ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์–แจ็กสัน แอตแลนตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
Zwobot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 184: บรรทัด 184:
[[id:Bandar Udara Internasional Hartsfield-Jackson Atlanta]]
[[id:Bandar Udara Internasional Hartsfield-Jackson Atlanta]]
[[ja:ハーツフィールド・ジャクソン・アトランタ国際空港]]
[[ja:ハーツフィールド・ジャクソン・アトランタ国際空港]]
[[lmo:Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport]]
[[nl:Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport]]
[[nl:Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport]]
[[no:Hartsfield internasjonale flyplass]]
[[no:Hartsfield internasjonale flyplass]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:45, 12 กุมภาพันธ์ 2551

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน แอตแลนตา (Hartsfield-Jackson Atlanta International Airport) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานแอตแลนตา, ท่าอากาศยานฮาร์ทสฟิลด์ หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮาร์ทสฟิลด์ ตั้งอยู่บริเวณชานเมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นท่าอากาศยานที่ความหนาแน่นมากที่สุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินขึ้น-ลง มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548[1] เป็นผลจากการที่สายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดโลกให้บริการอยู่ที่ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นท่าอากาศยานหลัก

ฮาร์ทสฟิลด์เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในปีพ.ศ. 2549 ทั้งกรณีของจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบิน โดยให้บริการผู้โดยสาร 84.8 ล้านคน และ 976,447 เที่ยวบิน โดยสารเที่ยวบินส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งแอตแลนตารองรับการเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายเส้นทางกับท่าอากาศยานท้องถิ่นทั่วภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ร้อยละ 57 ของผู้โดยสารของฮาร์ทสฟิวด์-แจ็คสันไม่ใช่คนจากแอตแลนตา แต่เป็นคนที่มาเพื่อต่อเครื่องไปยังจุดหมายปลายทางอื่นต่อไป นอกจากนี้ฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสันยังเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 7 โดยอันดับหนึ่งก็คือนิวยอร์ก-เจเอฟเค[2]

แอตแลนตายังให้บริการเที่ยวบินตรงไปยังจุดหมายปลายทางมากกว่าท่าอากาศยานศูนย์กลางใดๆในโลก โดยรองรับ 243 เส้นทางบินตรง รวมถึง 72 เที่ยวบินต่างประเทศ ใน 45 ประเทศ[3]

ท่าอากาศยานแห่งนี้บางส่วนอยู่ในเขตเมืองแอตแลนตา และบางส่วนอยู่ในเขตเมืองคอลเลจปาร์ค ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน แอตแลนตา เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์, แอร์ทราน แอร์เวย์, เดลต้า คอนเนคชั่น และแอตแลนติกเซาท์อีสแอร์ไลน์

ประวัติ

พื้นที่บริเวณฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสันนั้น เริ่มจากต้นจากการทำสัญญาเช่าพื้นที่ 287 เอเคอร์ เป็นเวลา 10 ปี เพื่อสร้างเป็นสนามแข่งม้า โดยมีการออกสัญญาเช่าให้เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2468 โดยนายกเทศมนตรีวอล์เตอร์ ซิมส์ (Walter Sims) ผู้ซึ่งให้คำมั่นกับประชาคมไว้ว่าจะพัฒนาให้เป็นสนามบินให้ได้ และได้ข้อตกลงร่วมกันที่จะเปลี่ยนชื่อที่บริเวณนี้ว่าสนามบินแคนด์เลอร์ (Candler Field) ตามชื่อเจ้าของดั้งเดิม ผู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโคคา-โคล่า และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองแอตแลนตา Asa Candler เครื่องบินลำแรกที่มาลงจอดที่แคนด์เลอร์ คือในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2469 โดยเครื่องขนส่งไปรษณีย์ฟลอริดาแอร์เวย์ บินมาจากแจ็คสันวิลล์ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2471 Pitcairn Aviation ได้เริ่มเปิดให้บริการที่แอตแลนตา ตามด้วยเดลต้า แอร์เซอร์วิส ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2473 หลังจากนั้นไม่นานก็มีสายการบินที่รู้จักในชื่อ อีสเทิร์นแอร์ไลน์ และเดลต้า แอร์ไลน์ ซึ่งทั้งสองสายการบินใช้ที่อัลบอร์ก (Aalborg) เป็นสนามบินหลัก

หอบังคับการบินหลังแรกของสนามบินแคนด์เลอร์เปิดให้บริการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2482 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นฐานทัพอากาศ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายพื้นที่ออกไปอีกเป็นสองเท่าตัวและทำสถิติมีเที่ยวบินขึ้นลง 1,700 เที่ยวภายในวันเดียว ทำให้กลายเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในกรณีจำนวนเที่ยวบินของสหรัฐอเมริกาไปทันที

ในปีพ.ศ. 2486 สนามบินแคนด์เลอร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นท่าอากาศยานเทศบาลเมืองแอตแลนตา (Atlanta Municipal Airport) ในปีพ.ศ. 2491 มีผู้โดยสารกว่าหนึ่งล้านคนมาใช้บริการที่ อาคารจอดเครื่องบินเก่าในช่วงสงครามซึ่งปรับเปลี่ยนมาเป็นอาคารผู้โดยสาร จนกระทั้งวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อีสเทิร์นแอร์ไลน์ เปิดให้บริการเที่ยวบินไปยังมอนทรีอัล แคนาดา ซึ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกของแอตแลนตา ในปีพ.ศ. 2500 แอตแลนเปิดให้บริการด้วยเครื่องบินเจ็ต Sud Aviation Caravelle เป็นครั้งแรกโดยบินมาจากวอชิงตัน ดี.ซี. ในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขึ้นเพื่อลดความคับแคบ จนแอตแลนสามารถทำสถิติมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นสองล้านคนในปีนั้น ซึ่งเปิดให้บริการเวลา เที่ยง - บ่ายสองโมง ทุกวัน จนทำให้เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก

ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีมูลค่าถึง 21 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากกว่า 6 ล้านคนต่อปี ทำให้จำนวนผู้โดยสารดันทะลุสถิติเป็น 9.5 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2510 เมืองแอตแลนตาและสายการบินต่างๆ ได้ประชุมความเห็นในการวางแผนแม่บทในการพัฒนาท่าอากาศยานแอตแลนตาในอนาคต

การก่อสร้างเริ่มตรงบริเวณพื้นที่ตรงกลางที่เป็นอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานในปัจจุบันในเดือนมกราคน พ.ศ. 2520 ดำเนินงานโดยนายกเทศมนตรีเมย์นาร์ด แจ็ดสัน (Maynard Jackson) ซึ่งเป็นการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูงที่สุดในแดนใต้ 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อท่าอากาศยานตามชื่อของอดีตนายกเทศมนตรีแอตแลนตา วิลเลี่ยม เบอร์รี่ ฮาร์ทสฟิลด์ (William Berry Hartsfield) ผู้ซึ่งผลักดันการเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน ว่า ท่าอากาศยานนานาชาติวิลเลี่ยม บี. ฮาร์ทสฟิวด์ เปิดให้บริการในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2523 ซึ่งท่าอากาศยานใหม่นี้ออกแบบไว้ให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ถึง 55 ล้านคนต่อปี และครอบคลุมพื้นที่ถึง 230,000 ตารางเมตร (2.5 ล้านตารางฟุต) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ทางวิ่งขนานกันขนาด 2,743 เมตร (9,000 ฟุต) ทั้ง 4 เส้น ก็เสร็จสมบูรณ์ และได้มีการขยายความยาวของทางวิ่งเส้นหนึ่งออกเป็น 3,624 เมตร (11,889 ฟุต) ในปีถัดมา

ในปีพ.ศ. 2546 สภาเมืองแอตแลนตาได้ลงคะแนนเสียงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ให้เปลี่ยนชื่อจาก ท่าอกาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์แอตแลนตา เป็นชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน แอตแลนตา เพื่อให้เกีรยติอดีตนายกเทศมนตรีเมย์นาร์ด แจ็คสัน นายกเทศมนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกของแอตแลนตา ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2546 แรกเริ่มเดิมทีสภาเมืองแอตแลนจะเปลี่ยนท่าอากาศยานเป็นชื่อของท่านายกเทศมนตรีแจ็คสันเพียงคนเดียว แต่ประชาชนชาวเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหลานของอดีตนายกเทศมนตรีฮาร์ทสฟิลด์ ได้เรียกร้องให้คงชื่อของท่านไว้ด้วย

ช่วงกลางปีพ.ศ. 2548 การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 5 (10/28) จึงแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรทางอากาศสำหรับการขึ้นลงของเครื่องบินขนาดกลาง ที่ใช้ทางวิ่งขนาดยาวร่วมกับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างโบอิง 777 ที่ต้องการระยะทางในการนำเครื่องขึ้น

การเช็คอิน และรับกระเป๋า

อาคารผู้โดยสาร ฝั่งเหนือ

อาคารผู้โดยสาร ฝั่งใต้

อาคารผู้โดยสารเมย์นาร์ด โฮลบรูค แจ็คสัน จูเนียร์

  • จะก่อสร้างในปีพ.ศ. 2553+

อาคารหลังนี้จะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยาน ใกล้กับโรงเก็บเครื่องบินของสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ผthe Delta Air Lines Jet Base) ตรงบริเวณที่เป็นอาคารคลังสินค้าและหอบังคับการบิน ระบบเดินทางภายในท่าอากาศยานจะขยายเส้นทางมาถึงพื้นที่อาคารผู้โดยสารใหม่นี้ด้วย

กลุ่มอาคารเทียบเครื่องบินฝั่งใต้

  • จะก่อสร้างในปีพ.ศ. 2553+

อาคารเทียบเครื่องบินนี้จะใช้ชื่อเรียก G โดยจะมีหลุดจอด 31 หลุม

อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน

อาคารเทียบเครื่องบิน ที

  • เดลต้า แอร์ไลน์ (กรีนโบโร/ไฮพอยท์/วินส์ตัน-ซาเลม, กรีนวิลล์/สปาร์ตันเบิร์ก (SC), กาลีสเปล (เฉพาะฤดูกาล) (เริ่ม 9 มิถุนายน 2550), กาฮูลุย, โกลาโฮมาซิตี, คลีฟแลนด์, คาลแกรี (เฉพาะฤดูกาล), แคนซัสซิตี, โคลัมบัส (OH), โคลัมบัส (SC), โคโลราโดสปริงส์, แจ็คสัน (MS), แจ็คสันวิลล์, แจ็คสันโฮล (เฉพาะฤดูกาล), ชาร์ลตัน (SC), ชาร์ล็อตต์, ชิคาโก-โอแฮร์, ซอลท์เลกซิตี, ซาคราเมนโต, ซานโจเซ (CA), ซานดิเอโก, ซานฟรานซิสโก, ซานแอนโตนิโอ, ซานฮวน, ซาราโวตา/บราเดนตัน, ซาวันนา, ซินซิเนติ/นอร์ทเทิร์นเคนตักกี, ซีราคูส, ซีแอตเติล/ทาโคมา, ดัลลัส/ฟอร์ทเวิร์ธ, ดีทรอยต์, เดนเวอร์, เดย์ตัน, เดย์โทนาบีช, ทักสัน, ทัลลาแฮสซี, แทมป้า, โทรอนโต-เพียร์สัน, น็อกซ์วิลล์, นอร์ฟอล์ก/เวอร์จิเนียบีช, นิวพอร์ทนิวส์/เวอร์จิเนียบีช, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, นิวยอร์ก-ลากวาเดีย, นิววัก, นิวออร์ลีน, แนชวิลล์, บอยส์ (เฉพาะฤดูกาล), บอสตัน, บับฟาโล, บัลติมอร์/วอชิงตัน, เบอร์มิงแฮม (AL), โบซแมน (เฉพาะฤดูกาล), ปาล์มสปริงส์ (เฉพาะฤดูกาล), โปรวิเดนซ์, พอร์ทแลนด์ (OR), พิตส์เบิร์ก, เพนซาโคลา, ฟอร์ทไมเยอร์, ฟอร์ทลัวเดอเดล, ฟอร์ทวอลตันบีช, ฟิลาเดเฟีย, ฟีนิกซ์, เฟรสโน (เฉพาะฤดูกาล) (เริ่ม 8 มิถุนายน 2550), มอนโตส/เทลลูไรด์ (เฉพาะฤดูกาล), มอนทรีอัล, มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล, มิลโวกี, เมมฟิส, เมลเบิร์น, เมียร์เทิลบีช, โมบาย/ปาสคาโกลา, ไมอะมี, ราเลน/เดอร์แฮม, ริชมอนด์, เรโน/ทาโฮ, โรเชสเตอร์ (NY), ลอสแองเจลีส, ลาส เวกัส, ลิตเติ้ลร็อค, เล็กซิงตัน, วอชิงตัน-ดัลเลส, วอชิงตัน-เรแกน, วิชิตา, เวนต์หลุยส์, เวล (เฉพาะฤดูกาล), เวสต์ปาล์มบีช, แวนคูเวอร์ (เฉพาะฤดูกาล), สโปเคน (เฉพาะฤดูกาล) (เริ่ม 7 มิถุนายน 2550), หลุยส์วิลล์, ออนโตริโอ, ออร์แลนโด, ออเรนจ์เคาน์ตี, ออลบานี (NY), อังโคเรจ (เฉพาะฤดูกาล), อัลเบอร์เควิร์ก, อินเดียนาโปลิส, เอกรอน/แคนตอน, เอลปาโซ, โอ๊คแลนด์, เฮย์เดน/สตีมโบทสปริงส์ (เฉพาะฤดูกาล), ฮอนโนลูลู, ฮันท์วิลล์, ฮาร์ทฟอร์ด, ฮุสตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล)
  • ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ (ชิคาโก-โอแฮร์, ซานฟรานซิสโก, เดนเวอร์)
  • อเมริกัน แอร์ไลน์ (ชิคาโก-โฮแฮร์, ดัลลาส/ฟอร์ทเวิร์ธ, นิวยอร์ก-ลากวาเดีย, ไมอะมี)

อาคารเทียบเครื่องบิน เอ (เดลต้า)

  • เดลต้า แอร์ไลน์ (ดูที่คองคอส ที)
    • เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย ชัทเทิลอเมริกา (กัลฟ์พอร์ท/บิล็อกซี, คลีฟแลนด์, โคลัมบัส, ชาร์ล๊อตต์, ชิคาโก-มิดเวย์, ชิคาโก-โอแฮร์ (เริ่ม 1 พฤษภาคม 2550), ซานแอนโตนีโอ, ซาราโวตา/บราเดนตัน, ดัลลาส/ฟอร์มเวิร์ธ, น็อกซ์วิลล์, นิวพอร์ทนิวส์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, แนชวิลล์, โมลีน/ควอดซิตี, ออสติน, อินเดียนาโปลิส/เซนต์ปอล, ฮุสตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล, ฮุสตัน-ฮ๊อบบี)

อาคารเทียบเครื่องบิน บี (เดลต้า)

อาคารเทียบเครื่องบิน ซี

  • เดลต้า แอร์ไลน์
    • เดลต้า คอนเนคชั่น ให้บริการโดย แอตแลนติก เซาท์อีสต์ แอร์ไลน์ (กรีนวิลล์/สปาร์ตันเบิร์ก, กัลฟ์พอร์ท/บิล็อกซี, กัวดาลาจารา, กาลามาซู, กิลลีน, เกนส์วิลล์ (FL), แกรนด์แรปิดส์, คลีฟแลนด์, คอร์ปัส คริสตี, คีย์เวสต์, โคลัมบัส (GA), โคลัมบัส (SC), โคลัมบัส/สตาร์กวิลล์ (MS), จอร์จทาวน์ (บาฮามาส) (เริ่ม 16 มิถุนายน 2550), แจ็คสัน, แจ็คสันวิลล์ (NC), ชาร์ล็อตต์, ชาร์ล็อตต์วิลล์, ชาร์เลสตัน (SC), ชาร์เลสตัน (WV), ชิคาโก-มิดเวย์, เชรฟพอร์ท, แชททานูกา, ซารแอนโตนิโอ, ซินซิเนติ/นอร์ทเทิร์นเคนตักกี, ซีดาร์แรปิดส์/ไอโอวาซิตี, ซีราคูส, ซูกซ์ฟอลส์, เซนต์หลุยส์, ดีทรอยส์, เดสมอนส์, โดธัน, ตูลซา, ทัลลาแฮสซี, โทเพโล, โทรอนโต-เพียร์สัน, โทเลโด, น็อกซ์วิลล์, นอร์ทอีลูเธรา (เริ่ม 16 มิถุนายน 2550, นอร์ฟอร์ก/วิลเลียมเบิร์ก, นิวเบิร์ก (เริ่ม 7 พฤษภาคม 2550), นิวเบิร์น (เริ่ม 6 พฤษภาคม 2550), นิวพอร์ทนิวส์, เนเปิลส์, บรันส์วิก, บังกอร์, บับฟาโล/ไนแองกาลา ฟอลล์, บาตันเราจ์, บิงแฮมตัน, เบอร์มิงแฮม (AL), เบอร์ลิงตัน, ปานามาซิตี, โปรวิเดนเชียล, โปรวิเดนซ์, พอร์ทแลนด์ (ME), พิสต์เบิร์ก, พีโอเรีย, เพนซาโคลา, ไพน์เฮิร์ส/เซาท์เทิร์นไพส์, ฟรีพอร์ท, ฟลอเรนซ์, ฟลินต์, ฟอร์ทวอลตันบีช, ฟอร์ทสมิธ (เริ่ม 7 มิถุนายน 2550), ฟาเย็ตต์วิลล์ (AR), ฟาเย็ตต์วิลล์ (NC), มองต์โกเมอรี, มอนทรีอัล, มอนเทอร์รี, มอนโร, มาคอน, มาราธอน, มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล, มิลโวกี, เมดิสัน, เมมฟิส, เมริเดียน, เมลเบิร์น, เมียร์เทิลบีช, แมคอัลเลน, แมนเชสเตอร์ (NH), โมบาย, โมลีน/ควอดซิตี, รัวโนก, ริชมอนด์, โรเชสเตอร์ (NY), ลองไอสแลนด์/อิสลิป, ลาฟาเย็ตต์, ลิตเติลร็อค, ลินช์เบิร์ก, เล็กซิงตัน, เลวิสเบิร์ก (WV) (เริ่ม 30 เมษายน 2550), วาลโดสตา, วิชิตา, วิลมิงตัน (DE), วิลมิงตัน (NC), ไวค์ส-แบรร์/สแครนตัน, ไวท์เพลนส์, สเตทคอลเลจ (เริ่ม 7 มิถุนายน 2550), สปริงฟิลด์/แบรนสัน, อเล็กซานเดรีย, ออตตาวา, ออลบานี (GA), ออลบานี (NY), ออสติน, อัลเลนทาวน์/เบธเลม, อีรี่, อีแวนวิลล์, อูกัสตา (GA), เอกรอน/แคนตอน, แอชวิลล์, แอตแลนติดซิตี, แอ็ปเปิลตัน, โอกลาโฮมาซิตี, โอมาฮา, ฮันท์วิลล์, ฮิลตัน เฮด ไอส์แลนด์, ฮุสตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัน, ฮุสตัน-ฮ็อบบี, แฮริสเบิร์ก)
  • แอร์ทรานแอร์เวย์ (กัลฟ์พอร์ท/บล็อกซี, แกรนด์บาฮามาส ไอสแลนด์, แคนซัสซิตี, แจ็คสันวิลล์, ชาร์เลสตัน (SC) (เริ่ม 24 พฤษภาคม 2550), ชิคาโก-มิดเวย์, ซานดิเอโก (เฉเพาะฤดูกาล) (เริ่ม 24 พฤษภาคม 2550), ซานฟรานซิสโก, ซาราโซตา/แบรนเดนตัน, ซาวันนา, ซีแอตเติล/ทาโคมา (เฉพาะฤดูกาล), ดัลลาส/ฟอร์ทเวิร์ธ, ดีทรอยส์, เดนเวอร์, เดย์ตัน, เดย์โทนาบีช (เฉพาะฤดูกาล), แทมป้า, นิวเบิร์ก, นิวพอร์ทนิวส์, นิวยอร์ก-ลากวาเดีย, นิววัก, นิวออร์ลีนส์, บลูมมิงตัน, บอสตัน, บับฟาโล, บัลติมอร์/วอชิงตัน, พิตส์เบิร์ก, เพนซาโคลา, ฟลินต์, ฟอร์ทไมเออร์, ฟอร์ทโลเดอร์เดล, ฟิลาเดเฟีย, ฟีนิกซ์, มินนีอาโปลิส/เซนต์ปอล, มิลโวกี, เมมฟิส, โมลีน/ควอดซิตี, ไมอะมี, ราเลน/เดอร์แฮม, ริชมอนด์, โรเชสเตอร์ (NY), ลอสแองเจลีส, ลาสเวกัส, วองชิงตัน-ดัลเลส, วอชิงตัน-เรแกน, วิชิตา, เวนต์หลุยส์ (เริ่ม 8 พฤษภาคม 2550), เวสต์ปาล์มบีช, ไวท์เพลนส์, ออร์แลนโด, อินเดียนาโปลิส, เอกรอน, ฮุสตัน-ฮ็อบบี)

อาคารเทียบเครื่องบิน ดี

กัลฟ์พอร์ท/บิล็อกซี, ชาร์ล็อตต์, โมลีน, เดย์ตัน, ไตร-ซิตี (TN), ทัลลาแฮสซี, นิวพอร์ทนิวส์, บลูมมิงตัน, บอสตันเราจ์, รัวโนก, เล็กซิงตัน, ไวท์เพลนส์, ออร์แลนโด, เอกรอน/แคนตอน, แอชวิลล์, ฮันท์วิลล์)

อาคารเทียบเครื่องบิน อี (ผู้โดยสารระหว่างประเทศ)

  • โกเรียนแอร์ (โซล-อินชอน)
  • เคแอลเอ็ม (อัมสเตอร์ดัม)
  • เดลต้า แอร์ไลน์ (ระหว่างประเทศ) (กัวดาลาจารา, กัวเตมาลาซิตี, กัวยากวิล, แกรนด์เคย์แมน, ควิโต, คาราคัส, คิงสตัน, แคนคูน, โคซูเมล, โคเปนเฮเกน, โจฮันเนสเบิร์ก, ชานนอน, ซานโจเซ (CR), ซานโจเซเดลคาโบ, ซานซัลวาดอร์, ซานติเอโก เดอ ชิลี, ซานโตโดมิงโก, ซานเปโดรซูลา, ซูริก, เซนต์โธมัส, เซนต์ลูเซีย, เซาเปาโล-กัวรูลอส, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง (เริ่ม 25 มีนาคม 2551), โซล-อินชอน (เริ่ม 4 มิถุนายน 2550), ดับลิน, ดัสเซลดอร์ฟ, ดาการ์, ดูไบ (เริ่ม 31 พฤษภาคม 2550), โตเกียว-นาริตะ, เทลอาวีฟ, โทบาโก (เริ่ม 15 ธันวาคม 2550), แนชซู, บรัสเซลส์, บัวโนส ไอเรส-อีไซซา, บาร์เบโดส, เบลิซซิตี, โบโกตา, ปราก (เริ่ม 2 พฤษภาคม 2550), ปานามาซิตี, ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล, ปุนตา คานา, เปอร์โต ปลาตา, เปอร์โต วัลลาร์ตา, โปรวิเดนเชียลส์, พอยต-เอ-พิต, พอร์ท ออฟ สเปน, ฟอร์ท-เดอ-ฟรานซ์, แฟรก์เฟิร์ต, มอนเตโกเบย์, มอสโก-เชเรเมเตโว, มาดริด, มานากัว, มิลาน-มัลเปนซา, มิวนิก, มุมไบ, เม็กซิโกซิตี, แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ), ราโอแทน, ริโอ เดอ จาเนโร-กาเลโย, โรม-ฟิอูมิชิโน, ลอนดอน-แกตวิค, ลากอส (เริ่ม 3 ธันวาคม 2550), ลิเบอเรีย, ลิมา, เวนต์มาร์เทน, เวนิส, เวียนนา (เริ่ม 21 พฤษภาคม 2550), สตุตการ์ท, อคาพูลโค, อดินเบิร์ก, อัมสเตอร์ดัม, เอเธนส์ (เฉพาะฤดูกาล), แอนติกัว)
  • บริติช แอร์เวย์ (ลอนดอน-แกตวิค)
  • ลุฟต์ฮันซา (แฟรงก์เฟิร์ต)
  • แอร์จาเมกา (มอนเตโกเบย์)
  • แอร์ฟรานซ์ (ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล)

อาคารเทียบเครื่องบิน เอฟ (ผู้โดยสารระหว่างประเทศ)

อาคารหลังนี้จะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยาน ใกล้กับโรงเก็บเครื่องบินของสายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ผthe Delta Air Lines Jet Base) ตรงบริเวณที่เป็นอาคารคลังสินค้าและหอบังคับการบิน ระบบเดินทางภายในท่าอากาศยานจะขยายเส้นทางมาถึงพื้นที่อาคารผู้โดยสารใหม่นี้ด้วย คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในช่วงต้นปีพ.ศ. 2553 โดยคองคอสนี้จะมีหลุมจอด 10 หลุมและระบบศุลกากรใหม่

กลุ่มอาคารเทียบเครื่องบินฝั่งใต้

ดูรายละเอียดข้างต้น

สายการบินขนส่งสินค้า

อุบัติเหตุ

  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2538 วาลูเจ็ต เที่ยวบิน 597 เครื่องยนต์เสียหายจึงยกเลิกเที่ยวบิน
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 มีผู้ชายคนหนึ่งเดินออกจากไปพื้นที่รักษาความปลอดภัยเพื่อไปเอากระเป๋ากล้องที่ลืมไว้ แล้วก็พยายามจะลัดกลับเข้าไปยังพื้นที่ที่ผ่านการตรวจรักษาความปลอดภัยแล้ว โดยวิ่งเข้าบันไดเลื่อนผิดช่อง ทำให้ต้องมีการอพยพคนทั้งท่าอกาศยาน รวมถึงเครื่องบินทั้งหมด การดำเนินต้องหยุดชะงักไปกว่า 3 ชั่วโมง[4]
  • 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พบศพผู้หลบเลี่ยมขึ้นเครื่องฟรีบริเวณล้อเครื่องบินของเดลต้า แอร์ไลน์ หลังจากที่ลงจอดที่แอตแลนตาโดยบินมาจากดาการ์ ประเทศเซเนกัล[5]

แหล่งข้อมูลอื่น