ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 142: บรรทัด 142:
[[Category:จังหวัดเชียงใหม่| ]]
[[Category:จังหวัดเชียงใหม่| ]]
[[Category:เชียง]]
[[Category:เชียง]]
[[Category:ล้านนาไทย]]


[[de:Chiang Mai (Provinz)]]
[[de:Chiang Mai (Provinz)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:03, 1 มกราคม 2549

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จังหวัดเชียงใหม่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
จังหวัด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
พื้นที่
 • ทั้งหมด10,000 ตร.กม. (4,000 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด100,000 คน
 • ความหนาแน่น10 คน/ตร.กม. (26 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166[[ISO 3166-2:TH|]]
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ศาลากลางจังหวัด
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตร โดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตร ตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

- ทิศเหนือ รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีสันปันน้ำของดอยคำดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำ ป่อง ดอยถ้วยดอยผาวอก ดอยอ่างขาง อันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต

- ทิศใต้ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีร่องน้ำแม่ตื่นและสันปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

- ทิศตะวันออก จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงราย และลำปาง มีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกกสันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา ดอยแม่โต เป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูงและร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

- ทิศตะวันตก อำเภอปาย อำเภอขุนยวมและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีสันปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และสันปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด: ตราช้างเผือกในศาลาแก้ว
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทองกวาว (Butea monosperma Kuntze)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์

ประวัติศาสตร์

พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่

เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่พญามังรายได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1839 ซึ่งมีอายุครบ 700 ปี ในปี พ.ศ. 2539 และเมืองเชียงใหม่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครรัฐอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839 - 2101) ในปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง และตกอยู่ใต้อำนาจของพม่านานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยพระเจ้าตากสินและพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสนับสนุนล้านนา โดยการนำของพระยากาวิละและพระยาจ่าบ้านทำสงครามขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงแสนสำเร็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสถาปนาพระยากาวิละขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ และเชื้อสายของพระยากาวิละ ซึ่งเรียกว่า ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและลำปางสืบต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดให้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราชได้ยกเลิกการมีเมืองประเทศราชในภาคเหนือ จัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจังหวัด เชียงใหม่จึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 22 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน

อำเภอ กิ่งอำเภอ
  1. อำเภอเมืองเชียงใหม่
  2. อำเภอจอมทอง
  3. อำเภอแม่แจ่ม
  4. อำเภอเชียงดาว
  5. อำเภอดอยสะเก็ด
  6. อำเภอแม่แตง
  7. อำเภอแม่ริม
  8. อำเภอสะเมิง
  9. อำเภอฝาง
  10. อำเภอแม่อาย
  11. อำเภอพร้าว
  1. อำเภอสันป่าตอง
  2. อำเภอสันกำแพง
  3. อำเภอสันทราย
  4. อำเภอหางดง
  5. อำเภอฮอต
  6. อำเภอดอยเต่า
  7. อำเภออมก๋อย
  8. อำเภอสารภี
  9. อำเภอเวียงแหง
  10. อำเภอชัยปราการ
  11. อำเภอแม่วาง
  1. กิ่งอำเภอแม่ออน
  2. กิ่งอำเภอดอยหล่อ
 แผนที่

ภูมิอากาศ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส

สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่

  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ประชากร

ไนท์บาซาร์

ภาคเหนือภูมิอากาศเย็นสดชื่น ภูมิประเทศสวยงามด้วยป่าเขา และดอกไม้นานา ชนิด ทำให้คนเหนือมีลักษณะเยือกเย็น จิตใจโอบอ้อมอารี งานศิลปะหัตถกรรมหลายชนิดจึงเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 61.43 ของผู้ที่ทำงานทั้งหมด ทั่วประเทศ อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม คิดเป็นร้อยละ 13.60 และ 10.02 ตามลำดับ นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน

ภาษาที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และภาษาถิ่นซึ่งเรียกว่าคำเมือง

การศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดได้แก่ โรงเรียนเรยีนา โรงเรียนปรินส์ และโรงเรียนมงฟอร์ต โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในระดับประถมและมัธยม สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นต้น

คมนาคม

การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้หลายวิธี รวมถึง ทางเครื่องบิน ผ่านทาง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือรถไฟ ผ่านทางสถานีรถไฟเชียงใหม่ หรือรถประจำทาง ลงที่ท่ารถประจำทางที่ สถานีขนส่งอาเขต

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดย รถส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชน จะมี รถเมล์ และ รถแดง

อุทยานแห่งชาติทางบก

ไฟล์:Oob Luang NP.jpg
อุทยานแห่งชาติออบหลวงเชียงใหม่


ลิงค์ภายนอก