ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
Salil Kumar Mukherjee (คุย | ส่วนร่วม)
ภาพ #WPWP
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
| binomial = ''Momordica charantia''
| binomial = ''Momordica charantia''
| binomial_authority = [[Carl Linnaeus|L.]]
| binomial_authority = [[Carl Linnaeus|L.]]
}}
}}'''มะระขี้นก''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Momordica charantia}}) เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก
[[File:Bitter gourd (Momordica charantia).jpg|thumb|มะระ เต็มรูปแบบที่มีสองส่วนครึ่งและสองส่วน]]
'''มะระขี้นก''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Momordica charantia}}) เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก


มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับ[[น้ำพริก]]ก็ได้ บางครั้งราดด้วย[[กะทิ]]สดเพื่อเพิ่มรสชาติ
มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับ[[น้ำพริก]]ก็ได้ บางครั้งราดด้วย[[กะทิ]]สดเพื่อเพิ่มรสชาติ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:49, 14 กรกฎาคม 2564

มะระ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Momordica
สปีชีส์: M.  charantia
ชื่อทวินาม
Momordica charantia
L.
มะระ เต็มรูปแบบที่มีสองส่วนครึ่งและสองส่วน

มะระขี้นก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordica charantia) เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก

มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาติ

การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง

นอกจากใช้ผลเป็นอาหารแล้ว ใบของมะระขี้นกก็นำมาทำอาหารได้ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะมีรสขม ยอดมะระลวกเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือกับปลาป่นของชาวอีสาน ยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดเพิ่มอีก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว

ทางอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมะระมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก

คุณค่าทางโภชนาการ

ประโยชน์ทางยา

สรรพคุณของมะระขี้นก คือช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมามากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้น ใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก และยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย

  • ใช้เมล็ดจากผลสุก 30 กรัม แกะเมล็ด ล้างเนื้อเยื่อสีแดงที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ กะเทาะเมล็ดเปลือกมะระ ควรกะเทาะในภาชนะที่เย็น เช่น ในที่มีอุณหภูมิต่ำ จะได้เนื้อในสีขาว ควรสวมถุงมือยางขณะทำ
  • นำเนื้อใน มาล้างน้ำให้สะอาด เติมน้ำหรือน้ำเกลือที่แช่เย็นลงไป 90-100 มิลลิลิตร ปั่นในเครื่องปั้นที่แช่เย็น แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2-3 ชั้น จะได้น้ำยาสีขาวขุ่น
  • น้ำยาสีขาวขุ่น ใช้สวนทวารหนัก ครั้งละ 10 มิลลิลิตร วันละครั้ง
  • ถ้านำน้ำ ที่ปั่นไปแช่ตู้เย็น จะแยกเป็น 2 ชั้น ให้ใช้ชั้นบนที่มีลักษณะใส

ข้อควรระวัง

  • การสวนทวาร ควรใช้วาสลินช่วยหล่อลื่นก่อนการสวน
  • ทุกขั้นตอนให้ระวังเรื่องความสะอาด
  • ต้องรักษาความเย็นตลอดเวลา

มะระจีน

คุณค่าทางโภชนาการ

มะระจีนมีคุณค่าทางโภชนาการ ในผลมะระ 1 ถ้วยหรือประมาณ 93 กรัม จะประกอบไปด้วย

  • วิตามินเอ 9%
  • วิตามินบี1 2%
  • วิตามินบี2 2%
  • วิตามินบี3 2%
  • วิตามินบี5 2%
  • วิตามินบี6 2%
  • วิตามินซี 130%
  • โฟเลต 17%
  • ธาตุแคลเซียม 2%
  • ธาตุเหล็ก 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 3%
  • ธาตุทองแดง 2%
  • ธาตุสังกะสี 5%

ประโยชน์ทางยา

อ้างอิง