ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทยถิ่นใต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎top: บอต: นำแม่แบบออก, removed: {{รอการตรวจสอบ}}
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| fam2 = [[กลุ่มภาษาไท|ไท]]
| fam2 = [[กลุ่มภาษาไท|ไท]]
| fam3 = [[กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้|ไทตะวันตกเฉียงใต้]]
| fam3 = [[กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้|ไทตะวันตกเฉียงใต้]]
| fam4 = [[ภาษาไทย]]
| nation = -
| nation = -
| agency = -
| agency = -

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:50, 28 มิถุนายน 2564

ภาษาไทยถิ่นใต้
ประเทศที่มีการพูดภาคใต้ของประเทศไทย, เขตตะนาวศรี (พม่า), รัฐเกอดะฮ์และกลันตัน (มาเลเซีย)
จำนวนผู้พูด4.5 ล้านคน[1]  (2006)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ-
ผู้วางระเบียบ-
รหัสภาษา
ISO 639-3sou

ภาษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย จากจังหวัดชุมพรไปจนถึงชายแดนติดกับมาเลเซียมีทั้งหมด 14 (สิบสี่)[ต้องการอ้างอิง] และส่วนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใช้ภาษานี้เป็นภาษาหลัก นอกจากนี้ภาษานี้มีการพูดในบางหมู่บ้านในรัฐกลันตัน, ปะลิส, เกดะห์, เประและตรังกานูและเขตตะนาวศรีในภาคใต้ของพม่า[ต้องการอ้างอิง]

ภาษาไทยภาคใต้เขียนด้วยตัวอักษรภาษาไทยและสามารถเข้าใจได้พร้อมกับภาษาไทยภาคกลาง[ต้องการอ้างอิง]

ระบบเสียง

ระบบเสียงพยัญชนะ

Consonant
bilabial labiodental alveolar alveolar-palatal palatal palatal-velar velar uvelar glotal
Plosive [p] [pʰ] [p̚]

[b] [bᵐ]

[t] [tʰ] [t̚]

[d]

[c] [cʰ] [k] [kʰ] [k̚] [ʔ]
Nasal [m] [n] [ɲ] [ŋ] [ɴ]
Trill [r]
Tap or Flap [ɾ]
Fricative [β] [f] [s] [ɧ] [x] [h]
Approximant [w] [ɹ] [j]
Lateral [l]
Affricate [tɕ] [tɕʰ]
consonant
initial and medical sound
ipa รูปเขียน ตัวอย่างคำ ความหมาย
[b] พี่บ่าว พี่ชาย
[p] าได๋ กี่โมง
[pʰ] ผ, พ, ภ พัรื่อ อย่างไร
[bᵐ]~[β][1] ม~บ โบ่~โม่

กะเบอะ~กะเหมอะ

โง่

ก็เพราะ

[t] ต, ฏ อเช้า พรุ่งนี้
[tʰ] ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ ทำโร้ ยุ่งเรื่องของคนอื่น
[d] ด, ฎ เห็นดู สงสาร
[c]~[tɕ] จังเสีย เยอะมาก
[cʰ]~[tɕʰ] ช, ฉ, ฌ หัวเช้ ตอนเช้า
[k] กือก รองเท้า
[kʰ] ข, ค, ฆ, ฅ, ฃ

ค่าลุย

รีบ

เยอะแยะ

[ʔ] าด มีอารมณ์ทางเพศ
[m] หมม่าย ไม่มี
[n] น, ณ รา มโนรา
[ɲ] พันญ

ลักญ็อบ

เก่ง

ซ่อน

[ɧ]~[ŋ] [2] ฮ~ง ง~ งง
[ɴ]~[w] [3] ง~ว งัว~วั วัว
[r]~[ɾ]~[ɹ] [4] หรอยจ้าน อวดดี
[f] ฝ, ฟ ฝน
[f]~[xw] ฝ, ฟ~คว รั่ง~ควะหรัง คนต่างชาติ
[s] ส, ศ, ซ, ษ ส้มม่วง มะม่วง
[x] [5] ตะไคร้
[h] าโรย โอ้ย
[j] ย, ญ าหนัด สับปะรด
[l] ล, ฬ ล้หล่าว อีกแล้ว
final sound
[k̚] ก, ข, ค, ฆ โหมแด๋~โบ๋แด๋ แฟน
[p̚] บ,ป,พ,ฟ,ภ ชุ จอง เลือก
[t̚] จ,ช,ซ,ฌ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,ฒ,

ด,ต,ถ,ท,ธ,ศ,ษ,ส

พลั ขับรถล้ม
[n] ญ, น, ณ, ล, ร, ฬ พัพรื่อ ยังไง
[m] ฮาม งาม
[ŋ] ทุ้ ถัง
[w]~[ʊ] ว, เ-า ลูกนา มะนาว
[j]~[ɪ] ย, ไ-, ใ-, เ-ย หรอ อร่อย, เจ๋ง

[1] [bᵐ] หรือ [β] เป็นเสียงที่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างเสียง [m] และ [b] โดยที่เจ้าของภาษาไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเสียงอะไร /ม/ หรือ /บ/ เช่น โบ่~โม่ [bᵐòː], โบ๋สู~โหมสู [bᵐǒː.sʊ̌ː], เบล่อ~เมล่อ [bᵐlɤ̀ː] *แต่ไม่ใช่ทุกคำที่เขียนด้วย บ หรือ ม ที่จะเกิดเสียงนี้

[2] [ɧ] เป็นเสียงที่เหมือน [h] และ [ɳ] ผสมกัน จึงเป็นเหตุทำให้คนใต้ออกเสียง [ŋ] ไม่ได้ตรงต้นคำเมื่อพูดภาษาไทยกลาง

[3] [ɴ] เป็นเสียงที่มีความคล้ายกันกับเสียง /ง/ มักถูกออกเสียงต้นในคำที่มี ว ในภาษาไทยเฉพาะบางคำ เช่น วัว [ɴua]

[4] คนใต้โดยส่วนมากจะออกเสียง ร โดยการกระดกลิ้น [r] เมื่อต้องการจะแสดงความหนักแน่นของคำนั้น ๆ แต่ [ɾ] และ [ɹ] จะถูกใช้ก็ต่อเมื่อคำนั้น ๆ ไม่ได้มีใจความหลัก หรือ ผู้พูดต้องการจะเน้น มักมีการห่อลิ้นเบา ๆ แต่จะไม่กระดกลิ้น เช่น หริก ๆ [rǐk̚.rǐk̚] พูดเมื่อเป็นคำด่าหรือต้องการจะเน้นคำให้ชัด แต่ [ɹǐk̚.ɹǐk̚] หรือ [ɾǐk̚.ɾǐk̚] เมื่อเป็นประโยคบอกเล่าธรรมดา

[5] [x] ถูกใช้เมื่อมีการควบกล้ำที่มีเสียง ค และ [xʰw] มักถูกใช้แทนเสียง [f] สำหรับภาษาใต้ในยุคอดีตและบางท้องถิ่น

ระบบเสียงสระ

สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

สระประสม

เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว

vowels
short vowel long vowels short

dipthongs

a อะ อา เอียะ
i อิ อี อัวะ
e เอะ เอ ɯə เอือะ
ɛ แอะ ɛː แอ long

dipthong

ɔ เอาะ ɔː ออ ia เอีย
u อุ อู ua อัว
ɯ อึ ɯː อือ ɯa เอือ
ɤ~ə เออะ ɤː เออ vowel with

finals

o~ʊ โอะ oː~ʊː โอ am อำ
aj~aɪ ไอ

ใอ

aw~aʊ เอา
ɤːj~ɤɪ เอย


ระบบเสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์มีถึง 7 หน่วยเสียง ได้แก่

  • สูง-ขึ้น-ตก [453] และสูง-ขึ้น [45]
    • สูง-ขึ้น-ตก [453] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ
    • สูง-ขึ้น [45] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตายที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ และมีพยัญชนะเสียงกัก (ก, ด, บ) เป็นเสียงสะกด
  • อสูง-ระดับ (ตกตอนท้าย) [44] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ
  • กลาง-ขึ้น-ตก [343] และกลาง-ขึ้น [34]
    • กลาง-ขึ้น-ตก [343] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง
    • กลาง-ขึ้น [34] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตายที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง และมีพยัญชนะเสียงกัก (ก, ด, บ) เป็นเสียงสะกด
  • กลาง-ระดับ [33] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง
  • ต่ำ-ขึ้น-ตก [232] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ
  • ต่ำ-ขึ้น [24] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ
  • ต่ำ-ตก [21] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงสั้นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นใต้ นั้น มี 15 เสียง ได้แก่ กร, กล, กว, คร, คล, คว, ตร, บร, บ (ซึ่งออกเป็นเสียงธนิตควบกล้ำด้วย ร), ปร, ปล, พร, พล, มร, มล ส่วน ทร บางคำเป็นควบกล้ำไม่แท้ เช่น เทริด อ่านว่า เซิด แปลว่า เครื่องสวมศีรษะของกษัตริย์

นอกจากนี้ยังมีคำควบกล้ำที่ไม่ได้อยู่ในหลักภาษาไทยมาตรฐานด้วย เช่น

  • หมฺรฺ เช่น หมฺรับ อ่านว่า "หฺมฺรับ" (ห เป็นอักษรนำ ตามด้วย ม ควบกล้ำด้วย ร) แปลว่า สำรับ ไม่ได้ อ่านว่า หม-รับ หรือ หมับ ให้ออกเสียง "หมฺ" ควบ "ร") เช่น การจัดหฺมฺรับประเพณีสารทเดือนสิบ

สำเนียงย่อย

ภาษาไทยถิ่นใต้ แยกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงนครศรีธรรมราช ถือเป็นกลุ่มย่อยในภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก), ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก และ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ (เจ๊ะเห)

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (สำเนียงนครศรีธรรมราช)

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านนาสาร, อำเภอพระแสง, อำเภอชัยบุรี และอำเภอเวียงสระ), พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมืองปัตตานี) ตรัง, สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ, ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก

ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สุราษฎร์ธานี, และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ , ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ , สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ รวมถึงภาษาไทยถิ่นใต้ในเขตอำเภอขนอม และอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขานครศรีธรรมราช (เขาหลวง) และในกลุ่มอำเภอฉวาง, พิปูน, ถ้ำพรรณรา และทุ่งสง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขานครศรีธรรมราช (เขาหลวง) ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษา ก็ถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้

การแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก (คำที่มีเสียงสระยาวสามารถออกเสียง ก. สะกดได้ชัด) กับพื้นที่ ที่ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก (คำที่มีเสียงสระยาว ออกเสียง ก. สะกดไม่ได้) สามารถกำหนดแนวแบ่งเขตคร่าวๆ ได้โดยลากเส้นแนวแบ่งเขต ระหว่างอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ลากขึ้นเขาหลวง แล้ววกลงไปทางใต้ โดยใช้แนวเขาหลวง เป็นแนวแบ่งเขต ผ่านลงไปถึงจุดระหว่างอำเภอทุ่งสง และอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นวกไปทางทิศตะวันตก ไปยังอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ จรดทะเลอันดามัน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดพัทลุง, จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา ถือเป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก มีลักษณะที่เด่นคือ หางเสียงจะไม่ขาดห้วน แต่จะค่อยๆ เบาเสียงลง ซึ่งลักษณะดังกล่าว ช่วยให้ภาษาสงขลาฟังแล้วไม่หยาบกระด้าง อย่างสำเนียงใต้ถิ่นอื่น นอกจากนี้ยังมีคำที่ใช้บ่อยในสำเนียงนี้ คือ คำว่า เบอะ หรือ กะเบอะ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยมาตรฐานว่า เพราะว่า..., ก็เพราะว่า..., ...นี่นา เรียกเงินว่า เบี้ย ในขณะที่ถิ่นอื่นนิยมเรียกว่า ตางค์ และคำที่นิยมใช้อีกคำหนึ่ง คือ ไม่หอน ซึ่งมีความหมายว่า ไม่เคย เช่น ฉานไม่หอนไป เป็นต้น[2]

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือ ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี (เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษา คือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี เท่านั้น

ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่น ๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นชาวใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน

ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน เป็นภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบที่ใช้อยู่ในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันคนในตำบลพิเทนพูดภาษาไทยถิ่นพิเทนน้อยลง ส่วนมากจะใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษาส่วนใหญ่ ผู้ที่สามารถใช้สำเนียงพิเทนได้ดีคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อายุน้อยกว่านี้บางคนไม่ยอมพูดภาษาของตน หรือพูดได้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยภาษาพิเทนมีการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีถึงร้อยละ 97[3]

ภาษาทองแดง

ภาษาทองแดง เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่า การตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม-พระ-ลิง) [ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำว่า ตามพร (ะ) - แปลว่าทองแดง (สันสกฤต: Tāmbra ตามพร, บาลี: Tāmba ตามพ) แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้ว สำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน ชาวใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง., การออกเสียง ควฺ, ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า ชาวใต้คนหนึ่งคนใด "แหลงทองแดง" หรือพูดไม่ได้สำเนียงมาตรฐาน ชาวใต้ถือเป็นการดูแคลน จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะชาวใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมเท่านั้น) ปัจจุบันผู้ที่พูดภาษาใต้ไม่ชัด หรือออกสำเนียงใต้ไม่ชัดเจนก็เรียกว่าแหลงทองแดงเช่นกัน

แหลงข้าหลวง คำนี้เป็นภาษาไทยใต้สำเนียงสงขลา โดยทั่วไปใช้สำหรับดูถูกคนไทยเชื้อสายจีนในภาคใต้ซึ่งภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพเป็นสำเนียงถิ่น (บ้างอาจจะใช้เรียกผู้ที่ใช้ภาษาไทยกลางแท้ เช่นภาษาไทยมาตรฐานและสำเนียงสุพรรณบุรีด้วย), โดยเฉพาะเมื่อคนนั้นมีความพยายามที่จะพูดภาษาไทยใต้ และพูดไม่ได้สำเนียงใต้ โดยเฉพาะพลาดพลั้งในการใช้อนุประโยค ที่เป็นแบบภาษาหมิ่นใต้[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. Ethnologue. Thai, Southern. เรียกดูเมื่อ 28 ธันวาคม 2556
  2. หมายเหตุเบื้องต้น กรณีศึกษาภาษาสงขลา บันทึกขนำริมทุ่งปลักเหม็ด
  3. ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้ คำยืมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แหล่งข้อมูลอื่น