ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝากล่องเสียง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| DorlandsSuf =
| DorlandsSuf =
}}
}}
'''ฝาปิดกล่องเสียง''' หรือ '''ลิ้นปิดกล่องเสียง''' เป็นแผ่น[[กระดูกอ่อน]]ชนิด[[อิลาสติกคาร์ทิเลจ]] (elastic cartilage) ที่คลุมด้วย[[เยื่อเมือก]] (mucus membrane) ติดอยู่กับโคนของ[[ลิ้น]] มีลักษณะเป็นแผ่นฝาปิดที่ขยับขึ้นลงได้ ฝานี้จะยื่นเอียงขึ้นด้านบนหลังลิ้นและ[[กระดูกไฮออยด์]] (hyoid bone)
'''ฝาปิดกล่องเสียง''' หรือ '''ลิ้นปิดกล่องเสียง''' (epiglottis) เป็นแผ่น[[กระดูกอ่อน]]ชนิด[[อิลาสติกคาร์ทิเลจ]] (elastic cartilage) ที่คลุมด้วย[[เยื่อเมือก]] (mucus membrane) ติดอยู่กับโคนของ[[ลิ้น]] มีลักษณะเป็นแผ่นฝาปิดที่ขยับขึ้นลงได้ ฝานี้จะยื่นเอียงขึ้นด้านบนหลังลิ้นและ[[กระดูกไฮออยด์]] (hyoid bone)


== กายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ ==
== กายวิภาคศาสตร์และหน้าที่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:24, 17 กุมภาพันธ์ 2551

ฝาปิดกล่องเสียง หรือ ลิ้นปิดกล่องเสียง
(Epiglottis)
ภาพภายในของกล่องเสียง มุมมองจากการส่องกล้องตรวจกล่องเสียง
รายละเอียด
คัพภกรรมbranchial arch คู่ที่ 4 และ 6 [1]
ตัวระบุ
MeSHD004825
TA98A06.2.07.001
TA23190
FMA55130
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ฝาปิดกล่องเสียง หรือ ลิ้นปิดกล่องเสียง (epiglottis) เป็นแผ่นกระดูกอ่อนชนิดอิลาสติกคาร์ทิเลจ (elastic cartilage) ที่คลุมด้วยเยื่อเมือก (mucus membrane) ติดอยู่กับโคนของลิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นฝาปิดที่ขยับขึ้นลงได้ ฝานี้จะยื่นเอียงขึ้นด้านบนหลังลิ้นและกระดูกไฮออยด์ (hyoid bone)

กายวิภาคศาสตร์และหน้าที่

ฝาปิดกล่องเสียงทำหน้าที่ปิดทางเข้าของช่องเส้นเสียงหรือชุดสายเสียง (glottis) ซึ่งเป็นทางเปิดระหว่างสายเสียงแท้ (vocal folds)

ในตำแหน่งปกติ ฝาปิดกล่องเสียงจะเปิดขึ้นด้านบน แต่ขณะที่กลืนอาหาร กระดูกไฮออยด์จะยกตัวขึ้น ดันให้กล่องเสียง (larynx) เลื่อนขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงพับลงไปตำแหน่งแนวราบมากขึ้น ซึ่งจะป้องกันอาหารไม่ให้ตกลงไปในท่อลม (trachea) แต่ให้อาหารลงไปในหลอดอาหาร (esophagus) ซึ่งอยู่ด้านหลังกว่าแทน

ฝาปิดกล่องเสียงเป็นหนึ่งในสามโครงสร้างกระดูกอ่อนขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเสียง

ความสำคัญทางคลินิก

รีเฟล็กซ์ของฝาปิดกล่องเสียง

เส้นประสาทลิ้นคอหอย (glossopharyngeal nerve, CN IX) ส่งใยประสาทไปยังฝาปิดกล่องเสียงด้านบน ซึ่งให้เส้นประสาทนำเข้าของรีเฟล็กซ์ขย้อน (gag reflex) แขนงซุพีเรียร์ลาริงเจียลของเส้นประสาทเวกัส (superior laryngeal branch of the vagus nerve) ให้ใยประสาทไปยังฝาปิดกล่องเสียงด้านล่าง ซึ่งให้เส้นประสาทนำเข้าของรีเฟล็กซ์การไอ (cough reflex) [2]

การติดเชื้อของฝาปิดกล่องเสียง

ในเด็ก, ฝาปิดกล่องเสียงมักจะติดเชื้อจากแบคทีเรีย Haemophilus influenzae หรือ Streptococcus pneumoniae แม้ว่าภาวะนี้จะรักษาได้ง่าย แต่ก็นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เพราะหากไม่ได้รับการรักษา ฝาปิดกล่องเสียงจะบวมและปิดกั้นท่อลม (trachea) ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย (massive inflammation) ภาวะนี้เกิดขึ้นได้น้อยในประเทศที่มีการให้วัคซีนต่อเชื้อ Haemophilus influenzae (HIB)

ภาพอื่นๆ

อ้างอิง

  1. hednk-025d — Embryology at UNC
  2. April, Ernest. Clinical Anatomy, 3rd ed. Lippincott, Williams, and Wilkins.

แหล่งข้อมูลอื่น