ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตราประจำพระองค์ในประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อความเล็กน้อย
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: เปลี่ยนภาพตราประจำพระองค์ รัชกาลที่ 4
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}
=== ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
=== ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
[[ไฟล์:Royal Monogram of King Mongkut.svg|center|100px]]
[[ไฟล์:Royal Monogram of King Rama IV.svg|center|100px]]


ตราประจำพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ '''ม.ป.ร.''' (มหา'''ม'''งกุฎ '''ป'''รม'''ร'''าชาธิราช) มีเลข ๔ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยตรานี้ได้แบบจากอักษรพระปรมาภิไธย ด้านหลังของเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล
ตราประจำพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ '''ม.ป.ร.''' (มหา'''ม'''งกุฎ '''ป'''รม'''ร'''าชาธิราช) มีเลข ๔ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยตรานี้ได้แบบจากอักษรพระปรมาภิไธย ด้านหลังของเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:13, 9 มิถุนายน 2564

ตราประจำพระองค์ เป็นตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระบรมวงศานุวงศ์แต่ละพระองค์ โดยจะนำพระอภิไธยย่อของแต่ละพระองค์ นำมาตราเป็นสัญลักษณ์ขึ้น พร้อมประดับตกแต่งสัญลักษณ์ ด้วยมงกุฎหรือสัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแสดงถึงพระอิสริยยศของแต่ละพระองค์

ตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. (มหางกุฎ รมาชาธิราช) มีเลข ๔ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยตรานี้ได้แบบจากอักษรพระปรมาภิไธย ด้านหลังของเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. (มหาจุฬาลงกรณ์ รมาชาธิราช) มีเลข ๕ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี

ตราประจำพระองค์ จ.จ.จ.

ตรา จ.จ.จ. เป็นตราประจำพระองค์อีกรูปแบบหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ จ.จ.จ. (จุฬาลงกรณ์จุอมเกล้า) โดยจะพบตราได้จากดาราประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำพระองค์ ว.ป.ร.6

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (มหาชิราวุธ รมาชาธิราช) มีเลข ๖ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี

ตราประจำพระองค์ รร.6

ภายหลังตามพระราชนิยมของพระองค์ที่ได้ให้ความสำคัญกับพระนาม "รามาธิบดี" ได้ทรงเปลี่ยนพระปรมาภิไธยของพระองค์จาก “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” เถลิงพระปรมาภิไธยใหม่เป็น “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”(โดยคงสร้อยท้ายเดิมไว้) หรือ “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6” และทรงเปลี่ยนพระปรมาภิไธยย่อจาก “ว.ป.ร.” เป็น “ร.ร.6[1] ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์อีกรูปแบบหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ รร. (สมเด็จพระามาชาธิบดี) มีเลข ๖ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. (มหาระชาธิปก รมาชาธิราช) มีเลข ๗ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ อ.ป.ร. (มหาานันทมหิดล รมาชาธิราช) มีเลข ๘ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "อ" เป็นสีแดง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ) "ป" สีเหลือง และ "ร" สีฟ้า

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. (มหาภูมิพลอดุลยเดช รมาชาธิราช) ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "ภ" เป็นสีเหลืองทอง (หมายถึง สีประจำพระมหาจักรีบรมราชวงศ์) "ป" สีน้ำเงิน (หมายถึง สีประจำพระบรมราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์) และ "ร" สีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา)

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. (มหาชิราลงกรณ รมาชาธิราช) มีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "ว" เป็นสีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา) "ป" สีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ) และ "ร" สีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบรมราชชนนี) ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล ช่างศิลป์ประจำพระองค์ จากกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันที่ 5 พฤศจิกายน 2559

ตราสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ไฟล์:Royal Monogram of Queen Saovabha.svg

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ผ. (เาวภาผ่องศรี) ภายใต้พระมหามงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีชมพู (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระราชสวามี) และ "ผ" เป็นสีน้ำเงิน (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ) ตรานี้มาจากตราสัญลักษณ์ฉลอง 100 ปีแห่งวันพระบรมราชสมภพ ออกแบบโดยนายสุนทร วิไล

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. (ว่างวัฒนา) ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ฉบับหลังสิ้นพระชนม์) เป็นรูปเทวดาประนมมือไหว้และเหน็บพระขรรค์ มีอักษรย่อพระนาม ด.ร. (ดํารงาชานุภาพ และมีปีประสูติ (๒๔๐๕) กับปีสิ้นพระชนม์ (๒๔๘๖) เป็นเลขอาหรับ กระหนาบซ้ายขวา

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นตรารูปจักรมีกระบองสอด ซึ่งเกิดจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอารมณ์ขันว่าไหน ๆ ฝรั่งก็ออกพระนามพระองค์ว่า "ปรินซ์ จักรกระบอง" แล้ว จึงทรงให้ตราประจำพระองค์เป็นรูปจักรที่มีกระบองสอดอยู่ด้านในจักร อันหมายถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ[2]

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ม. (หิดล) ภายใต้ตราจักรีและคล้องอยู่กับพระมหามงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ม" เป็นสีเหลืองทอง[3]

ตราประจำพระองค์พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ไฟล์:ร6 พระนางเจ้าสุวัทนา 1.png

ตราประจำพระองค์พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส. (สุวัทนา) ผูกเป็นรูปงู หมายถึง ปีนักษัตร คือ ปีมะเส็งที่พระราชสมภพ ภายใต้เลข ๖ เปล่งรัศมี หมายถึง ทรงเป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ร. (เชรรัตนาชสุดา) ภายใต้พระชฎามหากฐินและอุณาโลม อักษรพระนามาภิไธยย่อ "พ" เป็นสีแดง และ "ร" เป็นสีขาว

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ร.พ. (รำไพรรณี) ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี อักษรพระนามาภิไธยย่อ "รพ" เป็นสีชมพู (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ก.ว. (กัลยาณิวัฒนา) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ก" เป็นสีขาว และ "ว" เป็นสีฟ้า (เป็นสีที่โปรดเป็นการส่วนพระองค์)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. (สัาลย์) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีน้ำตาล และ "ว" เป็นสีแดง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. (สิริกิติ์) ภายใต้พระมหามงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีฟ้าเข้ม (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ) และ "ก" เป็นสีขาว

ตราประจำพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ตราประจำพระองค์ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ อ.ร. (อุบลรัตนราชกัญญา) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "อ" เป็นสีแดง (หมายถึง เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 9 จึงใช้สีแดงเป็นสีอักษรพระนามาภิไธยย่อ แทนสีแสดซึ่งเป็นสีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ร" เป็นสีขาว

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ. (สิรินรเทพรัตนสุดา) ภายใต้พระชฎาไม่มีกรรเจียกจร อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ) และ "ธ" เป็นสีขาว

ตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ตราประจำพระองค์แบบที่ 1

ตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ จ.ภ. (จุฬารณวลัยลักษณ์) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "จ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ภ" เป็นสีขาว โดยมีพระภูษาสีน้ำเงินพันรอบ

ตราประจำพระองค์แบบที่ 2

ตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ จ.ภ. (จุฬารณวลัยลักษณ์) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "จ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ภ" เป็นสีขาว มักปรากฏตามอาคารสถานที่ ที่ทรงพระราชทานนามอาคาร

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ส. (โวลี) ยอดพระนามาภิไธยย่อเป็นรูปอุณาโลม อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ส" เป็นสีขาว

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ภ. (สิริาจุฑาภรณ์) ภายใต้รัดเกล้าเปล่งแสง อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ภ" เป็นสีชมพูสด

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ อ.ก. (ทิตยาทรกิติคุณ) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "อ" เป็นสีม่วงเข้ม และ "ก" เป็นสีม่วง (ซึ่งอักษรทั้งหมดหมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. (สุทิดา) ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพ) และ "ท" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระราชสวามี) ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล ช่างศิลป์ประจำพระองค์

ตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. (พัชรกิติยาา) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "พ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ภ" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ร. (สิริวัณวรี) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ร" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ท.ป. (ทีปังกรรัศมีโชติ) ภายใต้พระจุลมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ท" เป็นสีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ป" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราสัญลักษณ์ในพระอิสริยยศเดิม

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นตราที่มีปรากฏพบทั้งหมดด้วยกัน 3 รูปแบบ มี 2 รูปแบบที่ปรากฏบนพัดรองที่ระลึกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงโปรดให้สร้างขึ้นในงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีทั้งหมดด้วยกัน 2 เล่ม เล่มหนึ่งปักเป็นตราเพชรใต้จุลมงกุฎ อีกเล่มหนึ่งปักเป็นอักษรพระนามาภิไธยย่อ ม.ว. ภายใต้จุลมงกุฎมีหมอนรอง หรือพระเกี้ยว

ตราประจำพระองค์ ม.ว.

เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว. (หาชิราวุธ) ภายใต้แพรแถบที่มีอักษรย่อว่า ร.จ.บ.ต.ว.ห.จ. (ย่อมาจาก "เบํารุงระกูลงศ์ให้ริญ") อยู่ภายใต้จุลมงกุฎที่มีหมอนรอง หรือพระเกี้ยว เปล่งรัศมีช่อชัยพฤกษ์ โดยมีตราจักรีอยู่บริเวณกึ่งกลางของหมอนรองจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว อักษรพระนามาภิไธยย่อ "มว" เป็นสีเหลือง ปรากฏพบในพัดรองที่ระลึกงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ครบ 2 รอบ มโรงนักษัตร (24 พรรษา) 1 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447)[4]

ตราเพชรใต้จุลมงกุฎ

เป็นตรารูปเพชรเปล่งรัศมี ภายใต้จุลมงกุฎ ปรากฏพบในพัดรองที่ระลึกงานฉลองพระชันษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ครบ 2 รอบ มโรงนักษัตร (24 พรรษา) 1 มกราคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447)[4]


ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ บรมขัตติยราชกุมาร

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ บรมขัตติยราชกุมาร เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ว.ก. (ชิราลงรณ) ภายใต้พระจุลมงกุฎ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ฉบับก่อนพุทธศักราช 2542

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (แบบเก่า) เป็นรูปตราอักษรพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. (หาชิราลงรณ) ขัดกันเป็นรูปเพชร ภายใต้พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีสายฟ้า อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ม" เป็นสีเขียว "ว" เป็นสีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา) และ "ก" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์ฉบับที่ 2 เป็นรูปตราอักษรพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. (หาชิราลงรณ) ขัดกันเป็นรูปเพชรอยู่ภายในกรอบสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ภายในรูปพระเขนยสีเลืองอีกชั้นหนึ่ง รูปพระเขนยในเปล่งรัศมีเป็นรูปขนนก และภายใต้รูปทั้งหมดมีแถบแพรอักษรข้อความร.จ.บ.ต.ว.ห.จ. (ย่อมาจาก "เบํารุงระกูลงศ์ให้ริญ") (ตราพระราชลัญจกรในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร แห่งราชอาณาจักรไทย) รูปทั้งหมดประดิษฐานในวงรีสีน้ำเงินของสีทอง

ฉบับหลังพุทธศักราช 2542

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (แบบใหม่) เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. (หาชิราลงรณ) ภายใต้ตราจักรีและพระอนุราชมงกุฎ อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ม" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ) "ว" เป็นสีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา) และ "ก" เป็นสีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบรมราชชนนี)

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. (พัชรกิติยาา) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "พ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ภ" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ร. (สิริวัณณวรีนารีรัตน์) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ร" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา

ตราประจำพระองค์ของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ในขณะดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ศ.ร. (รีรัศมิ์) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ศ" เป็นสีแสด (หมายถึง สีประจำวันประสูติ) และ "ร" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระราชสวามี)

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นตราพระนามาภิไธยย่อ ท.ป. (ทีปังกรรัศมีโชติ) อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ท" เป็นสีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันประสูติ) และ "ป" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นตราอักษรย่อ ญ.ส.ส. ภายใต้ฉัตรขาว 3 ชั้น อักษรย่อ "ญ" มาจากพระนาม “ญาณสังวร” พระสมณศักดิ์ขณะดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งได้รับพระราชทานใช้เป็นกรณีพิเศษ เป็นสีฟ้า (ผงคราม) ซึ่งเป็นสีประจำวันประสูติ อักษร "ส" มาจาก “สมเด็จพระสังฆราช” เป็นสีเหลือง หมายความว่า ทรงเป็นสกลมหาสังฆปริณายก องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์ และ "ส" มาจาก “สกลมหาสังฆปรินายก” เป็นสีขาว หมายความว่าทรงบริสุทธิ์วิเศษเป็นศรีศุภมงคลในพระบวรพุทธศาสนา

ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ร่วมกัน

ตราประจำพระองค์ MVS สีม่วง

ตราประจำพระองค์ที่ใช้ร่วมกันของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นอักษรพระนามาภิไธยย่อ MVS ประดิษฐานภายใต้พระอนุราชมงกุฎ (ปัจจุบันคือ พระมหาพิชัยมงกุฎ) อักษรพระนามาภิไธยย่อ MVS ย่อเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Maha Vajiralongkorn Suthida" โดยมีความหมายในภาษาไทยว่า "มหาวชิราลงกรณ สุทิดา" โดย "MV" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ "S" เป็นสีม่วง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี) ซึ่งสื่อถึงอักษรนามาภิไธยที่ใช้ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตราสัญลักษณ์จะมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ

แบบที่ 1 ตราสัญลักษณ์ MVS มีตราจักรีภายใต้พระอนุราชมงกุฎ
ไฟล์:Royal Monogram of Crown Prince Maha Vajiralongkorn and Suthida.svg

เป็นตราที่ใช้ร่วมกันในขณะที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวยังดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร" และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ยังเป็น "พลตรีหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา" โดยเริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 โดยส่วนมากจะเห็นตราสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏอยู่บนพวงมาลาหลวงสีม่วง ซึ่งพระราชทานในงานฌาปณกิจศพ และยังมีปรากฏอยู่บนเอกสารข้อความต่าง ๆ เช่นข้อความของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ที่แสดงความขอบคุณแก่ประชาชนชาวไทยที่เข้าร่วมกิจกรรม Bike for Mom ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2558 เป็นต้น

แบบที่ 2 ตราสัญลักษณ์ MVS มีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

เป็นตราที่ใช้ร่วมกันในขณะที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" จนประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ตั้งแต่ยังเป็น "ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา" จนเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในปัจจุบัน โดยส่วนมากจะเห็นตราสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏอยู่บนพวงมาลาหลวงสีม่วง ซึ่งพระราชทานในงานฌาปณกิจศพ ในช่วงปี 2559 - 2562 และมีปรากฏใช้ในหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน

ตราประจำพระองค์ MVS สีฟ้า

ตราประจำพระองค์/ตัวที่ใช้ร่วมกันของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เป็นอักษรนามย่อ MVS ประดิษฐานภายใต้พระอนุราชมงกุฎ (ปัจจุบันคือ พระมหาพิชัยมงกุฎ) อักษรนามย่อ MVS ย่อเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Maha Vajiralongkorn Sineenart" โดยมีความหมายในภาษาไทยว่า "มหาวชิราลงกรณ สินีนาฏ" โดย "MV" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ "S" เป็นสีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันเกิดของเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี) ซึ่งสื่อถึงอักษรนามที่ใช้ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตราสัญลักษณ์จะมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ

แบบที่ 1 ตราสัญลักษณ์ MVS มีตราจักรีภายใต้พระอนุราชมงกุฎ

ไฟล์:Royal Monogram of Crown Prince Maha Vajiralongkorn and Sineenart.svg

เป็นตราที่ใช้ร่วมกันในขณะที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" จนประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน และเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ตั้งแต่ยังเป็น "พันตรีหญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์" จนเป็นเจ้าคุณพระสินีนาฏในปัจจุบัน โดยเริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งปรากฏอยู่บนพวงมาลาหลวงสีฟ้า ซึ่งพระราชทานในงานฌาปนกิจศพ และยังมีปรากฏบนภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ในหนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ พระคาถาพระสุนทรีวาณี ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 เป็นต้น และล่าสุดปรากฏในหนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ มหาราชปริตร หน้า 43 ลงวันที่ 26 เมษายน 2564

แบบที่ 2 ตราสัญลักษณ์ MVS มีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

ไฟล์:Royal Monogram of King Vajiralongkorn and Sineenart.svg

เป็นตราที่ใช้ร่วมกันในขณะที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" จนประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน และเจ้าคุณพระสินีนาฏ ตั้งแต่ยังเป็น "ท่านผู้หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์" จนเป็นเจ้าคุณพระสินีนาฏในปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวปรากฏอยู่บนพวงมาลาหลวงสีฟ้า ซึ่งพระราชทานในงานฌาปณกิจศพ ในช่วงปี 2562 โดยต่อมาในปี 2563 มีการปรากฏตราสัญลักษณ์ดังกล่าวบนภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานเป็นกำลังใจให้พสกนิกรชาวไทย โดยมีภาพที่ทรงวาดขึ้นลงวันที่ 15, 17, 19 สิงหาคม และวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563 ตามลำดับ และในภาพวาดฝีพระหัตถ์ สืบสาน(อภิรักษ์) รักษา(อนุรักษ์) ต่อยอด(อภิวัฒน์) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 และปรากฏบนพวงมาลาหลวงวางหน้าโกศศพสมเด็จพระญาณวชิโรดม วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ล่าสุดปรากฏบนภาพวาดฝีพระหัตถ์ในหนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ มหาราชปริตร หน้า 43 ลงวันที่ 26 เมษายน 2564

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราช

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

ตราประจำพระองค์พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นตราอักษรย่อ ช.ส. มาจากพระนามทรงกรม “ชินวรสิริวัฒน์” อักษรย่อ "ช" เป็นสีเหลือง และ "ส" เป็นสีขาว ภายใต้ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น เหนือฉัตรชั้นที่ 5 ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นตราอักษรย่อ อ.ป.ก. โดยอักษร อ ย่อมาจาก “อริยวงศาคตญาณ” สมณศักดิ์สำหรับสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชน อักษร ป ย่อมาจากพระนาม “ปลด” และอักษร ก ย่อมาจากฉายา “กิตฺติโสภโณ” และหมายถึงสกุลเดิมของพระองค์คือ “เกตุทัต” อยู่ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ เป็นตราอักษรย่อ ว.ว.น. ภายใต้ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น อักษรย่อ "ว" มาจากพระนาม “วาสน์” เป็นสีเหลือง "ว" มาจากฉายาวาสโนเป็นสีแดง และ "น" มาจากพระชาติภูมิเดิม ที่ประสูติมาในสกุล “นิลประภา” เป็นสีเขียว

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นตราอักษรย่อ ญ.ส.ส. ภายใต้ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น อักษรย่อ "ญ" มาจากพระนาม “ญาณสังวร” พระสมณศักดิ์ขณะดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งได้รับพระราชทานใช้เป็นกรณีพิเศษ เป็นสีฟ้า (ผงคราม) ซึ่งเป็นสีประจำวันประสูติ อักษร "ส" มาจาก “สมเด็จพระสังฆราช” เป็นสีเหลือง หมายความว่า ทรงเป็นสกลมหาสังฆปริณายก องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์ และ "ส" มาจาก “สกลมหาสังฆปรินายก” เป็นสีขาว หมายความว่าทรงบริสุทธิ์วิเศษเป็นศรีศุภมงคลในพระบวรพุทธศาสนา

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)

ไฟล์:ตรา อ.อ.ป..png

ตราประจำพระองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) เป็นตราสัญลักษณ์ อ.อ.ป. ภายใต้เศวตฉัตร 3 ชั้น อักษรย่อ "อ" เป็นสีแดง (หมายถึง พระนามของพระองค์ "อัมพร" และเป็นสีประจำวันคล้ายวันประสูติ) "อ" เป็นสีเหลือง (หมายถึง ฉายาของพระองค์ "อมฺพโร" และเป็นสีอาสนะประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช และสีของกาสาวพัสตร์ เป็นสมณคุณ) และ "ป" เป็นสีฟ้าเทา (หมายถึง นามสกุลของพระองค์ "ประวัติพงศ์" และเป็นสีประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชาติภูมิ)[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ตราสัญลักษณ์: สัญลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ ในรามาธิบดี". คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ 2020-11-25.
  2. "อมรรัตนโกสินทร์ (18-19) คุยเรื่องประเทศไทยกับ วิษณุ เครืองาม". bloggang. 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-12-06.
  3. "ที่มาของตรามหาวิทยาลัย". มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
  4. 4.0 4.1 "ตำนานวชิราวุธ (๑)". จดหมายเหตุวชิราวุธ.
  5. "เผยภาพตราสัญลักษณ์สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่20". โพสต์ทูเดย์. 2017-02-08. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.