ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
}}
}}
'''วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: College of Music, Mahasarakham University)เป็นหน่วยงานไทยระดับเทียบเท่า[[คณะวิชา]]สังกัด[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] จัดการเรียนการสอนด้าน[[ดนตรี]] เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์แห่งที่ 2 ของประเทศไทยถัดจาก[[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล|มหาวิทยาลัยมหิดล]] และเป็นคณะวิชาลำดับที่ 17 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านดนตรีเทียบเท่าคณะแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นโรงเรียนดนตรีอันดับสี่ต่อจาก [[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล]], [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] และ [[วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต|วิทยาลัยดนตรี]]
'''วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: College of Music, Mahasarakham University)เป็นหน่วยงานไทยระดับเทียบเท่า[[คณะวิชา]]สังกัด[[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] จัดการเรียนการสอนด้าน[[ดนตรี]] เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรงเรียนดนตรีแห่งที่ 4 ของประเทศไทยถัดจาก[[วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล|วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล)]], [[คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะดุริยางคศาสตร์]] และ [[วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต|วิทยาลัยดนตรี]] โดยก่อตั้งในปีนั้นพร้อมกันกับ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ และ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นคณะวิชาลำดับที่ 17 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านดนตรีเทียบเท่าคณะแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:57, 9 กรกฎาคม 2564

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
College of Music, Mahasarakham University
ไฟล์:ตราวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มมส.png
ชื่อย่อวดศ. / MUA
คติพจน์สร้างคน สร้างจินตนาการ สร้างงานคุณภาพ
สถาปนา26 กันยายน พ.ศ. 2551 (15 ปี)
คณบดีผศ.ดร.คมกริช การินทร์
ที่อยู่
อาคารวิทยาบริการ C เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
วารสารวารสารดนตรีและศิลปะวัฒนธรรม
สี  สีม่วง
เว็บไซต์music.msu.ac.th

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: College of Music, Mahasarakham University)เป็นหน่วยงานไทยระดับเทียบเท่าคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนด้านดนตรี เป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ และในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรงเรียนดนตรีแห่งที่ 4 ของประเทศไทยถัดจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล), คณะดุริยางคศาสตร์ และ วิทยาลัยดนตรี โดยก่อตั้งในปีนั้นพร้อมกันกับ วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ และ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นคณะวิชาลำดับที่ 17 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนด้านดนตรีเทียบเท่าคณะแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประวัติ

หอแสดงดนตรี มมส

“วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2550– 2554 (ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2550)   เดิมเป็นสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ และในปี พ.ศ. 2550 สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ได้แยกการบริหารออกมาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนให้แก่บุคคลที่สนใจศึกษาในสาขาวิชาด้านดนตรี โดยในปี พ.ศ. 2540 ได้เปิดหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ปี พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ปี พ.ศ. 2550 ได้ร่วมมือกับโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี และในปี พ.ศ. 2551 ได้เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับประกาศให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา

พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามในการประชุมครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 จึงมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง“วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “College of Music, Mahasarakham University”[1] มีสถานะเป็นส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พ.ศ. 2550 และมีฐานะเทียบเท่าคณะวิชา

หลักสูตรที่เปิดสอน

ปัจจุบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร[2] ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาควิชา ระดับเตรียมอุดมดนตรี ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
รวมทุกภาควิชา

หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีเอเชีย

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีวิทยา
    • วิชาดนตรีศึกษา
    • วิชาการจัดการดนตรีและศิลปะการแสดง
    • วิชาบริหารธุรกิจดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี
    • วิชาการประพันธ์เพลง

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีวิทยา
    • วิชาดนตรีศึกษา
    • วิชาการบริหารจัดการทางดนตรี
ภาควิชาดุริยางคศิลป์พื้นบ้าน

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีพื้นบ้าน

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
    • วิชาดนตรีพื้นบ้าน

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีพื้นบ้าน
    • วิชาหมอลำ
ภาควิชาดุริยางคศิลป์ไทย

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีไทย

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
    • วิชาดนตรีไทย
ภาควิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
    • วิชาดนตรีตะวันตก

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
    • วิชาดนตรีตะวันตก

ทำเนียบผู้บริหาร

ตั้งแต่เปิดทำการสอน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีคณบดีดำรงตำแหน่งในสังกัดต่างๆของวิทยาลัย ตามลำดับต่อไปนี้

คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดร.สุพรรณี เหลือบุญชู พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
2. ผศ.ดร.ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559
3. ผศ.ดร.คมกริช การินทร์ พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน 

หน่วยงานภายใน

การแบ่งหน่วยงานภายในวิทยาลัยดุริยางคศิลปื มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็๋นส่วยงานต่างๆ ดังนี้[3]

  • สำนักงานเลขานุการ
  • งานบุคคล
  • งานวิชาการ
  • งานแผนและงบประมาณ
  • ภาควิชาดุริยางคศิลป์พื้นบ้าน
  • ภาควิชาดุริยางคศิลป์ไทย
  • ภาควิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก
  • บัณฑิตศึกษา
  • หน่วยงานวิจัย
  • หน่วยวิจัยดนตรีและศิลปวัฒนธรรม(ดนตรีผู้ไท)

ความร่วมมือกับภาคเอกชน

สถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ) ผู้นำดนตรีศึกษารายแรกของเมืองไทย จับมือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดโรงเรียนสอนดนตรี ณ ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านบาท[4][5] เตรียมปั้นบุคลากรดนตรีครั้งใหญ่ โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นเทรนเนอร์ คัดเลือกนิสิต นักศึกษาคนรุ่นใหม่ เปิดประสบการณ์ดนตรีสร้างรายได้มหาศาล เตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด มองเห็นความสำคัญในการผลิตบุคลากรด้านดนตรี นับเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาดนตรี ควบคู่ไปกับการพัฒนานิสิต นักศึกษา ที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี เพื่อเสริมศักยภาพของนิสิตไทยสู่บุคลากรดนตรี มืออาชีพ และก้าวสู่ระดับสากล อีกทั้ง เตรียมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 โดยมีความพร้อมในการขยายเครือข่ายร่วมกับพันธมิตรธุรกิจดนตรี คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดโรงเรียนสอนดนตรี ณ ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ ติดกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้รับความร่วมมือคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในการเป็นเทรนเนอร์ของโรงเรียนในแขนงวิชาต่าง ๆ อาทิ เปียโน กีตาร์คลาสสิค กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบส กลองชุด ไวโอลิน และหลักสูตรอื่นๆ ของสถาบัน ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรดนตรีในสาขาดนตรีไทย และดนตรีพื้นบ้าน เพื่อเปิดสอนให้กับบุคคลทั่วไป และยังเป็นการผลิตบุคลากรนักดนตรีที่มีความรู้ และมีคุณภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญเรื่องอุปกรณ์การเรียนการสอนต้องได้มาตรฐานสากล เพื่อรักษาระดับมาตรฐานทางด้านการเรียนการสอนเอาไว้ให้ดีที่สุดในเมืองไทย ตอบสนองความต้องการของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจอยากศึกษาดนตรี

สถานที่ตั้งและพื้นที่

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ตั้งอยู่ที่อาคารวิทยบริการ C มีอาณาเขตอยู่ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) ติดกับวิทยาลัยการเมืองการปกครองและสำนักคอมพิวเตอร์ อยู่ตรงข้ามกับอาคารบรมราชกุมารี ที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีพื้นที่ลานอัฐศิลป์หรือลานแปดเหลี่ยม เป็นสถานที่ทำกิจกรรมหลักของคณะเช่นเดียวกับวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

อ้างอิง