ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงพ่อเนียม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| รางวัล =
| รางวัล =
}}
}}
'''หลวงพ่อเนียม''' (พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2450) เป็นพระ[[เกจิอาจารย์]]ชื่อดังแห่ง[[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นที่นับถือโดยทั่วไปในด้านปาฏิหาริย์ พระพุทธคุณของท่านมากมายยิ่งนักทั้งในด้านเมตตา มหาอุต คงกระพัน และแคล้วคลาด เป็นที่ยอมรับด้วยกันมานาน แม้แต่[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)]] [[พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ)]] หลวงพ่อทับ วัดทอง ยังมีความเคารพนับถือ และมีพระเครื่องของหลวงพ่อเนียมในครอบครอง
<ref>{{Cite web|date=2020-05-13|title="หลวงพ่อเนียม วัดน้อย" อมตะเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์|url=https://siamrath.co.th/n/44667|website=สยามรัฐ|language=th}}</ref>'''หลวงพ่อเนียม''' (พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2450) เป็นพระ[[เกจิอาจารย์]]ชื่อดังแห่ง[[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เป็นที่นับถือโดยทั่วไปในด้านปาฏิหาริย์ พระพุทธคุณของท่านมากมายยิ่งนักทั้งในด้านเมตตา มหาอุต คงกระพัน และแคล้วคลาด เป็นที่ยอมรับด้วยกันมานาน แม้แต่[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)]] [[พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ)]] หลวงพ่อทับ วัดทอง ยังมีความเคารพนับถือ และมีพระเครื่องของหลวงพ่อเนียมในครอบครอง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:59, 9 มิถุนายน 2564

หลวงพ่อเนียม ธมฺมโชติ

(หลวงพ่อเนียม วัดน้อย )
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2370 (80 ปี)
มรณภาพ17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี
อุปสมบทพ.ศ. 2390
พรรษา60
ตำแหน่งเจ้าอาวาส

[1]หลวงพ่อเนียม (พ.ศ. 2370 - พ.ศ. 2450) เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่นับถือโดยทั่วไปในด้านปาฏิหาริย์ พระพุทธคุณของท่านมากมายยิ่งนักทั้งในด้านเมตตา มหาอุต คงกระพัน และแคล้วคลาด เป็นที่ยอมรับด้วยกันมานาน แม้แต่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) หลวงพ่อทับ วัดทอง ยังมีความเคารพนับถือ และมีพระเครื่องของหลวงพ่อเนียมในครอบครอง

ประวัติ

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ชาติภูมิชาวสุพรรณบุรี บิดาเป็นชาวบ้านซ่อง ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาเป็นชาวบ้านป่าพฤกษ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ชื่อว่า เนื่อง หลวงพ่อเนียมมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหลายคน แต่ไม่ทราบชื่อ ทราบเพียงว่าหนึ่งในนั้นมีพี่สาวชื่อว่า จาด

หลวงพ่อเนียมเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2370 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าพฤกษ์ ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาท่านบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบเกณฑ์อุปสมบท จึงอุปสมบท (สันนิษฐานว่าเป็นวัดป่าพฤกษ์ อันเป็นวัดบ้านเกิดใกล้บ้านท่าน) ภายหลังได้ศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (ดังปรากฏหลักฐานนามท่านในบัญชีรายนามพระภิกษุที่จำวัดมหาธาตุฯ) และสันนิษฐานกันว่าท่านเคยไปพำนักจำพรรษา ศึกษาวิชาความรู้จากวัดระฆังโฆษิตาราม ในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังษี) อีกด้วย กระทั่งเมื่อมีอายุประมาณ40ปีจึงเดินทางกลับบ้านเกิดจำพรรษาอยู่วัดรอเจริญ เกิดขัดกับเจ้าอาวาส สุดท้ายจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดน้อย บูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยจากวัดร้าง ให้เป็นวัดที่เจริญขึ้นมาใหม่

หลวงพ่อเนียมมีความสนใจในทางวิปัสสนาธุระ ท่านช่วยให้การศึกษาแก่ศิษยานุศิษย์อย่างเต็มที่ ท่านมีชื่อเสียงในการรักษาโรคต่าง ๆ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆข้างหน้าได้อย่างตาทิพย์ การถ่ายรูปท่านว่ากันว่าถ่ายไม่ติด พระเณรที่ประพฤติผิดวินัย ท่านสามารถทราบได้เองโดยไม่ต้องมีใครมาบอกท่านมีเรื่องเล่าในกฤษดาภินิหารต่างๆ ท่านเป็นผู้ที่ความเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด กิจวัตรของท่านก็คือ ตื่นแต่เช้ามืด ครองจีวรแล้วปลงอาบัติ เสร็จแล้วนั่งสนทนากับพระภิกษุในวัดเป็นการอบรมไปในตัว พ่อรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม กลับมาฉันภัตตาหาร แล้วจะนำอาหารไปเลี้ยงสัตว์ต่างๆที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยวัด

ท่านมรณภาพในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุได้ 80 ปี อยู่ในสมณเพศได้ 60 พรรษา ประชุมเพลิงศพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2451 โดยมีพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) สมัยคุมมณฑลนครชัยศรี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี มาในงานด้วย

วัตถุมงคล

ในด้านพระเครื่องนั้นเป็นที่โดงดังทั้วสารทิศ เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกวงการพระเครื่อง ว่ามีคุณวิเศษมากมายในด้านแคล้วคลาด คงกระพันและเมตตามหานิยม โดยการสร้างพระในสมัยก่อนการทำปรอทให้แข็งไม่ใช่ของง่ายนัก ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคม ทั้งต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกันเพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จแล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วน ๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืนจึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง 7 วัน บางครั้งอุณหภูมิ สูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟเทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการ

โดยมีพิมพ์ที่นิยมกันเป็นสากลได้แก่ 1.เศียรโล้น 2.เศียรแหลม 3.งบน้ำอ้อย 4.ประธานเล็ก-ใหญ่ 5.พระเจ้า 5 พระองค์ 6.พระปิดตา 7.พระถ้าเสือ 8.ปรุหนัง 9.ลูกสะกด+ตะกรุด

อ้างอิง

  1. ""หลวงพ่อเนียม วัดน้อย" อมตะเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์". สยามรัฐ. 2020-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • หนังสือหลวงพ่อเนียม วัดน้อย (จัดทำโดย วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี)
  • หนังสือตำนานพระเกจิ เล่มที่ 2
  • หนังสือ นิตยสารลานโพธิ์
  • หนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย ๑๐๘ พระคณาจารย์แดนสยาม
  • ประวัติหลวงพ่อเนียม วัดน้อย
  • หนังสือสารบาญแห่งวัดน้อย สุพรรณบุรี และ สารบาญแห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร