ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย"

พิกัด: 13°44′40″N 100°32′50″E / 13.744346°N 100.547347°E / 13.744346; 100.547347
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GeonuchBot (คุย | ส่วนร่วม)
→‎top: บอต: นำแม่แบบออก, removed: {{รอการตรวจสอบ}}
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:


[[ไฟล์:British Embassy, Bangkok, March 2017.jpg|thumb|สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ปัจจุบันอาคารถูกรื้อถอนทั้งหมด เพื่อพัฒนาเป็น[[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]]]]
[[ไฟล์:British Embassy, Bangkok, March 2017.jpg|thumb|สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร บริเวณถนนเพลินจิต ปัจจุบันอาคารถูกรื้อถอนทั้งหมด เพื่อพัฒนาเป็น[[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]]]]
'''สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย''' ({{lang-en|British Embassy Bangkok}}) เป็น[[สถานเอกอัครราชทูต]]ของ[[สหราชอาณาจักร]]ใน[[ประเทศไทย]] ปัจจุบันตั้งอยู่ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ [[ถนนสาทร|ถนนสาทรใต้]] [[แขวงยานนาวา]] [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
'''สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย''' ({{lang-en|British Embassy Bangkok}}) เป็น[[สถานเอกอัครราชทูต]]ของ[[สหราชอาณาจักร]]ใน[[ประเทศไทย]] ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในอาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ [[ถนนสาทร|ถนนสาทรใต้]] [[แขวงยานนาวา]] [[เขตสาทร]] [[กรุงเทพมหานคร]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:The British legation (Twentieth Century Impressions of Siam).jpg|thumb|สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ในสมัยที่ยังคงเป็นสถานกงศุลอังกฤษ ที่[[ถนนเจริญกรุง]] ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก]]]]
[[ไฟล์:The British legation (Twentieth Century Impressions of Siam).jpg|thumb|สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ในสมัยที่ยังเป็นสถานกงศุลอังกฤษที่[[ถนนเจริญกรุง]] ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[อาคารไปรษณีย์กลาง|อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก]]]]


สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ยกฐานะมาจากสถานกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมัยเปิดสัมพันธ์ทางทูตและการค้ากับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงสามารถเข้าทางถนนได้อีกทางหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์แล้วรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินเพื่อทำสถานกงสุลอังกฤษจากชาวมอญและพม่า ในราคาตารางวาละ 1 บาท พร้อมพระราชทานเสาธงไม้ให้สถานกุงสุลอีกด้วย
สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ยกฐานะมาจากสถานกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมัยเปิดสัมพันธ์ทางทูตและการค้ากับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงสามารถเข้าทางถนนได้อีกทางหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์แล้วรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินเพื่อทำสถานกงสุลอังกฤษจากชาวมอญและพม่า ในราคาตารางวาละ 1 บาท พร้อมพระราชทานเสาธงไม้ให้สถานกุงสุลอีกด้วย
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
พ.ศ. 2549 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินบางส่วนจำนวน 9 ไร่ ติดกับถนนเพลินจิต จึงมอบหมายให้ตัวแทนเปิดการประมูลซึ่งผลปรากฏว่า [[กลุ่มเซ็นทรัล]] ชนะการประมูล ต่อมา [[กลุ่มเซ็นทรัล]] ได้นำพื้นที่จำนวน 9 ไร่ นี้ไปก่อสร้างเป็น ศูนย์การค้าและโรงแรมในชื่อ [[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]] ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน
พ.ศ. 2549 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินบางส่วนจำนวน 9 ไร่ ติดกับถนนเพลินจิต จึงมอบหมายให้ตัวแทนเปิดการประมูลซึ่งผลปรากฏว่า [[กลุ่มเซ็นทรัล]] ชนะการประมูล ต่อมา [[กลุ่มเซ็นทรัล]] ได้นำพื้นที่จำนวน 9 ไร่ นี้ไปก่อสร้างเป็น ศูนย์การค้าและโรงแรมในชื่อ [[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]] ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน


พ.ศ. 2560 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต โดยแนวทางที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรวางแผนไว้ ที่ตั้งแห่งใหม่จะย้ายไปอยู่ในอาคารสำนักงาน และมอบหมายให้ตัวแทนไปดำเนินการหาผู้ประมูลที่ทำให้สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรได้ประโยชน์สูงสุด โดยผลของผู้ชนะการประมูลที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต คือ กลุ่มบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ หรือ[[กลุ่มเซ็นทรัล]] และกลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ กลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด กับ กลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์จากฮ่องกง โดยกลุ่มดังกล่าวประมูลได้ไปในราคา 420 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.86 หมื่นล้านบาท โดยเงินที่ได้จากการขายกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักร จะนำไปใช้ปรับปรุงสถานทูตต่างๆทั่วโลก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเช่าอาคารสำนักงานเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และปรับปรุงเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรแห่งใหม่อีกด้วย โดยปัจจุบันได้ย้ายที่ทำการสถานทูตมาอยู่ที่ทำการปัจจุบันแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562<ref>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000010704</ref> ต่อมา กลุ่มเซ็นทรัล ได้ขายกรรมสิทธิ์ให้ [[เซ็นทรัลพัฒนา]] นำไปพัฒนาเป็นโครงการแบบประสม อันเป็นส่วนต่อขยายของ [[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]]
พ.ศ. 2560 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต โดยแนวทางที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรวางแผนไว้ ที่ตั้งแห่งใหม่จะย้ายไปอยู่ในอาคารสำนักงาน และมอบหมายให้ตัวแทนไปดำเนินการหาผู้ประมูลที่ทำให้สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรได้ประโยชน์สูงสุด โดยผลของผู้ชนะการประมูลที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต คือ กลุ่มบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ หรือ[[กลุ่มเซ็นทรัล]] และกลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนของกลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด กับ กลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์จากฮ่องกง โดยกลุ่มดังกล่าวประมูลได้ไปในราคา 420 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.86 หมื่นล้านบาท โดยเงินที่ได้จากการขายกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักร จะนำไปใช้ปรับปรุงสถานทูตต่างๆทั่วโลก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเช่าอาคารสำนักงานเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และปรับปรุงเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรแห่งใหม่อีกด้วย โดยปัจจุบันได้ย้ายที่ทำการสถานทูตมาอยู่ที่ทำการปัจจุบันแล้วในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562<ref>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000010704</ref> ต่อมากลุ่มเซ็นทรัลได้ขายกรรมสิทธิ์ให้ [[เซ็นทรัลพัฒนา]] นำไปพัฒนาเป็นโครงการแบบประสม อันเป็นส่วนต่อขยายของ [[เซ็นทรัล เอ็มบาสซี]]


นอกจากนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสหราชอาณาจักรสำนักงานประเทศไทยได้มีประกาศปรับย้าย เฉพาะส่วนงานของการพิจารณาวีซ่าของผู้มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย จากประเทศไทยไปอยู่ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพือรวมเป็นศูนย์กลางข้อมูล สะดวกในการพิจาณาวีซ่าและบริหารจัดการข้อมูล แต่ในส่วนงานรับคำร้องการขอวีซ่ายังอยู่ที่ประเทศไทยเช่นเดิม
นอกจากนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสหราชอาณาจักรสำนักงานประเทศไทยได้มีประกาศปรับย้าย เฉพาะส่วนงานของการพิจารณาวีซ่าของผู้มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย จากประเทศไทยไปอยู่ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพือรวมเป็นศูนย์กลางข้อมูล สะดวกในการพิจาณาวีซ่าและบริหารจัดการข้อมูล แต่ในส่วนงานรับคำร้องการขอวีซ่ายังอยู่ที่ประเทศไทยเช่นเดิม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:40, 17 มิถุนายน 2564

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร บริเวณถนนเพลินจิต ปัจจุบันอาคารถูกรื้อถอนทั้งหมด เพื่อพัฒนาเป็นเซ็นทรัล เอ็มบาสซี

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย (อังกฤษ: British Embassy Bangkok) เป็นสถานเอกอัครราชทูตของสหราชอาณาจักรในประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในอาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ในสมัยที่ยังเป็นสถานกงศุลอังกฤษที่ถนนเจริญกรุง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารไปรษณีย์กลางบางรัก

สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ยกฐานะมาจากสถานกงสุลอังกฤษประจำประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมัยเปิดสัมพันธ์ทางทูตและการค้ากับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 การคมนาคมติดต่อกับสถานทูต เดิมใช้ทางแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการตัดถนนเจริญกรุง จึงสามารถเข้าทางถนนได้อีกทางหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์แล้วรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินเพื่อทำสถานกงสุลอังกฤษจากชาวมอญและพม่า ในราคาตารางวาละ 1 บาท พร้อมพระราชทานเสาธงไม้ให้สถานกุงสุลอีกด้วย

พ.ศ. 2435 เสาธงที่ได้รับพระราชทานถูกพายุหักโค่น สถานกงสุลจึงสั่งนำเข้าเสาธงเหล็กในราคา 500 ปอนด์ จากฮ่องกงเข้ามาเปลี่ยนแทน

ต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงสีจำนวน 2 โรงขึ้นอีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตรงข้ามกับสถานกงสุลอังกฤษ โรงสีได้ปล่อยควันมีขี้ฝุ่นและเสียงหวูดโรงสีไฟเปิดดังหนวกหู ซึ่งสร้างปัญหามลภาวะในการทำงานและการพักอาศัยให้กับบุคลากรของสถานกงสุลอังกฤษเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในยามค่ำคืน ยังมีเสียงดนตรีและเสียงกลองดังลั่นจากร้านเหล้า รวมถึงยังมีคนเมาอาละวาดอยู่หน้าอนุสาวรีย์ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ริมถนนเจริญกรุงฝั่งตรงข้ามกับสถานทูตอีกด้วย ท่านกงสุลจึงดำริที่ต้องการจะย้ายสถานที่ตั้งสถานกงสุลใหม่ ซึ่งประจวบกับขณะนั้น พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ มีที่ดินจำนวนมากต้องการพัฒนาพื้นที่ย่านเพลินจิตริมคลองแสนแสบของตน จึงนำมาเสนอขายให้กับสถานกงสุลอังกฤษ โดยมีเงื่อนไขพระยาภักดีนรเศรษฐ ขอรับซื้อพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างของสถานกงสุลอังกฤษเดิมทั้งหมดด้วย เมื่อสถานกงสุลพิจารณาแล้วเห็นชอบจึงรับข้อเสนอและก่อสร้างอาคารสถานกงสุลใหม่ในที่ดินของนายเลิศ

พ.ศ. 2465 สถานกงสุลได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ย่านเพลินจิต ส่วนที่ตั้งเดิมของสถานกงสุลอังกฤษ นายเลิศได้นำไปเสนอขายให้กับทางราชการของไทย ในราคา 1,800,000 บาท ซึ่งราชการของไทยโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รับซื้อไว้ ปี พ.ศ. 2469 อาคารสถานที่เดิมของสถานกงสุลอังกฤษได้ถูกนำไปใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขกลาง สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่อมาอาคารมีความทรุดโทรมและคับแคบไม่เหมาะกับงานไปรษณีย์ จึงรื้ออาคารทิ้งทั้งหมดแล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ซึ่งก็คือ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง ในปัจจุบัน ส่วนสถานกงสุลอังกฤษที่ย้ายไปที่ตั้งใหม่ย่านเพลินจิต ถนนวิทยุ ต่อมาได้ถูกยกฐานะเป็น สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย

พ.ศ. 2549 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินบางส่วนจำนวน 9 ไร่ ติดกับถนนเพลินจิต จึงมอบหมายให้ตัวแทนเปิดการประมูลซึ่งผลปรากฏว่า กลุ่มเซ็นทรัล ชนะการประมูล ต่อมา กลุ่มเซ็นทรัล ได้นำพื้นที่จำนวน 9 ไร่ นี้ไปก่อสร้างเป็น ศูนย์การค้าและโรงแรมในชื่อ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ซึ่งเปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน

พ.ศ. 2560 สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร มีนโยบายขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต โดยแนวทางที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรวางแผนไว้ ที่ตั้งแห่งใหม่จะย้ายไปอยู่ในอาคารสำนักงาน และมอบหมายให้ตัวแทนไปดำเนินการหาผู้ประมูลที่ทำให้สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรได้ประโยชน์สูงสุด โดยผลของผู้ชนะการประมูลที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร 25 ไร่ ทั้งหมดที่เหลือของสถานทูต คือ กลุ่มบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ หรือกลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนของกลุ่มเซ็นทรัล โดย บริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด กับ กลุ่มทุนฮ่องกงแลนด์จากฮ่องกง โดยกลุ่มดังกล่าวประมูลได้ไปในราคา 420 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 1.86 หมื่นล้านบาท โดยเงินที่ได้จากการขายกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักร จะนำไปใช้ปรับปรุงสถานทูตต่างๆทั่วโลก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการย้ายไปเช่าอาคารสำนักงานเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และปรับปรุงเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรแห่งใหม่อีกด้วย โดยปัจจุบันได้ย้ายที่ทำการสถานทูตมาอยู่ที่ทำการปัจจุบันแล้วในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562[1] ต่อมากลุ่มเซ็นทรัลได้ขายกรรมสิทธิ์ให้ เซ็นทรัลพัฒนา นำไปพัฒนาเป็นโครงการแบบประสม อันเป็นส่วนต่อขยายของ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี

นอกจากนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสหราชอาณาจักรสำนักงานประเทศไทยได้มีประกาศปรับย้าย เฉพาะส่วนงานของการพิจารณาวีซ่าของผู้มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย จากประเทศไทยไปอยู่ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพือรวมเป็นศูนย์กลางข้อมูล สะดวกในการพิจาณาวีซ่าและบริหารจัดการข้อมูล แต่ในส่วนงานรับคำร้องการขอวีซ่ายังอยู่ที่ประเทศไทยเช่นเดิม

ความสัมพันธ์ทางการทูตและสนธิสัญญา

ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรมีความสัมพันธ์ทางการค้ามากว่า 400 ปี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้ขาดช่วงความสัมพันธ์ลงหลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์การติดต่อต้องดำเนินการผ่านเมืองขึ้นหรืออาณานิคมของของสหราชอาณาจักรในขณะนั้น คือ ประเทศอินเดีย โดยมีการลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน ลงนามสนธิสัญญาระหว่างฉบับแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สหราชอาณาจักรได้ส่ง เซอร์จอห์น บาวริ่ง มาเป็นราชทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูนและการค้าซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ ไทยและสหราชอาณาจักรได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างกัน ซึ่งเรียกสนธิสัญญาระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรฉบับนี้ว่า สนธิสัญญาบาวริ่ง โดยลงนามทำสนธิสัญญากันเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ซึ่งนับว่าเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักรระหว่างกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์

ในปี พ.ศ. 2400 ประเทศไทยได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสหราชอาณาจักรเป็นการตอบแทน โดยมี เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นหัวหน้าคณะเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

กระทั่งปี พ.ศ. 2425 ประเทศไทยได้แต่งตั้ง หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักรและประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริการวม 12 ประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งถือได้ว่า หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นราชทูตคนแรกของไทยที่ส่งไปประจำที่สหราชอาณาจักร

รายนามกงสุลประจำประเทศสยาม

  • 1885–1889: Sir Ernest Satow
  • 1889–1894: Cpt. Henry Jones
  • 1896–1900: Sir George Greville

รายนามทูตพิเศษกระทรวงต่างประเทศ

รายนามเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′40″N 100°32′50″E / 13.744346°N 100.547347°E / 13.744346; 100.547347