ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


{{เครื่องแต่งกายไทย}}
{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/ช่างฝีมือดั้งเดิม}}




{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/ช่างฝีมือดั้งเดิม}}
[[หมวดหมู่:ผ้าไทย]]
[[หมวดหมู่:ผ้าไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:56, 26 มิถุนายน 2564

ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชาย สามารถใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว คลุมหัวกันแดด หรือทำเปลก็ได้ บ้างก็เรียกว่า "ผ้าเคียนเอว"

ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตาม ผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกแบบนี้ หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืน ผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา เรียกตามความยาวของผ้าแต่ละผืน

สีและลวดลายของผ้าขาวม้าจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่นโดยทางภาคกลาง ผ้าขาวม้าจะมีลวดลายเป็นตาลายสก๊อต และของภาคอีสานจะเป็นแบบตาเล็ก ๆ

คำว่า ผ้าขาวม้า มาจากภาษาเปอร์เซียคำว่า กะมัรบันด์ (Kamar band) โดย กะมัร แปลว่า เอว และ บันด์ แปลว่า พัน แปลรวมกันว่าผ้าพันเอว[1]

อ้างอิง

  1. สุทธิดา อุ่นจิต (21 กุมภาพันธ์ 2562). "ข้างหลังผ้า". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)