ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อองซาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 61: บรรทัด 61:


เมื่อเป็นวัยรุ่น อองซานมักอ่านหนัวสือและครุ่นคิดกับตัวเองอยู่คนเดียวเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในบทความชิ้นแรกสุดที่เขาได้เขียน ซึ่งตีพิมพ์ในส่วน "ความเห็น" ของ ''The World of Books'' เขาต่อต้านแนวคิดปัจเจกนิยมของตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย[[U Thant|อู้ตั่น]] แต่ต่อมาอองซานและอู้ตั่นก็เป็นเพื่อนกัน<ref>Thant 214</ref>
เมื่อเป็นวัยรุ่น อองซานมักอ่านหนัวสือและครุ่นคิดกับตัวเองอยู่คนเดียวเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในบทความชิ้นแรกสุดที่เขาได้เขียน ซึ่งตีพิมพ์ในส่วน "ความเห็น" ของ ''The World of Books'' เขาต่อต้านแนวคิดปัจเจกนิยมของตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย[[U Thant|อู้ตั่น]] แต่ต่อมาอองซานและอู้ตั่นก็เป็นเพื่อนกัน<ref>Thant 214</ref>

== การปฏิวัติทะขิ่น ==
ในเดือนตุลาคม ปี 1938 อองซานออกจากการศึกษานิติศาสตร์และเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติ ในเวลานี้เขามีจุดยืนต่อต้านอังกฤษและต่อต้านลัทธิจักรวรรดิอย่างมั่นคง เขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ''[[Thakin|ทะขิ่น]]'' (สมาคมเราชาวพม่า) และเป็นเลขานุการของประชาคมจนถึงเดือนสิงหาคม 1940 ขณะดำรงตำแหน่ง เขาได้มีส่วนช่วยจัดการชุดการนัดประท้วงหยุดงานซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อการปฏิวัติ ME 1300 ซึ่งตั้งตาม[[Traditional Burmese calendar|ปีแบบพม่า]] 1300 ตรงกับเดือนสิงหาคม 1938 ถึงกรกฎาคม 1939<ref>Naw 41-43</ref>

ในวันที่ 18 มกราคม 1939 สมาคมเราชาวพม่าประกาศเจตจำนงที่จะใช้กำลังเพื่อล้มรัฐบาล ส่งผลให้ประชาคมถูกเพ่งเล็งและกำจัดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในวันที่ 23 มกราคม ตำรวจบุกเข้าสำนักงานของสมาคมทีท[[เจดีย์ชเวดากอง]] และอองซานถูกจับกุมและคุมขังในคุกเป็นเวลา 15 วัน ฐานอั้งยี่และสมรู้ร่วมคิดล้มล้างรัฐบาล แต่ต่อมาได้ถูกเพิกถอนข้อกล่าวหา<ref>Naw 44</ref> หลังเขาถูกปล่อยตัว เขาได้วางแผนการเพื่อขับเคลื่อนการได้รับเอกราชของพม่าโดยการเตรียมจัดการนัดประท้วงหยุดงานใหญ่ทั่วประเทศ, การรณรงค์ไม่จ่ายภาษี และจัดความไม่สงบผ่านการรบแบบกองโจร<ref name="Smith 582">Smith 58</ref>

มนเดือนสิงหาคม 1939 อองซานร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการประจำ[[Communist Party of Burma|พรรคคอมมิวนิสต์พม่า]] (CPB) ที่ซึ่งในภายหลังเขายอมรับว่าความสัมพันธ์กับพรรคไม่ค่อยราบรื่นนัก เขาเข้าร่วมและลาออกจากพรรคถึงสองครั้ง ไม่นานหลังตั้งพรรค เขาได้ตั้งองค์กรคล้ายคลึงขึ้นอีก คือ "พรรคประชาปฏิวัติ" (People's Revolutionary Party) หรืออีกชื่อคือ "พรรคปฏิวัติพม่า" (Burma Revolutionary Party) ซึ่งมีจุดยืนมาร์กซิสต์ มีเป้าหมายเพื่อล้มล้างการปกครองของอังกฤษเหนือพม่า ต่อมาพรรคนี้กลายเป็น[[Burma Socialist Party|พรรคสังคมนิยมพม่า]]หลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]<ref>Smith 56-57</ref>

นับตั้งแต่เป็นนักเรียนจนถึงสมัยทำงานทางการเมือง อองซานแทขไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก เขาจึงใช่ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงนี้อยู่ในความยากจน สมาชิกและผู้ร่วมงานกับเขาชื่นชมเขามากในฐานะบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมและจรรบาบรรณการทำงานที่แข็งแกร่ง แต่บางครั้งก็ถูกวิจารณ์ว่าเขาขาดทักษะการประชาสัมพันธ์ และบ้างถึงกับว่าเขาเป็นคนหยิ่งยโส ตลอดข่วงนี้เขาปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว<ref>Naw 45-48</ref>



== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:42, 19 กรกฎาคม 2564

อองซาน
အောင်ဆန်း
ผู้นำคนที่ 5 แห่งพม่าของบริเตน
รองประธานคณะผู้บริหารระดับสูงของพม่า
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน ค.ศ. 1946 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
ก่อนหน้าSir Paw Tun
ถัดไปอู้นุ (เป็นนายกรัฐมนตรี)
ประธานสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม ค.ศ. 1945 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปอู้นุ
รัฐมนตรีว่าการสงครามแห่งพม่า
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้าไม่มี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Htein Lin

13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915(1915-02-13)
Natmauk, เขตมะกเว, ประเทศพม่าของบริเตน
เสียชีวิต19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947(1947-07-19) (32 ปี)
ย่างกุ้ง, ประเทศพม่าของบริเตน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพMartyrs' Mausoleum, ประเทศพม่า
เชื้อชาติพม่า
ศาสนาพุทธเถรวาท
พรรคการเมืองสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า
คู่สมรสKhin Kyi (สมรส 1942)
บุตรAung San Oo
Aung San Lin
อองซานซูจี
Aung San Chit
ญาติU Pha (พ่อ)
Daw Suu (แม่)
Ba Win (พี่/น้องชาย)
Aung Than (พี่/น้องชาย)
Sein Win (หลานชาย)
Alexander Aris (หลานชาย)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
โรงเรียนมัธยมในเยนานช่อง
อาชีพนักการเมือง, พลตรี
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้Burma National Army
สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า
ยศพลตรี (เป็นยศที่สูงสุดในสมัยนั้น)

โบกโยเก อองซาน (พม่า: ဗိုလ်ချုပ် အောင်ဆန်း, เอ็มแอลซีทีเอส: aung hcan:, ออกเสียง: [àʊɰ̃ sʰáɰ̃]; 13 กุมภาพันธ์ 1915 – 19 กรกฎาคม 1947) เป็นนักการเมือง, นักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช และนักปฏิวัติชาวพม่า ผู้ก่อตั้งกองกำลังแห่งชาติพม่า และได้รับการขนานให้เป็นบิดาแห่งรัฐพม่าสมัยใหม่ เขามีบทบาทมากในการได้รับเอกราชของพม่า แต่ถูกลอบสังหารราวหกเดือนก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราช

อองซานทั้งก่อตั้งและมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับกลุ่มและขบวนการทางการเมือง และเข้าใช้ชีวิตไปกับการศึกษาแนวคิดทางการเมืองต่าง ๆ ตลอด เขาเป็นผู้นิยมการต่อต้านลัทธิจักรวรรดิ และเมื่อเป็นนักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม ต่อมาได้ศึกษาเกี่ยวกับลัทธิแพนเอเชียของญี่ปุ่นเมื่อครั้งเป็นสมาชิกของกองทัพญี่ปุ่น เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการระดับสูงของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน และเป็นบรรณาธิการประจำหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย อองซานเข้าร่วมประชาคมตาขิ่นในปี 1938 ในตำแหน่งเลขาธิการ และต่อมาได้ก่อตั้งพรรคคอมนิวสต์พม่า และพรรคสังคมนิยมแห่งพม่า

ชีวิตช่วงต้น

อองซานเกิดที่เมืองเล็ก ๆ ชื่อ Natmauk ใน Magway District เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1915 ในครอบครัวชนชั้นกลาง[1] เข้ามีพี่น้องรวมตัวเอง 9 คน โดยเป็นคนสุดท้อง ในจำนวนนี้เป็นพี่สาวสามคน และพี่บายห้าคน[2] ชื่อ "อองซาน" นั้นตั้งโดยพี่ชายคนหนึ่งของเขา Aung Than อองซานเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนพุทธของสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งใน Natmauk แต่ต่อมาได้ย้ายไป Yenangyaung ตอนอยู่ประถมสี่ หลังพี่ชายคนโตสุด Ba Win ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมที่เมืองนั้น[3]

เมื่อเป็นวัยรุ่น อองซานมักอ่านหนัวสือและครุ่นคิดกับตัวเองอยู่คนเดียวเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในบทความชิ้นแรกสุดที่เขาได้เขียน ซึ่งตีพิมพ์ในส่วน "ความเห็น" ของ The World of Books เขาต่อต้านแนวคิดปัจเจกนิยมของตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอู้ตั่น แต่ต่อมาอองซานและอู้ตั่นก็เป็นเพื่อนกัน[4]

การปฏิวัติทะขิ่น

ในเดือนตุลาคม ปี 1938 อองซานออกจากการศึกษานิติศาสตร์และเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติ ในเวลานี้เขามีจุดยืนต่อต้านอังกฤษและต่อต้านลัทธิจักรวรรดิอย่างมั่นคง เขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ ทะขิ่น (สมาคมเราชาวพม่า) และเป็นเลขานุการของประชาคมจนถึงเดือนสิงหาคม 1940 ขณะดำรงตำแหน่ง เขาได้มีส่วนช่วยจัดการชุดการนัดประท้วงหยุดงานซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อการปฏิวัติ ME 1300 ซึ่งตั้งตามปีแบบพม่า 1300 ตรงกับเดือนสิงหาคม 1938 ถึงกรกฎาคม 1939[5]

ในวันที่ 18 มกราคม 1939 สมาคมเราชาวพม่าประกาศเจตจำนงที่จะใช้กำลังเพื่อล้มรัฐบาล ส่งผลให้ประชาคมถูกเพ่งเล็งและกำจัดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในวันที่ 23 มกราคม ตำรวจบุกเข้าสำนักงานของสมาคมทีทเจดีย์ชเวดากอง และอองซานถูกจับกุมและคุมขังในคุกเป็นเวลา 15 วัน ฐานอั้งยี่และสมรู้ร่วมคิดล้มล้างรัฐบาล แต่ต่อมาได้ถูกเพิกถอนข้อกล่าวหา[6] หลังเขาถูกปล่อยตัว เขาได้วางแผนการเพื่อขับเคลื่อนการได้รับเอกราชของพม่าโดยการเตรียมจัดการนัดประท้วงหยุดงานใหญ่ทั่วประเทศ, การรณรงค์ไม่จ่ายภาษี และจัดความไม่สงบผ่านการรบแบบกองโจร[7]

มนเดือนสิงหาคม 1939 อองซานร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการประจำพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (CPB) ที่ซึ่งในภายหลังเขายอมรับว่าความสัมพันธ์กับพรรคไม่ค่อยราบรื่นนัก เขาเข้าร่วมและลาออกจากพรรคถึงสองครั้ง ไม่นานหลังตั้งพรรค เขาได้ตั้งองค์กรคล้ายคลึงขึ้นอีก คือ "พรรคประชาปฏิวัติ" (People's Revolutionary Party) หรืออีกชื่อคือ "พรรคปฏิวัติพม่า" (Burma Revolutionary Party) ซึ่งมีจุดยืนมาร์กซิสต์ มีเป้าหมายเพื่อล้มล้างการปกครองของอังกฤษเหนือพม่า ต่อมาพรรคนี้กลายเป็นพรรคสังคมนิยมพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[8]

นับตั้งแต่เป็นนักเรียนจนถึงสมัยทำงานทางการเมือง อองซานแทขไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก เขาจึงใช่ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงนี้อยู่ในความยากจน สมาชิกและผู้ร่วมงานกับเขาชื่นชมเขามากในฐานะบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมและจรรบาบรรณการทำงานที่แข็งแกร่ง แต่บางครั้งก็ถูกวิจารณ์ว่าเขาขาดทักษะการประชาสัมพันธ์ และบ้างถึงกับว่าเขาเป็นคนหยิ่งยโส ตลอดข่วงนี้เขาปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว[9]


อ้างอิง

  1. Thant 213
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nay 99
  3. Nay 106
  4. Thant 214
  5. Naw 41-43
  6. Naw 44
  7. Smith 58
  8. Smith 56-57
  9. Naw 45-48