ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท็อปนิวส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ผลตอบรับ: ตัดบางส่วน
บรรทัด 76: บรรทัด 76:


== ผลตอบรับ ==
== ผลตอบรับ ==
สำหรับผลตอบรับของผู้ชมต่อท็อปนิวส์ พบว่า ในวันเปิดสถานี มีผู้รับชมสดในทุกช่องทางสื่อสังคมรวมมากกว่า 10,000 คน<ref>{{Cite web|last=|date=2021-02-01|title=TOP News ประเดิมออนแอร์ "ข่าวมีคม" ชมผ่านไลฟ์ถล่มทลายหลักหมื่น|url=https://truthforyou.co/32620/|url-status=live|access-date=2021-03-11|website=THE TRUTH|language=th}}</ref> และตั้งแต่เริ่มเปิดสถานี สามารถทำเรตติ้งได้เป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเภท Non Must-Carry รองจากช่อง[[บูมเมอแรง (ประเทศไทย)|บูมเมอแรง]] และมีผู้รับชมย้อนหลังทุกรายการทางยูทูบรวมมากกว่า 200,000,000 ครั้ง ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่ได้นับรวมจำนวนผู้ชมรายการที่ออกอากาศสดในทุกช่องทางของแต่ละรายการ<ref name=":1" /> อย่างไรก็ตาม จากการวัดเรตติ้งของพีเอสไอพบว่า มีเพียงเดือนมีนาคมที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่องท็อปนิวส์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นเรตติ้งก็ลดลงทุกเดือน<ref>{{Cite web|url=https://web.facebook.com/YarmFaoJor/posts/3713268612231556|title=ส่องเรตติ้งช่องเน้นเรื่องข่าวบนทีวีดาวเทียม PSI ม.ค.-มิ.ย.64|date=2021-07-13|access-date=2021-07-14|website=[[เฟซบุ๊ก]]}}</ref>
สำหรับผลตอบรับของผู้ชมต่อท็อปนิวส์ พบว่า ในวันเปิดสถานี มีผู้รับชมสดในทุกช่องทางสื่อสังคมรวมมากกว่า 10,000 คน<ref>{{Cite web|last=|date=2021-02-01|title=TOP News ประเดิมออนแอร์ "ข่าวมีคม" ชมผ่านไลฟ์ถล่มทลายหลักหมื่น|url=https://truthforyou.co/32620/|url-status=live|access-date=2021-03-11|website=THE TRUTH|language=th}}</ref> และตั้งแต่เริ่มเปิดสถานี สามารถทำเรตติ้งได้เป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเภท Non Must-Carry รองจากช่อง[[บูมเมอแรง (ประเทศไทย)|บูมเมอแรง]]มาโดยตลอด<ref name=":1" /> อย่างไรก็ตาม จากการวัดเรตติ้งของพีเอสไอ พบว่า มีเพียงเดือนมีนาคมที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่องท็อปนิวส์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นเรตติ้งก็ลดลงทุกเดือน<ref>{{Cite web|url=https://web.facebook.com/YarmFaoJor/posts/3713268612231556|title=ส่องเรตติ้งช่องเน้นเรื่องข่าวบนทีวีดาวเทียม PSI ม.ค.-มิ.ย.64|date=2021-07-13|access-date=2021-07-14|website=[[เฟซบุ๊ก]]}}</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 16 กรกฎาคม 2564

ท็อปนิวส์
ชื่ออื่นท็อปทีวี
รูปแบบช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
ประเทศ ไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
คำขวัญThe Truth of Power
พลังแห่งความจริง คือที่สุดแห่งข่าวสาร
สำนักงานใหญ่206 ถนนประชาราษฏร์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
แบบรายการ
ภาษาไทย
ระบบภาพ576i (เอสดีทีวี; ทีวีดาวเทียม)
1080p (เอชดีทีวี; ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด
บุคลากรหลักตระกูล วินิจนัยภาค
ประธานที่ปรึกษา[1]
สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม
ประธานกรรมการบริหาร
ประวัติ
ก่อตั้ง18 ธันวาคม 2563 (2563-12-18)
โดย สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม
เริ่มออกอากาศ1 กุมภาพันธ์ 2564 (2564-02-01)
แทนที่ทีวีดี 10 (เช่าสัญญาณ)
ลิงก์
เว็บไซต์topnews.co.th
ออกอากาศ
ทีวีดาวเทียม
พีเอสไอช่อง 77
ดาวเทียม/เคเบิลช่อง 77

ท็อปนิวส์ (อังกฤษ: TOP NEWS) เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิลทีวี และสำนักข่าวผ่านสื่อทุกช่องทางในประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และประกอบด้วยนักข่าวหลายคนที่ลาออกจากเนชั่นทีวีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ทางช่องมักถูกโจมตีด้านการนำเสนอข่าวสาร แต่ทางช่องยืนยันว่าเสนอความจริงในทุกด้านที่จะนำไปสู่การปกป้อง 3 สถาบันหลักของประเทศ

ท็อปนิวส์ก่อตั้งในชื่อ ท็อปทีวี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันหลังเข้าสู่ พ.ศ. 2564 ระหว่างนี้พวกเขาเจรจากับสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลหลากหลายช่องแต่ไม่สำเร็จ จึงเปิดตัวเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในกลางเดือนมกราคม และเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ออกอากาศโดยการเชื่อมสัญญาณที่เช่าจากช่องทีวีดี 10 ของทีวีไดเร็ค ในกล่องรับสัญญาณพีเอสไอ ช่องหมายเลข 77 เป็นหลัก และออกอากาศคู่ขนานในสื่อสังคมอีกจำนวนหนึ่ง

ประวัติ

ออกจากเนชั่น

ในการประท้วงขับไล่รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 พบผู้สื่อข่าวของเนชั่นทีวีปกปิดสังกัดและแอบอ้างช่องอื่นในการสัมภาษณ์ผู้ชุมนุม ซึ่งเนชั่นยอมรับว่าเป็นความจริงเนื่องจากถูกกดดันในการทำหน้าที่ในฐานะสื่อที่ถูกผู้ชุมนุมมองว่าลำเอียงอย่างสุดโต่ง จากการนำเสนอข่าวสารเพื่อด้อยค่ากลุ่มผู้ชุมนุมของบุคลากรกลุ่มสุดโต่งในเนชั่นทีวี[2] จึงเกิดการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคเป็นกระแสในทวิตเตอร์ด้วยแฮชแท็ก #แบนสปอนเซอร์เนชั่น เพื่อตัดรายได้และกดดันให้เนชั่นเปลี่ยนแปลงแนวทางการนำเสนอข่าว[3] จึงเริ่มมีผู้สนับสนุนถอนออกจากเนชั่นไป ส่งผลกระทบต่อการหารายได้ของเครือเนชั่นอย่างมาก[4]

จากผลดังกล่าวส่งผลให้เครือเนชั่นต้องปฏิรูปองค์กรในช่วงเดือนพฤศจิกายน เพื่อป้องกันการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคในอนาคต โดยเริ่มจากการแต่งตั้ง อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ขัดแย้งกับบุคลากรกลุ่มสุดโต่ง มาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของเนชั่นทีวี ทำให้กลุ่มบุคลากรดังกล่าวลาออกจากเครือเนชั่นไป เริ่มจากสนธิญาณ[5] ที่ไปเคลื่อนไหวในสถาบันทิศทางไทยที่ตนก่อตั้งก่อนหน้านี้[6] ตามด้วยฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้จัดการของเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (บริษัทในเครือเนชั่น)[7], สันติสุข มะโรงศรี, อัญชะลี ไพรีรัก[8], สถาพร เกื้อสกุล[9], อุบลรัตน์ เถาว์น้อย[10], วรเทพ สุวัฒนพิมพ์[11], ธีระ ธัญไพบูลย์, กนก และ ลักขณา รัตน์วงศ์สกุล[12]

มีการคาดการณ์ว่าบุคลากรดังกล่าวจะไปจัดรายการที่ช่องนิว 18 (ปัจจุบันคือเจเคเอ็น 18) และเริ่มงานในวันที่ 1 ธันวาคม[13] แต่สุดท้ายผังรายการในช่วงเดือนธันวาคมของนิว 18 ก็ยังคงเป็นรูปแบบเดิม[14] ต่อมากนกชี้แจงว่าวันดังกล่าวกลุ่มของตนยังไม่ได้เริ่มงาน[15] และสันติสุขได้ชี้แจงเพิ่มว่าไม่ได้เจรจากับช่องนิวส์วันตามข่าวลืออีกข่าวหนึ่ง แต่มีการเจรจากับสถานีโทรทัศน์ 4 ช่อง[16] และมีกระแสข่าวอีกว่าพวกเขาจะไปร่วมงานที่ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ตามคำชวนของบุคคลภายในรัฐบาล ทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของ บมจ.อสมท เตรียมคัดค้าน[17] แต่อัญชะลีปฏิเสธ[18]

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม กลุ่มดังกล่าวประกาศว่าได้สถานีโทรทัศน์เรียบร้อยแล้ว และให้รอฟังสนธิญาณแถลง[19] โดยในวันที่ 8 ธันวาคม มีข่าวว่าผู้บริหารช่องนิว 18 ได้ขายใบอนุญาตให้กลุ่มดังกล่าวไปบริหาร และสั่งซื้อโฆษณาจากบริษัทที่มีชื่อเสียงประมาณ 6-7 บริษัท ซึ่งจะทำรายได้รวมกว่า 800 ล้านบาท และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภค โดยเริ่มบริหารในวันที่ 21 ธันวาคม[20] แต่เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการบริหารข่าวของนิว 18 ปฏิเสธ[21] เช่นเดียวกับอัญชะลีที่เลื่อนการเปิดตัวทีมของตนไปเป็นช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564[22]

ท็อปทีวี

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สนธิญาณกล่าวว่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 จะเปิดตัวทีมข่าวของตนในนาม ท็อปทีวี (อังกฤษ: TOP TV) โดยระหว่างนี้ได้เปิดเพจเฟซบุ๊ก Top News Live ไปก่อน[23] และจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท เพื่อประกอบกิจการของทีมข่าวท็อปทีวี[24] โดยมีสนธิญาณ, ฉัตรชัย และลักขณา เป็นกรรมการ[25] สำหรับที่มาของคำว่า "TOP" ของทีมข่าวท็อปทีวีนั้น วอยซ์ทีวีได้มีบทวิเคราะห์ออกมาว่า มาจากชื่อเล่นของบุคลากรในทีมข่าว 3 คน คือ T มาจาก "ต้อย" (สนธิญาณ), O มาจาก "อุ๋ย" (ฉัตรชัย) และ P มาจาก "ปอง" (อัญชะลี)[26] อย่างไรก็ตาม ท็อปทีวีเองก็ได้นิยามคำว่า TOP ว่ามาจากสโลแกนของตนคือ "The Truth of Power" ซึ่งแปลว่า "พลังแห่งความจริง"[27]

ต่อมาเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2564 ท็อปทีวีได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันคือ ท็อปนิวส์ (อังกฤษ: TOP NEWS) และเปิดรับสมัครงาน 74 ตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 มกราคม[28] จากนั้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม วุฒินันท์ นาฮิม ได้ลาออกจากเนชั่นทีวีมาร่วมงานกับกนกที่ท็อปนิวส์[29] และในวันเดียวกันมีข่าวอีกว่า พีพีทีวี จะดึงกลุ่มท็อปนิวส์มาเช่าเวลาผลิตข่าว ส่งผลให้ฝ่ายข่าวเดิมซึ่งนำโดยเสถียร วิริยะพรรณพงศา ไม่พอใจ จนมีฝ่ายข่าวส่วนหนึ่งรวมถึงเสถียรเองเตรียมลาออกกลับไปร่วมงานกับเนชั่นทีวี และกรุณา บัวคำศรี ผู้ประกาศข่าวคนสำคัญของพีพีทีวีได้เข้าไปเจรจากับผู้บริหารด้วยตัวเองว่าไม่ต้องการให้กลุ่มดังกล่าวเข้ามาผลิตรายการข่าวแต่ไม่สำเร็จ[30] แต่วันที่ 12 มกราคม วรเทพได้ปฏิเสธในรายการโทรทัศน์ของช่องสุวรรณภูมิ ขณะให้สัมภาษณ์กับอัญชลีพร กุสุมภ์ ที่โทรศัพท์เข้ามา โดยกล่าวว่า ข่าวที่ออกมาข้างต้นเป็นข่าวมั่วทั้งหมด[31] เช่นเดียวกับอัญชะลีที่โพสต์เฟซบุ๊กมีใจความว่า "จบช่องสิบแปดไม่มีช่องสามสิบหก" เป็นเชิงปฏิเสธข่าวข้างต้นเช่นกัน และให้รอติดตามในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในช่องทางใหม่[32]

วันที่ 13 มกราคม สนธิญาณประกาศเปิดตัว สถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ อย่างเป็นทางการ โดยยึดมั่นในการนำเสนอความจริงเพื่อปกป้อง 3 สถาบันหลักของประเทศ และกำหนดเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ต่อมาสันติสุขได้เปิดเผยช่องทางการออกอากาศว่า ท็อปนิวส์จะออกอากาศในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ทางช่องหมายเลข 77 และสื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาชนให้ความนิยมอีกจำนวนหนึ่ง[33] ทั้งนี้พบว่า อมร แต้อุดมกุล, ศิรวิฑย์ ชัยเกษม และตะวันรุ่ง เตี๋ยประดิษฐ์ ผู้ประกาศข่าวช่องนิว 18 ได้ลาออกมาร่วมงานที่ท็อปนิวส์ด้วย[34]

วันที่ 28 มกราคม มีกระแสข่าวอีกว่า ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี จะดึงสัญญาณรายการ "เล่าข่าวข้น" ของธีระและกนกจากท็อปนิวส์ มาออกอากาศคู่ขนานตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์[35] ทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของ บมจ.อสมท เตรียมคัดค้านอีกครั้ง[36] แต่อัญชะลีและกนกเองปฏิเสธทั้งคู่[37]

เปิดสถานี

วันที่ 21 มกราคม ผู้บริหารและพนักงานของท็อปนิวส์ได้จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาคารปฏิบัติการชั่วคราวของช่องท็อปนิวส์ที่ทีวีไดเร็คมอบให้[38] จากนั้นผู้บริหารได้ให้โอวาทแก่พนักงานของช่องก่อนเริ่มดำเนินงานออกอากาศสถานีข่าว[39]

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 00:01 น. สถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ เปิดสถานีอย่างเป็นทางการ โดยส่งสัญญาณภาพความละเอียดมาตรฐาน ในรูปแบบ M3U8 ขึ้นสู่ช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม 6 ช่องทีวีดี 10 ผ่านทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีทางช่องหมายเลข 77 ของบริษัท เอบีพีโอ จำกัด ในเครือทีวีไดเร็ค ที่ท็อปนิวส์เช่าสัญญาณอีกต่อหนึ่ง[40] รวมถึงส่งสัญญาณภาพความละเอียดสูงออกอากาศผ่านสัญญาณต่อเนื่องทางเว็บไซต์หลักของช่อง รวมทั้งเฟซบุ๊กและยูทูบในทุกรายการ[41] และได้เริ่มออกอากาศตามผังรายการที่วางไว้[42] โดยมีเอกชัย ชัยเชิดชูกิจ เป็นผู้อำนวยการสถานี[43] และยังกระจายเสียงรายการ "เช้าข่าวเข้ม" ไปออกอากาศคู่ขนานกับสถานีวิทยุกรมการพลังงานทหาร เอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิรตซ์อีกด้วย[44]

สำหรับชื่อสถานีโทรทัศน์ ในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 10 มีนาคม ยังคงใช้ชื่อช่องว่า "ทีวีดี 10" ควบคู่กับชื่อ "ท็อปนิวส์" และมีการแสดง 2 โลโก้ควบคู่กัน โดยถัดจากโลโก้ของท็อปนิวส์ทางด้านซ้ายเป็นโลโก้ของช่องทีวีดี 10 โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 17:09 น. ในรายการผ่าประเด็นร้อน[45] จนกระทั่งในวันที่ 10 มีนาคม ผู้บริหารของท็อปนิวส์ได้ทำเรื่องไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขออนุญาตเปลี่ยนชื่อช่องเป็น "ท็อปนิวส์" เพียงชื่อเดียว ซึ่ง กสทช. มีมติอนุญาตในการประชุมครั้งที่ 5/2564 ในวันเดียวกัน[43][40] ท็อปนิวส์จึงนำโลโก้ทีวีดี 10 ออกจากหน้าจอไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม เวลา 17:27 น. ในรายการผ่าประเด็นร้อนเช่นเดียวกัน[46]

วันที่ 18 พฤษภาคม มีข่าวว่า รายการ "ลายกนก ยกสยาม" ซึ่งกนกเป็นพิธีกร ได้รับงบประมาณ 4.8 ล้านบาทจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[47]

ผลตอบรับ

สำหรับผลตอบรับของผู้ชมต่อท็อปนิวส์ พบว่า ในวันเปิดสถานี มีผู้รับชมสดในทุกช่องทางสื่อสังคมรวมมากกว่า 10,000 คน[48] และตั้งแต่เริ่มเปิดสถานี สามารถทำเรตติ้งได้เป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมประเภท Non Must-Carry รองจากช่องบูมเมอแรงมาโดยตลอด[40] อย่างไรก็ตาม จากการวัดเรตติ้งของพีเอสไอ พบว่า มีเพียงเดือนมีนาคมที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่องท็อปนิวส์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นเรตติ้งก็ลดลงทุกเดือน[49]

อ้างอิง

  1. End Credit Top News, 2021-02-02, สืบค้นเมื่อ 2021-03-12
  2. "แจงปมผู้สื่อข่าวหญิงปกปิดต้นสังกัดรายงานข่าวม็อบ". เนชั่นทีวี. 2020-08-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-17.
  3. "จากใจเนชั่น ขอยืนหยัดทำข่าวบนพื้นฐานจริยธรรม วอนหยุดแบนสินค้า". คมชัดลึก. 2020-08-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  4. "แห่ถอนโฆษณาเนชั่น หลังม็อบปลดแอกกดดัน ไม่พอใจการนำเสนอข่าว". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ""สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม" ลาออกจากเนชั่น มีผล 1 มิ.ย. 63". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "สะพัด! "สันติสุข-อัญชะลี" ไขก๊อกเนชั่นซบ "นิว 18" หลังปั้นเรตติ้งมากว่า 2 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ฉัตรชัย ภู่โคกหวาย ลาออกจาก เนชั่นทีวี". ฐานเศรษฐกิจ. 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "'สันติสุข-อัญชะลี'อำลาเนชั่น แจงเหตุลาออก-เจอกัน'นิวทีวี'". เดลินิวส์. 2020-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "'สถาพร' แจงลาออก 'เนชั่น' พร้อมโชว์ 'เรตติ้ง' สัปดาห์สุดท้าย". มติชน. 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  10. "ลาจออีกคน! "หมิว อุบลรัตน์" ไขก๊อกเนชั่นตามรุ่นพี่ แย้มขอเดินตามฝันตัวเองอีกครั้ง". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  11. "ไหลออกต่อเนื่อง! "ต้น วรเทพ" ลาออกจากเนชั่น ฝากคำสอน "อย่าหนักแผ่นดิน" ไม่จงรักภักดีเสียเอง". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  12. "ฉาย แถลงปม 'กนก-ธีระ-ลักขณา' ลาออก ย้ำ 'กนก-ธีระ' ตำนานเนชั่น พร้อมต้อนรับกลับ". มติชน. 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  13. "เจ๊ปอง อัดแรง! ผู้บริหารเนชั่น โต้กลับลั่น ฉันไม่เคยบิดเบือน!! ด้านพิธีกรดัง ขยี้เสริม". ข่าวสด. 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  14. "ผังใหม่ NEW18 ไร้ "กนก-อัญชะลี" สะพัด "สนธิญาณ" คุยกับ "คุณแดง" ยังไม่ลงตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  15. ""กนก" แจง 1 ธ.ค.ยังไม่ได้ออกรายการ ชี้บางช่องติดต่อมากำลังเจรจา". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  16. ""สันติสุข" แย้มมีคุย 4 สถานีให้อดีตพิธีกรเนชั่นจัดรายการ หลังไร้วี่แววโผล่ช่อง "นิว 18"". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  17. "สะพัด! บิ๊ก รบ. ทุบโต๊ะ สั่ง "สนธิญาณ-ปอง-กนก" ยกก๊วนไปช่อง 9". มติชน. 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  18. "กลุ่มผู้ประกาศเนชั่นมาช่อง 9 แน่ พนักงาน อสมท สงสัย ทั้งที่เพิ่งเอาคนออกหลายร้อย". ข่าวสด. 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  19. "ปิดดีล! "อัญชะลี" ได้ช่องทีวีไปลงแล้ว รอ "สนธิญาณ" แถลงข่าวดี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  20. "สะพัด! สนธิญาณ ซื้อ นิวทีวี 800 ล้าน ใบอนุญาต 8 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-08. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  21. "ยังไม่จบดีล! พิธีกรทีมสนธิญาณ ยังไม่อยู่ในผังรายการนิวทีวี". ประชาชาติธุรกิจ. 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-06.
  22. "อะไรยังไง! 'ปอง อัญชะลี' โพสต์ไม่มีแถลงข่าว ไม่ต้องตามหา มกราคมเจอกัน". มติชน. 2020-12-15. สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. ""สนธิญาณ" แบไต๋แบรนด์ "ท็อปทีวี" ปั้น 7 อดีตผู้ประกาศเนชั่น โวมีเครดิตพอกู้เงิน ม.ค.นี้ได้ดูแน่". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "ข้อมูล บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิตัล มีเดีย จำกัด". DATA for Thai. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. isranews (2021-01-14). "สำนักข่าวท็อปนิวส์ 'เสี่ยต้อย' ถือหุ้น 95%". สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2021-03-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "Overview-จอมขวัญย้ายช่อง ถามตรงๆ ถึงจุดเปลี่ยน กนก-อัญชะลี ป้วนเปี้ยนช่องใกล้วอยซ์ จ่อคืนจอ". ยูทูบ. 2020-12-26. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "เรากลับมาพร้อมกับ สิ่งที่จะต้องนำเสนอให้ทุกคนได้รู้". เฟซบุ๊ก. 2020-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-06-03.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. Sriroengla, Pafun (2021-01-09). "ช่องสนธิญาณ TOP News รับสมัครพนักงานกว่า 70 ตำแหน่ง". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "ผู้ประกาศเนชั่นลาออกรายที่ 8 ร่วมงานกับ "กนก" จับมือโปรดิวเซอร์ทำรายการใหม่". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "ลุ้น "กนก-เจ๊ปอง" จะได้ช่องลง! สะพัด "สนธิญาณ" จ่อขนทีมไป PPTV ช่อง 36 แต่กอง บก.ค้านแหลก". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. ""ผมพูดแค่นี้เลยว่าข่าว 'มั่ว' ทั้งหมด!" คำตอบสั้นๆ ได้ใจความ". ทวิตเตอร์. 2021-01-12. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. Sriroengla, Pafun (2021-01-13). "วันนี้ ลุ้น "สนธิญาณ" พาทีมลงช่องไหน? "เจ๊ปอง" ใบ้ จบเลข 18". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. Sriroengla, Pafun (2021-01-13). "สนธิญาณ เล่าความอัดอั้น-ถูกขัดขวาง ช่วง 3 เดือน เจรจาทีวี". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. "เผยแล้ว! แบนเนอร์ช่องใหม่สนธิญาณ "ท็อปนิวส์" PSI 77 พบดึงผู้ประกาศ "นิว 18" มาด้วย". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. Sriroengla, Pafun (2021-01-28). "สนธิญาณ นำทีมท็อปทีวี ออกอากาศ ช่อง 9 ดีเดย์ 15 ก.พ." ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  36. Sriroengla, Pafun (2021-01-29). "สหภาพฯ ช่อง 9 แถลงการณ์กรณี "สนธิญาณ" ยกทีมออกอากาศ". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  37. "อัญชะลี-กนก ยืนยันชัดเจน! ข่าวลือไป MCOT ไม่จริง ยังอยู่ Top News เหมือนเดิม". ไบรท์ทีวี. 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  38. "2564 ทีวีดาวเทียมยังไม่ตาย?". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  39. "ประมวลภาพ สนธิญาณ นำทีมงาน TOP News บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนออนแอร์". ไบรท์ทูเดย์. 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. 40.0 40.1 40.2 ดิษฐบรรจง, กฤตนัน (2021-05-14). "TOPNEWS TV : ท็อปนิวส์ในวันที่ทีวีเลือกข้างมีคนดู?". ส่องสื่อ. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  41. ต๊อบ วุฒินันท์ นาฮิม บน Facebook Watch, 2021-02-01, สืบค้นเมื่อ 2021-03-11
  42. "'TOP NEWS'ออนแอร์แล้ว 'สันติสุข-ตะวันรุ่ง'ประเดิมจอ". เดลินิวส์. 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  43. 43.0 43.1 "สรุปมติที่ประชุม กสทช. 5/2564". คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. 2021-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  44. "ผังรายการ สถานีวิทยุ 90.5". www.smartbomb.co.th. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  45. "ผ่าประเด็นร้อน | 1 ก.พ. 64 | FULL | TOP NEWS". ยูทูบ. 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  46. "ผ่าประเด็นร้อน | 19 มี.ค. 64 | FULL | TOP NEWS". ยูทูบ. 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. "กองทุนพัฒนาสื่อฯ ตอบ: ทำไมท็อปนิวส์ได้งบ 4.8 ล้านผลิต "ลายกนก"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
  48. "TOP News ประเดิมออนแอร์ "ข่าวมีคม" ชมผ่านไลฟ์ถล่มทลายหลักหมื่น". THE TRUTH. 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "ส่องเรตติ้งช่องเน้นเรื่องข่าวบนทีวีดาวเทียม PSI ม.ค.-มิ.ย.64". เฟซบุ๊ก. 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.

แหล่งข้อมูลอื่น