ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบสองรอบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ระบบการลงคะแนน}}
{{ระบบการลงคะแนน}}

[[Image:TRS ballot papers.svg|thumb|325px|ตัวอย่างการเลือกลงคะแนนด้วยระบบสองรอบ โดยแบ่งเป็นสองรอบ โดยผู้สมัครที่เข้ารอบสองนั้นเหลือเพียงแค่สองคน]]
[[Image:TRS ballot papers.svg|thumb|325px|ตัวอย่างการเลือกลงคะแนนด้วยระบบสองรอบ โดยแบ่งเป็นสองรอบ โดยผู้สมัครที่เข้ารอบสองนั้นเหลือเพียงแค่สองคน]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:33, 17 มิถุนายน 2564

ตัวอย่างการเลือกลงคะแนนด้วยระบบสองรอบ โดยแบ่งเป็นสองรอบ โดยผู้สมัครที่เข้ารอบสองนั้นเหลือเพียงแค่สองคน

ระบบสองรอบ (อังกฤษ: Two-round system) หรือการลงคะแนนแบบรันออฟ (อังกฤษ: Runoff voting) หรือระบบบัตรลงคะแนนรอบที่สอง (อังกฤษ: Second ballot) หรือระบบนับบัตรลงคะแนน (ฝรั่งเศส: Ballotage) เป็นวิธีการลงคะแนนแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับเลือกผู้แทนเพียงคนเดียว โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกผู้แทนที่ชอบเพียงคนเดียว โดยการเลือกตั้งแบบนี้จะมีสองรอบ โดยผู้สมัครหนึ่งคนหรือมากกว่าจะสามารถผ่านเข้าไปยังรอบสองได้ในกรณีที่คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (มากกว่าร้อยละ 50) หรือขั้นต่ำที่ระบุไว้ตามกฎหมายเลือกตั้ง[1] โดยในรอบที่สองนั้น จะเหลือเพียงแค่ผู้สมัครที่คะแนนเสียงมากที่สุดในรอบแรกเพียงสองคน หรือบางกรณีคือผู้สมัครที่ผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในรอบแรกเท่านั้น

ระบบการลงคะแนนแบบสองรอบนี้นิยมใช้กันในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบเลือกตั้งทางตรง รวมทั้งการเลือกตั้งผู้นำพรรคการเมืองหรือผู้บริหารภายในบริษัทเอกชน

นิยาม

การลงคะแนนระบบสองรอบนั้นในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า "การลงคะแนนแบบรันออฟ" (Runoff voting) และเรียกการลงคะแนนรอบที่สองว่า "การเลือกตั้งรอบรันออฟ" (Runoff election) โดยความหมายนั้นอาจหมายถึงการเลือกตั้งใดๆ ที่แบ่งการลงคะแนนเป็นรอบๆ โดยในแต่ละรอบจะมีผู้สมัครที่ตกรอบ โดยในการจำกัดความแบบทั่วไปของการเลือกตั้งระบบสองรอบนั้นไม่ได้มีเพียงแค่แบบรันออฟเพียงแบบเดียว แต่ยังมีแบบอื่นซึ่งรวมถึง แบบบัตรลงคะแนนหลายรอบ (Exhaustive ballot) และแบบหลายรอบในทันที (Instant runoff voting) ยกตัวอย่างเช่นในประเทศแคนาดา ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งมักจะมีผู้สมัครมากกว่าสองคนนั้นจะใช้ระบบบัตรลงคะแนนหลายรอบ (Exhaustive ballot system) ซึ่งมักจะเรียกกันว่าระบบรันออฟเช่นกัน เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเพียงคนเดียวที่ได้รับเสียงข้างมากเด็ดขาดเท่านั้น (มากกว่าครึ่งหนึ่ง) โดยผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยที่สุดในแต่ละรอบการลงคะแนนจะเป็นผู้ตกรอบไป โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนในรอบต่อไปโดยเลือกผู้สมัครคนอื่นแทนได้

การลงคะแนนและนับคะแนน

ในการลงคะแนนทั้งสองรอบ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายเลือกผู้สมัครเพียงคนเดียว หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากเด็ดขาด (มากกว่าครึ่ง) ในรอบแรก ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสองลำดับแรกจะได้เข้าไปในรอบสอง โดยผู้สมัครที่เหลือนั้นตกรอบ ในการลงคะแนนรอบสองเนื่องจากเหลือผู้สมัครเพียงสองคน (ยกเว้นกรณีที่คะแนนเสียงออกมาเท่ากันแล้ว) ย่อมจะมีผู้สมัครเพียงคนเดียวที่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด (ผู้ชนะการเลือกตั้ง) โดยในรอบสองนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเปลี่ยนใจจากผู้สมัครที่ตกรอบในรอบแรกมาเลือกผู้สมัครคนอื่นที่เข้ารอบสองแทนได้

ในระบบสองรอบนี้ ยังมีแบบย่อยอื่นซึ่งยอมให้มีผู้สมัครเข้ารอบที่สองได้มากกว่าสองคน ในกรณีนี้ใช้การคัดเลือกจากผู้ที่ได้รับคะแนนนำเท่านั้น (ผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับ) โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาดเพื่อที่จะเข้าไปยังรอบที่สองได้

ตัวอย่าง

ตัวอย่างการใช้งาน

การเลือกตั้งระบบสองรอบใช้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส สมาชิกสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศส และใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาอิหร่าน วุฒิสภาสาธารณรัฐเช็ก สมัชชาแห่งชาติของเวียดนาม และสมัชชาแห่งชาติของคิวบา ในอิตาลีนั้นใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และยังใช้ในการเลือกว่าพรรคใด หรือพรรคร่วมใดจะได้จำนวนที่นั่งเพิ่ม (Majority bonus) ในสภาเมือง[2] ระบบเลือกตั้งสองรอบยังใช้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศอัฟกานิสถาน อาร์เจนตินา ออสเตรีย เบนิน โบลิเวีย บราซิล บัลแกเรีย บูร์กินาฟาโซ กาบูเวร์ดี ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส สาธารณรัฐโดมินิกัน ติมอร์-เลสเต จิบูตี เอกวาดอร์ อียิปต์ เอลซัลวาดอร์ ฟินแลนด์ กานา กัวเตมาลา เฮติ อินเดีย อิหร่าน อินโดนีเซีย คีร์กีซสถาน ไลบีเรีย ลิธัวเนีย มาลาวี มอลโดวา นอร์ทมาซิโดเนีย เปรู โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย รัสเซีย เซเนกัล เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย โตโก[3] ตุรกี ยูเครน อุรุกวัย และซิมบับเว

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ค.ศ. 2002

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อค.ศ. 2002 นั้น มีเพียงผู้คาดการณ์โดยสื่อว่าจะเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายคือ ฌัก ชีรัก และลียอแนล ฌ็อสแป็ง ซึ่งเป็นตัวแทนพรรคที่ใหญ่ที่สุดทั้งสองพรรคในฝรั่งเศสขณะนั้น โดยมีผู้สมัครชิงตำแหน่งทั้งสิ้นกว่า 16 คน รวมถึง ฌอง-ปีแอร์ เชอแวนมองต์ (5.33%) และคริสเตียน โตบิรา (2.32%) ซึ่งเป็นพรรคร่วมฝ่ายซ้ายของลียอแนล ฌ็อสแป็ง โดยเนื่องจากคะแนนเสียงจากฝ่ายซ้ายนั้นถูกแบ่งให้ผู้สมัครหลายคน ทำให้ผู้สมัครคนที่สาม ฌอง-มารี เลอ เป็ง ได้คะแนนเสียงนำหน้าลียอแนล ฌ็อสแป็งไปในรอบแรกได้ โดยผู้สมัครที่ได้ลำดับที่สี่ลงไป (ตกรอบ) มีคะแนนเสียงน้อยกว่า 7%

เนื่องจากในรอบแรกไม่มีผู้สมัครรายใดที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ในรอบสองผู้สมัครจึงเหลือเพียงสองราย โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เคยสนับสนุนผู้สมัครรายอื่นที่ตกรอบแรกนั้นหันไปสนับสนุนฌัก ชีรัก จึงทำให้ได้รับชัยชนะไปอย่างท้วมท้นในที่สุด

ระบบการลงคะแนนที่คล้ายคลึง

อ้างอิง

  1. "Two-Round System". Electoral Reform Society. สืบค้นเมื่อ 7 Nov 2019.
  2. The usefulness of the link between different political forces in the second ballot is (...) a convergence of interests: Buonomo, Giampiero (2000). "Al candidato sindaco non eletto spetta sempre almeno un seggio". Diritto&Giustizia Edizione Online.  – โดยทาง Questia (ต้องรับบริการ)
  3. https://www.aljazeera.com/news/2019/05/togo-law-president-stand-terms-190509180859448.html