ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีเหลือเศษสูงสุด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''วิธีเหลือเศษสูงสุด''' ({{lang-en|The largest remainder method}}) หรือเ...
 
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
วิธีการคำนวนหาโควต้ามีหลายวิธี โดยวิธีที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือ [[โควต้าแฮร์]] (Hare quota) และ[[โควต้าดรูป]] (Droop quota) การใช้งานโควต้าประเภทใดประเภทหนึ่งในวิธีเหลือเศษสูงสุดนั้นสามารถเรียกย่อได้เป็น "LR-[ชื่อโควต้า]" อาทิเช่น "LR-Droop"<ref>{{Cite book|last1=Gallagher|first1=Michael|url=https://books.google.com/books?id=Igdj1P4vBwMC|title=The Politics of Electoral Systems|last2=Mitchell|first2=Paul|date=2005-09-15|publisher=OUP Oxford|isbn=978-0-19-153151-4|language=en}}</ref>
วิธีการคำนวนหาโควต้ามีหลายวิธี โดยวิธีที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือ [[โควต้าแฮร์]] (Hare quota) และ[[โควต้าดรูป]] (Droop quota) การใช้งานโควต้าประเภทใดประเภทหนึ่งในวิธีเหลือเศษสูงสุดนั้นสามารถเรียกย่อได้เป็น "LR-[ชื่อโควต้า]" อาทิเช่น "LR-Droop"<ref>{{Cite book|last1=Gallagher|first1=Michael|url=https://books.google.com/books?id=Igdj1P4vBwMC|title=The Politics of Electoral Systems|last2=Mitchell|first2=Paul|date=2005-09-15|publisher=OUP Oxford|isbn=978-0-19-153151-4|language=en}}</ref>


วิธีการคำนวนด้วย[[โควตาแฮร์]] (หรือ วิธีอย่างง่าย) เป็นดังนี้
วิธีการคำนวนด้วย[[โควต้าแฮร์]] (หรือ วิธีอย่างง่าย) เป็นดังนี้
:<math>\frac{\text{total votes}}{\text{total seats}}</math>
:<math>\frac{\text{total votes}}{\text{total seats}}</math>
ในปัจจุบันใช้โควต้าแฮร์ในการเลือกตั้งใน[[รัสเซีย]] (ด้วยคะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5 ตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 เป็นต้นมา) [[ยูเครน]] [[ตูนีเซีย]]<ref name=tunisiaElectLaw>{{cite book|title=Proposed Basic Law on Elections and Referendums - Tunisia (Non-official translation to English)|date=26 January 2014|publisher=[[International Institute for Democracy and Electoral Assistance|International IDEA]]|page=25|url=http://aceproject.org/ero-en/regions/africa/TN/tunisia-organic-law-on-elections-and-referenda/at_download/file|access-date=9 August 2015|chapter=2}}</ref> [[ไต้หวัน]] (คะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5) [[นามิเบีย]] และ[[ฮ่องกง]] โดยหากใช้โควต้าแฮร์ในการคำนวนใน[[วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด]] จะเรียกว่า '''การแบ่งสันปันส่วนด้วยวิธีแฮมิลตัน''' (Hamilton method of apportionment) ซึ่งตั้งชื่อตาม[[อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน]] ผู้คิดค้น[[วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด]]ในปีค.ศ. 1792<ref>{{Cite book| publisher = Springer| last = Eerik Lagerspetz| title = Social Choice and Democratic Values| series = Studies in Choice and Welfare| date = 26 November 2015| isbn = 9783319232614| access-date = 2017-08-17| url = https://books.google.com/books?id=RNcLCwAAQBAJ&q=alexander+hamilton+invented+the+largest+remainder+method&pg=PA130}}</ref> โดยใช้วิธีนี้ในการแบ่งสัดส่วน[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ]] ในทุกๆ 10 ปี ระหว่างปีค.ศ. 1852 - 1990
ในปัจจุบันใช้โควต้าแฮร์ในการเลือกตั้งใน[[รัสเซีย]] (ด้วยคะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5 ตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 เป็นต้นมา) [[ยูเครน]] [[ตูนีเซีย]]<ref name=tunisiaElectLaw>{{cite book|title=Proposed Basic Law on Elections and Referendums - Tunisia (Non-official translation to English)|date=26 January 2014|publisher=[[International Institute for Democracy and Electoral Assistance|International IDEA]]|page=25|url=http://aceproject.org/ero-en/regions/africa/TN/tunisia-organic-law-on-elections-and-referenda/at_download/file|access-date=9 August 2015|chapter=2}}</ref> [[ไต้หวัน]] (คะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5) [[นามิเบีย]] และ[[ฮ่องกง]] โดยหากใช้โควต้าแฮร์ในการคำนวนใน[[วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด]] จะเรียกว่า '''การแบ่งสันปันส่วนด้วยวิธีแฮมิลตัน''' (Hamilton method of apportionment) ซึ่งตั้งชื่อตาม[[อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน]] ผู้คิดค้น[[วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด]]ในปีค.ศ. 1792<ref>{{Cite book| publisher = Springer| last = Eerik Lagerspetz| title = Social Choice and Democratic Values| series = Studies in Choice and Welfare| date = 26 November 2015| isbn = 9783319232614| access-date = 2017-08-17| url = https://books.google.com/books?id=RNcLCwAAQBAJ&q=alexander+hamilton+invented+the+largest+remainder+method&pg=PA130}}</ref> โดยใช้วิธีนี้ในการแบ่งสัดส่วน[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ]] ในทุกๆ 10 ปี ระหว่างปีค.ศ. 1852 - 1990

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:53, 17 มิถุนายน 2564

วิธีเหลือเศษสูงสุด (อังกฤษ: The largest remainder method) หรือเรียกอีกอย่างว่า วิธีแฮร์-นีเมเยอร์ วิธีแฮมิลตัน หรือวิธีวินตัน เป็นวิธีการคำนวนที่นั่งของผู้แทนตามระบบสัดส่วนสำหรับสภานิติบัญญัติที่ใช้ระบบการลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ โดยเป็นวิธีที่ตรงกันข้ามกับวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด (อังกฤษ: The highest average method)

วิธีการ

ใน วิธีเหลือเศษสูงสุด นั้นใช้จำนวนคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับจากผู้ลงคะแนนและหารกับโควต้าที่เท่ากับจำนวนผลคะแนนที่ต้องการต่อหนึ่งที่นั่ง (ปกติใช้จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ลงคะแนนหารโดยจำนวนที่นั่งที่มี หรือสูตรใกล้เคียง) ผลลัพธ์จากการคำนวนจะประกอบด้วยเลขจำนวนเต็มและเศษทศนิยม โดยในแต่ละพรรคการเมืองจะได้รับการจัดสรรที่นั่งเท่ากับเลขจำนวนเต็มก่อน โดยจะเหลือที่นั่งว่างอยู่ในสภาที่ยังไม่มีผู้แทน โดยจัดสรรที่นั่งเหลือนี้จากเศษทศนิยมที่เหลือจากการคำนวนข้างต้น และพรรคการเมืองใดๆ ที่มีเศษสูงที่สุดจะได้ที่นั่งไปก่อนโดยเรียงจากมากไปน้อยจนเติมได้ครบทุกที่นั่ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวิธีการคำนวน

สูตรการคำนวนและโควต้า

วิธีการคำนวนหาโควต้ามีหลายวิธี โดยวิธีที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือ โควต้าแฮร์ (Hare quota) และโควต้าดรูป (Droop quota) การใช้งานโควต้าประเภทใดประเภทหนึ่งในวิธีเหลือเศษสูงสุดนั้นสามารถเรียกย่อได้เป็น "LR-[ชื่อโควต้า]" อาทิเช่น "LR-Droop"[1]

วิธีการคำนวนด้วยโควต้าแฮร์ (หรือ วิธีอย่างง่าย) เป็นดังนี้

ในปัจจุบันใช้โควต้าแฮร์ในการเลือกตั้งในรัสเซีย (ด้วยคะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5 ตั้งแต่ปีค.ศ. 2016 เป็นต้นมา) ยูเครน ตูนีเซีย[2] ไต้หวัน (คะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5) นามิเบีย และฮ่องกง โดยหากใช้โควต้าแฮร์ในการคำนวนในวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด จะเรียกว่า การแบ่งสันปันส่วนด้วยวิธีแฮมิลตัน (Hamilton method of apportionment) ซึ่งตั้งชื่อตามอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ผู้คิดค้นวิธีค่าเฉลี่ยสูงสุดในปีค.ศ. 1792[3] โดยใช้วิธีนี้ในการแบ่งสัดส่วนสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ในทุกๆ 10 ปี ระหว่างปีค.ศ. 1852 - 1990

โควต้าดรูป คือส่วนเลขจำนวนเต็มของ

และใช้กับการเลือกตั้งในแอฟริกาใต้ ส่วนโควต้าฮาเกินบัค-บิชฮอฟนั้นคล้ายกัน คือ

โดยจะใช้แบบมีเลขทศนิยม หรือปัดเศษก็ได้

โควต้าแฮร์นั้นมักจะเป็นประโยชน์แก่พรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมน้อย ส่วนโควต้าดรูปนั้นเป็นประโยชน์แก่พรรคการเมืองยอดนิยมมากกว่า[4][5][6][7][8] ซึ่งหมายความโควต้าแฮร์นั้นเมื่อพิจารณาแล้วน่าจะมีความเป็นสัดส่วนมากกว่าโควต้าดรูป อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างการคำนวนในบางกรณีนั้น โควต้าแฮร์ไม่สามารถรับรองได้ว่าพรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้นจะสามารถกวาดที่นั่งได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งได้ (ซึ่งในโควตาดรูปยิ่งเป็นไปได้ยากเช่นกัน)

ตัวอย่าง

ตัวอย่างต่อไปนี้สมมติจากการเลือกตั้งเพื่อหาผู้แทน 10 ที่นั่ง โดยมีคะแนนเสียงรวมทั้งสิ้น 100,000 คะแนน

โควต้าแฮร์

พรรค เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู รวม
คะแนน 47,000 16,000 15,800 12,000 6,100 3,100 100,000
ที่นั่ง 10
โควตาแฮร์ 10,000
คะแนน/โควตา 4.70 1.60 1.58 1.20 0.61 0.31
ที่นั่งอัตโนมัติ 4 1 1 1 0 0 7
เศษ 0.70 0.60 0.58 0.20 0.61 0.31
แบ่งที่นั่งจากลำดับเศษสูงสุด 1 1 0 0 1 0 3
รวมที่นั่ง 5 2 1 1 1 0 10

โควต้าดรูป

พรรค เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู รวม
คะแนน 47,000 16,000 15,800 12,000 6,100 3,100 100,000
ที่นั่ง 10+1=11
โควต้าดรูป 9,091
คะแนน/โควตา 5.170 1.760 1.738 1.320 0.671 0.341
ที่นั่งอัตโนมัติ 5 1 1 1 0 0 8
เศษ 0.170 0.760 0.738 0.320 0.671 0.341
แบ่งที่นั่งจากลำดับเศษสูงสุด 0 1 1 0 0 0 2
รวมที่นั่ง 5 2 2 1 0 0 10

เปรียบเทียบ

ในวิธีเหลือเศษสูงสุดมีข้อดีคือผู้ลงคะแนนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย โควต้าแฮร์ช่วยให้พรรคการเมืองที่เล็กกว่าได้เปรียบกว่า ในขณะที่โควต้าดรูปช่วยพรรคการเมืองใหญ่กว่า[9] อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพรรคจะได้ที่นั่งเพิ่มจากเศษที่เหลือหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการแบ่งสรรปันส่วนคะแนนเสียงที่เหลือกับพรรคการเมืองอื่นๆ โดยมีความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงมากกว่าเพียงนิดเดียวแต่เสียไปหนึ่งที่นั่งหากคะแนนเสียงของพรรคการเมืองอื่นเปลี่ยนตามไปด้วย ลักษณะเฉพาะของวิธีนี้คือเมื่อมีจำนวนที่นั่งมากขึ้นอาจทำให้พรรคการเมืองเสียที่นั่งไปหนึ่งที่นั่งได้ (เรียกกันว่า ปฏิทรรศน์อัลบามา) วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีข้อดีคือช่วยไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น แต่ในการแบ่งสันปันส่วนนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปราศจากปฏิทรรศน์โดยสิ้นเชิง[10]

อ้างอิง

  1. Gallagher, Michael; Mitchell, Paul (2005-09-15). The Politics of Electoral Systems (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. ISBN 978-0-19-153151-4.
  2. "2". Proposed Basic Law on Elections and Referendums - Tunisia (Non-official translation to English). International IDEA. 26 January 2014. p. 25. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.
  3. Eerik Lagerspetz (26 November 2015). Social Choice and Democratic Values. Studies in Choice and Welfare. Springer. ISBN 9783319232614. สืบค้นเมื่อ 2017-08-17.
  4. http://www.parl.gc.ca/Content/LOP/researchpublications/bp334-e.pdf
  5. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-09-26.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-16. สืบค้นเมื่อ 2006-05-16.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. http://janda.org/c24/Readings/Lijphart/Lijphart.html
  9. See for example the 2012 election in Hong Kong Island where the DAB ran as two lists and gained twice as many seats as the single-list Civic despite receiving fewer votes in total: New York Times report
  10. Balinski, Michel; H. Peyton Young (1982). Fair Representation: Meeting the Ideal of One Man, One Vote. Yale Univ Pr. ISBN 0-300-02724-9.