ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิญจมาณวิกา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mugornja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
'''จิญจมาณวิกา''' หรือโดยย่อว่า '''จิญจา''' เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ใน[[พุทธกาล]] โดยใน[[พระไตรปิฎก]]กล่าวว่านางได้ให้ร้าย[[พระโคตมพุทธเจ้า]] ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ด้วยความที่นางมีความฉลาดในมารยาของหญิง นับถือศรัทธาลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่แท้จริงแล้วนางอยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป 8–9 เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังนางจึงถูกแผ่นดินสูบ<ref>พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.และคณะ. (2557). พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย = Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University.กองวิชาการ สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 1009</ref>
'''จิญจมาณวิกา''' หรือโดยย่อว่า '''จิญจา''' เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ใน[[พุทธกาล]] โดยใน[[พระไตรปิฎก]]กล่าวว่านางได้ให้ร้าย[[พระโคตมพุทธเจ้า]] ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ด้วยความที่นางมีความฉลาดในมารยาของหญิง นับถือศรัทธาลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่แท้จริงแล้วนางอยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป 8–9 เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังนางจึงถูกแผ่นดินสูบ<ref>พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.และคณะ. (2557). พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย = Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University.กองวิชาการ สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 1009</ref>


ดังมีในพุทธชัยมงคลปราฏเป็นหลักฐานในบทสวด "พาหุง" บทที่ 5 ความว่า
ดังมีในพุทธชัยมงคลปราฏเป็นหลักฐานในบทสวด "[[พุทธชัยมงคลคาถา|พาหุง]]" บทที่ 5 ความว่า


''กตฺวาน กฎฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ''
''กตฺวาน กฎฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:02, 22 กรกฎาคม 2564

จิญจมาณวิกา
จิญจมาณวิกาขณะกล่าวให้ร้ายพระพุทธเจ้าต่อหน้าธารกำนัล
ส่วนบุคคล
มรณภาพ
ศาสนาเดียรถีย์

จิญจมาณวิกา หรือโดยย่อว่า จิญจา เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ในพุทธกาล โดยในพระไตรปิฎกกล่าวว่านางได้ให้ร้ายพระโคตมพุทธเจ้า ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ด้วยความที่นางมีความฉลาดในมารยาของหญิง นับถือศรัทธาลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่แท้จริงแล้วนางอยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป 8–9 เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังนางจึงถูกแผ่นดินสูบ[1]

ดังมีในพุทธชัยมงคลปราฏเป็นหลักฐานในบทสวด "พาหุง" บทที่ 5 ความว่า

กตฺวาน กฎฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ

แปลว่า "นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา"

ด้วยผลกรรมที่ใส่ร้ายพระศาสดา เมื่อออกจากวัดพระเชตวัน นางจึงถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก สถานที่ที่นางถูกธรณีสูบอยู่ที่สระโบกขรณี ติดกับสถานที่ที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบ ดังคำในจิญจมาณวิกาวัตถุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่ง ผู้มักกล่าวเท็จ ปฏิเสธปรโลก จะไม่ทำบาปไม่มี[2]

ข้อมูลที่ปรากฏในอรรรถกถา

หลักฐานในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทมีว่า

พระพุทธเจ้าขณะประทับที่เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนอย่างมาก ทำให้เกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนาอย่างมาก นักบวชในศาสนาอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเสื่อมลาภ ผู้คนนับถือน้อยลง เกิดความอิจฉา และคิดจะกำจัดพระพุทธเจ้าเสีย จึงคิดอุบาย โดยส่งสาวงามชื่อว่า "จิญจมาณวิกา" ให้ไปใช้กลอุบายตามที่พวกตนวางไว้[3]

นางจิญจมาณวิกาทำทีเป็นศรัทธาในพุทธศาสน จึงไปยังวัดพระเชตุวันมหาวิหาร ร่วมฟังธรรมพร้อมกับคนอื่น ๆ แต่พอถึงเวลากลับ ไม่กลับ ทำทีเดินลับหายไปยังที่ ๆ พระพุทธเจ้าประทับแล้วแอบออกไปทางอื่น พอรุ่งเช้านางมาวัดแต่เช้ามืดแล้วไปแอบซุ่มบริเวณที่ประทับ พอผู้คนมาฟังการแสดงธรรมนางก็จะแกล้งเดินออกไปเป็นกลลวงให้ใคร ๆ เห็น และเข้าใจว่านางค้างคืนที่วัด[4]

ผ่านไป 3 เดือน นางได้นำผ้ามาพันผูกท้องให้นูนแล้วนุ่งผ้าปิดทับเอาไว้ให้แลดูคล้ายตั้ง ครรภ์อ่อน ๆ พอถึงเดือนที่ 8 นางก็นำท่อนไม้มาพันผ้าผูกให้แลดูเหมือนตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด

วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม นางจิญจมาณวิกา ก็ทำทีเป็นหญิงท้องแก่เดินอุ้ยอ้ายเข้าไปยืนตรงหน้าที่ประทับพร้อมกับกล่าว เสียงดังให้ทุกคนได้ยิน

"ท่านสมณะ ท่านจะมาเสแสร้งนั่งแสดงธรรมจอมปลอมหลอกลวงผู้คนไปไย ด้วยเวลานี้ท้องฉันนั้นได้โตใหญ่จนยากจะปกปิดความลับระหว่างเราทั้งสองได้อีกต่อไปแล้ว ท่านจงหันมาไยดีในตัวฉันซึ่งเป็นภรรยา และบุตรในครรภ์ฉัน ซึ่งเป็นลูกของท่านจะดีกว่า[5]

พระพุทธองค์ทรงหยุดแสดงธรรมและกล่าวกับนางว่า

“ดูก่อนน้องหญิง เรื่องนี้เจ้ากับเราสองคนเท่านั้นรู้กันว่าจริงหรือไม่จริงตามคำของนาง”[6] จิญจมาณวิกาจึงตอบว่า “จริงทีเดียว เพราะการที่ข้าพเจ้ามีครรภ์ขึ้นนี้ มีแต่ท่านกับข้าพเจ้าเท่านั้นที่รู้กัน”[7]

ผู้คนที่นั่งฟังธรรมได้ยิน นางจิญจมาณวิกา พูดก็ตกตะลึง หลายคนไม่เชื่อแต่บางคนก็เริ่มสงสัยเพราะเคยเห็นนางเดินเข้าออกที่ประทับจึง พากันซุบซิบแต่พระพุทธองค์ทรงนิ่งเฉย ชาวบ้านจึงกล่าวเตือนสติจิญจมาณวิกาว่า

"จิญจมาณวิกาเอ๋ย การกล่าววาจาโป้ปดนั้นเป็นการผิดศีล แต่วาจาที่กล่าวเท็จใส่ร้ายต่อผู้ทรงศีลนั้น ผิดยิ่งกว่ามากมายนัก นางจงหยุดเถิด"

แต่แทนที่จิญจมาณวิกาจะรู้สึกผิด กลับจาบจ้วงดุด่าใส่ร้ายพระพุทธองค์ต่อ หาว่าพระพุทธองค์ทรงปัดและบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบต่อบุตรในครรภ์ เทพเทวดารู้เห็นการกระทำอันเป็นบาปของจิญจมาณวิกา จึงแปลงกายเป็นหนู ปีนไต่ไปบนตัวนาง และกัดสายคาดผ้าที่ผูกท้องจนหลุดร่วงลงมากองที่พื้น[8]

ความจริงจึงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่า นางมิได้ตั้งครรภ์ นางได้กล่าวตู่หาความใส่ร้ายพระพุทธองค์ คนทั้งหลายพากันลุกฮือขึ้นไล่ทุบตี พอออกไปพ้นประตูพระเชตวันมหาวิหาร นางก็ถูกแผ่นดินสูบ

ผลกรรมจากการถูกใส่ร้าย

พระพุทธเจ้าตรัสว่าเหตุ มาสู่ผลที่ถูกกล่าวตู่[9] เพราะเคยไปกล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า “สุรภี” “ในชาติอื่น ๆ ในปางก่อน เราเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร”[10] ด้วยผลของการกระทำนั้น ทำให้ตกนรก เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี[11] กล่าวตู่พระเถระนามนันทะ และทำให้ตกนรกถึง 100,000 ปี[12] และเศษของการกระทำ ทำให้ต้องได้รับการกล่าวตู่จากนางสุนทรี[13] และนางจิญจมาณวิกา[14] หรือข้อมูลในพุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติพระพุทธเจ้า ตรัสบุพกรรมของตนไว้ว่า เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรก เป็นเวลานานถึง 100,000 ปี ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน[15]

อ้างอิง

  1. พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.และคณะ. (2557). พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย = Thai Tipitaka Dictionary Mahachulalongkornrajavidyalaya University.กองวิชาการ สานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 1009
  2. (ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๑๗๖/๘๘),
  3. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่มที่ ๑ ข้อ ๑๔๕ หน้า ๑๓๘-๙/จิญฺจมาณวิกาวตฺถุ]
  4. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่ม ๑/ข้อ ๑๔๕/หน้า ๑๓๙]
  5. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่ม ๑/ข้อ ๑๔๕/หน้า ๑๓๙]
  6. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่ม ๑/ข้อ ๑๔๕/หน้า ๑๓๙]
  7. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่ม ๑/ข้อ ๑๔๕/หน้า ๑๓๙]
  8. [ขุ.ธ.อ. หรือขุททกนิกาย ธรรมบท อรรถกถา (บาลี) เล่ม ๑/ข้อ ๑๔๕/หน้า ๑๓๙-๑๔๐ (จิญฺจมาณวิกาวตฺถุ)]
  9. [ขุ.อป.หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) เล่ม ๓๒/ข้อ ๖๗-๗๒/หน้า ๕๗๕]
  10. [ขุ.อป. หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) ๓๒/๖๗/๕๗๕]
  11. [ขุ.อป. หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) เล่ม ๓๒/ข้อ ๖๘/หน้า ๕๗๕]
  12. [ขุ.อป. หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) เล่ม ๓๒/ข้อ ๗๑/หน้า ๕๗๕]
  13. [ขุ.อป. หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) เล่ม ๓๒/ข้อ ๖๙/หน้า ๕๗๕]
  14. ขุ.อป. หรือ ขุทกนิกาย อปทาน (ไทย) เล่ม ๓๒/ข้อ ๗๒/หน้า ๕๗๕]
  15. (ขุ.อป.(ไทย) ๓๒/๗๒/๕๗๕)