ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามารถ แก้วมีชัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
{{ม.ป.ช.|2552}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/016_1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒], เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒</ref>
{{ม.ป.ช.|2552}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/016_1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒], เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒</ref>
{{ม.ว.ม.|2551}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/017-1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย], เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑</ref>
{{ม.ว.ม.|2551}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/017-1/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย], เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑</ref>
{{จ.ภ.|2540}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{จ.ภ.|2540}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:52, 4 สิงหาคม 2564

สามารถ แก้วมีชัย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
13 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ถัดไปเจริญ จรรย์โกมล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
จังหวัดเชียงราย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคไทยสร้างไทย
คู่สมรสรัตนพร แก้วมีชัย

สามารถ แก้วมีชัย (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 -) เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชุดที่ 23) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

สามารถ แก้วมีชัย เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และปริญญาตรีรัฐศาสตร์ (เกียรตินิยมเรียนดี) สาขาวิชาการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 22) เมื่อปี พ.ศ. 2517

การทำงาน

สามารถ แก้วมีชัย เคยทำงานที่การเคหะแห่งชาติ ก่อนจะลาออกไปเป็นนักธุรกิจก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเชียงราย และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมาจึงได้เข้าร่วมกลุ่มของนายยงยุทธ ติยะไพรัช และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาก็ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยพร้อมกันกับสมาชิกจากพรรคพลังประชาชนเดิม

สามารถ แก้วมีชัย เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[1] โฆษกคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 จึงได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 แทนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์[2]

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสามารถยังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ส่วน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ แต่ใน การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถสูญเสียตำแหน่งให้กับนาย เอกภพ เพียรพิเศษ จาก พรรคอนาคตใหม่ ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย [3]

กระทั่งวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นายสามารถได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย [4] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 นายสามารถได้โพสต์ภาพหนังสือการลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวน 3 ฉบับแก่นาย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคและ พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองและให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไปโดยให้เหตุผลว่าต้องการเป็นอิสระและปลอดสังกัดพรรคการเมือง [5]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 195ง
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  4. ทิ้ง'เพื่อไทย'!! 'สามารถ แก้วมีชัย'ยื่นหนังสือลาออกพ้น'กก.บห.-รองหัวหน้าพรรค'
  5. สามารถ ลาออกเพื่อไทย ให้เหตุผล ต้องการอิสระ
  6. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐