ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
[[วิธีดงท์]] (D'Hondt method) ถูกนำมาใช้มากที่สุด โดยใช้ตัวหารเป็น 1, 2, 3, 4, เป็นต้น<ref name="gallagher">{{cite journal |last=Gallagher |first=Michael |date=1991 |title=Proportionality, disproportionality and electoral systems |url=http://www.tcd.ie/Political_Science/staff/michael_gallagher/ElectoralStudies1991.pdf |format=pdf |journal=Electoral Studies |volume=10 |issue=1 |doi=10.1016/0261-3794(91)90004-C |access-date=30 January 2016 |url-status=dead |archive-url=https://web.archive.org/web/20160304030108/https://www.tcd.ie/Political_Science/staff/michael_gallagher/ElectoralStudies1991.pdf |archive-date=4 March 2016 }}</ref> ในระบบนี้จะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้จำนวนที่นั่งมากกว่าสัดส่วนผู้แทนจำนวนหนึ่ง และทำให้รับรองได้ว่าพรรคที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้นจะได้ที่นั่งอย่างน้อยครึ่งสภา
[[วิธีดงท์]] (D'Hondt method) ถูกนำมาใช้มากที่สุด โดยใช้ตัวหารเป็น 1, 2, 3, 4, เป็นต้น<ref name="gallagher">{{cite journal |last=Gallagher |first=Michael |date=1991 |title=Proportionality, disproportionality and electoral systems |url=http://www.tcd.ie/Political_Science/staff/michael_gallagher/ElectoralStudies1991.pdf |format=pdf |journal=Electoral Studies |volume=10 |issue=1 |doi=10.1016/0261-3794(91)90004-C |access-date=30 January 2016 |url-status=dead |archive-url=https://web.archive.org/web/20160304030108/https://www.tcd.ie/Political_Science/staff/michael_gallagher/ElectoralStudies1991.pdf |archive-date=4 March 2016 }}</ref> ในระบบนี้จะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้จำนวนที่นั่งมากกว่าสัดส่วนผู้แทนจำนวนหนึ่ง และทำให้รับรองได้ว่าพรรคที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้นจะได้ที่นั่งอย่างน้อยครึ่งสภา


==วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์ลาก==
==วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลาก==
[[วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์ลาก]] (Webster/Sainte-Laguë method) ใช้การหารจำนวนคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วยเลขคี่ (1, 3, 5, 7 เป็นต้น) และในบางครั้งได้รับการพิจารณาว่ามีความเป็นสัดส่วนมากกว่าวิธีดงท์ในด้านของการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสัดส่วนของคะแนนเสียงของพรรคการเมืองต่อคะแนนเสียงทั้งหมดและการจัดสรรจำนวนที่นั่ง แต่สามารถทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากนั้นได้รับที่นั่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภา ในระบบนี้ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือพรรคการเมืองขนาดเล็กมากกว่าพรรคใหญ่ และดังนั้นจึงทำให้มีจำนวนพรรคการเมืองมาก การใช้ตัวหารเป็นเลขทศนิยม เช่น 0.5, 1.5, 2.5, 3.5 ทำให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน
[[วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลาก]] (Webster/Sainte-Laguë method) ใช้การหารจำนวนคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วยเลขคี่ (1, 3, 5, 7 เป็นต้น) และในบางครั้งได้รับการพิจารณาว่ามีความเป็นสัดส่วนมากกว่าวิธีดงท์ในด้านของการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสัดส่วนของคะแนนเสียงของพรรคการเมืองต่อคะแนนเสียงทั้งหมดและการจัดสรรจำนวนที่นั่ง แต่สามารถทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากนั้นได้รับที่นั่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภา ในระบบนี้ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือพรรคการเมืองขนาดเล็กมากกว่าพรรคใหญ่ และดังนั้นจึงทำให้มีจำนวนพรรคการเมืองมาก การใช้ตัวหารเป็นเลขทศนิยม เช่น 0.5, 1.5, 2.5, 3.5 ทำให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน


[[วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์ลาก]]ในบางครั้งปรับแต่งใช้โดยการปรับตัวหารแรกเป็น 1.4 เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมากได้ที่นั่งแรกไปอย่างง่ายดายเกินไป
[[วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลาก]]ในบางครั้งปรับแต่งใช้โดยการปรับตัวหารแรกเป็น 1.4 เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมากได้ที่นั่งแรกไปอย่างง่ายดายเกินไป


==อิมพิเรียลี==
==อิมพิเรียลี==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:10, 16 มิถุนายน 2564

วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด (อังกฤษ: Highest averages method) หรือ วิธีตัวหาร (อังกฤษ: divisor method) เป็นชื่อของวิธีการจัดสรรปันส่วนที่นั่งในสภานิติบัญญัติอย่างเป็นสัดส่วนซึ่งใช้ในระบบการลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ วิธีนี้จะนำจำนวนคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองไปผ่านการหารอย่างเป็นระบบด้วยตัวหารต่างๆ โดยจะได้ตารางผลหาร หรือ ค่าเฉลี่ย ซึ่งแบ่งเป็นแถวเรียงตามตัวหาร และคอลัมน์เรียงตามพรรคการเมือง จำนวนที่นั่ง n ที่นั่งจะจัดสรรให้พรรคการเมืองที่มีจำนวน n สูงที่สุดในตาราง จากจำนวนที่นั่งที่มีทั้งหมด[1]

วิธีทางเลือกอีกวิธีคือ วิธีเหลือเศษสูงสุด ซึ่งใช้โควต้าที่นั่งขั้นต่ำ และมาคำนวนต่อในหลายวิธี

วิธีดงท์

วิธีดงท์ (D'Hondt method) ถูกนำมาใช้มากที่สุด โดยใช้ตัวหารเป็น 1, 2, 3, 4, เป็นต้น[2] ในระบบนี้จะทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้จำนวนที่นั่งมากกว่าสัดส่วนผู้แทนจำนวนหนึ่ง และทำให้รับรองได้ว่าพรรคที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้นจะได้ที่นั่งอย่างน้อยครึ่งสภา

วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลาก

วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลาก (Webster/Sainte-Laguë method) ใช้การหารจำนวนคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วยเลขคี่ (1, 3, 5, 7 เป็นต้น) และในบางครั้งได้รับการพิจารณาว่ามีความเป็นสัดส่วนมากกว่าวิธีดงท์ในด้านของการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนสัดส่วนของคะแนนเสียงของพรรคการเมืองต่อคะแนนเสียงทั้งหมดและการจัดสรรจำนวนที่นั่ง แต่สามารถทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากนั้นได้รับที่นั่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภา ในระบบนี้ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือพรรคการเมืองขนาดเล็กมากกว่าพรรคใหญ่ และดังนั้นจึงทำให้มีจำนวนพรรคการเมืองมาก การใช้ตัวหารเป็นเลขทศนิยม เช่น 0.5, 1.5, 2.5, 3.5 ทำให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน

วิธีเวบสเตอร์/แซ็งต์-ลากในบางครั้งปรับแต่งใช้โดยการปรับตัวหารแรกเป็น 1.4 เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมากได้ที่นั่งแรกไปอย่างง่ายดายเกินไป

อิมพิเรียลี

อีกหนึ่งวิธีใช้ค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียกว่า "อิมพิเรียลี" (Imperiali) ซึ่งไม่ใช่สิ่งเดียวกับโควต้าอิมพิเรียลี (เป็นวิธีหนึ่งในแบบวิธีเหลือเศษสูงสุด) โดยมีตัวหารเป็น 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 3.5 เป็นต้น โดยออกแบบมาเพื่อลดความได้เปรียบของพรรคการเมืองเล็ก ซึ่งคล้ายกับวิธี "ตัดเสียง" และใช้ในแค่การเลือกตั้งเทศบาลในเบลเยียมเท่านั้น วิธีนี้ (แตกต่างจากวิธีอื่นๆ ในบทควาามนี้) ไม่ได้ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นสัดส่วนอย่างแท้จริง

วิธีฮันติงตัน-ฮิลล์

วิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ (Huntington-Hill method) ใช้ตัวหารจากผลลัพธ์ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ถ้าทุกพรรคการเมืองได้รับการรับรองว่าจะได้รับ 1 ที่นั่งขั้นต่ำ โดยใช้การตัดพรรคการเมืองที่ไม่ได้คะแนนเสียงถึงคะแนนขั้นต่ำ วิธีนี้ใช้ในการแบ่งสัดส่วนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

วิธีเดนิช

วิธีเดนิช (Danish method) ซึ่งใช้ในการเลือกตั้งของเดนมาร์กในการจัดสรรที่นั่งชดเชยในระดับเขตเลือกตั้งของจังหวัดให้เหมาะสมกับเขตเลือกตั้งย่อยแบบมีผู้แทนหลายคน โดยใช้การหารจำนวนคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนด้วยตัวหารแบบเพิ่มทีละ 3 (1, 4, 7, 10 เป็นต้น) หรืออีกวิธีที่ได้ผลลัพธ์เดียวกันคือ หารด้วย 0.33, 1.33, 2.33, 3.33 เป็นต้น ระบบนี้ตั้งใจแบ่งที่นั่งอย่างเท่าเทียมกันมากกว่าเป็นสัดส่วน[3]

วิธีของแอดัมส์

วิธีของแอดัมส์ (Adam's method) ซึ่งออกแบบโดยจอห์น ควินซี แอดัมส์ในการจัดสรรปันส่วนที่นั่งให้กับสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ[4] เนื่องจากรู้สึกว่าวิธีของเจฟเฟอร์สัน (Jefferson's method) ในการจัดสรรปันส่วนที่นั่งนั้นทำให้รัฐขนาดเล็กได้จำนวนที่นั่งน้อยเกินไป วิธีนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นวิธีตรงข้ามกับวิธีของเจฟเฟอร์สัน โดยให้จำนวนที่นั่งต่อพรรคการเมืองที่จำนวนคะแนนเสียงต่อที่นั่งมากกว่าก่อนที่จะเพิ่มที่นั่ง

วิธีของแอดัมส์ใช้ เป็นตัวหาร[5] เช่นเดียวกับวิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น 0 สำหรับที่นั่งที่แรกที่จะให้แต่ละพรรคการเมือง ซึ่งทำให้ได้ค่าเฉลี่ยเป็น ∞ (อนันต์) ซึ่งสามารถฝืนกฎโควต้าขั้นต่ำได้[6] ตามตัวอย่างต่อไปนี้

ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดคะแนนเสียงขั้นต่ำ ทุกพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยหนึ่งคะแนนจะได้รับหนึ่งที่นั่งเช่นกัน ยกเว้นในกรณีที่มีจำนวนพรรคการเมืองมากกว่าจำนวนที่นั่ง คุณสมบัตินี้จึงถือเป็นที่น่าพอใจ เช่น ในการจัดสรรที่นั่งในเขตเลือกตั้งต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่จำนวนที่นั่งเท่ากับจำนวนเขตเลือกตั้ง ทุกเขตเลือกตั้งถือว่ามีผู้แทน ในการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อนั้นอาจส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดที่เล็กมากได้ที่นั่งไปด้วย นอกจากนี้การฝืนกฎโควต้าในวิธีของแอดัมส์นี้ถือเป็นเรื่องปกติ[7] ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้คะแนนเสียงขั้นต่ำ (electoral threshold)

ระบบโควต้า

นอกเหนือจากวิธีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามารถนำมาใช้งานได้หลายวิธี ในการเลือกตั้งปกตินั้น จะเริ่มคำนวนโควต้าซึ่งมาจากจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมดของผู้ลงคะแนนหารด้วยจำนวนที่นั่งในสภาที่จะต้องจัดสรร (โควต้าแฮร์) พรรคการเมืองต่างๆ นั้นจะได้รับการจัดสรรที่นั่งจากจำนวนโควต้าที่ได้รับในแต่ละพรรคการเมืองโดยการหารจำนวนคะแนนเสียงที่ได้รับด้วยโควต้า ในกรณีที่พรรคการเมืองได้เศษของโควต้าจะต้องปัดเศษขึ้นหรือลงให้เป็นจำนวนเต็ม การปัดเศษลงนั้นเทียบเท่ากับวิธีดงท์ ในขณะที่ปัดขึ้นนั้นเทียบเท่ากับวิธีแซ็งต์-ลาก อย่างไรก็ตาม จากการปัดเศษนี้อาจไม่ได้ทำให้ที่นั่งที่เหลือทั้งหมดถูกจัดสรรจนครบ ในกรณีนี้อาจจะต้องมีการปรับโควต้าขึ้นหรือลงจนกว่าจำนวนที่นั่งทั้งหมดที่เหลือหลังจากการปัดเศษนั้นได้รับการจัดสรร

ตารางที่ใช้ในวิธีดงท์หรือแซ็งต์-ลากนั้นจะเห็นว่าเป็นการคำนวนโควต้าสูงสุดที่จะสามารถกระทำได้เพื่อจะจัดสรรที่นั่งให้ครบ ตัวอย่างเช่น ผลหารที่ทำให้ชนะที่นั่งแรกในวิธีดงท์นั้นเป็นโควต้าสูงสุดที่จะได้รับ 1 ที่นั่ง (หลังจากการปัดเศษลงแล้ว) ผลหารในรอบที่สองนั้นคือตัวหารที่สูงสุดเพื่อที่จะได้ 2 ที่นั่ง โดยทำซ้ำจนครบ

การเปรียบเทียบระหว่างวิธีดงท์ วิธีแซ็งต์-ลาก วิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ และวิธีของแอดัมส์

วิธีดงท์ วิธีแซ็งต์-ลาก และวิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ ทำให้แต่ละพรรคการเมืองใช้การวางแผนยุทธศาสตร์ของตนในการเพิ่มที่นั่งให้ได้มากที่สุด วิธีดงท์และวิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ทำให้ได้เปรียบในกรณีรวมพรรคการเมือง ในขณะที่วิธีแซ็งต์-ลากนั้นจะดีกว่าหากเป็นการแตกพรรคเป็นพรรคย่อย (วิธีแซ็งต์-ลากแบบปรับเปลี่ยนจะลดข้อได้เปรียบนี้)

ตัวอย่าง

ในตัวอย่างดังต่อไปนี้ ในวิธีดงท์และวิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ หากพรรคเหลืองและเขียวรวมกันจะสามารถเพิ่มได้ถึงหนี่งที่นั่ง ในขณะที่ในวิธีแซ็งต์-ลากนั้น พรรคเหลืองจะได้ที่นั่งมากกว่าหากแตกเป็นหกพรรคการเมืองซึ่งแต่ละพรรคได้รับประมาณ 7,833 คะแนนเสียง

จำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด 100,000 คะแนน และมี 10 ที่นั่ง วิธีฮันติงตัน-ฮิลล์กำหนดขั้นต่ำที่ 10,000 คะแนน ซึ่งเท่ากับ 1/10 ของคะแนนเสียงทั้งหมด

วิธีดงท์ วิธีแซ็งต์-ลาก (ไม่ปรับเปลี่ยน) วิธีแซ็งต์-ลาก (ปรับเปลี่ยน) วิธีฮันติงตัน-ฮิลล์ วิธีของแอดัมส์ วิธีของแอดัมส์แบบมีขั้นต่ำ = 1
พรรคการเมือง เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ขาว แดง เขียว น้ำเงิน ชมพู
คะแนนเสียง 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100
จำนวนที่นั่ง 5 2 2 1 0 0 4 2 2 1 1 0 5 2 2 1 0 0 5 2 2 1 0 0 3 2 2 1 1 1 4 2 2 2 0 0
คะแนน/ที่นั่ง 9,400 8,000 7,950 12,000 11,750 8,000 7,950 12,000 6,000 9,400 8,000 7,950 12,000 9,400 8,000 7,950 12,000 15,667 8,000 7,950 12,000 6,000 3,100 11,750 8,000 7,950 6,000
รอบคำนวน ผลหาร
1 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 33,571 11,429 11,357 8,571 4,286 2,214 ไม่ได้รับ ไม่ได้รับ
2 23,500 8,000 7,950 6,000 3,000 1,550 15,667 5,333 5,300 4,000 2,000 1,033 15,667 5,333 5,300 4,000 2,000 1,033 33,234 11,314 11,243 8,485 47,000 16,000 15,900 12,000 6,000 3,100 47,000 16,000 15,900 12,000
3 15,667 5,333 5,300 4,000 2,000 1,033 9,400 3,200 3,180 2,400 1,200 620 9,400 3,200 3,180 2,400 1,200 620 19,187 6,531 6,491 4,898 23,500 8,000 7,950 6,000 3,000 1,550 23,500 8,000 7,950 6,000
4 11,750 4,000 3,975 3,000 1,500 775 6,714 2,857 2,271 1,714 875 443 6,714 2,857 2,271 1,714 875 443 13,567 4,618 4,589 3,464 15,667 5,333 5,300 4,000 2,000 1,033 15,667 5,333 5,300 4,000
5 9,400 3,200 3,180 2,400 1,200 620 5,222 1,778 1,767 1,333 667 333 5,222 1,778 1,767 1,333 667 333 10,509 3,577 3,555 2,683 11,750 4,000 3,975 3,000 1,500 775 11,750 4,000 3,975 3,000
6 7,833 2,667 2,650 2,000 1,000 517 4,273 1,454 1,445 1,091 545 282 4,273 1,454 1,445 1,091 545 282 8,580 2,921 2,902 2,190 9,400 3,200 3,180 2,400 1,200 620 9,400 3,200 3,180 2,400
ที่นั่ง การจัดสรรที่นั่ง
1 47,000 47,000 33,571 ไม่ได้รับ ไม่ได้รับ
2 23,500 16,000 15,667
3 16,000 15,900 11,429
4 15,900 15,667 11,357
5 15,667 12,000 9,400 33,234 47,000
6 12,000 9,400 8,571 19,187 23,500
7 11,750 6,714 6,714 13,567 47,000 16,000
8 9,400 6,000 5,333 11,314 23,500 15,900
9 8,000 5,333 5,300 11,243 16,000 15,667
10 7,950 5,300 5,222 10,509 15,900 12,000

อ้างอิง

  1. Norris, Pippa (2004). Electoral Engineering: Voting Rules and Political Behavior. Cambridge University Press. p. 51. ISBN 0-521-82977-1.
  2. Gallagher, Michael (1991). "Proportionality, disproportionality and electoral systems" (PDF). Electoral Studies. 10 (1). doi:10.1016/0261-3794(91)90004-C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
  3. "The Parliamentary Electoral System in Denmark".
  4. "Apportioning Representatives in the United States Congress - Adams' Method of Apportionment | Mathematical Association of America". www.maa.org. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
  5. Gallagher, Michael (1992). "Comparing Proportional Representation Electoral Systems: Quotas, Thresholds, Paradoxes and Majorities" (PDF). British Journal of Political Science. 22 (4): 469–496. ISSN 0007-1234.
  6. Iian, Smythe (July 10, 2015). "MATH 1340 — Mathematics & Politics" (PDF). สืบค้นเมื่อ November 11, 2020.
  7. Ichimori, Tetsuo (2010). "New apportionment methods and their quota property". JSIAM Letters. 2 (0): 33–36. doi:10.14495/jsiaml.2.33. ISSN 1883-0617.