ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทัย พิมพ์ใจชน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 95: บรรทัด 95:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ม.ป.ช.|2527}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/017/42.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗</ref>
{{ม.ป.ช.}}
{{ม.ว.ม.|2526}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/207/42.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย)] เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖</ref>
{{ม.ว.ม.|2526}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/207/42.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย)] เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖</ref>
{{ท.ภ.|2540}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{ท.ภ.|2540}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:43, 4 สิงหาคม 2564

อุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
19 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
(0 ปี 170 วัน)
ก่อนหน้าประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ถัดไปกมล เดชะตุงคะ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(3 ปี 333 วัน)
ก่อนหน้าพิชัย รัตตกุล
ถัดไปโภคิน พลกุล
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[a] [1]
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2526 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
(3 ปี 4 วัน)
ก่อนหน้าบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ถัดไปชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าจำรัส มังคลารัตน์
ถัดไปประภาศน์ อวยชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าอมเรศ ศิลาอ่อน
ถัดไปชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนวลศรี พิมพ์ใจชน
ลายมือชื่อ

นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8 สมัย

ประวัติ

นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของนายไพโรจน์ กับนางสมบุญ พิมพ์ใจชน[2] และเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ สำเร็จการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิต สำนักการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากการชักชวนของนายธรรมนูญ เทียนเงิน สมาชิกพรรค จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ยึดอำนาจตัวเอง นายอุทัย พิมพ์ใจชน พร้อมด้วย ส.ส. อีก 2 คน คือนายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏ ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา

จอมพลถนอม กิตติขจรได้ออกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515[ต้องการอ้างอิง][3] ทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และถูกจำคุก โดยเฉพาะส่วนนายอุทัยจำคุกเป็นเวลา 10 ปี[4] ซึ่งต่อมาในยุครัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดก็ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุก ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517[5]

ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัยได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป กับ นายชวน หลีกภัย เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกับ และ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค ด้วยความเป็นคนชลบุรีด้วยกัน ปรากฏว่า ที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน นายอุทัยก็ได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองทั้งพรรคก้าวหน้า และพรรคเอกภาพ[6]

นายอุทัย ได้ตกเป็นข่าวฮือฮาในปี พ.ศ. 2537 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อถูกติวเตอร์คนหนึ่ง ปาถุงอุจจาระ ใส่ขณะแถลงข่าว หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น นายอุทัย ไม่ได้ดำเนินคดี หรือตอบโต้ใด ๆ กับผู้ก่อเหตุ ซึ่งส่งผลดีกับภาพลักษณ์ของนายอุทัย ในฐานะเป็นผู้มีอาวุโส ที่ไม่ใช้อำนาจกับผู้ด้อยอำนาจกว่า[7]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นายอุทัยได้รับเลือกให้เป็น ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540[8]

ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง นายอุทัยก็ได้ย้ายตัวเองเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง นายอุทัยได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอุทัยก็ได้ลงรับสมัครในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 12 ได้คะแนน 25,407 คะแนน[9]

ก่อนการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายอุทัยเป็นบุคคลหนึ่ง ที่แสดงความเห็นอย่างชัดแจ้ง ไม่เห็นด้วยกับการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550[10]

ปัจจุบัน นายอุทัยได้ยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิงแล้ว โดยไปทำสวนเกษตรกรรมที่จังหวัดชลบุรี บ้านเกิด[11] รวมถึงรับเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการเมืองเป็นครั้งคราว [12]

ประวัติทางการเมือง

  • พ.ศ. 2512 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์
  • พ.ศ. 2518
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์
    • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[13] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[14]
  • พ.ศ. 2519
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์
    • ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา
  • พ.ศ. 2526
    • ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคก้าวหน้า
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคก้าวหน้า
  • พ.ศ. 2526-2529 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • พ.ศ. 2529 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคก้าวหน้า
  • พ.ศ. 2531 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคก้าวหน้า
  • พ.ศ. 2533–2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[15]
  • พ.ศ. 2535 หัวหน้าพรรคเอกภาพ
  • พ.ศ. 2535 (มีนาคม) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคเอกภาพ
  • พ.ศ. 2535 (กันยายน) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี พรรคเอกภาพ
  • พ.ศ. 2535–2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • พ.ศ. 2540 ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
  • พ.ศ. 2544-48 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/A/067/27.PDF
  2. บุคคลในข่าว 05/09/53
  3. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๓ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ โดยให้คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญาเป็นคำสั่งในทางตุลาการ]
  4. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต พรรคประชาธิปัตย์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2548) ISBN 9749353501
  5. [พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ ๓๖/๒๕๑๕ ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๗ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/A/011/1.PDF]
  6. เริงศักดิ์ กำธร, กินอยู่เรียบง่าย สบายแบบชาวบ้าน ชวน หลีกภัย ลูกแม่ค้าขายพุงปลา (กรุงเทพ, พ.ศ. 2545) ISBN 974-85645-2-5
  7. กองบรรณาธิการมติชน, 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549, สำนักพิมพ์มติชน ISBN 974-323-889-1
  8. เตรียมเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ รายงานประชาชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทั่วไปทราบ ณ ท้องสนามหลวง
  9. ผลการเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศอย่างไม่เป็นทางการ
  10. ......... !!! อุทัย ลั่นไม่รับรธน.50ชี้ทำการเมืองอ่อนแอเปิดช่องทหารปฏิวัติ จากพันทิปดอตคอม
  11. ที่นี่ ทีวีไทย, รายการ: พฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ทางทีวีไทย
  12. อนาคตใหม่ จัดสัมมนาว่าที่ ส.ส. "อุทัย" เตือน อย่าทำตัวเป็น "ช็อกการี" | 31 มี.ค.62 | คัดข่าวเช้า
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  14. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
  17. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า อุทัย พิมพ์ใจชน ถัดไป
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฏร)

(19 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
กมล เดชะตุงคะ
พิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา
(ประธานสภาผู้แทนราษฏร)

(6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548)
โภคิน พลกุล


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน