ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
|child=}}
|child=}}
{{ชื่ออื่น|||ปีย์ มาลากุล}}
{{ชื่ออื่น|||ปีย์ มาลากุล}}
<ref>{{Cite web|last=admin|date=2009-05-05|title=ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา The lobbyist|url=https://positioningmag.com/11704|website=Positioning Magazine|language=en-US}}</ref>'''ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา''' ประธานกรรมการ เครือแปซิฟิก ผู้รับสัมปทานดำเนินการ สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.100 และประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ พับลิชชิ่ง จำกัด ผู้ผลิตนิตยสารดิฉัน และ คอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan)
'''ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา''' ประธานกรรมการ เครือแปซิฟิก ผู้รับสัมปทานดำเนินการ สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.100 และประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ พับลิชชิ่ง จำกัด ผู้ผลิตนิตยสารดิฉัน และ คอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan)


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:58, 24 มิถุนายน 2564

ปีย์ มาลากุล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้รับสัมปทานดำเนินการ สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.100
คู่สมรสอารียา มาลากุล ณ อยุธยา
บุตรธรรมา มาลากุล ณ อยุธยา
บิดามารดาหม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล
ชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา

ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ เครือแปซิฟิก ผู้รับสัมปทานดำเนินการ สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.100 และประธานกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ พับลิชชิ่ง จำกัด ผู้ผลิตนิตยสารดิฉัน และ คอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan)

ประวัติ

นายปีย์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2480 (86 ปี)[1] เป็นบุตรชายคนรองของหม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำอังกฤษ กับนางชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา บุตรีของพระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวณิชย์) อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายปีย์ มาลากุล มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน พี่ชายคือ ปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา น้องชายคือ พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา อดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (สมรสกับ คุณหญิงศิริรัตน์ (สกุลเดิม เอื้อวิทยา) มาลากุล ณ อยุธยา) และน้องสาวอีก 2 คนคือ คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมหลวงเสรี ปราโมชมีบุตรชายชื่อ นายอชิตะ ปราโมช, น้องสาวคน

การศึกษาและการงาน

นายปีย์จบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเงินและการธนาคาร จากประเทศอังกฤษ ทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ สาขากรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่าง พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 และกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ช่วงปี พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2511[1] จากนั้นจึงหันมาทำงานด้านสิ่งพิมพ์ โดยเริ่มจากเป็นบรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ต่อจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล ราวปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2519 หลังจากนั้นในปีเดียวกัน จึงเข้าซื้อกิจการนิตยสารดิฉัน จากนายพร สิทธิอำนวย และในปี พ.ศ. 2525 ได้จัดตั้งบริษัท แปซิฟิค และได้ทำสัมประทานจัดรายการวิทยุกับสถานีวิทยุ อสมท.

ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 นายปีย์ ได้ทำสัญญาสัมปทานกับนายประมุท สูตบุตร ผู้อำนวยการ อสมท. จัดตั้งการเสนอข่าวในแนวใหม่ โดยมีนายสมเกียรติ และนางสาวอรุณโรจน์ มาจัดรายการข่าวตอนเช้าและตอนค่ำ โดยนายปีย์ มาลากุล ได้ว่าจ้างนายสมเกียรติ อ่อนวิมล มาจัดรายการโทรทัศน์ของ อสมท. ตอนค่ำ และนางสาวอรุณโรจน์ เลี่ยมทอง มาจัดรายการตอนช่วงเช้าชื่อรายการรับอรุณ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนนั้นนายปีย์ มาลากุล ได้ก่อตั้ง บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าไปปรับปรุงการนำเสนอข่าวภาคค่ำประจำวัน ทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ทั้งรูปแบบการนำเสนอ และเนื้อหาข่าว ให้เป็นรูปแบบสมัยใหม่ ไม่น่าเบื่อหน่าย[2]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2534 นายปีย์ทำสัญญาสัมปทานกับกรมการทหารสื่อสาร เพื่อจัดตั้งสถานีวิทยุข่าวสาร และการจราจร ให้ชื่อว่า จส.100[3] ช่วงเดียวกันนั้น ได้ก่อตั้ง ศูนย์ข่าวแปซิฟิก เพื่อผลิตข่าวต้นชั่วโมงให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก (ปัจจุบัน สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกเรียกคืนเวลากลับไปผลิตเอง)

ถูกพาดพิงทางการเมือง

ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 นายปีย์กล่าวกับนายประมวล รุจนเสรี ผู้เขียนหนังสือ พระราชอำนาจ อ้างว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัสในทำนองว่า ทรงอ่านหนังสือเล่มดังกล่าว และโปรดอย่างยิ่ง เนื่องจากเขียนได้ดีและถูกต้อง พร้อมทั้งยังอ้างต่อไปอีกว่า รับสั่งให้เชิญกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว ลงในบทอาเศียรวาทของหนังสือ อนึ่ง หนังสือพระราชอำนาจนี้ เป็นที่แพร่หลายในขณะนั้น โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[4][5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง