ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังสะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Series King (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่
 
แก้ไขไวยากรณ์
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
}}
}}


'''วัตสะ''' ({{lang-roman|Vatsa}}) or '''วังสะ''' ({{lang-roman|Vamsa}} [[Pali]] and [[Ardhamagadhi]]: ''Vaccha'', literally "calf"<ref>{{cite book|author=Louis Herbert Gray|title=Indo-Iranian Phonology with Special Reference to the Middle and New Indo-Iranian Languages|url=https://archive.org/details/indoiranianphon01graygoog |year=1902|publisher=Columbia University Press|pages=[https://archive.org/details/indoiranianphon01graygoog/page/n197 169]–170}}</ref>) เป็นแคว้นหนึ่งใน[[มหาชนบท]] 16 แคว้นอยู่ใน [[รัฐอุตตรประเทศ]] ของ[[ประเทศอินเดีย]]ในยุคโบราณ ตามที่มีบรรยายใน [[อังคุตตรนิกาย]] แคว้นวังสะ หรือวัตสะ ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นโกศล และทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ให้ชัดเจน แต่ก็กล่าวว่าไม้กว้างขวางใหญ่โตนัก ในสมัยพุทธกาลแคว้นวังสะเป็นราชอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือพระเจ้าอุเทน เทียบกับปัจจุบัน แคว้นวังสะ ได้แก่เขตจังหวัด[[อลาหาบาด]] ของ[[รัฐอุตตรประเทศ]]และบริเวณใกล้เคียง<ref name="Rohan L. Jayetilleke">{{cite news
'''วัตสะ''' ({{lang-roman|Vatsa}}) หรือ '''วังสะ''' ({{lang-roman|Vamsa}} [[Pali]] and [[Ardhamagadhi]]: ''Vaccha'', literally "calf"<ref>{{cite book|author=Louis Herbert Gray|title=Indo-Iranian Phonology with Special Reference to the Middle and New Indo-Iranian Languages|url=https://archive.org/details/indoiranianphon01graygoog |year=1902|publisher=Columbia University Press|pages=[https://archive.org/details/indoiranianphon01graygoog/page/n197 169]–170}}</ref>) เป็นแคว้นหนึ่งใน[[มหาชนบท]] 16 แคว้นอยู่ใน [[รัฐอุตตรประเทศ]] ของ[[ประเทศอินเดีย]]ในยุคโบราณ ตามที่มีบรรยายใน [[อังคุตตรนิกาย]] แคว้นวังสะ หรือวัตสะ ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นโกศล และทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ให้ชัดเจน แต่ก็กล่าวว่าไม้กว้างขวางใหญ่โตนัก ในสมัยพุทธกาลแคว้นวังสะเป็นราชอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือพระเจ้าอุเทน เทียบกับปัจจุบัน แคว้นวังสะ ได้แก่เขตจังหวัด[[อลาหาบาด]] ของ[[รัฐอุตตรประเทศ]]และบริเวณใกล้เคียง<ref name="Rohan L. Jayetilleke">{{cite news
|url = http://www.dailynews.lk/2007/12/05/fea06.asp
|url = http://www.dailynews.lk/2007/12/05/fea06.asp
|title = The Ghositarama of Kaushambi
|title = The Ghositarama of Kaushambi

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:22, 22 มิถุนายน 2564

แคว้นวังวะ
Kingdom of Vatsa

c. 700 BCE–c. 300 BCE
แคว้นวังสะ และมหาชนบทแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
แคว้นวังสะ และมหาชนบทแคว้นอื่นๆใน ยุคพระเวท ปลาย
เมืองหลวงโกสัมพี (อลาหาบาด)
ภาษาทั่วไปภาษาสันสกฤต
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ (มหาราชา) 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโลหะ, ยุคหิน
• ก่อตั้ง
c. 700 BCE
• สิ้นสุด
c. 300 BCE
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย Allahabad division of UttarPradesh, India

วัตสะ (อักษรโรมัน: Vatsa) หรือ วังสะ (อักษรโรมัน: Vamsa Pali and Ardhamagadhi: Vaccha, literally "calf"[1]) เป็นแคว้นหนึ่งในมหาชนบท 16 แคว้นอยู่ใน รัฐอุตตรประเทศ ของประเทศอินเดียในยุคโบราณ ตามที่มีบรรยายใน อังคุตตรนิกาย แคว้นวังสะ หรือวัตสะ ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นโกศล และทางเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นอวันตี อาณาเขตของแคว้นไม่มีบอกไว้ให้ชัดเจน แต่ก็กล่าวว่าไม้กว้างขวางใหญ่โตนัก ในสมัยพุทธกาลแคว้นวังสะเป็นราชอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นคือพระเจ้าอุเทน เทียบกับปัจจุบัน แคว้นวังสะ ได้แก่เขตจังหวัดอลาหาบาด ของรัฐอุตตรประเทศและบริเวณใกล้เคียง[2]แคว้นวังสะมีเมืองหลวงชื่อ โกสัมพี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยมุนา ปัจจุบันได้แก่ตำบลหรือหมู่บ้านโกสัม ในเขตจังหวัดอะลาหาบาด ห่างจากตัวเมืองอัลลฮาบาดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 59 กิโลเมตร หรือ 37 ไมล์[2] ได้มีการขุดค้นสำรวจ และได้หลักฐานเป็นที่แน่นอนแล้ว ซากกำแพงเมืองก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่การขุดค้นสำรวจซึ่งได้ทำแล้ว ณ บางจุด รวมทั้งจุดซึ่งเข้าใจเป็นวัดโฆสิตารามด้วย ได้พบโบราณวัตถุต่างชนิดรวมทั้งพระพุทธรูปมากมาย ส่วนใหญ่เวลานี้รักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองอัลลฮาบาดโกสัมพีในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองใหญ่และเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างแคว้นที่สำคัญแห่งหนึ่ง พระอานนท์ระบุว่าเป็นเมืองหนึ่งซึ่งควรเป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์วัดที่โกสัมพีในพุทธสมัยมีปรากฏชื่อ 4 วัด คือวัดโฆสิตาราม วัดกุกกุฏาราม วัดปาวาริการาม หรือปาวาวิกัมพวัน ซึ่งเศรษฐีแห่งโกสัมพี 3 คน คือเศรษฐีโฆสกะหรือโฆสิตะ เศรษฐีกุกกุฏะ และเศรษฐีปาวาริกะโดยลำดับ สร้างถวายแด่พระพุทธองค์ ในโอกาสเดียวกัน กับวัดที่ 4 คือวัดพัทริการาม ซึ่งดูว่าจะอยู่ห่างออกไปเล็กน้อยปรากฏตามพระคัมภีร์ว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จประทับ ณ วัดทั้งสี่นี้บ่อย ๆ และบางโอกาสได้ประทับอยู่นาน ได้ทรงแสดงพระสูตรต่าง ๆ ณ วัดทั้งสี่นี้เป็นจำนวนมาก ทรงบัญญัติสิกขาบทรวมหลายสิขาบท รวมทั้งที่ห้ามภิกษุดื่มสุราด้วยพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ 9 ณ โกสัมพีนี้ แต่ยังค้นไม่พบว่าทรงประทับอยู่ ณ ที่ไหน

ในปีพรรษาที่ 10 พระสงฆ์ที่วัดโฆสิตารามทะเลาะกัน และแตกออกเป็นสองพวกแม้พระพุทธองค์จะได้เสด็จมาตักเตือนห้ามปราม และทรงขอให้กลับสามัคคีกัน ก็ยังไม่ทำตามพระพุทธโอวาท พระพุทธองค์ทรงมีความระอาต่อการณ์ดังกล่าวจึงได้เสด็จไปประทับจำพรรษาอยู่แต่พระองค์เดียว ที่รักขิตวันแห่งป่าปาริไลยกะ ดังได้กล่าวแล้วในเรื่องแคว้นเจตี ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จ ต่อไปยังสาวัตถี พระที่ทะเลาะกันรู้สำนึกความผิด และคืนดีกันได้ภายในพรรษา ออกพรรษาแล้วจึงได้พร้อมใจกันไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ สาวัตถี เพื่อกราบทูลขอโทษ

ที่โฆสิตารามนี้ พระฉันนะ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าแก่ของพระพุทธองค์ ประพฤติตนเป็นคนดื้อด้านว่ายาก ไม่ยอมฟังคำตักเตือนของผู้ใด ก่อนจะเสด็จปรินิพพานพระพุทธองค์ตรัสบอกท่านพระอานนท์ว่า ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะคือไม่พูดด้วย ไม่ว่ากล่าตักเตือน และเกี่ยวข้องอะไรด้วยทั้งสิ้น เสร็จสังคายนาครั้งที่หนึ่งแล้ว โดยฉันทานุมัติจากที่ประชุมสงฆ์ ท่านพระอานนท์ พร้อมด้วยบริวารได้เดินทางจากราชคฤห์มายังโฆสิตาราม เพื่อ ประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระฉันนะได้สำนึก ประพฤติตนดี และเอาใจใส่ในการบำเพ็ญเพียร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

นอกจากที่กล่าวแล้วนี้ เรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ณ โกสัมพี ที่ทราบกันแพร่หลายที่มีเล่าในอรรถกถา ธรรมบทก็มีเรื่องโฆสกะเศรษฐี เรื่องพระพากุละหรือพักกุละเรื่องพระปิณโฑลภารทวาชะ และเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระนางสามาวดีพระนางมาคันทิยา และพระนางวาสุลทัตตาเป็นต้นตามความที่ปรากฏในเรื่องของพระเจ้าอุเทน กับพระมเหสีทั้งสามที่โกสัมพีนี้ พระพุทธองค์ทรงถูกเหล่าขนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าว่าเยาะเย้ยด้วยประการต่าง ๆ จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสียแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงเห็นด้วย ตรัสว่า เรื่องเกิดขึ้นที่ไหนก็ควรทำให้สงบ ณ ที่นั้นเสียก่อน จึงค่อยไปที่อื่น แล้วตรัสพระพุทธภาษิตอันถือกันว่า เป็นธรรมะสอนใจอย่างดียิ่ง เรื่องละเอียดมีใน สามาวดีวัตถุ แห่งอรรถกถาธรรมบท[3]

อ้างอิง

  1. Louis Herbert Gray (1902). Indo-Iranian Phonology with Special Reference to the Middle and New Indo-Iranian Languages. Columbia University Press. pp. 169–170.
  2. 2.0 2.1 Rohan L. Jayetilleke (5 ธันวาคม 2007). "The Ghositarama of Kaushambi". Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2008.
  3. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ vichadham.com

แหลงข้อมูลอื่น