ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โควตาอิมเปรีอาลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''โควตาอิมเปรีอาลี''' (Imperiali quota) หรือ'''โควตาอิมพิเ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:39, 21 มิถุนายน 2564

โควตาอิมเปรีอาลี (Imperiali quota) หรือโควตาอิมพิเรียรี[1] เป็นสูตรคำนวนใช้สำหรับหาค่าต่ำสุดหรือโควตาของจำนวนผลคะแนนเสียงที่ใช้สำหรับการจัดสรรปันส่วนจำนวนที่นั่งในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง หรือระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อโดยใช้วิธีเหลือเศษสูงสุด โดยโควตาอิมเปรีอาลีมีความแตกต่างจากวิธีอิมเปรีอาลี (Imperiali method) โดยเป็นชนิดหนึ่งของวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยทั้งคู่ตั้งชื่อตามวุฒิสมาชิกชาวเบลเยียม ปิแยร์ อิมเปรีอาลี

เอกวาดอร์ และสาธารณรัฐเช็ก อยู่ในกลุ่มไม่กี่ประเทศที่ใช้การจัดสรรปันส่วนที่นั่งในระบบนี้ ในขณะที่อิตาลีใช้ในสภาผู้แทนราษฎรช่วงปีค.ศ. 1946 ถึงค.ศ. 1993

ในการใช้โควตาอิมเปรีอาลีเป็นสูตรคำนวนนั้น หากพรรคการเมืองจำนวนหลายพรรคสามารถได้คะแนนเสียงเกินจำนวนโควตาไปไม่มาก จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการจัดสรรที่นั่งให้กับพรรคการเมืองทั้งหมดมากกว่าจำนวนที่นั่งที่มีในสภา (ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นในโควตาแฮร์ หรือโควตาดรูป ดังนั้นหากเกิดกรณีนี้ขึ้น ผลลัพธ์จะต้องถูกคำนวนใหม่โดยใช้โควตาที่สูงขึ้น (โดยปกติแล้วนิยมใช้โควตาดรูป) โดยหากไม่พบปัญหาดังกล่าวโควตาอิมเปรีอาลีสามารถใช้จัดสรรที่นั่งได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีดงท์

โควตาอิมเปรีอาลีนั้นไม่ใช่อย่างเดียวกับวิธีอิมเปรีอาลี อันเป็นแบบหนึ่งของวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งมาจากชื่อเดียวกัน

การคำนวน

โควตาอิมเปรีอาลีสามารถคำนวนได้ดังนี้

  • Total votes = จำนวนผลรวมคะแนนเสียงทั้งหมด; คือจำนวนคะแนนเสียงดีทั้งหมดในการเลือกตั้ง
  • Total seats = จำนวนที่นั่งที่จะต้องจัดสรรทั้งหมดในการเลือกตั้ง

ตัวอย่าง

การลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

ในระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (Single tranfertable vote; STV) โดยสมมติว่าในการเลือกตั้งเพื่อหาผู้แทนจำนวนทั้งหมด 2 คน โดยมีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งสิ้น 3 คน ได้แก่ แอนเดรีย คาร์เตอร์ และแบรด มีผู้มีสิทธิลงคะแนนทั้งหมด 100 คน ได้ผลออกมาดังต่อไปนี้

ผู้ลงคะแนน 65 คน

  1. แอนเดรีย
  2. คาร์เตอร์

ผู้ลงคะแนน 15 คน

  1. คาร์เตอร์

ผู้ลงคะแนน 20 คน

  1. แบรด

เนื่องจากมีผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 100 คน และมีผู้แทน 2 ที่นั่ง ดังนั้นโควตาอิมเปรีอาลีเท่ากับ

เมื่อเริ่มการนับคะแนนเริ่มจากลำดับความชอบแรกก่อน จะได้คะแนนเสียงสำหรับแต่ละผู้สมัครดังนี้

  • แอนเดรีย 65 คะแนน
  • คาร์เตอร์ 15 คะแนน
  • แบรด 20 คะแนน

เนื่องจากแอนเดรียมีจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดเกินโควตา (ที่ 25 คะแนน) ดังนั้นแอนเดรียจะได้รับเลือกตั้งไปคนแรก โดยคะแนนส่วนที่เกินจากโควตามีจำนวน 40 คะแนน ดังนั้นคะแนนส่วนเกินจะถูกถ่ายโอนไปให้กับคาร์เตอร์ (ตามที่ระบุไว้โดยผู้ลงคะแนน) ผลรวมคะแนนในรอบถัดไปจะเป็นดังนี้

  • คาร์เตอร์ 55 คะแนน
  • แบรด 20 คะแนน

ดังนั้นในรอบนี้คาร์เตอร์ได้คะแนนเกินโควตาและได้รับเลือกตั้งไปเป็นคนที่สอง ดังนั้นผู้ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้แก่ แอนเดรีย และคาร์เตอร์


อ้างอิง

  1. เรย์โนลด์ส, แอนดรูว์; ไรลี, เบน; เอลลิส, แอนดรูว์ (2008), "การออกแบบระบบเลือกตั้ง: คู่มือเล่มใหม่ของ International IDEA" (PDF), International Institute for Electoral Assistance (International IDEA), สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, p. 217, ISBN 978-91-86565-54-1, สืบค้นเมื่อ June 21, 2021