีมชาติ) ในชีวิตค้าแข้งของเขา

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2017 เมสซิยิงประตูชัยให้บาร์เซโลนาเอาชนะอัตเลติโกเดมาดริด ไปได้ 1-2 ในเกมลีก นัดเยือน สร้างสถิติทำประตูในลีกได้เกิน 20 ประตูต่อฤดูกาล ใน 9 ฤดูกาลติดต่อกัน[210] และยังเป็นชัยชนะที่ 400 นับตั้งแต่ขึ้นทีมชุดใหญ่มาอีกด้วย[211]

วันที่ 1 มีนาคม 2017 เมสซิฉลองการลงเล่นเป็นตัวจริงให้บาร์เซโลนาในการแข่งขันอย่างเป็นทางการครบ 500 นัด ด้วยการทำประตูจากลูกโหม่ง และทำแอสซิสต์อีก 1 ประตู ในเกมลีก นัดเหย้า บาร์เซโลนาเอาชนะเอสปอร์ตินเดฆิฆอนไปได้ 6-1 ประตู

วันที่ 8 มีนาคม 2017 บาร์เซโลนาสร้างประวัติศาสตร์ เป็นทีมแรกที่สามารถพลิกนรก ผ่านเข้ารอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ ทั้งที่เลกแรกแพ้มาถึง 0-4 ประตู โดยสามารถเปิดบ้านเอาชนะสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ไปได้ 6-1 ประตู โดยในนัดนี้เมสซิยิงได้ 1 ประตู จากการยิงจุดโทษในช่วงเวลากดดัน เป็นดาวซัลโวแชมเปียนส์ลีกของฤดูกาลนี้ที่ 11 ประตู และวันที่ 19 มีนาคม 2017 การแข่งขันเกมลีก นัดบาร์เซโลนาเปิดบ้านเอาชนะบาเลนเซียไป 4-2 ประตู เมสซิทำประตูดับเบิ้ล (ยิง 2 ประตูในนัดเดียว) ครั้งที่ 100 ได้ในสีเสื้อบาร์เซโลนา และสร้างสถิติทำประตูได้เกิน 40 ประตูในทุกการแข่งขัน 8 ฤดูกาลติดกัน

วันที่ 23 เมษายน 2017 ศึกใหญ่ในตำนาน เกมลีก เอลกลาซิโก บาร์เซโลนาออกไปเยือน สนามซานเตียโก เบร์นาเบว ของเรอัลมาดริด โดยผลของเกมนี้เป็นที่จับตามองอย่างมาก เนื่องจากบาร์เซโลนาและเรอัลมาดริด อยู่ในช่วงขับเคี่ยวแย่งชิงแชมป์ลาลิกา โดยเกมนี้บาร์เซโลนาสามารถเอาชนะเรอัลมาดริดไปได้อย่างสุดมันส์ 2-3 ประตู ด้วยฟอร์มการเล่นอันร้อนแรงของเมสซิ โดยเลี้ยงหลบกองหลัง 3 คนไปยิงประตูสุดสวย ตีเสมอให้บาร์เซโลนาในครึ่งแรก และยิงประตูชัยเสียบมุมอย่างเฉียบขาดได้ใน 16 วินาทีสุดท้ายก่อนหมดเวลา เมสซิเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดนี้ไปอย่างไร้ข้อกังขา และทั้ง 2 ประตูในนัดนี้ยังเป็นประตูสำคัญในชีวิตค้าแข้งของเขาอีกด้วย โดยประตูแรกทำให้เขาก้าวข้ามอัลเฟรโด ดี สเตฟาโน ขึ้นไปนำเป็นดาวซัลโวในศึกเอลกลาซิโก ในเกมลีกอย่างเดี่ยว ๆ ที่ 15 ประตู และขยับขึ้นเป็น 16 ประตูจากประตูชัย และยังขยับสถิติดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลในเกมเอลกลาซิโกทุกรายการแข่งขัน ที่เขาเป็นเจ้าของเดิมอยู่แล้ว ไปที่ 23 ประตูอีกด้วย ส่วนประตูชัยในนาทีสุดท้ายนั้นเป็นประตูที่ 500 ของเขาที่ยิงให้บาร์เซโลนา ตลอดอาชีพการค้าแข้งในเกมที่เป็นทางการ ซึ่งเมสซิฉลองประตูด้วยการถอดเสื้อออกแล้วชูเสื้อโชว์ชื่อและหมายเลขบนเสื้อ หลังจบเกมนี้เมสซิได้รับเสียงชื่นชมมากมาย โดยชื่อของเขาติดเป็นอันดับ 1 คำที่ถูกใช้มากที่สุดในโซเชียลมีเดียขณะนั้นด้วย[212][213]

วันที่ 27 พฤษภาคม 2017 สนามกีฬาบิเซนเต กัลเดรอนของอัตเลติโกเดมาดริด ได้ถูกยืมมาใช้ในการแข่งขันในนัดชิงชนะเลิศถ้วยโกปาเดลเรย์ ระหว่างบาร์เซโลนา และเดปอร์ติโบอาลาเบส โดยเมสซิทำประตูแรกให้บาร์เซโลนาขึ้นนำ และแอสซิสต์สุดสวยโดยลากหลบ 4 กองหลัง แล้วส่งให้ปาโก้ อัลกาแซร์ ยิงประตูตอกฝาโลง ทำให้บาร์เซโลนาเอาชนะเดปอร์ติโบอาลาเบส ไปได้ 3-1 คว้ารางวัลชนะเลิศรายการนี้ไปครองอย่างสวยงาม โดยแชมป์รายการนี้ เป็นแชมป์ที่ 30 ของเมสซิกับบาร์เซโลนา ถือเป็นนักฟุตบอลที่ได้แชมป์กับบาร์เซโลนามากที่สุด ซึ่งสถิตินี้เมสซิถือครองร่วมกับอันเดรส อินิเอสตา

เมสซิจบฤดูกาลนี้ด้วยการเป็นดาวซัลโวสูงสุดของลาลิกาที่ 37 ประตู ได้รับรางวัลปิชิชิ (Pichichi) มีคะแนนและจำนวนประตูสูงสุดในทำเนียบรางวัลรองเท้าทองคำยุโรปอีกด้วย และยังเป็นดาวซัลโวในการแข่งขันถ้วยโกปาเดลเรย์ที่ 5 ประตู ยิงรวมทุกรายการ 54 ประตู จากการแข่งขัน 52 นัด[214] โดยเมสซิได้รับรางวัลรองเท้าทองคำครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้ว เป็นสถิติได้รับรางวัลรองเท้าทองคำมากที่สุด ถือครองร่วมกับคริสเตียโน โรนัลโด

เมสซิยังเป็นเป็นอันดับ 1 ในตารางนักเตะ Top Player ของฤดูกาล ได้รับเลือกเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดถีง 16 จากการลงเล่น 32 นัดในลีก [215][216]

ฤดูกาล 2017-18

วันที่ 5 กรกฎาคม 2017 บาร์เซโลนาได้ประกาศถึงสัญญาฉบับใหม่ของเมสซี่ ว่าตกลงรายละเอียดกันได้เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการเซ็นสัญญา โดยสัญญาฉบับใหม่นี้มีค่าฉีกสัญญาสูงถึง 300 ล้านยูโร และจะทำให้เมสซี่มีสัญญากับบาร์เซโลนายาวไปถึงปี ค.ศ. 2021 เลยทีเดียว [217]

ในฤดูกาลนี้เอร์เนสโต บัลเบร์เด กุนซือคนใหม่ของบาร์เซโลนา ได้ปรับตำแหน่งให้เมสซี่ จากการเล่นตำแหน่งปีกขวาในช่วง 3 ฤดูกาลที่ผ่านมา ให้กลับมาเล่นตรงกลางในตำแหน่ง False 9 ซึ่งเป็นตำแหน่งถนัด และเป็นตำแหน่งที่เขาเคยเล่นสมัยที่เป๊บ กวาดิโอลาคุมทีมอยู่

วันที่ 7 สิงหาคม 2017 เมสซี่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของสุดยอดนักเตะในประวัติศาสตร์การแข่งขันลาลิกา สเปน[218] โดยการสำรวจและค้นคว้าจาก 'CIHEFE' (Centro de Investigaciones de Historia y Estadistica del Futbol Espanol) คือ ศูนย์ค้นคว้าประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลสเปน [219] โดยเมสซี่ซึ่งทำอันดับดีขึ้นมาเรื่อย ๆ เป็นนักเตะเพียงคนเดียวในลำดับ 1 - 15 ซึ่งยังคงค้าแข้งอยู่ในปัจจุบัน จากการจัดอันดับครั้งล่าสุดนี้เมสซี่มีคะแนนนำเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 545 คะแนน เริ่มทำคะแนนทิ้งห่าง อันดับ 2 คือ ราอุล กอนซาเลซ (528 คะแนน) และอันดับ 3 คือ เซซาร์ โรดริเกซ (524 คะแนน) โดยนักเตะที่ยังคงค้าแข้งอยู่และมีคะแนนรองลงมา คือ คริสเตียโน โรนัลโด (415 คะแนน) ซึ่งรั้งอยู่ในอันดับที่ 17 [220]

วันที่ 26 สิงหาคม 2017 เมสซี่ยิงประตูแรกของฤดูกาล ในเกมลีกที่บุกไปเยือนอลาเบส โดยเมสซี่ยิงคนเดียว 2 ประตู ช่วยให้บาร์เซโลนาเอาชนะอลาเบสไปได้ โดยประตูแรกนั้นเป็นประตูที่ 350 จาก 384 เกมในลาลิกาของเขา โดยแน่นอนว่าเมสซี่ซึ่งเป็นดาวซัลโวตลอดกาลของลาลิกาอยู่แล้ว จะต้องเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ลาลิกาที่สามารถทำได้ [221]

วันที่ 9 กันยายน 2017 เมสซี่ยิงแฮตทริกแรกของฤดูกาลได้ ในเกมลีก ดาร์บี้กาตาลา เปิดบ้านรับแอร์ราเซเด อัสปัญญ็อล ซึ่งช่วยให้บาร์เซโลนาเอาชนะไปได้อย่างสวยหรู 5-0 ประตู

ใน 3 วันถัดมา วันที่ 12 กันยายน 2017 ในเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม บาร์เซโลนาเปิดบ้านรับการมาเยือนของสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส และสามารถเอาชนะไปได้ 3-0 ประตู โดยเมสซี่ยิงได้ 2 ประตูในนัดนี้ ซึ่งเป็นการยิงผ่านมือผู้รักษาประตูมือฉมังอย่างจันลุยจี บุฟฟอน ได้เป็นครั้งแรก

วันที่ 19 กันยายน 2017 เมสซี่ทำโปกเกอร์ ยิง 4 ประตูในนัดเดียวได้ ในเกมลีก ซึ่งบาร์เซโลนาเปิดบ้านเอาชนะเอเซเด เอย์บาร์ ไปได้ 6-1 ประตู

วันที่ 1 ตุลาคม 2017 เมสซี่ได้แซงการ์เลส ปูยอล ขึ้นไปเป็นอันดับ 3 ของนักเตะที่ลงเล่นให้บาร์เซโลนามากที่สุดในประวัติศาตร์สโมสร ในเกมลีกเปิดบ้านรับอูเด ลัสปัลมัส โดยนัดนี้เมสซี่ทำได้ 2 ประตู กับอีก 1 แอสซิสต์ ช่วยให้บาร์เซโลนาเอาชนะไปได้ 3-0 ประตู เกมนี้มีขึ้นในวันลงประชามติขอแยกแคว้นกาตาลาเป็นเอกราชจากสเปน ซึ่งเกิดความวุ่นวายนอกสนามมากมาย มีคนบาดเจ็บกว่า 800 คน ทางสโมสรบาร์เซโลนาได้ขอเลื่อนวันแข่งแล้ว แต่สมาคมฟุตบอลสเปนไม่อนุญาตให้เลื่อน โดยให้เหตุผลว่า "ไม่มีเหตุผลอันควร" และถ้าบาร์เซโลนายกเลิกการแข่งขันเองจะถูกตัดคะแนน 6 คะแนน 3 คะแนนจากการถูกปรับแพ้ และอีก 3 คะแนนจากการยกเลิกการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาต สุดท้ายสโมสรบาร์เซโลนาจึงตัดสินใจให้ทำการแข่งขันกันในสนามปิด คือ แข่งขันกันโดยไม่มีแฟนบอลเข้าเชียร์ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย จากเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้บริหารของสโมสรบาร์เซโลนาหลายคนได้ประกาศลาออก เนื่องจากรับไม่ได้จากการถูกบังคับให้ทำการแข่งขันในสภาวะนี้

วันที่ 18 ตุลาคม 2017 ในเกมแชมเปียนส์ลีก นัดบาร์เซโลนาเปิดบ้านเอาชนะโอลิมเปียกอส ไป 3-1 ประตู เมสซี่ยิงฟรีคิกทำประตูที่ 100 ของเขาในการแข่งขันยูฟ่าได้ และยังทำแอสซิสต์ได้อีก 1 ประตูในนัดนี้ด้วย เมสซี่ทำประตูในการแข่งขันยูฟ่าครบ 100 ประตู จากการแข่งขันเกมยูฟ่า 122 นัด โดยเป็นประตูจากเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 97 ประตู อีก 3 ประตูมาจากการแข่งขันยูฟ่าซุปเปอร์คัพ โดยเมสซี่เป็นนักเตะคนที่ 2 ที่ทำได้ หลังจากคริสเตียโน โรนัลโดได้เคยทำไว้ก่อนแล้ว แต่เมสซี่มีสถิติต่อเกมดีกว่า เนื่องจากสามารถทำได้โดยอาศัยเกมการแข่งขันน้อยกว่าถึง 21 เกม และทำได้ในช่วงอายุน้อยกว่า [222]

วันที่ 23 ตุลาคม 2017 เมสซี่ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 2 ในงานประกาศรางวัลนักฟตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่า แต่เช่นเดียวกับปีก่อนเมสซี่ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 ของกองหน้าที่ดีที่สุด ในทีมยอดเยี่ยมแห่งปี ฟีฟ่าฟิฟโปร FIFA FIFPro[223] ซึ่งมาจากการโหวตของนักเตะอาชีพทั้งหมดโหวตกันเอง โดยไม่มีคะแนนจากสื่อ ซึ่งเมสซี่ติดทีมฟิฟโปรเป็นปีที่ 11 ติดต่อกันแล้ว [224]

การแข่งขันระดับทีมชาติ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เขาลงแข่งในฐานะทีมชาติอาร์เจนตินา โดยเล่นในชุดอายุไม่เกิน 20 ปีในนัดกระชับมิตรเจอกับทีมชาติปารากวัย[225] ในปี ค.ศ. 2005 เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ชนะในฟีฟ่าเวิลด์ยูทแชมเปียนชิป ที่จัดขึ้นที่เนเธอร์แลนด์ โดยเขาได้รับรางวัลลูกบอลทองคำและรองเท้าทองคำ[226] เขายิงประตูใน 4 นัดสุดท้ายของอาร์เจนตินา รวมยิงได้ 6 ประตูในการแข่งขัน

เขาลงแข่งในฐานะทีมชาติเต็มตัวเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ในนัดเจอกับฮังการี เมื่อเขาอายุ 18 ปี เขาถูกส่งเปลี่ยนตัวลงสนามในนาทีที่ 63 แต่ก็ถูกผู้ตัดสินมาร์คุส แมร์ค ไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 65 เนื่องจากเมสซิโขกหัวกับกองหลัง วิลมอช วอนซัก (Vilmos Vanczák) ที่พยายามดึงเสื้อเมสซิ การตัดสินครั้งนี้ทำให้เป็นข้อถกเถียงกันและมาราโดนา ก็กล่าวถึงการตัดสินว่าผู้ตัดสินมีเจตนาล่วงหน้า[227][228] เมสซิกลับมาเล่นอีกครั้งในวันที่ 3 กันยายน ในรอบคัดเลือกที่อาร์เจนตินาไปเยือนปารากวัยและได้ชัยชนะมา 1–0 หลังจากนัดนี้เขาออกมาว่า นี่ถือเป็นนัดเปิดตัวอีกครั้ง ครั้งแรกถือว่าค่อนข้างสั้นไป[229] จากนั้นก็ลงแข่งกับเปรู หลังจากนัดนี้โคเซ เปเกร์มัน พูดถึงเมสซิว่า "คือ อัญมณี"[230]

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกที่เจอกับเวเนซุเอลา เมสซิสวมเสื้อเบอร์ 10 เป็นครั้งแรกให้กับอาร์เจนตินา ในนัดนี้เป็นนัดแรกอย่างเป็นทางการของผู้จัดการทีม ดิเอโก มาราโดนา อาร์เจนตินาชนะ 4–0 โดยเมสซิเป็นผู้ทำประตูแรก[231]

วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เมสซิยิงประตูในนาทีสุดท้ายที่แข่งกับคู่ปรับสำคัญ บราซิล ทำให้ทีมชนะ 1–0 ในนัดกระชับมิตรครั้งนี้ที่แข่งกับที่เมืองโดฮา ถือเป็นครั้งแรกที่เขายิงประตูบราซิลในฐานะทีมชาติรุ่นใหญ่[232] เมสซิยิงอีกประตูในนาทีสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ในนัดแข่งกับโปรตุเกส โดยยิงจุดโทษ ทำให้อาร์เจนตินาชนะ 2–1 ในนัดกระชับมิตรที่จัดขึ้นที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ฟุตบอลโลก 2006

อาการบาดเจ็บของเมสซิทำให้เขาไม่ได้ลงใน 2 เดือนท้ายสุดของฤดูกาล 2005–06 ซึ่งทำให้เขาไม่ได้ลงเล่นในฟุตบอลโลก 2006 นัก แต่อย่างไรก็ตามเมสซิก็ยังได้รับเลือกให้ลงเล่นในชุดทีมชาติอาร์เจนตินาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 เขายังลงเล่นในนัดชิงชนะเลิศให้กับอาร์เจนตินาชุดอายุไม่เกิน 20 ปี อยู่ 15 นาทีและนัดกระชับมิตรที่เจอกับแองโกลา ตั้งแต่นาทีที่ 64[233][234] เขานั่งอยู่บนม้านั่งสำรองในนัดที่อาร์เจนตินาชนะต่อโกตดิวัวร์[235] ในนัดถัดมาที่เจอกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร เมสซิถือเป็นนักฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาที่อายุน้อยที่สุดที่ลงแข่งในฟุตบอลโลกเมื่อเขาออกมาแทนมักซี โรดรีเกซในนาทีที่ 74 เขาช่วงส่งประตูยิงให้กับเอร์นัน เกรสโปในไม่กี่นาทีหลังจากที่เขาลงสนามและยังช่วยยิงประตูในชัยชนะ 6–0 ทำให้เขาเป็นนักฟุตบอลที่อายุน้อยที่สุดในฟุตบอลโลก 2006 ที่ยิงประตูได้และเป็นนักฟุตบอลอายุน้อยที่สุดอันดับ 6 ที่ยิงประตูได้ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก[236]

ในนัดถัดมาเมสซิลงในการแข่งขันที่เสมอกับเนเธอร์แลนด์ 0–0[237] ต่อมาเจอกับเม็กซิโก โดยเมสซิลงเปลี่ยนตัวแทนในนาทีที่ 84 ในนัดนี้เสมอ 1–1 เขาสามารถยิงประตูได้แต่ก็ล้ำหน้า แต่อาร์เจนตินายิงประตูได้ในการต่อเวลาพิเศษ[238][239] ผู้ฝึกสอน โคเซ เปเกร์มันให้เมสซินั่งอยู่ที่ม้านั่งสำรองในการแข่งขันรอบก่อนชิงชนะเลิศที่เจอกับเยอรมนี ที่พวกเขาแพ้ 4–2 ในการดวลจุดโทษ[240]

โกปาอาเมริกา 2007

เมสซิในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2007

เมสซิลงเล่นเกมแรกของโกปาอาเมริกา 2007 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เมื่ออาร์เจนตินาชนะสหรัฐอเมริกา 4–1 ในเกมแรก โดยเขาได้แสดงความสามารถในฐานะเพลย์เมกเกอร์ เขาตั้งลูกทำประตูให้กับเพื่อนร่วมทีม เอร์นัน เกรสโปรและยิงเข้ากรอบหลายลูก เตเบซลงมาแทนเมสซิในนาทีที่ 79 และยิงประตูในอีกไม่กี่นาทีต่อมา[241]

นัดที่ 2 ของเขาแข่งกับโคลอมเบีย ที่เขาได้รับจุดโทษ ทำให้เกรสโปยิงตีเสมอ 1–1 เขายังเป็นส่วนหนึ่งของประตูที่ 2 ของอาร์เจนตินา โดยเขาได้ถูกทำฟาวล์นอกเขตโทษ ทำให้ควน โรมัน รีเกลเม ทำประตูได้จากลูกฟรีคิก และทำให้อาร์เจนตินานำเป็น 3–1 และจบประตูสุดท้ายของเกมที่ 4–2 ทำให้มั่นใจได้ว่าอาร์เจนตินาเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศแน่นอน[242]

ในนัดที่ 3 แข่งกับปารากวัย ผู้ฝึกให้เมสซิพักเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรอบก่อนรองชนะเลิศ โดยเขาได้ออกจากม้านั่งสำรองแทนเอสเตบัน กัมเบียสโซ ในนาทีที่ 64 กับประตูในขณะนั้นที่ 0–0 ต่อมาในนาทีที่ 79 เขาช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับคาเบียร์ มาเชราโน[243] ในรอบรองชนะเลิศ แข่งกับเปรู เมสซิยิงประตูที่ 2 ของเกมจากการส่งของรีเกลเม โดยจบที่ชัยชนะ 4–0[244] ในรอบรองชนะเลิศที่แข่งกับเม็กซิโก เมสซิยิงลูกโด่งข้ามโอสวัลโด ซานเชซ ทำให้อาร์เจนตินาชนะ 3–0 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ[245] แต่อาร์เจนตินาก็แพ้ 3–0 ในนัดชิงชนะเลิศกับบราซิล[246]

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

เมสซิในรอบก่อนชิงชนะเลิศ แข่งกับบราซิลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

เมสซิถูกห้ามเล่นให้กับทีมชาติอาร์เจนตินาระหว่างเกมในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[247] แต่ท้ายสุดบาร์เซโลนาตกลงว่าปล่อยเขาให้เล่นหลังจากได้จัดการพูดคุยกับ ผู้ฝึกคนใหม่ ชูเซบ กวาร์ดีโอลา[248] เขาลงเล่นกับทีมชาติอาร์เจนตินาและทำประตูแรกในประตู 2–1 ที่ชนะโกตดิวัวร์[248] จากนั้นยิงประตูเปิดเกมและช่วยส่งลูกยิงให้กับอังเคล ดิ มาริอาในประตูที่ 2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ทำให้ทีมชนะเนเธอร์แลนด์ 2–1[249] เขายิงลงแข่งในนัดพบกับคู่ปรับ บราซิล ที่อาร์เจนตินาชนะ 3–0 เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในนัดชิงเหรียญทอง เมสซิช่วยส่งลูกอีกครั้งให้กับดิ มาริอา ในประตูเดียวของเกม 1–0 ทำให้ทีมชนะไนจีเรีย[250]

ฟุตบอลโลก 2010

เมสซิในชุดทีมชาติอาร์เจนตินา ลงเล่นพบกับ ทีมชาติเยอรมนี

เมสซิลงแข่งตลอดเกมในนัดแรกที่อาร์เจนตินาพบกับไนจีเรีย ชนะไป 1–0 เขามีโอกาสในการทำประตูหลายครั้ง แต่วินเซนต์ เอนเยมา ก็รักษาประตูไว้ได้[251] เมสซิลงแข่งในนัดเจอกับเกาหลีใต้ ชนะด้วยประตู 4–1 โดยเขามีส่วนร่วมในการทำประตูทุกประตูของทีม และช่วยกอนซาโล อีกวาอินยิงแฮตทริก[252] ในนัดที่ 3 และนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม เมสซินำทีมอาร์เจนตินาชนะกรีซ และเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นแห่งนัด[253]

ในรอบ 16 ทีม เขาช่วยส่งลูกยิงประตูให้กับการ์โลส เตเบซ ในประตูแรกที่อาร์เจนตินาชนะเม็กซิโก 3–1 ผู้ตัดสินให้ประตูถึงแม้ว่าจะไม่กระจ่างว่าล้ำหน้าหรือไม่[254] อาร์เจนตินาจบการแข่งขันในฟุตบอลครั้งนี้ด้วยการแพ้ให้กับเยอรมนี 4–0[255]

โกปาอาเมริกา 2011

เขาเป็นส่วนหนึ่งในทีมชาติอาร์เจนตินาในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2011 เขาไม่สามารถยิงประตูได้แต่ช่วยส่งยิงประตู 3 ประตู เขาได้รับเลือกเป็นผู้เล่นแห่งนัดในนัดแข่งกันโบลิเวีย (1–1) และคอสตาริกา (3–0) อาร์เจนตินาเสมอกับโคลอมเบียและตกรอบเมื่อเจอกับอุรุกวัยจากการดวลลูกโทษ โดยเมสซิดวลจุดโทษเป็นคนแรก

โกปาอาเมริกา 2021

เขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ที่ทำให้ทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศในการแข่งขันโกปาอาเมริกา 2021 ที่ประเทศบราซิล โดยผลงานของเขาถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ โดยเขาสามารถทำประตูได้ 4 ประตูแอสซิสต์ได้ 5 ลูก ได้รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน และเป็นดาวซัลโวในรายการแข่งขันนี้

ด้านอื่น

ชีวิตส่วนตัว

เมสซิเคยมีข่าวคบหากับมาซาเรนา เลโมส ที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันที่โรซาริโอ กล่าวกันว่าทั้งคู่รู้จักกันจากการแนะนำของพ่อของฝ่ายหญิง เมื่อครั้งที่เขากลับมารักษาตัวจากการบาดเจ็บในโรซาริโอ ไม่กี่วันก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006[256][257] เขาเคยมีข่าวความสัมพันธ์กับนางแบบชาวอาร์เจนตินา ลูเซียนา ซาลาซาร์[258][259]

แต่เมสซิยืนยันเรื่องความรักครั้งแรกและครั้งเดียวต่อสาธารณะ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เขาบอกทางรายการ "แฮตทริกบาร์ซา" ช่องกานัล 33 ว่า "ผมมีแฟนสาวและเธออยู่ที่อาร์เจนตินา ผมรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข"[259] โดยหญิงสาวคนนั้นคือ อันโตเนลา โรกูโซ[260] โดยโรกูโซเป็นชาวโรซาริโอเช่นเดียวกันกับเมสซิ โดยทั้งคู่รู้จักกันตั้งแต่ยังเด็ก โรกูโซเป็นญาติของเพื่อนสนิทวัยเด็กของเขา แต่เริ่มคบหากันฉันคนรักในปี ค.ศ. 2008[261]

ในปี ค.ศ. 2010 ทั้งคู่เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์เริ่มต้นชีวิตคู่ โรกูโซ ย้ายจากโรซาริโอมาอยู่กับเมสซิที่บาร์เซโลนา

ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ปี 2012 แมตช์ที่อาร์เจนตินาคว้าชัยเหนือเอกวาดอร์ 4 ประตูต่อ 0 เมสซิได้ยืนยันข่าวลือการตั้งท้องของแฟนสาว โดยการฉลองประตูของเขาด้วยการยัดลูกบอลใส่เสื้อบริเวณหน้าท้อง และในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 โรกูโซได้ให้กำเนิดบุตรชายคนแรกของพวกเขา คือ เตียโก เมสซิ โดยในวันนั้นเมสซิได้รับอนญาตให้งดซ้อม และอยู่เฝ้าแฟนสาวจนกระทั่งคลอดลูกชาย โดยเมสซิได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า วันนั้นเขาร้องไห้เพราะ เตียโกเป็นเด็กคลอดยาก เขารู้สึกว่ามันใช้เวลานานมาก กลัวและกังวลไปหมดจนกระทั่งลูกคลอดออกมาอย่างปลอดภัย เขาได้ให้สัมภาษณ์อีกว่า "วันนี้ฉันเป็นผู้ชายที่มีความสุขที่สุดในโลก ลูกชายของฉันถือกำเนิดแล้ว ขอบคุณพระเจ้าสำหรับของขวัญชิ้นนี้ ขอบคุณครอบครัวของฉันสำหรับกำลังใจและการสนับสนุนของพวกเขา รักพวกคุณทุกคน"[262]

ในเดือน เมษายน ค.ศ. 2015 เมสซิได้ยืนยันข่าวการตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 ของแฟนสาวอีกครั้ง โดยการลงรูปลูกชายคนโตเตียโก กำลังจุมพิตหน้าท้องมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ผ่านทางอินสตาแกรมของเขาโดยเขียนข้อความว่า "กำลังรอลูกอยู่อย่างใจจดใจจ่อ ติอากี้ แม่ และพ่อ พวกเรารักลูกนะ" [263] และลูกชายอีกคนของพวกเขา มาเตโอ เมสซิ ก็ได้ลืมตาดูโลกในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2015 เช่นเดียวกับคราวลูกชายคนโต เมสซิได้รับอนญาตให้งดซ้อมเพื่ออยู่เป็นเพื่อแฟนสาว และในวันรุ่งขึ้นแม้ไม่ได้ซ้อม เขาสามารถลงสนามเป็นตัวสำรอง ซุปเปอร์ซับ ในการแข่งขันนัดสำคัญ และยิงประตูชัยให้บาร์เซโลนาบุกไปเยือนเอาชนะอัตเลติโกเดมาดริดไปได้ 1-2 โดยเมสซิได้ทำท่าดูดนิ้วแทนความหมายการดูดนมของเด็กทารก เสมือนการยกประตูชัยนี้เพื่อฉลองการเกิดของลูกชาย[264]

และในวันที่ 15 ตุลาคม 2017 โรกูโซ ได้แจ้งข่าวผ่านทางอินสตาแกรมว่าพวกเขากำลังมีลูกคนที่ 3 โดยโรกูโซได้ลงภาพครอบครัวซึ่ง ติอาโก ลูกชายคนโต และเมสซีซึ่งกำลังอุ้มมาเตโอลูกชายคนรองอยู่ ต่างสัมผัสหน้าท้องของเธอ พร้อมลงข้อความว่า "ครอบครัว 5 คน" กำหนดคลอดคือ ช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ในเดือนมีนาคม 2018 แต่โรกูโซมีอาการน้ำคร่ำแตก จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนดเล็กน้อย ซีโร เมสซี่ ลูกชายคนที่ 3 ของพวกเขาจึงถือกำเนิดในวันที่ 10 มีนาคม 2018 เดิมเมสซี่ต้องร่วมเดินทางไปกับทีมเพื่อแข่งขันเกมลีก นัดเยือนกับมาลากาในวันนั้น แต่เมื่อภรรยาต้องคลอดก่อนกำหนดอย่างกะทันหัน เขาจึงขอถอนตัว ไม่ร่วมเดินทางไปแข่งขัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากเอร์เนสโต บัลเบร์เดเรียบร้อยแล้ว[265] เมสซีได้ลงรูปผ่านทางเฟซบุ๊คและอินสตาแกรมต้อนรับซีโรในวันนั้นด้วยข้อความว่า "ยินดีต้อนรับ "ซีโร" ขอบคุณพระเจ้าที่ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ทั้งแม่และลูกปลอดภัยดี พวกเรากำลังมีความสุขมาก"[266]

เมสซิมีลูกพี่ลูกน้อง 2 คนในวงการฟุตบอล คนหนึ่งคือ มักซี ปีกของสโมสรกลุบโอลิมเปียในปารากวัย และเอมานวยล์ เบียนกุชชี เล่นเป็นกองกลางให้กับสโมสรฟุตบอลคีโรนาของสเปน[267][268]


งานแต่งงานแห่งปี

ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 เมสซิได้ฤกษ์จูงแฟนสาว อันโตเนลา โรกูโซ เข้าพิธีแต่งงาน ณ เมืองโรซาริโอ บ้านเกิดของทั้งคู่ หลังคบกันฉันคนรักมาได้เกือบ 10 ปี โดยงานแต่งงานจัดขึ้นอย่างสุดหรูที่ โรงแรมพูลแมนซิตี้เซ็นเตอร์ โรซาริโอ มีแขกได้รับเชิญเพียง 260 คน แต่แขกจำนวนมากล้วนเป็นบุคคลมีชื่อเสียงทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ การรักษาความปลอดภัยจึงเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยใช้เจ้าหน้าที่กว่า 300 นาย ทั้งตำรวจพื้นที่และเจ้าหน้าที่บริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน 2 บริษัท เมสซิจองห้องพักทั้งหมด รวมถึงบริการต่าง ๆ ทั้งหมดของโรงแรมให้แก่แขกผู้มางาน จึงสามารถปิดพื้นที่บริเวณโรงแรมทั้งหมด ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงแรมได้ ในส่วนของสื่อมวลชนจำนวนกว่า 150 คนนั้น มีพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อที่ไปทำข่าวต้องลงทะเบียนสังกัดและได้รับอนุญาตให้ทำข่าวบริเวณพรมแดงหน้าประตูโรงแรมเท่านั้น

งานแต่งงานได้รับการจัดการดูแลโดยเวดดิ้งแพลนเนอร์จากโรซาริโอ 2 บริษัทประสานงานกัน โดยในงานจะเสิร์ฟอาหารพื้นเมืองของอาร์เจนตินา แขกทุกคนจะได้รับของชำร่วยสุดหรูเป็น ชุด ไวน์ ที่เปิดขวด จุกก๊อก และดุลเซเดเลเช ของหวานของโปรดของเมสซิ ในส่วนของความสนุกสนานในงานนั้น วงดนตรีชื่อดังของอุรุกวัย มารามา (Márama) ซึ่งเป็นของขวัญแต่งงานจากลุยส์ ซัวเรซ และการินา เตเฆดา (Karina) นักร้องสาวชื่อดังชาวอาร์เจนตินา แฟนสาวของกุน เซร์ฆิโอ อาเกวโร ขึ้นแสดงในงานนี้ [269] และดานิโล มิเชาต์ (Danilo Michaut) ดีเจชาวโรซาริโอ รับหน้าที่คอยเปิดเพลงซึ่งส่วนมากเป็นจังหวะคุมเบียและเรกเกตอนตามสไตล์ละตินให้ความสนุกสนานตลอดคืน[270]

ของขวัญที่เจ้าบ่าวเตรียมให้เจ้าสาว คือ การเชิญนักร้องคนโปรดของอันโตเนลา อาเบล ปินโตส (Abel Pintos) นักร้องชื่อดังชาวอาร์เจนตินา มาร้องเพลงหวานซึ้ง "ไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุด" (Sin Principio Ni Final) เซอร์ไพรส์เจ้าสาวหลังเสร็จพิธีการจดทะเบียนสมรส ทำให้อันโตเนลาถึงกับร้องไห้ด้วยความตื้นตันใจ [271]

ในส่วนของพิธีการ เริ่มต้นเวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น เมสซิเดินเข้าพิธีแต่งงานพร้อมบิดาและมารดา ตามด้วยลูกชายคนโตของพวกเขาเตียโก เมสซิ ซึ่งรับหน้าที่ถือแหวนแต่งงาน และบิดาของเจ้าสาวเป็นผู้นำเจ้าสาวเข้าสู่พิธี ทะเบียนสมรสได้รับการประกาศรับรองโดย กอนซาโล การิโย (Gonzalo Carrillo) ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนราษฎร ซึ่งเดินทางมาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐในพิธีการจดทะเบียนสมรสระหว่าง เมสซิและโรกูโซ ด้วยตนเอง[272]

หลังจบพิธีการ เมสซิและโรกูโซได้ออกมาทักทายสื่อบริเวณพรมแดงด้วยสีหน้ามีความสุข แสดงทะเบียนสมรส และได้ตอบคำถามสื่อสั้น ๆ ว่าทุกอย่างผ่านไปด้วยดี แต่ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ใด ๆ เพิ่มเติม

คู่บ่าวสาวแจ้งแก่แขกทุกคนว่าขอไม่รับของขวัญแต่งงาน แต่ได้ขอให้แขกผู้มาร่วมงานทำบุญโดยบริจาคเงินเข้าองค์กรการกุศล 4 องค์กรคือ 1. องค์กร TECHO เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ 2. มูลนิธิ Flexer (Fundación Natalí Dafne Flexer) เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง 3. มูลนิธิ Garrahan ในเครือโรงพยาบาลเด็ก Garrahan (Hospital Garrahan) ในกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา และ 4. โรงพยาบาล Sant Joan de Déu ในเมืองบาร์เซโลนา[273] เป็นของขวัญแต่งงานแทน[274]

ในจำนวนแขก 260 คนนั้น นอกจากเครือญาติ เพื่อนบ้าน และเพื่อนสมัยเด็กแล้ว ยังประกอบไปด้วยเหล่าเพื่อนร่วมทีมทั้งอดีตและปัจจุบันของเมสซิ ทีมงาน ทีมแพทย์ ฯลฯ ทั้งจากสโมสรบาร์เซโลนา และทีมชาติอาร์เจนตินา แต่ผู้จัดการทีมและบอร์ดบริหารทั้งชุดเก่าชุดใหม่ จากทั้ง 2 ทีมต่างไม่ได้รับเชิญเพื่อเป็นการตัดปัญหาความเชื่อมโยงกับการเมืองในสโมสรและควบคุมขนาดของงานแต่งงาน โดยผู้มาร่วมงานที่ได้รับความสนใจจากสื่อ อาทิ เนย์มาร์, ลุยส์ ซัวเรซ, กุน เซร์ฆิโอ อาเกวโร, ชาบี, การ์เลส ปูยอล, เซสก์ ฟาเบรกัส และฌาราร์ต ปิเก ซึ่งควงแฟนสาวนักร้องชื่อดังอย่างชากีรา มาร่วมงานด้วย ฯลฯ โดยแขกต่างชาติที่ได้รับเชิญ ต่างทยอยเดินทางมางานแต่งงานโดยเครื่องบินส่วนตัวกว่า 12 ลำ เนื่องจากโรซาริโอเป็นเมืองเล็ก เที่ยวบินตรงจากสายการบินพาณิชย์มีน้อย[275] ผู้ที่ได้รับเชิญแต่ไม่สามารถมาร่วมงานได้มีเพียงรอนัลดีนโย ซึ่งติดภารกิจต้องเข้าร่วมการแข่งขันกระชับมิตรการกุศลตำนานบาร์ซ่า-ตำนานแมนฯยูไนเต็ดในวันนั้น, อันเดรส อินิเอสตา ซึ่งภรรยาเพิ่งคลอดลูกคนเล็กได้ไม่นาน ไม่สามารถเดินทางไกลได้ และนักเตะบาร์เซโลนาบางรายซึ่งติดภารกิจกับทีมชาติ

โดยงานแต่งงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลก คนสนใจเข้าชมถ่ายทอดสดงานแต่งงานทางยูทูปหลายแสนคน ชื่อของเมสซิได้รับการกล่าวถึงทางทวิตเตอร์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ทั่วโลกในช่วงเวลานั้น [276] สื่อต่างประเทศต่างยกให้เป็นงานแต่งงานแห่งปีเลยทีเดียว

ความสนุกสนานมีขึ้นตลอดคืน งานเลี้ยงเสร็จสิ้นลงในเวลา 7.30 ของวันถัดมา โดยเมสซิได้จัดอาหารเช้าให้แขกก่อนเดินทางกลับด้วย[277]

เครื่องดื่มและขนมที่เหลือจากงานแต่งงานนี้ เมสซิและโรกูโซ ได้นำไปบริจาคให้แก่องค์กรการกุศล ธนาคารอาหารโรซาริโอ (Rosario Food Bank) ในส่วนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ทั้งคู่ได้เปลี่ยนเป็นเงินเพื่อบริจาคเช่นเดียวกัน [278]

หลังจากแต่งงาน 2 วัน เมสซิและโรกูโซก็ได้เดินทางไปฮันนีมูนที่ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา ประเทศหมู่เกาะในแถบทะเลแคริบเบียนตะวันออก พร้อมกับลูกชายทั้ง 2 คน เตียโกและมาเตโอ[279]

งานการกุศล

ตลอดอาชีพของเมสซิ เขาได้เข้าร่วมในกิจกรรมการกุศลหลายอย่าง ซึ่งโดยมากจะมุ่งไปที่การช่วยเหลือเด็ก เนื่องมาจากอาการป่วยที่เขาได้เผชิญในวัยเด็กของเขาเป็นสำคัญ

ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา เมสซิได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่างและบริจาคเงินให้กับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ซึ่งมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับสโมสรบาร์เซโลนา

ในปี ค.ศ. 2007 เมสซิตัดสินใจก่อตั้งมูลนิธิเลโอ เมสซิ ที่ช่วยเหลือการกุศลในด้านการศึกษา สุขภาพ และกีฬา ให้กับเด็กขึ้น [280][281] หลังจากการเยี่ยมชมโรงพยาบาลสำหรับเด็กป่วยหนักในบอสตัน ทำให้เขาระลึกถึงโอกาสที่ตนเคยได้รับเมื่อครั้งป่วยเป็นโรคขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตในวัยเด็ก เขาเข้าใจดีถึงความสำคัญในโอกาสทางการแพทย์ของเด็ก ๆ เหล่านั้น จึงตัดสินใจบริจาคส่วนหนึ่งของรายได้ประจำของเขาเข้าสู่สังคม

มูลนิธิเลโอ เมสซิ ได้บริจาค ทุนวิจัยสำหรับการฝึกอบรมทางการแพทย์ และลงทุนในโครงการพัฒนาศูนย์การแพทย์ในอาร์เจนตินา, สเปน และประเทศอื่น ๆ [282] นอกจากนี้เขายังทำกิจกรรมระดมทุนบริจาคด้วยตนเอง โดยจัดการแข่งขันรายการแข่งขันฟุตบอลการกุศลขึ้น ระหว่างทีม "เมสซิและเพื่อน" และ the Rest of The world ในหลายประเทศ [283] ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทางการเงินจากสปอนเซอร์ต่าง ๆ ของเขาเป็นอย่างดี โดยมีอาดิดาสเป็นสปอนเซอร์หลัก ในบทสัมภาษณ์เว็บแฟนไซต์ เมสซิกล่าวว่า "การมีชื่อเสียงเล็กน้อย ทำให้ผมได้มีโอกาสที่จะช่วยเหลือคนที่ต้องการจริง ๆ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ"[284]

และเพื่อตอบสนองต่ออุปสรรคด้านการแพทย์ในวัยเด็กของเขา มูลนิธิเลโอ เมสซิ ได้สนับสนุนการช่วยเหลือกับเด็กอาร์เจนตินาที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่มีความยุ่งยากด้านการรักษา โดยเสนอการรักษาในสเปนและออกค่าใช้จ่ายการเดินทาง การพยาบาล และการฟื้นฟูทั้งหมด[285]

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2010 เมสซิได้รับเป็นทูตสันถวไมตรีจากยูนิเซฟ[286] โดยจุดประสงค์การทำงานของเขาเพื่อสนับสนุนสิทธิของเด็ก [287] เมสซิทำภารกิจแรกในฐานะทูตยูนิเซฟใน 4 เดือนถัดมา เขาเดินทางไปยังเฮติ เพื่อสร้างความตระหนักในชะตากรรมของเด็กในประเทศที่เพิ่งเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เมสซิยังมีส่วนร่วมในแคมเปญที่ยูนิเซฟจัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อการป้องกันการเกิดเอชไอวี, เพื่อการศึกษา และเพื่อโอกาสทางสังคมของเด็กพิการ[288]

และในโอกาสการเฉลิมฉลองวันเกิดปีแรกของลูกชายคนโตของเขา ในเดือนพฤศจิกายนปี 2013 เมสซิและเตียโก เป็นส่วนหนึ่งของยูนิเซฟในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อโอกาสที่เท่าเทียมในคุณภาพการดำรงชีวิตของเด็กด้อยโอกาส และสร้างความตระหนักถึงอัตราการตายในหมู่เด็ก ๆ เหล่านั้น[289]

เมสซิยังบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนฟุตบอลเยาวชนในอาร์เจนตินา ในปี ค.ศ. 2012 เขาสร้างยิมเนเซียมใหม่ และสร้างหอพักนักเตะเยาวชนภายในสโมสร ให้ทีมสมัยเด็กของเขา นิวเวลส์โอลด์บอยส์ โดยผู้ฝึกสมัยเด็กของเขา เอร์เนสโต เวกิโอ (Ernesto Vecchio) ได้รับการสนันบสนุนทางการเงินจากมูลนิธิเลโอ เมสซิ เพื่อเป็นแมวมองหาเด็กที่มีพรสวรรค์มาพัฒนาด้านฟุตบอล

ในปี ค.ศ. 2013 เขายังสนับสนุนด้านการเงินให้แก่สโมสรซาร์มิเอนโต (Sarmiento) ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลใกล้กับโรซาริโอบ้านเกิดของเขา ในการซ่อมแซมตกแต่งสโมสร และสนามแข่งใหม่ ติดตั้งสนามซึ่งสามารถใช้แข่งได้ทุกสภาพอากาศ และให้ทุนแก่นักเตะเยาวชนหลายคนทั้งจากทีมนิวเวลส์โอลด์บอยส์ ทีมที่เขาเคยสังกัดสมัยเด็ก และทีมคู่แข่ง โรซาริโอเซนตรัล รวมถึงทีมจากบัวโนส ไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา เช่น โบกายูนิออร์ส, กลุบอัตเลติโกริเบร์เปลต ด้วย

วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2016 หลังจากเมสซิชนะคดีหมิ่นประมาทหนังสือพิมพ์ลาราซอน (La Razón) ของสเปน เขาได้รับเงินค่าชดเชยจำนวน 65,000 ยูโรจากหนังสือพิมพ์นั้น ซึ่งเขานำเงินที่ได้ทั้งหมด ไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ แม้แต่ค่าทนายความ บริจาคให้องค์กรการกุศลแพทย์ไร้พรมแดน [290]

วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2017 เมสซิร่วมกิจกรรมการกุศล สำหรับผู้กล้า (ParaLosValientes) ซึ่งเป็นแคมเปญช่วยเหลือเด็กที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และเพื่อหาเงินสร้างศูนย์รักษาและวิจัยโรคมะเร็งในเด็กในเมืองบาร์เซโลนา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล Sant Joan de Déu ในบาร์เซโลนา, มูลนิธิสโมสรบาร์เซโลนา และมูลนิธิเลโอ เมสซิ [291] และในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ค.ศ.2017 เมสซี่ได้ช่วยสนับสนุนโครงการขายเสื้อยืด #ToTheBrave เพื่อการกุศลจากแคมเปญนี้อีกด้วย[292]

วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2017 มูลนิธิเลโอ เมสซิ ได้บริจาคเงินจำนวน 6,276,000 เปโซอาร์เจนตินา ในโครงการแสงสว่างสำหรับเด็ก ๆ (Un Sol Para Los Chicos 2017) ซึ่งสนับสนุนโดยองค์กรยูนิเซฟ และองค์กรอื่น ๆ ของอาร์เจนตินา ในการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินจากอาการขาดน้ำและอาการบาดเจ็บจากการคลอดธรรมชาติ จำนวน 300 ชุด [293]

สื่อ

เขาปรากฏบนปกของวิดีโอเกมอย่าง โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2009 และ โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2011 และยังเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์เกมนี้ด้วย[294] เมสซิและเฟร์นันโด ตอร์เรส[295] อยู่บนปกของ โปรเอโวลูชันซอกเกอร์ 2010 และยังปรากฏในเทรลเลอร์ภาพเคลื่อนไหวของเกม[296][297][298] เมสซิได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชุดกีฬาเยอรมัน อาดิดาส ซึ่งเขาก็ปรากฏอยู่บนภาพยนตร์โฆษณา[299] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 เมสซิเซ็นสัญญา 3 ปีกับเฮอร์บาไลฟ์[300] ซึ่งสนับสนุนการช่วยเหลือมูลนิธิเลโอเมสซิ

สถิติ

สโมสร

ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2021
สโมสร ฤดูกาล ลีก โกปาเดลเรย์ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
บาร์เซโลนา เซ 2003–04[301] Tercera División 10 5 10 5
บาร์เซโลนา เบ 2003–04[45] เซกุนดาดิบิซิออน เบ 5 0 5 0
2004–05[46] 17 6 17 6
รวม 32 11 32 11
บาร์เซโลนา 2004–05[46] ลาลิกา 7 1 1 0 1 0 9 1
2005–06[302] 17 6 2 1 6 1 0 0 25 8
2006–07[303] 26 14 2 2 5 1 3[a] 0 36 17
2007–08[304] 28 10 3 0 9 6 40 16
2008–09[305] 31 23 8 6 12 9 51 38
2009–10[306] 35 34 3 1 11 8 4[b] 4 53 47
2010–11[307] 33 31 7 7 13 12 2[c] 3 55 53
2011–12[308] 37 50 7 3 11 14 5[d] 6 60 73
2012–13[309] 32 46 5 4 11 8 2[c] 2 50 60
2013–14[310] 31 28 6 5 7 8 2[c] 0 46 41
2014–15[311] 38 43 6 5 13 10 57 58
2015–16[312] 33 26 5 5 7 6 4[e] 4 49 41
2016–17[313] 34 37 7 5 9 11 2[c] 1 52 54
2017–18[314] 36 34 6 4 10 6 2[c] 1 54 45
2018–19[315] 34 36 5 3 10 12 1[c] 0 50 51
2019–20[316] 33 25 2 2 8 3 1[c] 1 44 31
2020–21[317] 35 30 5 3 6 5 1[c] 0 47 38
รวม 520 474 80 56 149 120 29 22 778 672
รวมทั้งหมด 552 485 80 56 149 120 29 22 810 683
  1. ลงเล่นหนึ่งนัดในยูฟ่าซูเปอร์คัพ และสองนัดในซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา
  2. ลงเล่นหนึ่งนัดในยูฟ่าซูเปอร์คัพ ลงเล่นหนึ่งนัดและทำสองประตูในซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา และลงเล่นสองนัดและทำสองประตูในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 ลงเล่นในซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา
  4. ลงเล่นหนึ่งนัดและทำหนึ่งประตูในยูฟ่าซูเปอร์คัพ ลงเล่นสองนัดและทำสามประตูในซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา และลงเล่นสองนัดและทำสองประตูในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
  5. ลงเล่นหนึ่งนัดและทำสองประตูในยูฟ่าซูเปอร์คัพ ลงเล่นสองนัดและทำหนึ่งประตูในซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา และลงเล่นหนึ่งนัดและทำหนึ่งประตูในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก

ทีมชาติ

ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2021
ทีมชาติ ปี การแข่งขัน กระชับมิตร รวม
ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 20 ปี[318][319] 2004 2 3 2 3
2005 16[a] 11 16 11
รวม 16 11 2 3 18 14
อาร์เจนตินา อายุไม่เกิน 23 ปี[320] 2008 5[b] 2 5[α] 2
อาร์เจนตินา[321][322] 2005 3[c] 0 2 0 5 0
2006 3[d] 1 4 1 7 2
2007 10[e] 4 4 2 14 6
2008 6[c] 1 2 1 8 2
2009 8[c] 1 2 2 10 3
2010 5[d] 0 5 2 10 2
2011 8[f] 2 5 2 13 4
2012 5[c] 5 4 7 9 12
2013 5[c] 3 2 3 7 6
2014 7[d] 4 7 4 14 8
2015 6[g] 1 2 3 8 4
2016 10[h] 8 1 0 11 8
2017 5[c] 4 2 0 7 4
2018 4[d] 1 1 3 5 4
2019 6[g] 1 4 4 10 5
2020 4[c] 1 0 0 4 1
2021 9[i] 5 0 0 9 5
รวม 104 42 47 34 151 76
รวมทั้งหมด 125 55 49 37 174 92
  1. 1.0 1.1 ไม่รวมนัดที่พบกับกาลาตันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008[4]
  1. ลงเล่นเก้านัดและทำห้าประตูในฟุตบอลอเมริกาใต้เยาวชน 2005 และลงเล่นเจ็ดนัดและทำหกประตูในฟุตบอลโลกเยาวชน 2005
  2. ลงเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 ลงเล่นในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ลงเล่นในฟุตบอลโลก
  5. ลงเล่นหกนัดและทำสองประตูในโกปาอาเมริกา และลงเล่นสี่นัดและทำสองประตูในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
  6. ลงเล่นสี่นัดในโกปาอาเมริกา และลงเล่นสี่นัดและทำสองประตูในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
  7. 7.0 7.1 ลงเล่นในโกปาอาเมริกา
  8. ลงเล่นห้านัดและทำสามประตูในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก และลงเล่นห้านัดและทำห้าประตูในโกปาอาเมริกาเซนเตนาริโอ
  9. ลงเล่น 2 นัดและทำหนึ่งประตูในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก, ลงเล่น 7 นัดและทำ 4 ประตูในโกปาอาเมริกา

เกียรติประวัติ

สโมสร

บาร์เซโลนา

ทีมชาติ

อาร์เจนตินา

อาร์เจนตินารุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี

อาร์เจนตินา โอลิมปิก

รางวัลส่วนตัว

เมสซิ (ซ้าย) กับเนย์มาร์ในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2011

หมายเหตุ

  1. อ้างอิงจากเว็บไซต์ FCBarcelona.com และหนังสืออัตชีวประวัติ เมสซิ โดยกิลเลม บาลากูเอ สกุลของเขาคือ "เมสซิ" เท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมอาร์เจนตินา[3][5] แหล่งข้อมูลอื่น อย่างเอกสารของฟีฟ่าใน ค.ศ. 2014 กำหนดสกุลของเขาเป็น "เมสซิ กูซิตินิ"[6] หลังจากที่ชนะคดีหมิ่นประมาทในปี 2017 บริษัทส่วนตัวของเมสซิกล่าวว่า "นักฟุตบอล ลิโอเนล อันเดรส เมสซิ กูซิตินิ บริจาคเงิน 72,783.20 ยูโรให้กับองค์การแพทย์ไร้พรมแดน"[7]
  2. นอกจากฟีฟ่าบาลงดอร์สี่สมัยแล้ว เมสซิยังได้รับรางวัลบาลงดอร์ของฟรองซ์ฟุตบอล และรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2009 จากฟีฟ่า ก่อนที่จะมีการควบรวมรางวัล ทั้งสององค์กรได้ให้เครดิตว่าเขาได้รับบาลงดอร์ห้าสมัย[11][12] ในปี 2019 เขาได้รับบาลงดอร์สมัยที่ 6 เช่นเดียวกันกับรางวัลผู้เล่นชายยอดเยี่ยมของฟีฟ่า

อ้างอิง

  1. Marsden, Sam (2 November 2017). "Messi donates to charity after libel case win". ESPN. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  2. "2018 FIFA World Cup Russia: List of players: Argentina" (PDF). FIFA. 10 June 2018. p. 1. สืบค้นเมื่อ 10 June 2018.
  3. 3.0 3.1 "Profile: Lionel Andrés Messi". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  4. "La selección catalana pierde ante Argentina (0-1) en un partido marcado por la política". El Mundo (ภาษาSpanish). 24 May 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2008.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  5. Balagué 2013, pp. 32–37.
  6. "2014 FIFA World Cup Brazil: List of Players" (PDF). FIFA. 10 June 2014. p. 2. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  7. Marsden, Sam (2 November 2017). "Messi donates to charity after libel case win". ESPN. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  8. "Fundación Leo Messi".
  9. https://forzaitalianfootball.com/2021/01/is-lionel-messi-the-best-footballer-of-all-time/
  10. https://basselsouki11.medium.com/why-lionel-messi-is-the-greatest-football-player-of-all-time-75956fa39c3a
  11. Lacombe, Rémy (11 January 2016). "Messi, le Cinquième Élément". France Football. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
  12. "Messi, Lloyd, Luis Enrique and Ellis Triumph at FIFA Ballon d'Or 2015". FIFA. 11 January 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2016.
  13. UEFA.com. "Messi makes it four FIFA Ballon d'Or wins in a row | Inside UEFA". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  14. https://www.90min.com/in/posts/list-of-all-of-lionel-messi-s-world-records-till-date
  15. https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records
  16. https://www.fcbarcelona.com/en/news/1832225/messi-20-years-20-records
  17. "Leo Messi not staying at FC Barcelona". www.fcbarcelona.com (ภาษาอังกฤษ).
  18. "El crack que desea victorias de regalo" (ภาษาSpanish). Canchallena. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  19. Carlin, John (27 March 2010). "Lionel Messi: Magic in his feet". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 April 2010.
  20. Veiga, Gustavo. "Los intereses de Messi" (ภาษาSpanish). Página/12. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 Hawkey, Ian (20 April 2008). "Lionel Messi on a mission". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  22. Aguilar, Alexander (24 February 2006). "El origen de los Messi está en Italia" (ภาษาSpanish). Al Día. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  23. Cubero, Cristina (7 October 2005). "Las raíces italianas de Leo Messi" (ภาษาSpanish). El Mundo Deportivo. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  24. "Lionel Messi bio". NBC. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Williams, Richard (26 February 2006). "Messi has all the qualities to take world by storm". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 May 2008.
  26. http://www.espn.com/espn/eticket/story?page=lionel-messi
  27. White, Duncan (4 April 2009). "Franck Ribery the man to challenge Lionel Messi and Barcelona". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  28. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2541%E2%80%932545
  29. https://www.theguardian.com/football/blog/2014/oct/15/lionel-messi-barcelona-decade
  30. "The new messiah". FIFA. 5 March 2006. สืบค้นเมื่อ 25 July 2006.
  31. http://www.nytimes.com/2011/05/22/sports/soccer/lionel-messi-boy-genius.html
  32. https://www.theguardian.com/football/2014/nov/21/arsenal-arsene-wenger-lionel-messi-barcelona
  33. http://www.fifa.com/fifa-tournaments/archive/clubworldcup/index.html
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 Caioli 2012, pp. 68–71.
  35. Bird, Liviu (5 June 2015). "Ex-Teammate, La Masia Coach Recall Lionel Messi's Early Days, Persona". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  36. "Giuly remembers the first time he saw Messi 'kill' his team-mates". Sport. 14 September 2016.
  37. 37.0 37.1 Lowe, Sid (15 October 2014). "Lionel Messi: How Argentinian Teenager Signed for Barcelona on a Serviette". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  38. Corrigan, Dermot (15 November 2013). "Messi Reflects on Debut 10 Years On". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  39. Balagué 2013, pp. 191–193.
  40. 40.0 40.1 40.2 Balagué 2013, pp. 246–249.
  41. Hunter 2012, p. 53.
  42. 42.0 42.1 Carbonell, Rafael (26 October 2004). "El Último Salto de la 'Pulga'" [The Last Jump of the 'Flea']. El País (ภาษาSpanish). สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  43. 43.0 43.1 Balagué 2013, pp. 183–185.
  44. Balagué 2013, pp. 262–263.
  45. 45.0 45.1 "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2003–04". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2004–05". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  47. 47.0 47.1 Hunter 2012, pp. 35–36.
  48. Reng, Ronald (27 May 2011). "Lionel Messi". FT Magazine. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  49. Mitten, Andy (16 October 2014). "Who Knew on His 2004 Debut That Lionel Messi Would Go so Far at Barcelona". The National. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  50. Williams, Richard (24 February 2006). "Messi Has All the Qualities to Take World by Storm". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  51. Hunter, Graham (4 June 2015). "Messi, Iniesta and Xavi Driven to Join the Champions League Elite". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 19 July 2015.
  52. "Good news for Barcelona as Messi gets his Spanish passport". The Star Online. 28 May 2005. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  53. "Lionel Andres Messi — FCBarcelona and Argentina". Football Database. สืบค้นเมื่อ 23 August 2006.
  54. Reuters (28 September 2005). "Ronaldinho scores the goals, Messi takes the plaudits". Rediff. สืบค้นเมื่อ 23 August 2006.
  55. "Frustrated Messi suffers another injury setback". ESPN Soccernet. 26 April 2006. สืบค้นเมื่อ 22 July 2006.
  56. "Frustrated Messi suffers another injury setback". ESPN Soccernet. 26 April 2006. สืบค้นเมื่อ 22 July 2006.
  57. Wallace, Sam (18 May 2006). "Arsenal 1 Barcelona 2: Barcelona crush heroic Arsenal in space of four brutal minutes". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  58. "Barca retain Spanish league title". BBC Sport. 3 May 2006. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  59. "Lionel Messi at National Football Teams". National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 17 July 2009.
  60. "Doctors happy with Messi op" (Press release). FCBarcelona.com. 14 November 2006. สืบค้นเมื่อ 16 November 2006.
  61. "Messi to miss FIFA Club World Cup". FIFA.com/Reuters. 13 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2007. สืบค้นเมื่อ 18 January 2006.
  62. "Barcelona — Racing Santander". The Offside. 19 January 2008. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  63. https://www.theguardian.com/football/2007/mar/11/match.sport
  64. Hayward, Ben (11 March 2007). "Magical Messi is Barcelona's hero". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  65. "Inter beat AC, Messi headlines derby". FIFA. 11 March 2007. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  66. "Lionel Messi 2006/07 season statistics". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  67. 67.0 67.1 Lowe, Sid (20 April 2007). "The greatest goal ever?". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  68. "Messi dazzles as Barça reach Copa Final". ESPN Soccernet. 18 April 2007.
  69. "Can 'Messidona' beat Maradona?". The Hindu. 14 July 2007.
  70. Lowe, Sid (20 April 2007). "The greatest goal ever?". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 7 May 2007.
  71. 71.0 71.1 Mitten, Andy (10 June 2007). "Hand of Messi saves Barcelona". London: Times Online. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008.
  72. "Barcelona 3–0 Lyon: Messi orchestrates win". ESPN Soccernet. 19 September 2007. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  73. "Barcelona vs. Sevilla". Soccerway. 22 September 2007. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  74. Isaiah (26 September 2007). "Barcelona 4–1 Zaragoza". The Offside. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  75. FIFA (27 February 2008). "Xavi late show saves Barca". FIFA. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  76. "FIFPro World XI". FIFPro. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  77. Villalobos, Fran (10 April 2007). "El fútbol a sus pies" (ภาษาSpanish). MARCA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  78. Fest, Leandro. "Si Messi sigue trabajando así, será como Maradona y Pelé" (ภาษาSpanish). Sport.es. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  79. "Totti le daría el Balón de Oro a Messi antes que a Kaká" (ภาษาSpanish). MARCA. 29 November 2007. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  80. "Barcelona's Lionel Messi sidelined with thigh injury". CBC.ca. 5 March 2008. สืบค้นเมื่อ 14 June 2009.
  81. Sica, Gregory (4 August 2008). "Messi Inherits Ronaldinho's No. 10 Shirt". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  82. "Late Messi brace nicks it". ESPN Soccernet. 1 October 2008. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  83. Osaghae, Efosa (4 October 2008). "Barcelona 6–1 Atletico Madrid". Bleacher Report. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  84. "Goal rush for Barcelona". ESPN Soccernet. 4 October 2008. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  85. "Messi magical, Real miserable". FIFA. 29 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  86. "Barcelona 2–0 Real Madrid". BBC Sport. 13 December 2008. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  87. "FIFA World Player Gala 2008" (PDF). FIFA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  88. "Messi scores hat trick in Barca's 3–1 win over Atletico". Shanghai Daily. 7 January 2009. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
  89. "Supersub Messi fires 5,000-goal Barcelona to comeback victory". AFP. 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 1 February 2009.
  90. "Barcelona hit Malaga for six". Al Jazeera English. 23 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  91. Logothetis, Paul (9 April 2009). "Barcelona returns to earth with league match". USA Today. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  92. "Messi leads Barcelona to 1–0 win over Getafe". Shanghai Daily. 19 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  93. Lowe, Sid (2 May 2009). "Barcelona run riot at Real Madrid and put Chelsea on notice". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  94. Macdonald, Paul (3 May 2009). "Real Madrid Fan Poll Says Barcelona Loss Is Most Painful In Club History". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 31 May 2009.
  95. Macdonald, Ewan (2 May 2009). "What Lionel Messi's T-Shirt At The Bernabeu Meant". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
  96. "Barcelona defeat Athletic Bilbao to win Copa del Rey". London: Daily Telegraph. 14 May 2009. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  97. "Messi sweeps up goalscoring honours". uefa.com. 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 4 June 2009.
  98. "Messi recognised as Europe's finest". uefa.com. 27 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 August 2009.
  99. "Barcelona win treble in style". Gulf Daily News. 28 May 2009. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  100. "BBC Sport – Football – Arsene Wenger hails Lionel Messi as world's best player". BBC News. 7 April 2010. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010.
  101. John Cross (6 April 2010). "Unstoppable Lionel Messi is like a PlayStation, says Aresnal boss Arsene Wenger after Barcelona Champions League masterclass". Mirrorfootball.co.uk. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  102. "'Messi es el mejor jugador que veré jamás'" (ภาษาSpanish). El Mundo Deportivo. 29 August 2009. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  103. "Leo Messi extends his stay at Barça". fcbarcelona.com. 18 September 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2009.
  104. "Messi signs new deal at Barcelona". BBC Sport. 18 September 2009. สืบค้นเมื่อ 18 September 2009.
  105. "Messi and Ibrahimovic put Racing to the sword". ESPN Soccernet. 22 September 2009. สืบค้นเมื่อ 23 September 2009.
  106. Leong, KS (29 September 2009). "Barcelona 2–0 Dynamo Kiev: Messi & Pedro Unlock Stubborn Ukrainians". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009.
  107. "Xavi: All is well at Barca". ESPN Soccernet. 26 October 2009. สืบค้นเมื่อ 28 November 2009.
  108. "Barcelona forward Lionel Messi wins Ballon d'Or award". BBC Sport. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 1 December 2009.
  109. "Messi wins prestigious Ballon d'Or award". ABC Sport. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  110. Barnett, Phil (1 December 2009). "Lionel Messi: A rare talent". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  111. "Messi takes Ballon d'Or". ESPN Soccernet. 1 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 December 2009.
  112. "Messi seals number six". ESPN Soccernet. 19 December 2009. สืบค้นเมื่อ 21 December 2009.
  113. "FC Barcelona's Messi wins World Player of the Year". ESPN Soccernet. 21 December 2009. สืบค้นเมื่อ 22 December 2009.
  114. "Tenerife 0–5 Barcelona: Messi Masterclass Sees Barca Back On Top". Goal.com. 10 January 2010. สืบค้นเมื่อ 11 January 2010.
  115. Bogunyà, Roger (17 January 2010). "Messi 101: el golejador centenari més jove" (ภาษาCatalan). fcbarcelona.cat. สืบค้นเมื่อ 17 January 2010.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  116. "Barcelona back on top after 2–1 win over Malaga". DNA India. 28 February 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  117. "Almeria 2–2 Barcelona: Blaugrana Drop More Points At La Liga Summit". goal.com. 6 March 210. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  118. Hedgecoe, Guy (14 March 2010). "Messi hat-trick as Barcelona beats Valencia 3–0". si.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  119. "Messi inspires Barca". 18 March 2010. สืบค้นเมื่อ 18 March 2010.
  120. Steinberg, Jacob (21 March 2010). "Real Zaragoza 2 – 4 Barcelona". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  121. "Nadie marcó dos 'hat trick' seguidos" (ภาษาSpanish). 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 23 March 2010.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  122. "Match facts: Barcelona v Inter". UEFA.com. 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  123. Logothetis, Paul (6 April 2010). "Messi scores four as Barcelona beats Arsenal 4–1". USA Today. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  124. "Wenger salutes genius Messi after Barcelona down Arsenal 4–1]". India Times. 6 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  125. "Messi scores 4 goals to lead Barca over Arsenal". NDTV. 7 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  126. Roach, Stuart (6 April 2010). "Barcelona 4–1 Arsenal". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2010.
  127. Sinnott, John (10 April 2010). "BBC Sport – Football – Barcelona secure crucial win over rivals Real Madrid". BBC News. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010.
  128. "Messi double puts Barcelona back on track". London: Guardian. 21 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  129. Spain (4 May 2010). "Barcelona 4–1 Tenerife: Blaugrana Go Four Points Clear Of Real Madrid With Home Win". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  130. Reuters (9 May 2010). "Barcelona survive late Sevilla scare to edge closer to La Liga title". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  131. Spain (4 May 2010). "Barcelona Striker Lionel Messi Could Equal Ronaldo's 34 Goal Haul In Primera Liga". Goal.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  132. "Lionel Messi Chases Ronaldo's Goal Record". Bleacher Report. 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  133. "Messi Peroleh Gelar El Pichichi Dan Sepatu Emas". berita8.com. 17 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  134. "Messi se corona como el mejor jugador de la Liga". marca.com. 3 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  135. https://es.wikipedia.org/wiki/Bota_de_Oro_2009-10
  136. Barcelona 4–0 "Sevilla: Brilliant Blaugrana Outclass Rojiblancos To Lift Supercopa". Goal.com. 22 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  137. "Messi injured". FCBarcelona.cat. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  138. "Villa on Messi's injury". FCBarcelona.cat. 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 22 September 2010.
  139. Barcelona 2–0 "Champions: Messi pone al Barcelona como líder de su grupo (2–0)". Goal.com. 20 October 2010. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  140. "Liga BBVA: Un gol de Messi encarriló el camino a la victoria para los azulgrana en el Coliseo". Goal.com. 7 November 2010. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  141. "Jornada 12 – UD Almería 0-8 FC Barcelona". www.entradasfcbarcelona.com. 20 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 November 2010.
  142. "El Barça pasa a octavos... ¡y ahora, a por el Madrid!". www.sport.es. 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 24 November 2010.
  143. "El Barça humilla al Madrid con otra 'manita' histórica". www.sport.es. 29 November 2010. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
  144. "El Barça, sin bajar del autocar". www.sport.es. 4 December 2010. สืบค้นเมื่อ 4 December 2010.
  145. "De manita en manita se va a por la Liga". www.sport.es. 12 December 2010. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  146. "Messi, 17 goles y 9 asistencias". www.sport.es. 19 December 2010. สืบค้นเมื่อ 19 December 2010.
  147. "Otro recital de campeón". www.sport.es. 8 January 2011. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  148. "Lionel Messi wins the first FIFA Ballon d'Or". 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  149. "Argentina's Lionel Messi wins Fifa Ballon d'Or award". BBC News. 10 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
  150. "'Manita' de oro". 12 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  151. "El Barça golea al Racing y mete más presión al Madrid". 22 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  152. "Lionel Messi Fined For Wishing Mother Happy Birthday". 26 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  153. "'Manita' de goles y un pie en la final". 26 January 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2011.
  154. "Hércules sufrió la ira de los Dioses". 29 January 2011. สืบค้นเมื่อ 29 January 2011.
  155. "Barça set 16 wins consecutive league wins" (ภาษาSpanish). MARCA.com. 5 February 2011. สืบค้นเมื่อ 5 February 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  156. "Messi talks about the record" (ภาษาSpanish). MARCA.com. 5 February 2011. สืบค้นเมื่อ 5 February 2011.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  157. "Messi saca al Barça de la boca de los 'leones'". 20 February 2011. สืบค้นเมื่อ 21 February 2011.
  158. "El Barça desactiva el 'efecto Laudrup'". 27 February 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
  159. "El Barça prende la mecha de la Liga en Mestalla". 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  160. "FC Barcelona Vs. Arsenal 2011: Lionel Messi Penalty Puts Barca Ahead - SBNation.com". สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.
  161. "Messi desatascó al Barça antes del clásico". สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.
  162. "Trámite resuelto y ahora... ¡a por el Madrid!". สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  163. "Un punto que vale una Liga". สืบค้นเมื่อ 16 April 2011.
  164. "Messi es el "puto amo"". สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  165. Lowe, Sid (5 May 2011). "The Good, the Bad and the Ugly in the aftermath of the Clásico series". sportsillustrated.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 6 May 2011.
  166. "Barcelona 3 Manchester United 1". BBC Sport. 28 May 2011. สืบค้นเมื่อ 30 May 2011.
  167. "Messi salvó al fútbol". Sport.es. 17 August 2011. สืบค้นเมื่อ 17 August 2011.
  168. "Súper Messi da la Supercopa al Barça". Sport.es. 26 August 2011. สืบค้นเมื่อ 26 August 2011.
  169. "Liga Champions: new and improved version". fcbarcelona.cat. 29 August 2011. สืบค้นเมื่อ 29 August 2011.
  170. "Super 8 (8-0)". fcbarcelona.cat. 17 September 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  171. "Esta Liga no es de dos sino de Messi". Sport.es. 25 September 2011. สืบค้นเมื่อ 25 September 2011.
  172. "El Barça se aficiona a las 'manitas'". Sport.es. 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
  173. "Messi iguala a Kubala y afirma que sería "hermoso" superar a César". Sport.es. 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
  174. "El Barça consolida su liderato con otro recital de Messi". Sport.es. 16 October 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  175. "1, 2, 3... Messi responde otra vez". Sport.es. 29 October 2011. สืบค้นเมื่อ 29 October 2011.
  176. "Messi es infalible: hat trick... ¡y a octavos!". Sport.es. 1 November 2011. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  177. "El 'rey león' Messi salvó un punto". Sport.es. 6 November 2011. สืบค้นเมื่อ 6 November 2011.
  178. "El Barça se vacuna del virus FIFA con goleada". Sport.es. 20 November 2011. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
  179. "Victoria de campeón del Barça en San Siro". Sport.es. 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  180. "Alexis maravilla y el Barça golea". Sport.es. 29 November 2011. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011.
  181. "El huracán Barça engulle al Levante antes del Clásico". Sport.es. 3 December 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
  182. "Lionel Messi Bio, Stats, News – Football / Soccer – – ESPN Soccernet". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  183. "Lionel Messi Bio, Stats, News – Football / Soccer – – ESPN Soccernet". ESPN Soccernet. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  184. "Barcelona 5–3 Granada: Messi breaks club goalscoring record as gap at top of La Liga is reduced to five points". Goal.com. 20 March 2012. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  185. Marca.com>
  186. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view.php?code=121028061906
  187. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view.php?code=121112055452
  188. http://www.smmsport.com/reader.php?news=70286
  189. http://www.goal.com/th/news/4265/%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C/2012/12/10/3580788/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-1-86-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5
  190. http://www.smmsport.com/m/news.php?n=80384
  191. https://www.thairath.co.th/content/335906
  192. http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9570000018259
  193. http://www.siamsport.co.th/Column/140314_137.html
  194. http://www.rakball.net/home/11691/
  195. http://www.siamsport.co.th/Column/131118_059.html
  196. http://www.smmsport.com/reader.php?news=143625
  197. https://www.whoscored.com/Players/11119/History/Lionel-Messi
  198. https://es.wikipedia.org/wiki/Premio_UEFA_al_Mejor_Jugador_en_Europa_2015
  199. http://www.fourfourtwo.com/th/features/liioenl-emschii-nakklyuththkhnaihmkhngrangkhampnuu
  200. https://www.whoscored.com/Regions/206/Tournaments/4/Seasons/5933
  201. https://www.whoscored.com/Players/11119/History/Lionel-Messi
  202. http://www.thairath.co.th/content/725965
  203. http://www.mundodeportivo.com/futbol/fc-barcelona/20161205/412422218105/messi-a-la-altura-de-tarzan-migueli.html
  204. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view.php?code=161213201436
  205. http://www.mundodeportivo.com/futbol/fc-barcelona/20161218/412706239236/messi-cumplira-en-el-derbi-su-partido-600-con-el-barca.html
  206. http://www.marca.com/en/football/barcelona/2016/12/29/58650f82ca4741622d8b4625.html
  207. http://www.mundodeportivo.com/futbol/fc-barcelona/20170110/413216685766/messi-25-goles-de-falta-como-koeman.html
  208. http://www.bangkoksoccer.com/News/7146-%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%B2.html
  209. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view.php?code=170115102025
  210. http://www.sport.es/es/noticias/barca/messi-novena-temporada-marcando-mas-goles-liga-5866935
  211. http://www.marca.com/en/football/barcelona/2017/02/27/58b423db268e3e47088b465e.html
  212. http://www.soccersuck.com/boards/topic/1494452
  213. http://www.soccersuck.com/boards/topic/1494536
  214. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view.php?code=170530082601
  215. https://www.whoscored.com/Regions/206/Tournaments/4/Seasons/6436/Stages/13955/Show/Spain-La-Liga-2016-2017
  216. https://www.whoscored.com/Regions/206/Tournaments/4/Seasons/6436/Stages/13955/PlayerStatistics/Spain-La-Liga-2016-2017
  217. http://www.goal.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/official-%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B2-4-%E0%B8%9B/xp12n12wjrws1dqubjdbc7ki1
  218. http://www.sport-english.com/en/news/barca/lionel-messi-the-best-player-in-the-history-of-la-liga-6210622
  219. http://www1.siamsport.co.th/Column/161010_025.html
  220. http://www.marca.com/en/football/barcelona/2017/08/06/598715c522601dbc5b8b4603.html
  221. http://www.siamsport.co.th/football/laliga/view/21294
  222. http://www.smmsport.com/reader.php?news=206131
  223. https://www.facebook.com/barcathailand/photos/a.639618436066686.1073741832.174229089272292/1883967224965128/?type=3
  224. https://en.wikipedia.org/wiki/FIFPro
  225. "Lionel Messi Biography". Lionelmessi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2008. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  226. "FIFA World Youth Championship Netherlands 2005". FIFA. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  227. Vickery, Tim (22 August 2005). "Messi handles 'new Maradona' tag". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  228. "Argentine striker Messi recalled for World Cup qualifier". People's Daily Online. 20 August 2005. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  229. "Messi tries again as Argentina face Paraguay". ESPN Soccernet. 2 September 2005. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  230. Homewood, Brian (10 October 2005). "Messi is a jewel says Argentina coach". Rediff. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  231. "Argentina 4–0 Venezuela: Messi the star turn". Allaboutfcbarcelona.com. 28 March 2009. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  232. "Magic Messi leads Argentina over Brazil". lionel-messi.co.uk. 17 November 2010. สืบค้นเมื่อ 19 November 2010.
  233. Vickery, Tim (5 June 2006). "Messi comes of age". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  234. "Argentina allay fears over Messi". BBC Sport. 30 May 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  235. "Messi weiter auf der Bank" (ภาษาGerman). Kicker.de. 13 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  236. "Argentina 6–0 Serbia & Montenegro". BBC Sport. 16 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  237. "Holland 0–0 Argentina". BBC Sport. 21 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  238. Walker, Michael (26 June 2006). "Rodríguez finds an answer but many questions still remain". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  239. "Argentina 2–1 Mexico (aet)". BBC Sport. 24 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  240. "Germany 1–1 Argentina". BBC Sport. 30 June 2006. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  241. "Tevez Nets In Argentina Victory". BBC Sport. 29 June 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  242. "Argentina into last eight of Copa". BBC Sport. 3 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  243. "Argentina-Paraguay". Conmebol. 5 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  244. "Argentina and Mexico reach semis". BBC Sport. 9 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  245. "Messi's Magic Goal". BBC Sport. 12 July 2007. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  246. "Brazil victorious in Copa America". BBC Sport. 16 July 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2009.
  247. "Lionel Messi out of Olympics after Barcelona win court appeal against Fifa". London: Daily Telegraph. 6 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  248. 248.0 248.1 "Barcelona give Messi Olympics thumbs-up". AFP. 7 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  249. "Messi sets up Brazil semi". FIFA. 16 August 2008. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  250. Millward, Robert (23 August 2008). "Argentina beats Nigeria 1–0 for Olympic gold". USA Today. สืบค้นเมื่อ 27 May 2009.
  251. Chadband, Ian (12 June 2010). "Argentina 1 Nigeria 0: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 12 June 2010.
  252. Chadband, Ian (17 June 2010). "Argentina 4 South Korea 1: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  253. Smith, Rory (22 June 2010). "Greece 0 Argentina 2: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  254. Chadband, Ian (27 June 2010). "Argentina 3 Mexico 1: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 27 June 2010.
  255. White, Duncan (3 July 2010). "Argentina 0 Germany 4: match report". London: Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 3 July 2010.
  256. "Lionel me prometió venir a mi cumple de quince después del Mundial" (ภาษาSpanish). Gente Online. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  257. "Aún le mueve el tapete a Messi" (ภาษาSpanish). El Universal. 19 June 2008. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  258. "Luciana Salazar y Messi serían pareja" (ภาษาSpanish). Crónica Viva. 19 June 2008. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  259. 259.0 259.1 "Messi y Antonella pasean por el Carnaval de Sitges su noviazgo". El Periódico de Catalunya (ภาษาSpanish). 25 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  260. "Messi, a dicembre... sogni d'oro" (ภาษาItalian). Calcio Mercato News. 21 April 2009. สืบค้นเมื่อ 13 July 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  261. "La verdad sobre la nueva novia de Messi" (ภาษาSpanish). Taringa. 24 February 2009. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  262. [1]
  263. https://www.instagram.com/p/2GTd7TvM4_/
  264. http://www.mirror.co.uk/sport/football/match-reports/atletico-madrid-1-2-barcelona-6433025
  265. http://global.espn.com/football/barcelona/story/3413102/lionel-messi-out-of-barcelona-squad-to-face-malaga-due-to-birth-of-third-child
  266. https://www.instagram.com/p/BgJMXQFn4hq/?taken-by=leomessi
  267. "Maxi afirma que Messi deve vir ao Brasil para vê-lo jogar" (ภาษาPortuguese). Último Segundo. 20 August 2007. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  268. Mayer, Claudius (20 October 2009). "Hört mir auf mit Messi!" (ภาษาGerman). TZ Online. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  269. https://www.clarin.com/deportes/messi/leo-antonela-casamiento-500-millones-dolares_0_rJ0nibm4Z.html
  270. http://www.infobae.com/teleshow/infoshow/2017/07/06/danilo-michaut-el-dj-de-la-boda-de-messi-a-las-7-30-me-miro-y-con-un-gesto-me-pidio-que-siguiera-un-poco-mas/
  271. https://www.youtube.com/watch?v=qOfYoHSpDfA
  272. https://www.rosario3.com/radio2/Quien-casara-a-Lionel-Messi-y-Antonela-Rocuzzo-20170630-0013.html
  273. http://fyleonella.tumblr.com/post/164023694445/anonymous-said-to-fyleonella-leo-unfollowing-cesc
  274. http://fyleonella.tumblr.com/post/162444412735/to-turn-our-happiness-into-a-solidarity-act
  275. http://www.elmundo.es/loc/2017/06/29/5954c771268e3ec0498b45d5.html
  276. https://twitter.com/messi10stats/status/880933537951748097
  277. http://fyleonella.tumblr.com/post/162557618460/details-about-the-party-via-la-capital
  278. https://twitter.com/messi10stats/status/883025790346153984
  279. http://fyleonella.tumblr.com/post/162508897345/between-today-and-tomorrow-leo-and-family-will
  280. "Fundación Leo Messi – Nuestra Fundación". Fundacíon Leo Messi. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  281. "Fundación Leo Messi – Home". Fundacíon Leo Messi. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  282. "Ooredoo, Messi Foundation Continue Expansion: Three New Mobile Health Clinics Launched in Algeria"
  283. http://www.givemesport.com/338614-messi-friends-charity-match-to-feature-worlds-best
  284. "Entrevistas – Lionel Messi" (ภาษาSpanish). Leo-messi.net. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010. El hecho de ser en estos momentos un poco famoso me da la oportunidad de ayudar a la gente que en realidad lo necesita, en especial los niños{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  285. "Foundation Lionel Messi". En.leo-messi.net. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  286. "UNICEF to announce Lionel Messi as Goodwill Ambassador". Press centre. UNICEF. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  287. "Press centre – UNICEF to announce Lionel Messi as Goodwill Ambassador". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  288. https://www.unicef.org/people/people_52965.html
  289. https://www.unicef.org/media/media_70751.html
  290. http://www.espnfc.com/spanish-primera-division/story/2887818/argentinas-lionel-messi-wins-libel-case-and-donates-damages-to-charity
  291. https://www.facebook.com/LeoMessi/videos/1747997248553195/
  292. https://www.facebook.com/leomessi/videos/1897157420303843/
  293. https://www.facebook.com/FundacionLeoMessi/photos/a.119141984777207.14892.117729371585135/1640990469259010/?type=3
  294. "Messi". PES Unites. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  295. Orry, James (23 June 2009). "Torres signs for PES 2010". Videogamer.com. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  296. "Motions and Emotions in Barcelona". Konami. 8 June 2009. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  297. "E3 2009: PES 2010: Messi fronts exclusive E3 trailer". Konami. 2 June 2009. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  298. "MOTD magazine crew meet Messi in Barcelona". PESFan (Match of the Day Magazine). สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
  299. "Watch Zinedine Zidane and Lionel Messi in Adidas ad". London: The Guardian. 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 16 August 2009.
  300. "Herbalife Becomes New Sponsor". 2 June 2010. สืบค้นเมื่อ 7 June 2010.
  301. Caioli 2012, pp. 69–71.
  302. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2005–06
  303. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2006–07
  304. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2007–08
  305. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2008–09
  306. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2009–10
  307. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2010–11
  308. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2011–12
  309. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2012–13
  310. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Matches 2013–14
  311. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2014–15". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  312. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2015–16". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 6 September 2015.
  313. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2016–17". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016.
  314. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2017–18". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 27 August 2017.
  315. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2018–19". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  316. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2019–20". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
  317. "Lionel Andrés Messi Cuccittini: Matches 2020–21". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 9 October 2020.
  318. Balagué 2013, pp. 209–219.
  319. Balagué 2013, pp. 220–240.
  320. Balagué 2013, pp. 436–437.
  321. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Century of International Appearances
  322. "Lionel Messi: Player Profile". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 9 September 2015.
  323. Magee, Will (2 December 2019). "Ballon d'Or: live updates from the ceremony as Lionel Messi and Virgil van Dijk compete for top award". The Telegraph. ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2 December 2019.
  324. "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". The Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  325. 325.0 325.1 "FIFA Ballon d'Or: History". FIFA. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
  326. "Messi, Neuer Heralded as Brazil 2014's Best". FIFA. 13 July 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  327. "The FIFA Football Awards Voting Results 2019" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 23 September 2019. สืบค้นเมื่อ 23 September 2019.
  328. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lionel Messi Awarded Golden Shoe for Third Time after 46 La Liga Goals for Barcelona
  329. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MessiFourthGoldenShoe
  330. "Messi Wins Fifth Golden Shoe After Winning Pichichi Trophy". Goal. 20 May 2018. สืบค้นเมื่อ 20 May 2018.
  331. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Messi wins his sixth Golden Shoe
  332. "BeIN Sports: Messi habría rechazado el MVP del torneo" [BeIN Sports: Messi reportedly rejects MVP award for tournament] (ภาษาSpanish). AS.com. 5 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  333. "Lionel Messi allegedly refuses best player award at Copa America as trophy removed from ceremony". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
  334. "Messi rechazó recoger el premio a MVP de la Copa América". Marca (ภาษาSpanish). Spain. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  335. "Messi rechazó el MVP del Argentina-Paraguay de la Copa América". Sport. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
  336. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Messi Beats Ronaldo for 2014–15 UEFA Best Player in Europe Award
  337. 337.0 337.1 337.2 "Profile: Lionel Messi". UEFA. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
  338. 338.0 338.1 338.2 Otero, Paul M. (12 November 2013). "Palmarés de un Genio: El Coleccionista de Trofeos" [Honours of a Genius: The Collector of Trophies]. Marca (ภาษาSpanish). Spain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  339. 339.0 339.1 "Messi, Mejor Delantero y Mejor Jugador" [Messi, Best Forward and Best Player] (ภาษาSpanish). Liga de Fútbol Profesional. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  340. 340.0 340.1 "Lionel Messi, 2014–15 Liga BBVA Best Player". Liga de Fútbol Profesional. 30 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
  341. "Lionel Messi named Best Striker in La Liga Santander 2015–16". Liga de Fútbol Profesional. 24 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2019. สืบค้นเมื่อ 25 October 2016.
  342. “Messi Wins Sixth Pichichi Trophy, Extends Lead in European Golden Boot Race”. Sports Illustrated, 19 May 2019
  343. "Messi equals Zarra's record with sixth Pichichi award". Onefootball. สืบค้นเมื่อ 8 April 2020.
  344. "Leo Messi wins his seventh Pichichi, a LaLiga record". FC Barcelona. 19 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 July 2020.
  345. 345.0 345.1 "FIFA Club World Cup: Awards". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2015.
  346. "Barcelona Trio Sweep Awards". FIFA. 20 December 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
  347. 347.0 347.1 "FIFA World Youth Championship Netherlands 2005". FIFA. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  348. "Former Results". IFFHS. สืบค้นเมื่อ 30 November 2019.
  349. "Premios Olimpia 2015: La Judoca Paula Pareto se Llevó el Oro y los de Plata Fueron Para Messi, Marco Ruben, Andrés Nocioni y Adolfo Cambiaso" [Olympia Awards 2015: The Judoca Paula Pareto Took the Gold and Silver Was for Messi, Marco Ruben, Andrés Nocioni and Adolfo Cambiaso] (ภาษาSpanish). LRA Radio Nacional. 23 December 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  350. "Los Ganadores de Olimpia de Plata en Cada Deporte, con los Medallistas Dorados de Río entre los Destacados" [The Winners of the Silver Olimpia in Each Sport, with the Gold Medalists of Río among the Highlights]. La Nacion (ภาษาSpanish). 20 December 2016. สืบค้นเมื่อ 21 December 2016.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  351. "Delfina Pignatiello se quedó con el Olimpia de Oro". TN (ภาษาSpanish). Buenos Aires. 20 December 2017. สืบค้นเมื่อ 26 January 2018.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  352. 352.0 352.1 352.2 Caioli 2012, p. 248.
  353. Balagué 2013, pp. 279–284.
  354. "FIFPro and FIFA Present the 2015 World XI". FIFPro. 11 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  355. "The Best named at FIFA Football Awards". FIFA. 9 January 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
  356. "FIFA FIFPro World11". FIFA. 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017.
  357. "DE GEA, KANTE AND MBAPPE IN WORLD 11". FIFPro World Players' Union. 24 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2019. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  358. "VAN DIJK AMONG FOUR DEBUTANTS IN MEN'S WORLD 11". FIFPro World Players' Union. 23 September 2019.
  359. "Team of the Year 2015: Lionel Messi". UEFA. 8 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.
  360. "Facts and figures: UEFA.com Team of the Year 2017". UEFA.com: The official website for European football. UEFA. 11 January 2018. สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  361. "UEFA.com fans' Team of the Year 2018 revealed". UEFA.com: The official website for European football. UEFA. 11 January 2019. สืบค้นเมื่อ 11 January 2019.
  362. "UEFA.com fans' Team of the Year 2019 revealed". UEFA.com: The official website for European football. UEFA. 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  363. "Ultimate Team of the Year: the all-time XI". UEFA. 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 26 January 2018.
  364. "The 2014–15 Liga BBVA Ideal XI". Liga de Fútbol Profesional. 15 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2018. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  365. "Dream Team Winners Earn Sony Prizes". FIFA. 23 July 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  366. "El Once Ideal de la Copa América" [The Ideal Eleven of the Copa América]. La República (ภาษาSpanish). 16 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 February 2016.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  367. "The Copa América 2011 Dream Team". Copa America Organisation. 8 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2015. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
  368. "Copa América 2015: Team of the Tournament". Copa América Organisation. 5 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  369. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Copa América 2016: Awards
  370. "La Selección de Todos los Tiempos" [The Team of All Time] (ภาษาSpanish). Argentine Football Association. 4 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 8 January 2016.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  371. "Messi wins the Laureus award for 'Best Sportsman of the Year'". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
  372. "Lionel Messi sacré "Champion des champions" de l'année 2011". France 24 (ภาษาFrench). 24 December 2011. สืบค้นเมื่อ 7 June 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  373. "Lionel Messi élu " champion des champions 2011 " par le journal " L'Équipe "". L'Orient-Le Jour. 27 December 2011. สืบค้นเมื่อ 7 June 2020.
  374. "The Greatest: - how the panel voted". World Soccer. 2 July 2013. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น