ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ee chang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ee chang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
{{Infobox Airport
{{Infobox Airport
| name = ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
| name = ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
| nativename-a = Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport Airport
| nativename-a = Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport
| image = Mae Fah Luang Chiang Rai International Airport Chiang Rai.jpg
| image = Mae Fah Luang Chiang Rai International Airport Chiang Rai.jpg
| image-width = 250
| image-width = 250

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:50, 18 กรกฎาคม 2564

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport
  • IATA: CEI
  • ICAO: VTCT
    CEIตั้งอยู่ในประเทศไทย
    CEI
    CEI
    ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสนามบินพาณิชย์/ศุลกากร
ผู้ดำเนินงานบมจ. ท่าอากาศยานไทย
พื้นที่บริการจังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา
สถานที่ตั้งเลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
ฐานการบินไทยเวียดเจ็ทแอร์
ไทยแอร์เอเชีย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล390 เมตร / 1,280 ฟุต
พิกัด19°57′08″N 99°52′58″E / 19.95222°N 99.88278°E / 19.95222; 99.88278
เว็บไซต์www.facebook.com/CEI.Airport/
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
03/21 3,000 9,843 ยางมะตอย
สถิติ (2562)
ผู้โดยสาร2,928,884
เที่ยวบิน20,128
แหล่งข้อมูล: https://www.airportthai.co.th/
ภายในอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เชียงราย หรือ สนามบินเชียงราย (อังกฤษ: Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport) (IATA: CEIICAO: VTCT) ตั้งอยู่เลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ห่างจากถนนพหลโยธิน (เชียงราย - แม่จัน) ทางทิศตะวันออกประมาณ 2.6 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3,042 ไร่

ข้อมูลทั่วไป

ท่าอากาศยานเชียงรายเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สังกัดกรมการบินพาณิชย์ (บพ.) กระทรวงคมนาคม ต่อมา บพ.ได้ถูกโอนมาขึ้นอยู่กับการบริหารของ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาล ภายใต้ชื่อ "บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)” เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน[1]

ต่อมา คณะกรรมการ ทอท. มีมติเห็นชอบให้เพิ่มชื่อท่าอากาศยานเชียงรายเป็น ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามที่ได้มีการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ดังนั้น ทอท. จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา[2]

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เป็นสนามบินที่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนต่อปี และสามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ปานกลาง เช่น Boeing-777, Boeing-787 และ Airbus A330 และอากาศยานขนาดใหญ่มาก เช่น Boeing 747-200 Boeing 747-300 Boeing 747-400 แอร์บัส เอ340-500 และ แอร์บัส เอ340-600 ก็สามารถลงจอดได้ ในอดีต บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เคยนำเครื่องบิน แบบ โบอิง 747 ทำการบินเที่ยวบินจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปกลับ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 บริษัทการบินไทย ทำการบินโดยเครื่องบิน แอร์บัส เอ340 แบบ แอร์บัส เอ340-642[3]

ปัจจุบันมีสายการบินให้บริการที่ ทชร. จำนวน 5 สายการบิน (ณ 1 พ.ย. 63) แบ่งเป็นเส้นทางภายในประเทศ 5 สายการบิน (สายการบินการบินไทยสมายล์, ไทยเวียดเจ็ทแอร์, ไทยไลออนแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, และสายการบินนกแอร์) โดยเปิดบริการในเส้นทางดังต่อไปนี้ เชียงราย-กรุงเทพมหานคร ไป-กลับ วันละ 23 เที่ยวบิน รวม 46 เที่ยวบิน (แบ่งเป็นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 9 เที่ยวบิน, ท่าอากาศยานดอนเมือง 14 เที่ยวบิน - ข้อมูล ณ 1 พ.ย. 63) เชียงราย-ภูเก็ต วันละ 1 เที่ยวบิน รวม 2 เที่ยวบิน และเชียงราย-หาดใหญ่ วันละ 1 เที่ยวบิน รวม 2 เที่ยวบิน (ทำการบินในวันจันทร์/วันพุธ/วันศุกร์/วันอาทิตย์)

Boeing 737 ของสายการบินนกแอร์ ที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

รายชื่อสายการบิน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ภูเก็ต ภายในประเทศ
หาดใหญ่ ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ ฉางชา (หูหนาน) ระหว่างประเทศ (จันทร์, พุธ, ศุกร์, เสาร์)
ไทยแอร์เอเชีย หางโจว (เจ้อเจียง) ระหว่างประเทศ (จันทร์, พุธ, ศุกร์, อาทิตย์)
ไทยแอร์เอเชีย เซินเจิ้น (กวางตุ้ง) ระหว่างประเทศ (พุธ, ศุกร์, อาทิตย์)
ไหหนานแอร์ไลน์ เซินเจิ้น (กวางตุ้ง) ระหว่างประเทศ (อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์)
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู (เสฉวน) ระหว่างประเทศ (พฤหัสบดี, เสาร์)
เสฉวนแอร์ไลน์ กว่างโจว (กวางตุ้ง) ระหว่างประเทศ (อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์)
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ คุนหมิง (ยูนนาน) ระหว่างประเทศ (จันทร์, พุธ, ศุกร์)
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ จิ่งหง (สิบสองปันนา, เชียงรุ่ง) ระหว่างประเทศ (อังคาร, พฤหัสบดี, เสาร์)
ภายในอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
ภายนอกอาคารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

เส้นทางบินที่เคยให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
การบินไทย กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, ดอนเมือง, เชียงใหม่
ฮ่องกงเอ็กซเพรส ฮ่องกง
นกมินิ เชียงใหม่
วัน-ทู-โก กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
ภูเก็ตแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
ไทยแอร์เอเชีย มาเก๊า,หาดใหญ่, สิงคโปร์, ภูเก็ต, กัวลาลัมเปอร์
แองเจิลแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง
กานต์แอร์ เชียงใหม่
เป่ยจิงแคปิตอลแอร์ไลน์ ไหโข่ว
สายการบินทีเวย์ อินชอน (Chartered Flight)
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ อุดรธานี

สถิติ

ข้อมูลการจราจรในแต่ละปีปฏิทิน
ปี (พ.ศ.) ผู้ใช้บริการ (คน) เปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน
2551
682,512
2552
718,536
เพิ่มขึ้น 5.28%
2553
726,127
เพิ่มขึ้น 1.06%
2554
818,163
เพิ่มขึ้น 12.67%
5,819
2555
986,436
เพิ่มขึ้น 20.57%
2556
1,089,202
เพิ่มขึ้น 10.42%
2557
1,291,708
เพิ่มขึ้น 18.59%
10,029
2558
1,639,829
เพิ่มขึ้น 26.98%
12,799
2559
2,059,675
เพิ่มขึ้น 21.74%
14,590
2560
2,503,375
เพิ่มขึ้น 21.51%
17,661
2561 2,867,289 เพิ่มขึ้น 14.54% 20,072
2562 2,928,884 เพิ่มขึ้น 2.15% 20,128
2563 1,513,047 - 51.66 12,126
2564

(ม.ค.-พ.ค.)

344,116 - 45.70 3,194
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[4]

ข้อมูลจำเพาะของท่าอากาศยาน

  • ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ละติจูดที่ 19 องศา 57 ลิปดา 08 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูด 099 องศา 52 ลิปดา 59 ปิลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,279 ฟุต หรือ 390.23 เมตร
  • เปิดบริการ 24 ชั่วโมง.

ทางวิ่งอากาศยาน (RUN WAY)

ทางวิ่งมีหนึ่งเส้นทาง เป็นแอสฟัลติคคอนกรีตในทิศทาง 03/21 ค่าความแข็งของพื้นผิวทางวิ่ง PCN 84/F/D/X/T มีความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และ STOP WAY ปลายทางวิ่งทั้ง 2 ด้าน ยาวด้านละ 60 เมตร[5] สามารถรองรับอากาศยาน CODE E (กางปีกตั้งแต่ 52 เมตร ไม่เกิน 65 เมตร ฐานล้อ main กว้างตั้งแต่ 9 ถึง 14 เมตร) เช่น B-777, B-787 and A330

Code letter Wingspan Outer main gear wheel span Typical aeroplane
A < 15 m < 4.5 m PIPER PA-31/CESSNA 404 Titan
B 15 m but < 24 m 4.5 m but < 6 m BOMBARDIER Regional Jet CRJ-200/DE HAVILLAND CANADA DHC-6
C 24 m but < 36 m 6 m but < 9 m BOEING 737-700/AIRBUS A-320/EMBRAER ERJ 190-100
D 36 m but < 52 m 9 m but < 14 m B767 Series/AIRBUS A-310
E 52 m but < 65 m 9 m but < 14 m B777 Series/B787 Series/A330 Family
F 65 m but < 80 m 14 m but < 16 m BOEING 747-8/AIRBUS A-380-800

https://www.skybrary.aero/index.php/ICAO_Aerodrome_Reference_Code

ทางขับ (TAXI WAY)

EXIT TAXI WAY มี 2 เส้นทาง คือ TAXI WAY A และ TAXI WAY B (ไม่มี RAPID-EXIT TAXI WAY) ทางขับทั้งสองเส้นเป็นแอสฟัลติคคอนกรีต มีความกว้าง 23 เมตร ไหล่ทางขับกว้าง 10.5 เมตร ค่าความแข็งของพื้นผิวทางขับ (TAXI WAY) 84 F/D/X/T[6]

ลานจอดอากาศยาน

มีจำนวนเนื้อที่โดยประมาณ 45,330 ตารางเมตร ขนาด 120 x 337 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของทางวิ่ง ห่างจาก RUN WAY CENTER LINE 280 เมตรพื้นผิวเป็นคอนกรีต ค่าความแข็ง 73 R/D/X/T มีจำนวน หลุมจอดอากาศยาน จำนวน 7 หลุมจอด และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด[7]

หลุมจอดอากาศยาน

จำนวน 7 หลุมจอด แบ่งเป็น[8]

  • CONTACT GATE มีจำนวน 3 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-737
  • REMOTE มีจำนวน 4 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-747
  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด

ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 เพิ่มอีก 7 หลุมจอด เพื่อให้ขยายเป็น 14 หลุมจอด คาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จและพร้อมใช้งานสมบูรณ์ทุกหลุมจอดไม่เกินปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป[9]

อาคารผู้โดยสาร

เป็นอาคารเดี่ยวคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นที่ขนาด 60 x 180 เมตร พื้นที่ใช้ประโยชน์ 22,960 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่งได้ถึง 1,250 คน ประกอบด้วย[10]

พื้นที่รวม 22,960 ตารางเมตร
ห้องผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ 1,520 ตารางเมตร
ห้องผู้โดยสารขาออกภายในประเทศและระหว่างประเทศ 1,520 ตารางเมตร
สำนักงานท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย 470 ตารางเมตร
พื้นที่เช่าผู้ประกอบการ 1,730 ตารางเมตร
พื้นที่สำนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยราชการ 250 ตารางเมตร
พื้นที่สาธารณะอื่นๆ 17,927 ตารางเมตร

บริการที่จอดรถยนต์

  • พื้นที่รองรับการจอดรถ 1,200 คัน
อัตราค่าบริการจอดรถยนต์ ​
ระยะเวลาใช้บริการ รถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6 ล้อขึ้นไป
1 ชั่วโมง 10 บาท 20 บาท
2 ชั่วโมง 20 บาท 40 บาท
3 ชั่วโมง 35 บาท 70 บาท
4 -24 ชั่วโมง 150 บาท 200 บาท
หมายเหตุ เศษของชั่วโมงตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไปคิดเป็น 1 ชั่วโมง[11]

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ในการประชุมคณะกรรมการ ทอท. ครั้งที่ 10/2559 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนแม่บทการพัฒนา ทชร. โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่หนึ่ง ปี พ.ศ. 2561 - 2565 ระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2564 - 2569 และระยะที่สาม ปี พ.ศ. 2569 - 2570

แผนพัฒนาระยะที่หนึ่ง ปี พ.ศ. 2561-2565 (แผนเดิม)

- รองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้ถึงปี พ.ศ. 2568

- รองรับเที่ยวบินได้ 16 เที่ยวบิน/ชั่วโมง

- หลุมจอดอากาศยาน 10 หลุมจอด

- รองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน/ปี

- ที่จอดรถ 1,200 คัน

- สร้างทางขับคู่ขนาน

แผนพัฒนาระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2564-2569 (แผนเดิม)

- รองรับผู้โดยสารได้ 3.3 ล้านคน/ปี

- รองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้ถึงปี พ.ศ. 2573

- หลุมจอดอากาศยาน 12 หลุมจอด

- ขยายอาคารผู้โดยสารทางด้านทิศใต้ เพื่อรองรับการเพิ่มหลุมจอดระยะประชิดเป็น 6 หลุมจอด

แผนพัฒนาระยะที่สาม ปี พ.ศ. 2569-2574 (แผนเดิม)

- รองรับผู้โดยสารได้ 3.7 ล้านคน/ปี

- รองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้ถึงปี พ.ศ. 2578

- รองรับเที่ยวบินได้ 30 เที่ยวบิน/ชั่วโมง

- หลุมจอดอากาศยาน 13 หลุมจอด

ผู้อำนวยการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” เปิดเผยว่า ในฐานะที่เชียงรายเป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานที่คณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติให้ปรับแผนแม่บทใหม่ในการลงทุนพัฒนาปรับปรุงสนามบิน (เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 ที่ประชุมบอร์ด ทอท.อนุมัติให้ใช้วงเงินลงทุนรวมประมาณ 4,400 ล้านบาท ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารปัจจุบันซึ่งมีนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ในอาคารผู้โดยสารให้สะดวกสบายมากขึ้น

การลงทุนครั้งนี้จะต้องรอที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท.พิจารณารายละเอียดตามข้อเสนอจะปรับให้มีขีดความสามารถด้านการรองรับผู้โดยสารปีละ 5 ล้านคน แตกต่างจากแผนเดิมกำหนดให้รับได้เพียง 3.7 ล้านคน เนื่องจากปัจจุบันผู้โดยสารเดินทางผ่านเข้าออกเกือบ 3 ล้านคนแล้ว (ล่าสุด 2 ต.ค. 61 ยังมีมติให้ใช้แผนเดิม)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนชื่อสนามบินอนุญาตตามนามพระราชทาน (ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย)
  3. Airbus340-642 HS-TNB
  4. Airports of Thailand Public Company Limited. Statistics for airports operated by Airports of Thailand Public Company Limited, namely, Suvarnabhumi Airport, Phuket Airport, Chiang Mai Airport, Don Mueang Airport, Hat Yai Airport and Chiang Rai Airport (ไทย)
  5. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  6. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  7. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  8. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  9. https://www.matichon.co.th/news/195428
  10. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน
  11. ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ที่จอดรถ

แหล่งข้อมูลอื่น