ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
* {{ท.จ.ฝ่ายใน|2442}}<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/034/498.PDF การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๔๙๙)] </ref>
* {{ท.จ.ฝ่ายใน|2442}}<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/034/498.PDF การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๔๙๙)] </ref>
{{จ.ป.ร.2|ปี=2445}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/046/874.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 หน้า 875 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 120 </ref>
{{จ.ป.ร.2|ปี=2445}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/046/874.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 หน้า 875 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 120 </ref>
{{ว.ป.ร.2|ปี=2463}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/D/3731.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 37 หน้า 3732 </ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:37, 4 สิงหาคม 2564

เจ้าจอมเอิบ
ในรัชกาลที่ 5
ไฟล์:เจ้าจอมเอิบ.jpg
เกิดเอิบ บุนนาค
22 เมษายน พ.ศ. 2422
จังหวัดเพชรบุรี, สยาม
เสียชีวิต11 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (65 ปี)
กรุงเทพมหานคร ไทย
มีชื่อเสียงจากเจ้าจอมก๊กออ
บุพการี

เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม บุนนาค) (22 เมษายน พ.ศ. 2422 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออที่ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ

เจ้าจอมเอิบ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรคนที่ 11 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เจ้าจอมเอิบเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2434 เมื่ออายุได้ 12 ปี เนื่องจากเจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม กล่าวกันว่าท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้นทีเดียว กล่าวคือที่หน้าตาที่อ่อนหวาน งดงามเยือกเย็น กล่าวกันอีกว่าท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบ นั้นงดงามกลมกลึง ราวกับลำเทียน เนื่องจากท่านเป็นคนที่มีรูปร่างไม่ผอมไป หรืออ้วนเกินไป หากแต่อวบและมีน้ำมีนวล กล่าวโดยสรุปคือ ท่านเจ้าจอมเอิบนั้น มีความงามแห่งรูปโฉม และกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยม ผู้เป็นพี่สาวแท้ ๆ

เจ้าจอมเอิบ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอิบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน โดยท่านได้สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ (รวมทั้งตัวท่านด้วย) ต่างได้รับพระราชทานกันคนละแปลง เป็นสัดส่วน เรียกว่า "สวนนอก" แต่ละสวนจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป วังของเสด็จพระองค์หญิงทั้งสองพระองค์พระราชธิดาในท่านเจ้าจอมมารดาอ่อนนั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วังสวนปาริจฉัตก์ หรือ สวนท่านอ่อน ส่วนที่เป็นของท่านเจ้าจอมน้อง ๆ ทั้งสี่ท่านที่เหลือ ก็เรียกว่า สวนท่านเอิบ สวนท่านอาบ สวนท่านเอื้อน และสวนท่านเอี่ยม ตามลำดับ

เจ้าจอมก๊กออในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาอ่อน
เจ้าจอมเอี่ยม
เจ้าจอมเอิบ
เจ้าจอมอาบ
เจ้าจอมเอื้อน

เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ ๕ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่บ้านราชบูรณะ สิริอายุ 65 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๑๖
  2. การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๔๙๙)
  3. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 หน้า 875 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 120
  4. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 37 หน้า 3732
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3