ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิวนิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 38: บรรทัด 38:


เศรษฐกิจหลักของมิวนิกอยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรม[[เทคโนโลยีขั้นสูง|ไฮเทค]] [[ยานยนต์]] [[ภาคเศรษฐกิจขั้นที่ 3|ภาคบริการ]] และ[[เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์|อุตสาหกรรมสร้างสรรค์]] รวมถึงด้าน[[ไอที]] [[เทคโนโลยีชีวภาพ]] [[วิศวกรรม]] และ[[อิเล็กทรอนิกส์]] เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติจำนวนมาก เช่น [[BMW]], [[Siemens]], [[มัน (บริษัท)|MAN]], [[ลินเด้|Linde]], [[Allianz]] และ [[มิวนิกรี|MunichRE]] มิวนิกเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวิจัย 2 แห่ง สถาบันวิทยาศาสตร์มากมาย และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ระดับโลก เช่น [[ด็อยท์เชิสมูเซอุม|พิพิธภัณฑ์เยอรมัน]] และ[[พิพิธภัณฑ์บีเอ็มดับเบิลยู]]<ref>{{Cite journal |doi = 10.1038/d41586-018-07208-0|pmid = 30382228|title = A European heavyweight|journal = Nature|volume = 563|issue = 7729|pages = S14–S15|year = 2018|last1 = Boytchev|first1 = Hristio|bibcode = 2018Natur.563S..14B|doi-access = free}}</ref> มิวนิกมีสถานที่ท่องเที่ยวทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม งานกีฬา นิทรรศการ และเทศกาล[[อ็อกโทเบอร์เฟสต์]]ประจำปีที่มีชื่อเสียงของเมือง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก<ref>{{cite web|url=http://www.muenchen.de/int/en/tourism.html|title=Munich Travel Tourism Munich|publisher=muenchen.de|access-date=12 February 2016|archive-url=https://web.archive.org/web/20160214135103/http://www.muenchen.de/int/en/tourism.html|archive-date=14 February 2016|url-status=live}}</ref> ประชากรของเมืองที่มีภูมิหลังเป็นชาวต่างชาติมีสัดส่วนคิดเป็นถึง 37.7% ของประชากรทั้งหมดหรือมากกว่า 530,000 คน<ref>{{cite web|title = Ausländeranteil in der Bevölkerung: In München ist die ganze Welt zu Hause – Abendzeitung München|url = http://www.abendzeitung-muenchen.de/inhalt.auslaenderanteil-in-der-bevoelkerung-in-muenchen-ist-die-ganze-welt-zu-hause.1bbca6db-2896-4aa6-9d99-79255a614e5a.html|website = www.abendzeitung-muenchen.de|access-date = 31 December 2015|archive-url = https://web.archive.org/web/20151231231732/http://www.abendzeitung-muenchen.de/inhalt.auslaenderanteil-in-der-bevoelkerung-in-muenchen-ist-die-ganze-welt-zu-hause.1bbca6db-2896-4aa6-9d99-79255a614e5a.html|archive-date = 31 December 2015|url-status = live}}</ref>
เศรษฐกิจหลักของมิวนิกอยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรม[[เทคโนโลยีขั้นสูง|ไฮเทค]] [[ยานยนต์]] [[ภาคเศรษฐกิจขั้นที่ 3|ภาคบริการ]] และ[[เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์|อุตสาหกรรมสร้างสรรค์]] รวมถึงด้าน[[ไอที]] [[เทคโนโลยีชีวภาพ]] [[วิศวกรรม]] และ[[อิเล็กทรอนิกส์]] เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติจำนวนมาก เช่น [[BMW]], [[Siemens]], [[มัน (บริษัท)|MAN]], [[ลินเด้|Linde]], [[Allianz]] และ [[มิวนิกรี|MunichRE]] มิวนิกเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวิจัย 2 แห่ง สถาบันวิทยาศาสตร์มากมาย และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ระดับโลก เช่น [[ด็อยท์เชิสมูเซอุม|พิพิธภัณฑ์เยอรมัน]] และ[[พิพิธภัณฑ์บีเอ็มดับเบิลยู]]<ref>{{Cite journal |doi = 10.1038/d41586-018-07208-0|pmid = 30382228|title = A European heavyweight|journal = Nature|volume = 563|issue = 7729|pages = S14–S15|year = 2018|last1 = Boytchev|first1 = Hristio|bibcode = 2018Natur.563S..14B|doi-access = free}}</ref> มิวนิกมีสถานที่ท่องเที่ยวทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม งานกีฬา นิทรรศการ และเทศกาล[[อ็อกโทเบอร์เฟสต์]]ประจำปีที่มีชื่อเสียงของเมือง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก<ref>{{cite web|url=http://www.muenchen.de/int/en/tourism.html|title=Munich Travel Tourism Munich|publisher=muenchen.de|access-date=12 February 2016|archive-url=https://web.archive.org/web/20160214135103/http://www.muenchen.de/int/en/tourism.html|archive-date=14 February 2016|url-status=live}}</ref> ประชากรของเมืองที่มีภูมิหลังเป็นชาวต่างชาติมีสัดส่วนคิดเป็นถึง 37.7% ของประชากรทั้งหมดหรือมากกว่า 530,000 คน<ref>{{cite web|title = Ausländeranteil in der Bevölkerung: In München ist die ganze Welt zu Hause – Abendzeitung München|url = http://www.abendzeitung-muenchen.de/inhalt.auslaenderanteil-in-der-bevoelkerung-in-muenchen-ist-die-ganze-welt-zu-hause.1bbca6db-2896-4aa6-9d99-79255a614e5a.html|website = www.abendzeitung-muenchen.de|access-date = 31 December 2015|archive-url = https://web.archive.org/web/20151231231732/http://www.abendzeitung-muenchen.de/inhalt.auslaenderanteil-in-der-bevoelkerung-in-muenchen-ist-die-ganze-welt-zu-hause.1bbca6db-2896-4aa6-9d99-79255a614e5a.html|archive-date = 31 December 2015|url-status = live}}</ref>

== ชื่อ ==

[[ไฟล์:Großes_Stadtwappen_München.svg|thumb|150px|[[ตราอาร์ม]]ใหญ่ของมิวนิก]]
ชื่อของเมืองมักจะถูกตีความว่ามีรากศัพท์จาก[[ภาษาเยอรมันสูงเก่า]]หรือ[[ภาษาเยอรมันสูงกลาง|เยอรมันสูงกลาง]] ''Munichen'' หมายถึง "โดยเหล่าพระ" (by the monks) ซึ่งหมายถึงพระใน[[คณะเบเนดิกติน]] ผู้ดูแลวัดในพื้นที่ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเมืองเก่าของมิวนิก<ref>{{cite web |title=Munich |url=https://www.etymonline.com/word/munich |website=Online Etymology Dictionary |language=en}}</ref> บน[[ตราอาร์ม]]ของเมืองในปัจจุบันยังมีภาพของพระอยู่หนึ่งรูป

มิวนิกถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในชื่อ ''forum apud Munichen'' ในใบอนุญาโตตุลาการเอาคส์บวร์ค ({{lang-de|Augsburger Schied}}) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1158 โดย[[จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]<ref name="Reitzenstein2006">{{citation|surname1=[[:de:Wolf-Armin von Reitzenstein|Wolf-Armin Freiherr von Reitzenstein]]|title=Lexikon bayerischer Ortsnamen. Herkunft und Bedeutung. Oberbayern, Niederbayern, Oberpfalz|publisher=[[Verlag C.H.Beck|C.&nbsp;H.&nbsp;Beck]]|location=München|at=p.&nbsp;171|contribution=München|isbn=978-3-406-55206-9|date=2006|language=de
}}</ref><ref>''Deutsches Ortsnamenbuch.'' Hrsg. von Manfred Niemeyer. De Gruyter, Berlin/Boston 2012, S.&nbsp;420.</ref>

ชื่อของเมืองในภาษาเยอรมันสมัยใหม่คือ "München" แต่ถูกแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาอื่น ๆ ใช้คำว่า "Munich" ในภาษาอิตาลี "Monaco (di Baviera)" ในภาษาโปรตุเกส "Munique"{{refn|ดูรายชื่อเต็มที่ [https://de.wiktionary.org/wiki/M%C3%BCnchen#%C3%9Cbersetzungen วิกิพจนานุกรมภาษาเยอรมัน]}}


== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==

[[ไฟล์:Munich skyline.jpg|thumb|left|250px|[[โบสถ์แม่พระมิวนิก]] และยอดของศาลากลางเมืองมิวนิก]]
[[ไฟล์:Munich skyline.jpg|thumb|left|250px|[[โบสถ์แม่พระมิวนิก]] และยอดของศาลากลางเมืองมิวนิก]]
มิวนิกสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1158 เมื่อแคว้น[[บาวาเรีย]]รวมตัวกันสำเร็จในค.ศ. 1506 มิวนิกจึงกลายเป็นเมืองหลวงของบาวาเรียปี ค.ศ. 1806 มิวนิกเป็นเมืองหลวงของ[[ราชอาณาจักรบาวาเรีย]]ที่สถาปนาใหม่ ในช่วงนั้นมิวนิกถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุโรปพื้นทวีป มิวนิกมีประชากร 100,000 คนเมื่อค.ศ. 1946 และ 500,000 คนเมื่อ ค.ศ. 1901
มิวนิกสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1158 เมื่อแคว้น[[บาวาเรีย]]รวมตัวกันสำเร็จในค.ศ. 1506 มิวนิกจึงกลายเป็นเมืองหลวงของบาวาเรียปี ค.ศ. 1806 มิวนิกเป็นเมืองหลวงของ[[ราชอาณาจักรบาวาเรีย]]ที่สถาปนาใหม่ ในช่วงนั้นมิวนิกถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุโรปพื้นทวีป มิวนิกมีประชากร 100,000 คนเมื่อค.ศ. 1946 และ 500,000 คนเมื่อ ค.ศ. 1901

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:39, 15 กรกฎาคม 2564

มิวนิก (Munich)

มึนเชิน (München)
จากซ้ายไปขวา: โบสถ์แม่พระมิวนิก, พระราชวังนึมเฟินบวร์ค, สำนักงานใหญ่ BMW , ศาลาเมืองหลังใหม่, มึนเชินฮอฟการ์เทิน และอัลลีอันทซ์อาเรนา
จากซ้ายไปขวา:
โบสถ์แม่พระมิวนิก, พระราชวังนึมเฟินบวร์ค, สำนักงานใหญ่ BMW , ศาลาเมืองหลังใหม่, มึนเชินฮอฟการ์เทิน และอัลลีอันทซ์อาเรนา
ธงของมิวนิก (Munich)
ธง
ตราราชการของมิวนิก (Munich)
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของมิวนิก (Munich)
แผนที่
ประเทศเยอรมนี
รัฐไบเอิร์น
จังหวัดโอเบอร์ไบเอิร์น
อำเภอนครนอกอำเภอ
เขตการปกครอง25 boroughs
พื้นที่
 • นคร310.43 ตร.กม. (119.86 ตร.ไมล์)
ความสูง519 เมตร (1,703 ฟุต)
ประชากร
 (2020-12-31)[1]
 • นคร1,488,202 คน
 • ความหนาแน่น4,800 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,606,021 คน
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์80331–81929
รหัสโทรศัพท์089
ทะเบียนพาหนะM
เว็บไซต์www.muenchen.de

มิวนิก (อังกฤษ: Munich; เยอรมัน: München มึนเชิน [ˈmʏnçn̩] ( ฟังเสียง); ไบเอิร์น: Minga [ˈmɪŋ(ː)ɐ]( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐไบเอิร์น ประเทศเยอรมนี มีประชากรทั้งสิ้น 1,558,395 คน (31 กรกฎาคม 2020)[2] ในพื้นที่ 310 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเยอรมนีรองจากเบอร์ลินและฮัมบูร์ก และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้มีสถานะเป็นรัฐในตัวเอง ทั้งนี้ยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ในสหภาพยุโรป เขตมหานครและปริมณฑลมิวนิกมีผู้อยู่อาศัยราว 6 ล้านคน[3]

มิวนิกตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอีซาร์ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำดานูบ ทางเหนือของเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตปกครองส่วนภูมิภาคโอเบอร์ไบเอิร์น และเป็นเขตปกครองที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดในเยอรมนี (4,500 คนต่อ ตร.กม.) มิวนิกเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในพื้นที่ภาษาถิ่นไบเอิร์น รองจากกรุงเวียนนา เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย

เมืองนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1158 ฝ่ายคาทอลิกมิวนิกต่อต้านการปฏิรูปศาสนาอย่างรุนแรงและเป็นจุดแตกทางการเมืองในช่วงที่เกิดสงครามสามสิบปี แต่ไม่เคยเกิดการปะทะกันโดยตรงแม้จะถูกยึดครองโดยชาวโปรเตสแตนต์สวีเดน[4] เมื่อภูมิภาคไบเอิร์นถูกสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรอธิปไตยในปี ค.ศ. 1806 มิวนิกกลายเป็นศูนย์กลางศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของยุโรป ในปี ค.ศ. 1918 ระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค ซึ่งปกครองไบเอิร์นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1180 ถูกบังคับให้สละราชสมบัติในมิวนิก หลังจากนั้นได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมซึ่งมีอายุเพียงไม่นาน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 มิวนิกกลายเป็นบ้านของกลุ่มการเมืองหลากหลาย รวมถึงกลุ่ม NSDAP หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของนาซี มิวนิกได้รับการประกาศให้เป็น "เมืองหลวงแห่งขบวนการ" เมืองถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ได้มีการฟื้นฟูภูมิทัศน์ของเมืองกลับเป็นแบบดั้งเดิมเกือบทั้งหมด หลังสิ้นสุดการยึดครองของอเมริกาภายหลังสงครามในปี ค.ศ. 1949 ประชากรในเมืองและอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่เรียกว่า Wirtschaftswunder หรือ "ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ" มิวนิกเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 และเป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และ 2006

ปัจจุบัน มิวนิกเป็นศูนย์กลางระดับโลกในด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การเงิน สิ่งพิมพ์ วัฒนธรรม นวัตกรรม การศึกษา ธุรกิจ และการท่องเที่ยว และมีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตในระดับสูงมาก ตามการสำรวจของ Mercer ในปี ค.ศ. 2018 มิวนิกขึ้นเป็นที่หนึ่งของเยอรมนีและอันดับสามของโลก[5] และถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลกตามการสำรวจคุณภาพชีวิตของ Monocle 2018[6] จากข้อมูลของสถาบันวิจัยโลกาภิวัตน์และการจัดอันดับโลกเมื่อ ค.ศ. 2015 มิวนิกถูกจัดอันดับเป็นเมืองประเภท Alpha[7] ถือเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดแห่งหนึ่ง[8] และเติบโตเร็วที่สุดในเยอรมนี[9]

เศรษฐกิจหลักของมิวนิกอยู่บนพื้นฐานของอุตสาหกรรมไฮเทค ยานยนต์ ภาคบริการ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงด้านไอที เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรม และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติจำนวนมาก เช่น BMW, Siemens, MAN, Linde, Allianz และ MunichRE มิวนิกเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยวิจัย 2 แห่ง สถาบันวิทยาศาสตร์มากมาย และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ระดับโลก เช่น พิพิธภัณฑ์เยอรมัน และพิพิธภัณฑ์บีเอ็มดับเบิลยู[10] มิวนิกมีสถานที่ท่องเที่ยวทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม งานกีฬา นิทรรศการ และเทศกาลอ็อกโทเบอร์เฟสต์ประจำปีที่มีชื่อเสียงของเมือง ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก[11] ประชากรของเมืองที่มีภูมิหลังเป็นชาวต่างชาติมีสัดส่วนคิดเป็นถึง 37.7% ของประชากรทั้งหมดหรือมากกว่า 530,000 คน[12]

ชื่อ

ตราอาร์มใหญ่ของมิวนิก

ชื่อของเมืองมักจะถูกตีความว่ามีรากศัพท์จากภาษาเยอรมันสูงเก่าหรือเยอรมันสูงกลาง Munichen หมายถึง "โดยเหล่าพระ" (by the monks) ซึ่งหมายถึงพระในคณะเบเนดิกติน ผู้ดูแลวัดในพื้นที่ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเมืองเก่าของมิวนิก[13] บนตราอาร์มของเมืองในปัจจุบันยังมีภาพของพระอยู่หนึ่งรูป

มิวนิกถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในชื่อ forum apud Munichen ในใบอนุญาโตตุลาการเอาคส์บวร์ค (เยอรมัน: Augsburger Schied) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1158 โดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[14][15]

ชื่อของเมืองในภาษาเยอรมันสมัยใหม่คือ "München" แต่ถูกแปลออกเป็นภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาอื่น ๆ ใช้คำว่า "Munich" ในภาษาอิตาลี "Monaco (di Baviera)" ในภาษาโปรตุเกส "Munique"[16]

ประวัติศาสตร์

โบสถ์แม่พระมิวนิก และยอดของศาลากลางเมืองมิวนิก

มิวนิกสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1158 เมื่อแคว้นบาวาเรียรวมตัวกันสำเร็จในค.ศ. 1506 มิวนิกจึงกลายเป็นเมืองหลวงของบาวาเรียปี ค.ศ. 1806 มิวนิกเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรบาวาเรียที่สถาปนาใหม่ ในช่วงนั้นมิวนิกถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุโรปพื้นทวีป มิวนิกมีประชากร 100,000 คนเมื่อค.ศ. 1946 และ 500,000 คนเมื่อ ค.ศ. 1901

หลังจากถูกโจมตีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ราชวงศ์ที่ปกครองมิวนิกได้หลบหนีไปอยู่เมืองอื่น จึงเปิดโอกาสให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ปกครองมิวนิกแทนในปีค.ศ. 1919 แต่ก็ปกครองได้ไม่นานนัก เนื่องจากถูกโค่นล้มโดยกลุ่มนักการทหารไฟรคอร์

ค.ศ. 1923 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีพยายามยึดอำนาจการปกครองมิวนิกที่เรียกว่ากบฏโรงเบียร์ การปฏิวัติล้มเหลว ส่งผลให้ฮิตเลอร์ถูกจับกุม กิจกรรมของพรรคนาซีต้องหยุดลง ก่อนที่ฮิตเลอร์จะกลับมามีอำนาจอีกครั้งในค.ศ. 1933 โดยที่ทำการใหญ่ของพรรคนาซีเยอรมันอยู่ในมิวนิก

มิวนิกเสียหายอย่างหนักในสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากถูกทิ้งระเบิดถึง 71 ครั้งในช่วง 5 ปี หลังจากสหรัฐอเมริกายึดครองมิวนิกสำเร็จในค.ศ. 1945 มิวนิกก็ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็ว มีประชากรเกิน 1 ล้านคนในค.ศ. 1957

มิวนิกได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ค.ศ. 1972 ที่สนามกีฬาโอลิมปิก โดยโอลิมปิกครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ ได้บุกเข้าไปสังหารนักกีฬาชาวอิสราเอล ปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันล้มเหลว ส่งผลให้ตัวประกันชาวอิสราเอลเสียชีวิตทั้งหมด

มิวนิกยังเป็นหนึ่งในเมืองที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และฟุตบอลโลก 2006

ภูมิศาสตร์

เมืองมิวนิกตั้งอยู่บนที่ราบสูงบาวาเรียตอนบน อยู่ห่างจากตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ไปทางทิศเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร มิวนิกตั้งอยู่สูง 520 เมตร (1,706.04 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านได้แก่ แม่น้ำอีซาร์ และแม่น้ำเวือร์ม

ภูมิอากาศ

มิวนิกมีสภาพอากาศแบบภาคพื้นทวีป สภาพอากาศที่รุนแรงบางครั้งเกิดโดยการที่อยู่ใกล้กับเทือกเขาแอลป์ ความสูงของเมืองและความใกล้ชิดกับเทือกเขาแอลป์แสดงถึงการมีปริมาณหิมะตกที่สูง พายุฝนมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและคาดไม่ถึง อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน หรือฤดูหนาวและฤดูร้อนอาจแตกต่างกันมาก ลมอุ่นจากเทือกเขาแอลป์ (เรียกว่า ลมเฟิห์น) สามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้รวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง แม้แต่ในฤดูหนาว

ฤดูหนาวมีช่วงตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคม เมืองมิวนิกประสบกับฤดูหนาวที่หนาวจัด ซึ่งฝนตกหนักสามารถเกิดขึ้นได้ในฤดูหนาว แต่ไม่บ่อยนัก ช่วงเดือนที่หนาวที่สุดคือมกราคม ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ -1 องศาเซลเซียส (30 องศาฟาเรนไฮต์) หิมะจะปกคลุมอย่างน้อย 2 อาทิตย์ในฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนจะมีอากาศเย็นสบาย โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) โดยเดือนที่ร้อนที่สุดคือกรกฎาคม ช่วงเวลาฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน

ข้อมูลภูมิอากาศของนครมึนเชิน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.9
(66)
21.4
(70.5)
24.0
(75.2)
32.2
(90)
31.8
(89.2)
35.2
(95.4)
37.5
(99.5)
37.0
(98.6)
31.8
(89.2)
28.2
(82.8)
24.2
(75.6)
21.7
(71.1)
37.5
(99.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.5
(38.3)
5.0
(41)
9.5
(49.1)
14.2
(57.6)
19.1
(66.4)
21.9
(71.4)
24.4
(75.9)
23.9
(75)
19.4
(66.9)
14.3
(57.7)
7.7
(45.9)
4.2
(39.6)
13.9
(57)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.3
(32.5)
1.4
(34.5)
5.3
(41.5)
9.4
(48.9)
14.3
(57.7)
17.2
(63)
19.4
(66.9)
18.9
(66)
14.7
(58.5)
10.1
(50.2)
4.4
(39.9)
1.3
(34.3)
9.7
(49.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -2.5
(27.5)
-1.9
(28.6)
1.6
(34.9)
4.9
(40.8)
9.4
(48.9)
12.5
(54.5)
14.5
(58.1)
14.2
(57.6)
10.5
(50.9)
6.6
(43.9)
1.7
(35.1)
-1.2
(29.8)
5.9
(42.6)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -22.2
(-8)
-25.4
(-13.7)
-16.0
(3.2)
-6.0
(21.2)
-2.3
(27.9)
1.0
(33.8)
6.5
(43.7)
4.8
(40.6)
0.6
(33.1)
-4.5
(23.9)
-11.0
(12.2)
-20.7
(-5.3)
−25.4
(−13.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 48
(1.89)
46
(1.81)
65
(2.56)
65
(2.56)
101
(3.98)
118
(4.65)
122
(4.8)
115
(4.53)
75
(2.95)
65
(2.56)
61
(2.4)
65
(2.56)
944
(37.17)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 79 96 133 170 209 210 238 220 163 125 75 59 1,777
แหล่งที่มา 1: DWD[17]
แหล่งที่มา 2: SKlima.de[18]

เขตการปกครอง

นับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในปี ค,ศ, 1992 เมืองมิวนิกประกอบด้วยเขตนคร (เยอรมัน: Stadtbezirke) จำนวนทั้งสิ้น 25 เขต ได้แก่:

เขตที่ ชื่อเขต พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
สิ้นปี 2018
ความหนาแน่น
(คนต่อตร.กม.)
แผนที่
01 อัลชตัท-เลเฮิล 3.15 21,100 6,708 เขตของนครมึนเชิน
02 ลูทวิชส์ฟอร์ชตัท-อีซาร์ฟอร์ชตัท 4.40 51,644 11,734
03 มักฟอร์ชตัท 4.30 51,402 11,960
04 ชวาบิง-เว็สท์ 4.36 68,527 15,706
05 เอา-ฮาอิดเฮาเซิน 4.22 61,356 14,541
06 เซ็นด์ลิง 3.94 40,983 10,405
07 เซ็นด์ลิง-เว็สท์พาร์ค 7.81 59,643 7,632
08 ชวันทาเลอร์เฮอเออ 2.07 29,743 14,367
09 น็อยเฮาเซิน-นึมเฟินบวร์ค 12.91 98,814 7,651
10 โมซัค 11.09 54,223 4,888
11 มิลแบทส์โฮเฟิน-อัม ฮาร์ท 13.42 75,094 5,597
12 ชวาบิง-ไฟรมัน 25.67 77,936 3,036
13 โบเกินเฮาเซิน 23.71 87,950 3,709
14 แบร์คอัมไลม์ 6.31 46,098 7,300
15 ทรูแดริง-ไรม์ 22.45 73,206 3,261
16 ราเมิร์สดอร์ฟ-แพร์ลัค 19.90 116,327 5,847
17 โอเบอร์กีซิง 5.72 54,256 2.712
18 อุนเทอร์กีซิง-ฮาร์ลัคชิง 8.06 53,184 6,601
19 ทาลเคียร์เชิน-โอเบอร์เซ็นด์ลิง-ฟอร์สเทินรีท-เฟือร์สเทินรีท-ซ็อลเลิน 17.76 96,714 5,445
20 ฮาเดิร์น 9.22 49,898 5,410
21 พัสซิง-โอเบอร์เม็นซิง 16.50 74,625 4,523
22 เอาบิง-ล็อกเฮาเซิน-ลังวีด 34.06 47,813 1,404
23 อัลลัค-อุนเทอร์เม็นซิง 15.45 33,355 2,159
24 เฟ็ลด์ม็อคคิง-ฮาเซินแบร์ค 28.94 61,774 2,135
25 ไลม์ 5.29 56,546 10,698

ประชากร

โบสถ์เซนต์ลูคัส ริมแม่น้ำอิซาร์
สำนักงานใหญ่บีเอ็มดับบลิว

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เมืองมิวนิกมีประชากร 1.34 ล้านคน โดย 300,129 คนไม่ใช่พลเมืองชาวเยอรมัน มิวนิกมีชุมชนชาวตุรกีและบอลข่านอยู่อย่างหนาแน่น ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่มากที่สุดได้แก่ ชาวตุรกี (43,309 คน) อัลบาเนีย (30,385 คน) โครเอเชีย (24,866 คน) เซอร์เบีย (24,439 คน) กรีก (22,486 คน) ออสเตรีย (21,411 คน) และชาวอิตาลี (20,847 คน) ซึ่ง 37% ของจำนวนชาวต่างชาติที่อยู่ในมิวนิกมาจากสหภาพยุโรป

ในปี ค.ศ. 1700 มิวนิกมีประชากรเพียง 24,000 คน ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ 30 ปี ตัวอย่างเช่น มิวนิกมีประชากร 100,000 คนใน ค.ศ.1852 และต่อมาในปี ค.ศ. 1883 มีประชากร 250,000 คน และในปี ค.ศ.1901 ได้เพิ่มขึ้นสองเท่าอีกเป็น 500,000 คน ตั้งแต่ตอนนี้ มิวนิกได้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ในประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ.1933 มีประชากร 840,901 คน และในปี ค.ศ.1957 มิวนิกมีประชากรเกินกว่า 1 ล้านคน

ประชากรกว่า 47.4% ในเมืองมิวนิกไม่นับถือศาสนาใด ๆ โดยในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 38.3% ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 14.0% และยิว 0.3%[19]

กีฬา

อัลลิอันซ์อารีนา
โอลึมเพียเซ (ทะเลสาบโอลิมเปีย) ในโอลึมเพียพาร์ก (Olympiapark) ในเมืองมิวนิก

มิวนิกเป็นบ้านของทีมฟุตบอลมืออาชีพจำนวนมาก รวมถึงสโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ซึ่งเป็นทีมที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จมากที่สุดในเยอรมนี ปัจจุบันมีทีมฟุตบอลในเมืองมิวนิกที่ได้เข้าเล่นในบุนเดิสลีกา 3 ทีม ได้แก่ สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก, เทเอสเฟา 1860 มึนเชิน และ SpVgg Unterhaching ซึ่งทั้งสามทีมได้เล่นในดิวิชั่นสูงสุดของฟุตบอลเยอรมัน ส่วนทีมฮอกกี้ของมิวนิกคือ EHC มิวนิก

มิวนิกเคยเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1972สนามกีฬาโอลิมปิกเมืองมิวนิก นอกจากนี้มิวนิกเป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพกีฬาฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจัดในสนามกีฬาอัลลิอันซ์อารีนา

ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2009 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้กำหนดมิวนิกเป็นหนึ่งในเมืองที่ขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ซึ่งรวมถึงเมืองอองเนอซี ประเทศฝรั่งเศส และเมืองพย็องชังในเกาหลีใต้ ถ้ามิวนิกถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพ จะเป็นเมืองแรกของโลกที่ได้เป็นเจ้าภาพทั้งกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน และกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

อ้างอิง

  1. "Tabellenblatt "Daten 2", Statistischer Bericht A1200C 202041 Einwohnerzahlen der Gemeinden, Kreise und Regierungsbezirke". Bayerisches Landesamt für Statistik (ภาษาเยอรมัน). June 2021.
  2. Landeshauptstadt München, Redaktion. "Landeshauptstadt München – Bevölkerung". Landeshauptstadt München. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  3. "The Munich Metropolitan Region" (ภาษาเยอรมัน). Europäische Metropolregion München e.V. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2017. สืบค้นเมื่อ 17 April 2017.
  4. Englund, Peter (1993). Ofredsår. Stockholm: Atlantis.
  5. "Quality of Living City Rankings". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.
  6. "Munich Named The Most Livable City In The World". Forbes. 25 June 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2018.
  7. "Alpha, Beta and Gamma cities (updated 2015)". Spotted by Locals. 11 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2016. สืบค้นเมื่อ 28 February 2016.
  8. "Wo die reichsten und ärmsten Städte Deutschlands liegen". WirtschaftsWoche (ภาษาเยอรมัน). 19 April 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2020.
  9. "Wo die reichsten und ärmsten Städte Deutschlands liegen". WirtschaftsWoche (ภาษาเยอรมัน). 19 April 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2020.
  10. Boytchev, Hristio (2018). "A European heavyweight". Nature. 563 (7729): S14–S15. Bibcode:2018Natur.563S..14B. doi:10.1038/d41586-018-07208-0. PMID 30382228.
  11. "Munich Travel Tourism Munich". muenchen.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  12. "Ausländeranteil in der Bevölkerung: In München ist die ganze Welt zu Hause – Abendzeitung München". www.abendzeitung-muenchen.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  13. "Munich". Online Etymology Dictionary (ภาษาอังกฤษ).
  14. Wolf-Armin Freiherr von Reitzenstein (2006), "München", Lexikon bayerischer Ortsnamen. Herkunft und Bedeutung. Oberbayern, Niederbayern, Oberpfalz (ภาษาเยอรมัน), München: C. H. Beck, p. 171, ISBN 978-3-406-55206-9
  15. Deutsches Ortsnamenbuch. Hrsg. von Manfred Niemeyer. De Gruyter, Berlin/Boston 2012, S. 420.
  16. ดูรายชื่อเต็มที่ วิกิพจนานุกรมภาษาเยอรมัน
  17. "CDC (Climate Data Center)". DWD. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  18. "Monatsauswertung". sklima.de (ภาษาเยอรมัน). SKlima. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  19. "Die Bevölkerung in den Stadtbezirken nach ausgewählten Konfessionen am 31.12.2008" (PDF) (ภาษาเยอรมัน). Statistisches Amt München. สืบค้นเมื่อ May 28, 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น