ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ทรงประสูติ" → "ประสูติ"
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
จอมพลเรือ '''หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า''' ({{lang-en|Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma}}) หรือนามเดิมคือ '''เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค;''' 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นสมาชิก[[ราชวงศ์สหราชอาณาจักร|ราชวงศ์บริติช]] เจ้าหน้าที่แห่ง[[ราชนาวี]] และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของ[[เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ]] และพระอนุวงศ์ของ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่ง[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ]]
จอมพลเรือ '''หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า''' ({{lang-en|Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma}}) หรือนามเดิมคือ '''เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค;''' 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นสมาชิก[[ราชวงศ์สหราชอาณาจักร|ราชวงศ์บริติช]] เจ้าหน้าที่แห่ง[[ราชนาวี]] และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของ[[เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ]] และพระอนุวงศ์ของ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่ง[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ]]


พระองค์ระสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่[[ราชนาวี|กองทัพเรือหลวง]]ในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต [[เรือหลวงเคลี่]] และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน [[เรือหลวงอิลัสเทรียส]] พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่[[การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์|แซ็ง-นาแซร์]]และ[[การตีโฉบฉวยเดียป|เดียป]] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา
พระองค์ประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่[[ราชนาวี|กองทัพเรือหลวง]]ในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต [[เรือหลวงเคลี่]] และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน [[เรือหลวงอิลัสเทรียส]] พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่[[การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์|แซ็ง-นาแซร์]]และ[[การตีโฉบฉวยเดียป|เดียป]] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา


ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแล[[การแบ่งแยกอินเดีย|การแบ่งแยกบริติชอินเดีย]]ออกมาเป็น[[อินเดีย]]และ[[ปากีสถาน]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็น[[สมุหราชนาวี]] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ [[เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค]] เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแล[[การแบ่งแยกอินเดีย|การแบ่งแยกบริติชอินเดีย]]ออกมาเป็น[[อินเดีย]]และ[[ปากีสถาน]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็น[[สมุหราชนาวี]] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ [[เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค]] เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:57, 22 กรกฎาคม 2564

เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
อุปราชแห่งอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ 1947 – 15 สิงหาคม 1947
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 6
ก่อนหน้าไวเคานต์เวเวลล์
ถัดไปตัวเอง (ในฐานะข้าหลวงต่างพระองค์)
ข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม 1947 – 21 มิถุนายน 1948
กษัตริย์พระเจ้าจอร์จที่ 6
นายกรัฐมนตรีชวาหระลาล เนห์รู
ก่อนหน้าตัวเขาเอง (ในฐานะอุปราช)
ถัดไปจักรวรรตี ราชโคปาลาชารี
สมุหราชนาวี
ดำรงตำแหน่ง
18 เมษายน 1955 – 19 ตุลาคม 1959
นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อีเดน
แฮร์โรล แม็กมิลลัน
ก่อนหน้าโรเดอริก แม็กกริจอร์
ถัดไปชาลล์ แลมบี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เจ้าชายหลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส แห่งบัทเทินแบร์ค

25 มิถุนายน ค.ศ. 1900(1900-06-25)
วินด์เซอร์, สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต27 สิงหาคม ค.ศ. 1979(1979-08-27) (79 ปี)
มุลลากมอร์, ไอร์แลนด์
ศาสนาแองกลิคัน
คู่สมรสเอ็ดวินา แอชลีย์ เคาน์เตสเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
บุตรแพทริเซีย แคนเชบูลล์ เคาน์เตสที่ 2 เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
เลดีพาเมลา ฮิคส์
บุพการีเจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค
เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเฮ็สเซิน
วิชาชีพทหารเรือ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหราชอาณาจักร
สังกัด ราชนาวี
ประจำการ1913–1965
ยศจอมพลเรือ
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง

จอมพลเรือ หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า (อังกฤษ: Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma) หรือนามเดิมคือ เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นสมาชิกราชวงศ์บริติช เจ้าหน้าที่แห่งราชนาวี และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ และพระอนุวงศ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งประเทศอินเดียในเครือจักรภพ

พระองค์ประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่กองทัพเรือหลวงในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของสงครามโลกครั้งที่สอง เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต เรือหลวงเคลี่ และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือหลวงอิลัสเทรียส พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่แซ็ง-นาแซร์และเดียป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแลการแบ่งแยกบริติชอินเดียออกมาเป็นอินเดียและปากีสถาน พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็นสมุหราชนาวี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 เมานต์แบ็ตเทนทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยการวางระเบิดบนเรือตกปลาของพระองค์ในมุลลากมอร์ เคาท์ตี้ สไลโก ประเทศไอร์แลนด์ โดยสมาชิกของกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ชั่วคราว(IRA) พระองค์ได้รับการจัดพิธีพระศพที่ Westminster Abbey และถูกฝังพระศพใน Romsey Abbey ในแฮมป์เชอร์

พระประวัติ

ลอร์ดเมานต์แบ็ตเทน กับ เอ็ดวินา ภริยา

หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทนเป็นบุตรชายของเจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค ซึ่งเป็นเจ้าชายเยอรมันที่เข้ามารับราชการในอังกฤษและได้เสกสมรสกับเจ้าหญิงวิคโทรีอาแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์ พระราชธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปี 1917 พระเจ้าจอร์จที่ห้าได้ถอดฐานันดรเยอรมัน ทำให้ทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด เขารับแต่งตั้งเป็นขุนนางแห่งสหราชอาณาจักร

ถูกลอบปลงพระชนม์

เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่าถูกลอบฆ่าโดยกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนในไอร์แลนด์เหนือ ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 โดยนายธอมัส แม็กแมฮอน สมาชิกกลุ่มกบฎได้แอบปีนเข้าไปบนเรือของเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน ซึ่งบนเรือขณะนั้นมีสมาชิกโดยสารอยู่คือเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน, ท่านหญิงบราบันด์ ธิดาคนโต, ลอร์ดบราบันด์ สามีของนาง และบุตรของทั้งสองอีกสองคนชื่อนิโคลัสกับพอล คนร้ายได้ทำการวางระเบิดควบคุมโดยวิทยุน้ำหนักราว 20 กิโลกรัม และเกิดการระเบิดขึ้น เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนร่วงลงไปในน้ำและถูกช่วยไว้ได้โดยชาวประมงใกล้เคียงในลักษณะขาขวาเกือบขาดแต่ก็เสียชีวิตด้วยทนพิษบาดแผลไม่ไหว ลอร์ดและท่านหญิงบราบันด์ได้รับบาดเจ็บสาหัส[1] ในขณะที่บุตรชายทั้งสองเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนท่านหญิงม่ายแห่งบราบันด์ถึงแก่อนิจกรรมในวันรุ่งขึ้นจากพิษบาดแผล[2]

ฐานันดร

  • 1900 - 1917: เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค
  • 1917 - 1946: ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน
  • 1946 - 1947: ไวเคานต์เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
  • 1947 - 1979: เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
อาร์มประจำตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ราชตระกูล

อ้างอิง

  1. "Tim Knatchbull: The IRA Killed My Grandfather, but I'm Glad the Queen Met Their Man". The Telegraph. London. 1 July 2012. สืบค้นเมื่อ 20 September 2012.
  2. Patton, Allyson (March 2005). "Broadlands: Lord Mountbatten's Country Home". British Heritage. 26 (1): 14–17.
  3. "Draped with Honors Mountbatten Steps Down as Defense Chief". Pittsburgh Post-Gazette. Associated Press. 17 July 1965.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Louis Mountbatten, 1st Earl Mountbatten of Burma